ประวัติทางก้าวหน้า - นิยาย ประวัติทางก้าวหน้า : Dek-D.com - Writer
×

    ประวัติทางก้าวหน้า

    ผู้เข้าชมรวม

    311

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    311

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    หมวด :  อื่นๆ
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  9 พ.ย. 55 / 00:00 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

     

     

         ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เกิดขึ้นจากการรวมพลัง ของบัณฑิตจบใหม่ นิสิตนักศึกษาชมรมพุทธฯ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างเยาวชนให้เป็นคนดี จุดเริ่มต้นของชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 จากชมรมพุทธฯ 6 สถาบัน ที่รวมตัวกันจัดนิทรรศการ "ทางก้าวหน้า" ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้กระแสตอบรับที่ดียิ่งจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนั้น ทำให้มีการจัดตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีต่อๆ มา 

     

         โครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์ได้เติบโตขึ้นจาก 7 สถาบัน 9 สถาบัน 18 สถาบันจนถึง 50 สถาบัน ในพ.ศ.2530 โดยมีชมรมพุทธศาสตร์และประเพณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ประสานงานส่วนกลาง จนกระทั่ง พ.ศ. 2534 พี่ศิษย์เก่าชมรมพุทธศาสตร์จำนวนหนึ่ง ที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแล้ว ได้รวมกลุ่มกัน อุทิศตนเพื่อรองรับภารกิจในการประสานงานส่วนกลาง ต่อจากชมรมพุทธศาสตร์ฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับความเมตตาจาก เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต ป.ธ.๗, พ.ศ. 2463-2537) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรฯ รับเป็นองค์อุปถัมภ์ จึงใช้ชื่อชมรมว่า “ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระพุทธชินวงศ์”

     

    จนถึงวันที่ 17 พ.ย. 2540 ได้กราบอาราธนาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นองค์อุปถัมภ์ และได้ใช้ชื่อ "ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" มาจนถึงปัจจุบัน

     

     

         ระยะเวลาที่ผ่านมาหลายสิบปีนั้น ชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ ได้ดำเนินโครงการต่างๆมากมาย แต่ละโครงการได้มีการพัฒนาและขยายงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังคุณธรรมตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาให้หยั่งลึกในใจของนักเรียน  นิสิต  นักศึกษา  ทุกคนทุกระดับชั้น  เพื่อให้เยาวชนมีความรู้อย่างแท้จริง 

     

         จากจุดเริ่มต้นที่มีนักเรียนเข้าสอบเพียง 382 คน ก็ได้ขยายไปสู่หลักล้านในปัจจุบัน โครงการอบรมธรรมทายาทอุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน แต่เดิมที่มีเฉพาะธรรมทายาทชาย ก็ได้มีการขยายเพิ่มเป็น โครงการอบรมธรรมทายาทหญิง เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวรุ่นใหม่ได้มีเวลาศึกษาธรรมะ และฝึกฝนอบรมตนเอง ตามแบบอย่างวัฒนธรรมชาวพุทธ มาเป็นเวลาหลายสิบปี รวมไปถึงโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลกที่มุ่งสร้างเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมหรือ เด็กดี V-Star ให้กับสังคม โดยมีวัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกายเป็นผู้สนับสนุนโครงการ

     

         ธรรมะดังกล่าวมิใช่มีประโยชน์เฉพาะนิสิต นักศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่า ต่อนักเรียนในโรงเรียนขั้นพื้นฐานอีกด้วย จึงเป็นแรงบันดาลใจให้จัดการตอบปัญหาธรรมะ ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรับสมัครเฉพาะโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 80 โรงเรียนทีมละ 2 คน ในครั้งนั้นมีผู้เข้าสอบถึง 191 ทีม รวม 382 คน เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสนใจในพระพุทธศาสนาของเยาวชนไทย ในการจัดนิทรรศการครั้งที่ 2 คณะกรรมการฯ ได้ขยายขอบเขตการสอบไป ในระดับมัธยมทั่วประเทศเป็นครั้งแรก ทีมละ 2 คน ซึ่งมีนักเรียนได้ให้ความสนใจเข้า ร่วมสอบถึง 608 ทีม (จำนวน 1,216 คน) จาก 250 โรงเรียนทั่วประเทศ

     

