พิสมัยในเขียน (ตีพิมพ์โดย ดร.เพชรสำนักพิมพ์) - นิยาย พิสมัยในเขียน (ตีพิมพ์โดย ดร.เพชรสำนักพิมพ์) : Dek-D.com - Writer
×

    พิสมัยในเขียน (ตีพิมพ์โดย ดร.เพชรสำนักพิมพ์)

    กลยุทธ์พิเศษสุด สำหรับผู้รัก และปรารถนาจะเป็นนักเขียนมืออาชีพ บทความ สารคดี เรื่องสั้น บทกวี นวนิยาย การเขียนประวัติคน รวมตัวรวมตนมาไว้ที่นี่

    ผู้เข้าชมรวม

    1,756

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    1.75K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    17
    จำนวนตอน :  6 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  14 พ.ค. 61 / 14:06 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



    พระราชดำรัส
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
    ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ความว่าคนเอเชียตะวันออก มีรูปร่างหน้าตาคล้าย ๆ กันดูไม่ออกว่าเป็นคนชาติใด เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเขาพูดออกมา ภาษาจึงเป็นเครื่องมือจำแนกบุคคลอย่างชัดเจนเหมือนดังที่มีผู้กล่าวว่า “ภาษาเป็นแกนของวัฒนธรรม” เพราะเป็นเครื่องรักษาวัฒนธรรม อันเป็นการรักษาชาติโดยทางอ้อมด้วย และภูมิปัญญาทางภาษาอย่างมากมาย โดยเฉพาะวรรณคดีร้อยกรองด้วยเกิดมาคลุกคลีตีโมงอยู่ในวงการภาษา ทั้งการอ่านและการเขียน ทั้งเป็นผู้ใช้ เรียน สอน สร้าง เสพ จึงมีความภาคภูมิใจ ชื่นชม ซาบซึ้ง รักและหวงแหนสมบัติวัฒนธรรมทางภาษา ทั้งเกรงว่าจะสูญหายไปในเวลาอันรวดเร็ว เพราะนับวันจะหาผู้รู้ค่าสนใจรู้และเห็นค่าศึกษาอย่างจริงจังน้อยลงทุกที อย่างมากก็เรียนเพื่อให้สอบผ่านหนังสือเล่มนี้นอกจากจะสอนอ่าน สอนเขียน จะเรียก
    ว่ามันคือจักรวาลแห่งภาษาไทยก็ว่าได้ทุกตัวอักษร กลั่น กรอง ตรอง คิด นำ ออกมาเป็นประสบการณ์ ความรู้ ความห่วงใย ความหวงแหน ออกมาเป็นงาน พิสมัยในเขียน เพื่อหมายเป็นเครื่องมือและแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจ ศึกษา สร้างงานเขียนของตนในรูปแบบของ“ภาษาไทย” เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชีวิตว่าครั้งหนึ่งได้มีโอกาสในการช่วยธำรงรักษาไว้ซึ่งสมบัติวัฒนธรรมของชาติด้วยคนหนึ่ง

    คำอุทิศ
    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ กับบทละคร
    ร้อง “มัทนะพาธา”ผู้เป็นครูและเป็นแรงบันดาลใจในงานเขียนทั้งร้อยแก้วและกวีนิพนธ์
    แด่
    ครูบาอาจารย์ ผู้มีคุณูปการต่อวงการเขียน ที่ถ่ายทอดพลังงานการเขียนมาสู่ให้เกิดปัญญางอกงามในยามทรุดตัวลงนั่งเขียนในทุกครั้ง

