ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมมิตรญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #65 : ชาเขียว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 622
      0
      25 พ.ย. 49


       
    ที่ประเทศญี่ปุ่นเขาจะเริ่มเก็บใบชาอ่อนหลังจากเริ่มฤดูใบไม้ผลิแล้วราว 88 วัน เราเรียกใบชาชนิดนี้ว่า อิจิบังฉะ (Ichiban Cha) หรือใบชาแรกผลิ ซึ่งจะมีรสอร่อย และมีกลิ่นหอมมากทีเดียว ในอดีตที่เคยปฏิบัติกันมาจะใช้คนเก็บใบชาจากต้น แต่จากภาวะการขาดแคลนแรงงานคนทำให้ปัจจุบันจึงต้องใช้เครื่องจักรเข้าช่วยเก็บใบชา

    สำหรับชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า "เรียวกุชะ"  เรียวกุชะที่เราดื่มกันในชีวิตประจำวันทั่วไป ได้แก่ เซ็นชะ โฮจิชะ บันชะ แต่ในพิธีชงน้ำชาเราจะใช้ชาผงที่เรียกว่า มัตชะมากกว่า เมื่อจะชงชาชั้นดีเลิศที่เรียกว่า เกียวกุโระ และเซ็นชะ ชาวญี่ปุ่นเราจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องอุณหภูมิของน้ำร้อนมาก โดยต้องรอให้น้ำร้อนเย็นลงจนอุณหภูมิเหลือประมาณ 70 หรือ 80 องศาก่อน เพื่อมิให้ความร้อนทำลายสีเขียวที่สวยงามและกลิ่นหอมของใบชาไป

    ชาทุกชนิดทำจากยอดอ่อนและใบของต้นชาเหมือนกันแหล่ะครับแต่
    กระบวนการผลิตชาแต่ละชนิดต่างหากที่แตกต่างกันออกไป สำหรับ
    "ชาเขียว" หรือ "เรียวกุชะ" จะต้องนำใบชาที่เก็บจากต้นมาอบไอน้ำทันที
    จึงทำให้ใบชามีสีเขียวสดใส

    ก่อนจะจบเรื่องชาเขียว เราขอแนะนำชาที่ได้รับความนิยมสูง คือ "ฌินชะ" หมายถึง ชาแรกของฤดูซึ่งทำจากยอดอ่อน
    ที่เก็บได้ครั้งแรก สำหรับสาเหตุที่ชาชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงเป็นพิเศษ เพราะมีกลิ่นที่หอม และมีสีเขียวสดสวย
    ให้ความรู้สึกต่อฤดูกาล เพื่อนๆ เชื่อไหมครับว่าชา "ฌินชะ" ทำให้คนจำนวนไม่น้อยคิดถึงการมาเยือนของต้นฤดูร้อน
    เมื่อประกอบกับลักษณะพิเศษของคนญี่ปุ่นคือเป็นชนชาติที่ชอบสิ่งที่ใหม่ สด ดังนั้นจึงไม่เพียงแต่ชาแรกของต้นฤดูเท่านั้น
    ที่เป็นที่นิยม ฌินมะอิ คือ ข้าวที่เก็บเกี่ยวเป็นครั้งแรกของฤดู ฌินฌุ คือ เหล้าที่ผลิตเป็นครั้งแรกของฤดู ฮะท์ซุกะท์ซุโอะ
    คือ ปลาคะท์ซุโอะที่จับได้เป็นครั้งแรกของฤดู ก็ล้วนเป็นที่ชื่นชอบของคนญี่ปุ่นทั้งสิ้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×