         การตอบปัญหาธรรมะ“ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2529 ได้ยกเลิกการสอบแบบทีมละ 2 คน เป็นการสอบรอบเดียว เพื่อความสะดวกในการจัดห้องสอบ ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มรางวัลโล่พระราชทาน เป็น 10 ประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีโอกาสได้รับโล่พระราชทานมากขึ้น ในปีนั้นมีผู้เข้าสอบทั้ง สิ้น 6,470 คน อนึ่ง ได้มีการสอบระดับนักเรียนทหาร-ตำรวจ ขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 1 - 5 จัดโดยคณะกรรมการชมรมพุทธศาสตร์สถาบันต่างๆ โดยใช้สถานที่สอบเพียงแห่งเดียว คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เรียนรู้ปัญหาหลายประการ อาทิ ด้านอาคารสถานที่ การเดินทางของอาจารย์และนักเรียน การต้อนรับ และการคุมสอบ เป็นต้น

     

         ดังนั้นในการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 6 เป็นต้นมา คณะกรรมการฯ จึงได้เปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดโดยจัดให้มีการสอบรอบคัดเลือก ณ ศูนย์สอบฯ ทั้งในกรุงเทพฯ 4 ศูนย์สอบ และศูนย์สอบฯ ต่างจังหวัด 6 ศูนย์สอบรวม 10 ศูนย์สอบ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจึงจะสามารถสอบรอบชิงชนะเลิศ โดยมอบรางวัลในระหว่างการจัดนิทรรศการ “ทางก้าวหน้า” ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     

         การตอบปัญหาธรรมะได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยมาจนถึงครั้งที่ 10 ได้เพิ่มรางวัล จากเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ สำหรับประเภทพิเศษ พระภิกษุ - สามเณร และในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการจัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ขึ้น เพื่อดำเนินการจัดสอบตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ร่วมกับชมรมพุทธศาสตร์สถาบันการศึกษาต่างๆ การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 11 ได้ปรับการสอบจาก 2 รอบ เหลือเพียงรอบเดียว เพื่อสะดวกต่ออาจารย์ และนักเรียนจำนวนมาก ผู้ซึ่งไม่มีงบประมาณเพียงพอในการเดินทางหลาย ๆ ครั้งในแต่ละปี ตั้งแต่การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 8 เป็นต้นมามีนิสิตจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ลงทะเบียน และทำคะแนนสอบ ทำให้ทุกอย่างเป็นระบบและถูกต้อง รวดเร็วขึ้น และในครั้งที่ 16 ได้มีการนำกระดาษคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสอบทุกประเภทพร้อมกับได้ทำการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจกรรมดังกล่าวที่ทวีเพิ่มมากขึ้น

     

         การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2540 มีผู้สนใจสมัครสอบถึง 92,554 คน จาก 655 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยจำนวนนี้เป็นผู้สมัครจาก 5 จังหวัดภาคใต้ถึง 27,000 คน การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2541 นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ของทางก้าวหน้า ด้วยเพราะมีผู้เข้าร่วมสอบจำนวนถึง 1,350,000 คน จากกว่า 5,000 โรงเรียนทั่วประเทศ มากกว่าครั้งที่ 6 ถึง 13 เท่า สร้างความตื่นตัวให้กับแวดวงการศึกษาเป็นอย่างมาก ด้วยไม่เคยมีการสอบครั้งใดในประเทศ ที่ผู้เข้าร่วมโครงการมากขนาดนี้ ทั้งยังเป็นการสอบตอบปัญหาธรรมะอีกด้วย จึงเป็นการปลุกกระแส ให้เยาวชนยุคใหม่หันมาสนใจธรรมะกันอย่างกว้างขวาง จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการขยายเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จาก 1 ล้านคนเป็น 2 ล้านคนใน การตอบปัญหาธรรมะ“ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2542 เป็น 3 ล้านคน ในครั้งที่ 19 พ.ศ. 2543 และ 4 ล้านคน ในครั้งที่ 20 พ.ศ. 2544 และเข้าสู่หลัก 5 ล้านคนในปัจจุบัน

     

         โครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ได้กลายเป็นโครงการส่งเสริมธรรมะสู่เยาวชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศโครงการหนึ่ง จนเป็นที่การยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและ วัฒนธรรม วุฒิสภา, กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในโครงการวัฒนธรรมสันติภาพของ “องค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization)” หรือยูเนสโก

     

     

          "การบวชคือการยกฐานะจากผู้นับถือพระรัตนตรัยขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย เป็นหนทางสู่พระนิพพาน เป็นสิ่งประเสริฐของมนุษยชาติ การบวชเป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก กว่าจะมีการบวชขึ้นได้ ต้องถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบหลายประการผู้บวชต้องอยู่ในสถานที่ ที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง ผู้บวชและบิดามารดา ต้องเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ ผู้บวชต้องได้เกิดเป็นมนุษย์ ไม่เป็นคนพิการและเป็นชายเท่านั้น การได้บวชจึงเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของลูกผู้ชาย

