นกคอนัวร์ นกแก้วอีกหนึ่งสายพันธุ์ - นกคอนัวร์ นกแก้วอีกหนึ่งสายพันธุ์ นิยาย นกคอนัวร์ นกแก้วอีกหนึ่งสายพันธุ์ : Dek-D.com - Writer

    นกคอนัวร์ นกแก้วอีกหนึ่งสายพันธุ์

    คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) นกคอนัวร์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga (อาราทิงก้า) นกคอนัวร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Pyrrhura

    ผู้เข้าชมรวม

    998

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    998

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    หมวด :  อื่นๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 ต.ค. 55 / 12:01 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    นกคอนัวร์

    นกคอนัวร์ (Conure)

    นกคอนัวร์ (Conure) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของ นกแก้ว ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบละตินอเมริกา จากเม็กซิโกลงมาถึงหมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว โดย นกคอนัวร์ เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      คอนัวร์ (Conure)                                                                                                                                                       เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบลาตินอเมริกา จากแม็กซิโกลงมาถึง หมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ คอนัวร์พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และคอนัวร์พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว คอนัวร์มาจากภูมิอากาศหลากหลาย ภูมิประเทศหลายแบบ จากทุ่งหญ้าแถบซาแวนนา (เป็นทุ่งหญ้าในเขตมรสุมของอเมริกา) จนถึงที่ป่าในเขตร้อนชื้นและบริเวณภูเขาที่มีอากาศค่อนข้างเย็น คอนัวร์เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่
         คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga "อาราทิงก้า" รังของคอนัวร์ในป่าตามธรรมชาติมักจะอยู่ตามหน้าผาหินทราย (sandstone cliff) หรือบางทีก็จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีโพรง เพราะเหตุจากสีสันอันสดใสของ Sun conure และ Jenday จึงเป็นแรงกระตุ้นให้นักเลี้ยงนกนำคอนัวร์สองพันธุ์นี้เข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศอเมริกา Sun เป็นคอนัวร์พันธุ์แรกที่ถูกนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 และเริ่มถูกขยายพันธุ์นำออกขายเป็นสัตว์เลี้ยง เมื่อปี ค.ศ. 1980 หลังจากนั้นไม่นาน Jenday ก็ตามเข้ามา ต่อมาการเพาะพันธุ์นกคอนัวร์ก็เริ่มมากชนิดขึ้น ซึ่งเกิดผลดีทั้งกับตัวนกและเจ้าของเอง เพราะนกที่ถูกจับมาจากธรรมชาติก็น้อยลง ทำให้เราไม่ต้องห่วงเรื่องการสูญพันธุ์ของนก ถึงแม้ว่าในปี ค.ศ. 1980 ยังมีการจับนกจากป่ามาขายเป็นเรื่องธรรมดา แต่นกจากฟาร์มที่ถูกนำมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงก็แพร่หลายมากขึ้น นกที่มาจากฟาร์มเพาะเหมาะที่จะนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงมากกว่านกที่มาจากป่า เพราะมันแข็งแรงกว่าและสภาพจิตใจก็พร้อมกว่า
         นกคอนัวร์แบบต่าง ๆ ได้แก่

      อุปนิสัยของ นกคอนัวร์ ที่พบบ่อย
      นกคอนัวร์
               
        นิสัยเรียกร้องความสนใจ เมื่อ นกคอนัวร์ รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแล้วในตอนเช้าเมื่อคุณตื่นแล้วคุณอาจได้ยินเสียงพองขน เล่นของเล่น หรือเสียงบ่นเบาๆ มาจากกรงของเจ้าคอนัวร์

                  การอาบน้ำ นกคอนัวร์ รักการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เราควรอาบให้นกตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ขนแห้งได้ทันเวลาที่นกจะเข้านอน

                  การขบฟัน นกคอนัวร์ จะขบฟันช่วงที่มันใกล้จะหลับ การขบฟันในนกถือเป็นเรื่องธรรมชาติของนก

                  การเช็ดปาก หลังมื้ออาหารทุกมื้อ นกคอนัวร์ จะเช็ดปากของมันกับคอนที่มันเกาะ หรือแขนเสื้อของคุณขณะที่มันเกาะอยู่

                  กายกรรมแบบนก ๆ กิริยาที่ นกคอนัวร์ ทำคล้ายกับการบิดขี้เกียจ ยืดแข้งยืดขา ซึ่งถือเป็นปกติธรรมดาของนก

                  การกัด เป็นการแสดงสัญชาตญาณการอยู่ร่วมกันของ นกคอนัวร์ ที่อาศัยอยู่ในป่า การกัดของมันตามลำพังแสดงว่ามันกำลังทดสอบสิ่งรอบ ๆ ตัวของมันอยู่

                  การนอนกลางวัน การนอนกลางวันเป็นการงีบหลับ นกคอนัวร์ จะงีบหลับไปบ้าง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่อไปทางเจ็บป่วย ก็ไม่ต้องกังวลกับการงีบหลับของนก

                  การเคี้ยว นกคอนัวร์ ชอบที่จะขบเคี้ยว กัดแทะ สิ่งต่างๆรอบตัวเสมอ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องมีของเล่นให้นกได้เคี้ยวตลอดเวลา
      นกคอนัวร์
                 การจ้องมองของนก เมื่อ นกคอนัวร์ เห็นอะไรที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นหรือสนใจ รูม่านตาของมันจะเบิกกว้างและหดตัวขึ้นและลง

                 การพองขน เป็นการคลายความตึงเครียดของ นกคอนัวร์ แต่ถ้ามันพองขนตลอดเวลานั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนได้ว่านกกำลังเจ็บป่วย