    คำนำสำนักพิมพ์
         ฟังว่า
         “การเขียนที่จะให้ได้ผลสมความปรารถนาสูงสุดนั้นผู้เขียนมิเพียงแต่ต้องการให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจตามที่ตนต้องการเท่านั้น หากความปรารถนาสูงสุดของผู้เขียนก็คือต้องการให้เกิดความจับใจ ติดใจในข้อความและเรื่องราวนั้น”
          การเขียนนั้นนับเป็น “ศาสตร์และศิลป์” อีกทั้งยังเป็น“การสื่อความหมายที่ทำให้ส่วนรวมเกิดความเข้าใจตรงกัน”
          ที่ว่าการเขียนเป็น “ศาสตร์” ก็เพราะต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่แน่นอนตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนที่ว่าการเขียนเป็น “ศิลป์” เพราะนอกจากจะใช้งานเขียนเป็นการสื่อสารแล้ว ยังต้องมีความงดงาม งดงามในกระบวนความ งดงามในการใช้ภาษา บางรูปแบบเขียนออกมาอ่านแล้วเกิดความไพเราะ อาทิ บทกวี
          การที่จะเขียนหนังสือให้ดีได้นั้น จึงต้องรู้จักลองลิ้มชิมรสของการ “อ่าน” เพื่อนำเอาความรู้หรือแง่มุม สารประโยชน์จากการอ่านเข้าไปประมวลไว้เป็นข้อมูลดิบ หลังจากตกผลึกทางความคิดแล้วจึงถ่ายทอดออกมาเป็นรูปแบบของ “งานเขียน”
          การเขียนจัดอยู่ในหมวดสาระวิชาประเภท “ศิลปะ” อาจจะกล่าวได้ว่า “งานเขียน” ถือเป็นงานศิลปะที่สูงส่งและยากยิ่งเพราะไม่สามารถสัมผัสด้วยโสตประสาท แต่ต้องสัมผัสด้วยใจและจิตวิญญาณ ศิลปะทางการเขียนจึงเป็นศิลปะที่สูงส่งและแน่นอนที่สุด ศิลปะทุกชนิดต้องอาศัยความชำนาญไม่ปรากฏตำราใดที่จะสอนถึงกฎเกณฑ์อันลี้ลับและลึกซึ้งนั้นได้อย่างแน่นอนตายตัว ต้องอาศัยไหวพริบ ประสบการณ์จิตวิญญาณของผู้เขียน ศิลปะในการเขียน จึงต้องใช้เวลาบ่มเพาะและฝึกฝนจากประสบการณ์อันยาวนาน
          อาจารย์ ดร.เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ ผู้คร่ำหวอดทางด้านการเขียนมากว่ายี่สิบห้าปี จึงใช้ช่วงเวลาในครึ่งชีวิตผลิตผลงานหนังสือภายใต้ชื่อ พิสมัยในเขียน ให้คุณผู้อ่านที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาและพร้อมจะนำหนังสือเล่มนี้เป็น “ครู” ในการดำเนินชีวิตไปสู่เส้นชัยของ “การเขียน” อ่านหนังสือเล่มนี้
          โดยมีเป้าหมายเพื่อปลดล็อกปมความคิด ความรู้สึกนานัปการ กับการต่อสู้กับบริบทในใจตลอดว่า
          “ทำอย่างไรจะได้เป็นนักเขียนกับเขาเสียที”
          “คนอย่างฉันนั้นรักการเขียน แต่เขียนแล้วไม่เห็นจะได้เรื่อง ไม่เคยโดนใจบรรณาธิการ ไม่เคยได้ตีพิมพ์กับเขา
    เสียที”
          อ่านเล่มนี้แล้วจะได้เห็นกัน!!!!
          หนังสือเล่มนี้จะเล่าขานที่มาที่ไปของกลยุทธ์การเข้าสู่อาชีพนักเขียน ด้วยการถ่ายทอดวิธีคิด วิธีเขียนแบบง่าย ๆขอย้ำว่าง่าย ๆ โดยไม่ซ้ำความคิดใคร ในรูปแบบ “ความรู้คู่ความบันเทิง – Edutainment” ที่เจ้าตัวถนัดอย่างหมดเปลือก
          หนังสือเล่มนี้ อาจารย์ ดร.เพชรยุพาได้ใช้เวลาฝึกฝนค้นคว้ามาทุกกระบวนท่า สรุปว่า
          “อยากให้ผู้อ่านได้ประโยชน์จากการศึกษาหนังสือเล่มนี้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน และได้นำ ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้มากที่สุด”
          ขอให้อาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่นำ เงินทอง ยศถาบรรดาศักดิ์มาสู่ท่านอย่างพร้อมพักตร์ สมความปรารถนา
    ทุกประการ
    ด้วยรัก
    ดร.เพชรสำนักพิมพ์

    ==================
    มาฝึกเขียนไปด้วยกันทุกวันอังคารค่ะ
    ติดตามสั่งซื้อหนังสือ พิสมัยในเขียนได้ที่ แฟนเพจ ณ เพชรสำนักพิมพ์
    คลิก....  ===>>>>>  

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น