ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมมิตรญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #99 : การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.41K
      0
      3 ธ.ค. 49


          

    การจัดดอกไม้

    เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการจัดดอกไม้เพื่อการประดับตกแต่งเพียงอย่างเดียวดังที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศตะวันตกนั้น ศิลปะอิเคบานะ (Ikebana) หรือการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น มุ่งสร้างสรรค์ความกลมกลืนของรูปทรงตามแนวนอน จังหวะ และสี ในขณะที่ชาวตะวันตกมักจะเน้นที่ปริมาณและสีสันของดอกไม้โดยให้ความสนใจในความงามของดอกไม้เป็นส่วนใหญ่นั้น ชาวญี่ปุ่นจะเน้นแง่มุมตามแนวนอนในการจัด พร้อมทั้งพัฒนาศิลปะโดยรวมเอาแจกัน กิ่งก้าน ใบไม้และกิ่งไม้ ตลอดจนดอกไม้เข้าไว้ด้วยกัน โครงสร้างรวมของการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่นวางบนแนวทางหลัก 3 ประการให้เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ โลก และมนุษยชาติ

    การจัดแบบคลาสสิก

    ต้นกำเนิดของอิเคบานะอาจย้อนกลับไปถึงการบูชาด้วยดอกไม้ตามพิธีกรรมในวัดทางศาสนาพุทธ ซึ่งเริ่มในศตวรรษที่ 6 ในการจัดดอกไม้อย่างหยาบๆ นี้มีทั้งดอกไม้และกิ่งก้านได้จัดให้ปลายพุ่งสู่สวรรค์ในฐานะเครื่องหมายแห่งศรัทธา

    รูปแบบการจัดดอกไม้ที่ประณีตงดงามขึ้นเรียกว่าริกกะ (Rikka : การจัดดอกไม้แนวตั้ง "standing flowers") ปรากฎขึ้นในศตวรรษที่ 15 การจัดแบบริกกะซึ่งมุ่งสะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าควรจัดดอกไม้เพื่อบรรยายภาพภูเขาพระสุเมรุ ซึ่งถือเป็นภูเขาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทางพุทธศาสนาและเป็นสัญลักษณ์แห่งจักรวาลด้วย การจัดแบบริกกะสัมพันธ์กับสัญลักษณ์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น กิ่งสนเป็นสัญลักษณ์ของภูหินและก้อนหิน และดอกเบญจมาศสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำและลำธารสายเล็ก การจัดแบบริกกะเป็นที่นิยมสูงสุดในศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันนี้การจัดดอกไม้แบบนี้ถือว่าเป็นการจัดดอกไม้แบบโบราณ ครั้งหนึ่งนั้นการจัดดอกไม้แบบริกกะถือว่าเป็นการประดับตกแต่งที่เหมาะสมกับโอกาสที่เป็นพิธีการหรือการเฉลิมฉลอง แต่ได้เสื่อมความนิยมในหมู่ประชาชนและไม่ค่อยมีผู้ใดฝึกกัน

    การจัดตามรูปแบบธรรมชาติ

    ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในประวัติของอิเคบานะเกิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 15 เมื่อโชกุนอาชิกางะ โยชิมาสะ (Ashikaga Yoshimasa ค.ศ.1436-1490) แห่งยุคมุโรมาจิ (Muromachi) ปกครองประเทศญี่ปุ่น อาคารหลังใหญ่และเรือนหลังเล็กที่โยชิมาสะสร้างขึ้นนั้นได้แสดงออกถึงความรักในความเรียบง่ายของโชกุน เรือนหลังเล็กเหล่านี้จะมีบริเวณโตโกโนะมะ (Tokonoma : ส่วนที่เป็นเวิ้งภายในห้อง) ซึ่งเจ้าของสามารถตั้งแสดงศิลปวัตถุหรือจัดดอกไม้ตั้งประดับ ในยุคนี้เองที่กฎต่าง ๆ ของอิเคบานะได้รับการปรับปรุงให้ง่ายขึ้นเพื่อว่าบุคคลทุกระดับชั้นสามารถชื่นชมกับศิลปะนี้ได้

    การพัฒนาที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 16 เมื่อรูปแบบการจัดดอกไม้ที่มีวินัยจัดแต่เรียบง่ายซึ่งเรียกว่า นาเงอิเระ (Nageire : มีความหมายว่าโยนเข้าไปหรือเหวี่ยงเข้าไป) ได้เกิดขึ้นในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในพิธีชงชา การจัดดอกไม้ตามรูปแบบนี้ ควรจัดดอกไม้ใส่ในแจกันให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดไม่ว่าวัสดุที่ใช้จะเป็นอะไรก็ตาม

    อิเคบานะแบบสมัยใหม่

    ในทศวรรษที่ 1890 หลังจากยุคปฏิรูปเมจิที่นำยุคสมัยใหม่และความเป็นตะวันตกมาสู่ประเทศญี่ปุ่นเพียงไม่นานนัก ก็ได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่ของอิเคบานะเรียกว่าโมริบานะ (Moribana : กองดอกไม้) รูปแบบโมริบานะสอดคล้องกับการนำดอกไม้ตะวันตกมาใช้ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นเป็นแบบตะวันตก รูปแบบโมริบานะเป็นการริเริ่มความมีอิสระในการจัดดอกไม้ด้วยการย่อส่วนของภูมิทัศน์หรือทัศนียภาพของสวน การจัดดอกไม้แบบนี้ให้ความเจริญตาไม่ว่าจะตั้งอยู่ ณ ที่ใดและสามารถดดัดแปลงให้เหมาะสมกับทั้งสถานการณ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×