                 การไซร้ขนให้กันและกัน เป็นนิสัยของ นกคอนัวร์ ที่จะทำให้คู่ของมันหรือเพื่อนนกที่สนิทกันเท่านั้น

                 การจับคู่ นกจะจับคู่กันไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือไม่ มันจะไซร้ขนให้กัน เลียนแบบท่าทางของคู่มันตลอดเวลา

                 ความรู้สึกเป็นเจ้าของ จะแสดงออกถึงการหวงเจ้าของมัน มันมักจะกัด และ ขู่ตัวอื่น

                 การไซร้ขน เป็นกิจวัตรประจำของมันซึ่งจะทำร่วมกับการพองขน และมีการจิกขนตัวเองในช่วงนี้สำหรับฤดูผลัดขน

                 การสำรอกอาหาร กิริยาของนกที่จ้องบางอย่างแล้วขณะเดียวกันก็ผงกหัวด้วย นั้นคือมันจะสำรอกอาหารให้กับคู่หรือลูกของมัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรักอันยิ่งใหญ่

                 การยืนพักขาเดียว การที่นกยืนขาเดียวถือเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าคุณเห็นนกยืน 2 ขา ตลอดเวลา คุณควรจะนำนกไปหาสัตวแพทย์เพราะอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณของสุขภาพที่ไม่แข็งแรง

                 การกรีดร้อง นกคอนัวร์ จัดว่าเป็นนกที่มีเสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนกรู้สึกว่ามันถูกทอดทิ้งและเจ้าของไม่มีเวลาให้นกจะยิ่งส่งเสียงร้อง บางครั้ง นกคอนัวร์ ก็ถือเป็นนกขี้เหงาและต้องการให้เจ้าของให้ความมั่นใจกับมันว่ามันไม่ได้อยู่ตัวเดียว นกคอนัวร์จะร้องส่งเสียงเพื่อที่จะดูว่าคนในบ้านไปไหนกันหมดทิ้งมันไว้ตัวเดียวหรือเปล่า เจ้าของสามารถให้ความมั่นใจกับนกได้โดยการขานรับ บางขณะนกจะร้องเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อมทำให้มันตกใจกลัว ในกรณีนี้คุณจำเป็นต้องใช้เวลากับนกและลดความกลัวในตัวนกลง นกจะส่งเสียงกรีดร้องตามสัญชาติญาณเพื่อปกป้องฝูงของมันด้วย เมื่อนกรู้สึกเหนื่อยจะมีอาการหงุดหงิด และบางครั้งจะส่งเสียงร้องกรณีนี้เราควรจะคลุมกรงของมัน เพื่อให้มันสงบลงและปรับตัวเพื่อจะเข้านอนเร็วขึ้น
      นกคอนัวร์
                การนอน นกคอนัวร์ มักจะชอบมุดไปขดตัวนอนอยู่ใต้ผ้าหรือเศษไม้ที่เราใส่ไว้ในกล่องนอน และบางครั้งมันก็จะนอนหงายหลับไปในถ้วยอาหาร เพื่อให้นกได้พักผ่อนอย่างสบาย ควรหาเศษผ้าหรือตุ๊กตานุ่ม ๆ มาใส่ไว้ให้นก การนอนหงายในลักษณะเท้าชี้ฟ้าถือเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับคอนัวร์และก็เป็นท่าที่แสนสบายสำหรับมันด้วย

                 การจาม การจามในนกมาจากสองสาเหตุ สาเหตุแรกคือ การจามเพื่อให้จมูกโล่ง บางครั้งมันยังจะใช้นิ้วใส่เข้าไปในรูจมูก เพื่อให้เกิดอาการระคายเคืองและจามออกมา จามแบบที่สอง เนื่องมาจากนกเป็นหวัดในกรณีนี้การจามในแต่ละครั้งจะมีน้ำมูกและทำให้รูจมูกเปียก ถ้านกเป็นในกรณีที่สองนี้ควรนำนกเข้าพบสัตวแพทย์ทันที 

                 ความเครียด ความเครียดนกจะมีอาการตัวสั่น ท้องร่วงหายใจเร็วสั่นหางและปีก จิกขนตัวเอง นอนไม่หลับ และไม่เจริญอาหาร นกในตระกูลนกปากขอชอบที่จะมีกิจวัตรประจำวันและไม่ชอบการเปลื่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลื่ยนแปลงในบรรยากาศรอบตัวหรือตารางเวลาของการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลื่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างควรจะพูดกับนกของคุณก่อนอาจจะฟังดูเหมือนบ้าแต่การกระทำดังกล่าวจะช่วยให้นกไม่เกิดความเครียดจนเกินไป

                 การลิ้มลองของ นกคอนัวร์ จะสำรวจสิ่งรอบๆ ตัวด้วยปากมากพอ ๆ กับที่เราใช้มือ และไม่ต้องแปลกใจถ้านกของคุณจะใช้ปากและลิ้นกัดดูที่มือของคุณก่อนที่จะปีนขึ้นมาเกาะในครั้งแรก นกไม่ได้ตั้งใจที่จะกัดคุณแต่มันกำลังสำรวจ

                 การใช้เสียง นกในตระกูลนกปากขอ โดยส่วนใหญ่จะส่งเสียงร้องช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและตกของทุก ๆ วัน

                 การหาว ผู้เชี่ยวชาญบางคนอาจเชื่อว่านกขาดออกซิเจนในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอีกคนกล่าวว่านกแค่หาวและบิดขี้เกียจ บริหารกล้ามเนื้อเท่านั้น ในกรณีที่คุณไม่เห็นว่านกมีท่าทางไม่สบาย (อาเจียน สำรอกอาหาร) คุณก็คงไม่ต้องเป็นห่วงจนเกินไป

      เครดิต http://pet.kapook.com  http://www.smartbird.joyschool.ac.th/

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×