     

         การบวชสำหรับธรรมทายาท มิใช่เป็นการบวชอย่างที่เรียกว่าทำตามขนบธรรมเนียมประเพณี มิใช่เพียงการไปจาก บ้านเรือนและเลิกนุ่งห่มแบบฆราวาสเท่านั้น แต่เป็นการบวชทั้งกายและใจ ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ตระหนักถึงคุณค่าอันสูงส่งของร่มกาสาวพัสตร์ ธรรมทายาทผู้เป็นทายาททางธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้สืบทอดอายุพระศาสนาด้วยการประพฤติและเผยแผ่ธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ผู้เข้ารับการอบรมธรรมทายาท จะต้องผ่านการอบรมธรรมปฏิบัติ โดยการอยู่ธุดงค์ สมาทานศีลแปด ฝึกสมาธิเป็นเวลา 1 เดือน แล้วจึงจะได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสามเณร จากนั้นจึงกลับไปปฏิบัติธรรมต่อ อีก 1 เดือน โดยมีกิจกรรมพิเศษ คือ การเดินธุดงค์ หรือปฏิบัติธรรมในต่างจังหวัด เป็นเวลา 10 วัน

     

         เมื่อผ่านการอบรมแล้ว ธรรมทายาทที่ยังศึกษาเล่าเรียนอยู่ก็ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาของตนและร่วมกันเป็นคณะกรรมการจัดอบรมธรรมทายาท และอุปสมบทหมู่โดยเริ่มต้นจากการรวมตัวของชมรมพุทธ 3 สถาบันใน พ.ศ. 2525 แล้วขยายเป็น 4 สถาบัน 6 สถาบัน 7 สถาบัน 10 สถาบัน 18 สถาบัน 50 สถาบัน ตามลำดับ 

     

     

         ชมรมพุทธศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา ศูนย์รวมเยาวชน ผู้เป็นแสงสว่างในการทำความดี เพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นมีแนวทางและกำลังใจในการสร้างความดี เรียนรู้ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและฝึกฝนอบรมตนเอง ผ่านกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่างๆ อาทิ พิธีไหว้ครู, ค่ายคุณธรรม, จัดตักบาตร, สวดมนต์, นั่งสมาธิ ฯลฯ  โดยชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ  และศิษย์เก่าชมรมพุทธฯ   จึงได้ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานกิจกรรมต่างๆ ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐบาลและเอกชน  

     

    โครงการอบรมศีลธรรมระดับนักเรียน นิสิตนักศึกษา

    โครงการอบรมศีลธรรมนักเรียน นิสิต นักศึกษา เพื่อความเหมาะสมกับวัย และความต้องการของ    เยาวชน จึงได้จัดโครงการในรูปแบบต่างๆ เน้นธรรมะขั้นพื้นฐานกับการนั่งสมาธิพัฒนาจิตใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเยาวชนต้นแบบ Moral Youth Training Program สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้รู้จักการทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถสร้างกลุ่มเยาวชนต้นแบบในสถานศึกษาของตนได้ หลังการอบรมจะมีการติดตามและให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง

     

    โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นผู้นำ (Leadership Training Program)

    โครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อความเป็นผู้นำ Leadership Training Program สำหรับนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา จะได้เรียนรู้ศิลปะของการเป็นผู้นำ เช่น เทคนิคการจูงใจคน, การพัฒนาบุคคลิกภาพ, การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ ฯลฯ และสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในตนเอง ออกมาใช้ในทางสร้างสรรค์อย่างเต็มที่

    โครงการเรียนรู้สมาธิกับธรรมชาติ Smile Sabai Camp

    โครงการเรียนรู้สมาธิกับธรรมชาติ Smile Sabai Camp สำหรับนิสิตนักศึกษา จัดขึ้นตามช่วงเวลาที่เหมาะสมตลอดทั้งปี มีการฝึกปฏิบัติสมาธิอย่างง่ายๆ พร้อมกับกิจกรรมสันทนาการ ท่ามกลางบรรยากาศแห่งธรรมชาติสำหรับการพักผ่อนใจอย่างแท้จริง
     

    และโครงการด้านศีลอื่นๆ ที่จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ อีกมากมาย

     



    ทางก้าวหน้า,ชมรมพุทธศาสตร์

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น