ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมมิตรญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #4 : การปกครอง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.15K
      1
      29 พ.ย. 49

     

    ระบอบการปกครอง :
    ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
     

    ประมุข :
    สมเด็จพระจักรพรรดิ


       สมเด็จพระจักรพรรดิองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2476 และเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2532 สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมสามพระองค์ และทรงประทับ ณ พระราชวังอิมพีเรียลในกรุงโตเกียว

       สถาบันจักรพรรดิ หรือ" เทนโน " เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับกลไกการปกครองของญี่ปุ่น ตั้งแต่ญี่ปุ่นได้ก่อตั้งเป็นประเทศขึ้นมา แต่ว่านอกจากในยุคโบราณแล้ว จักรพรรดิแทบจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารประเทศโดยตรง ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่ดำเนินงานบริหารประเทศคือ ขุนนางและบุคุฟุ ( Bakufu : รัฐบาลทหารที่จัดตั้งโดยชนชั้นนักรบ )

    รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของญี่ปุ่น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 นั้น ได้ให้อำนาจอธิปไตยแก่ปวงชน และให้ " สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของชาติ " สมเด็จพระจักรพรรดิไม่ทรงมีอำนาจในรัฐบาล ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามที่รัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรีกำหนด และทรงถูกจำกัดให้ประกอบพระราชกรณียกิจ เฉพาะที่เกี่ยวกับพระราชพิธีอย่างเป็นทางการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงได้รับการยกย่อง ในฐานะเป็นพระประมุขของประเทศ เพื่อจุดประสงค์ทางการฑูต


       นายกรัฐมนตรี :
    มาจากการเลือกตั้งของสภาไดเอ็ท
    โดยมากแล้ว จะมาจากหัวหน้าพรรคที่ได้เสียงส่วนใหญ่ ในสภาผู้แทนราษฎร และในปัจจุบันนับแต่ปีค.ศ. 1955 เป็นต้นมา นายกรัฐมนตรีมาจากพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP ) ยกเว้นในปี 1993 และ 1996
       นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน : นายจุนอิชิโร โคะอิซุมิ
    ประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย
    ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2001
    เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 1942 ที่เมืองโยโกสุกะ จังหวัดคะนะงาวะ
    งานอดิเรก : เล่นสกี อ่านหนังสือ ดนตรี คาบูกิ ภาพยนตร์
    บุคคลที่นับถือและชื่นชอบ : เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล
    เพลงคาราโอเกะเพลงโปรด : คะเงะ-โบชิ / เอ็กซ์แจแปน Forever Love


     
      ระบบการเมือง :
      ระบบการเมืองของญี่ปุ่น ยึดหลักการแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการออกจากกัน

       สภาซึ่งทำหน้าที่บัญญัติกฎหมายของประเทศคือ สภาไดเอ็ท ( The National Diet ) ซึ่งเป็นสภาสูงสุดในการบริหารประเทศ และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนชาวญี่ปุ่นทั้งหมด สภาไดเอ็ทแบ่งออกเป็นสองสภาคือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนที่แน่นอน คือ 512 คน และมีเวลาปฏิบัติงานวาระละ 4 ปี ยกเว้นในกรณีที่มีการยุบสภาไดเอ็ทก่อนหมดวาระ ส่วนวุฒิสมาชิกมีจำนวนทั้งหมด 252 คน และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 6 ปี ครึ่งหนึ่งของจำนวนวุฒิสมาชิกต้องได้รับการเลือกตั้งใหม่ ทุก ๆ 3 ปี

    อำนาจหลักของสภาไดเอ็ท คือการออกเสียงลงคะแนนร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ มีอำนาจในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี หรือลงคะแนนไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี

    กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศคือ คณะรัฐมนตรี ซึ่งจัดตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้กฎหมายในการบริหาร การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ และร่างพระราชบัญญัติอื่น ๆ และการรายงานทั้งเรื่องภายในและภายนอกประเทศ ต่อสภาไดเอ็ท รัฐมนตรีมีหน้าที่บังคับบัญชา และควบคุมดูแลกระทรวงต่าง ๆ ทั้ง 12 กระทรวง

    ส่วนราชการฝ่ายตุลาการประกอบด้วย ศาลฎีกา และศาลล่าง ซึ่งแบ่งออกเป็นศาลภาค มีทั้งหมด 8 แห่ง , ศาลจังหวัด มีทั้งหมด 50 แห่ง , ศาลแขวง มีทั้งหมด 575 แห่งและศาลครอบครัว การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน และการพิจารณาคดีตามกฎหมายอื่น ๆ เป็นหน้าที่ของข้าราชการอัยการ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของอธิบดีกรมอัยการ 

    ที่มา  http://www.jeducation.com/ 



     


     



     





     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×