ใยแก้วนำแสง - ใยแก้วนำแสง นิยาย ใยแก้วนำแสง : Dek-D.com - Writer

    ใยแก้วนำแสง

    ใยแก้วนำแสงคืออะไรมีประโยชน์อย่างไร ใครอยากรู้เคมีมีคำตอบ

    ผู้เข้าชมรวม

    10,949

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    8

    ผู้เข้าชมรวม


    10.94K

    ความคิดเห็น


    11

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ส.ค. 50 / 16:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ใยแก้วนำแสง
         เป็นที่ทราบมานานแล้วว่าเราสามารถดึงแก้วออกเป็นเส้นที่เล็กกว่าเส้นผมเราได้ และเส้นใยแก้วนี้ก็ยังมีความแข็งแรงอยู่เช่นเดิม แต่กว่าที่นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจะนำสมบัตินี้ของแก้วมาใช้เป็นประโยชน์ได้ก็ต้องรอจนกระทั่งมีการพัฒนาเลเซอร์ขึ้นมาใช้และผลิตแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงได้สำเร็จ วัสดุที่ผลิตขึ้นมาได้ในที่สุดเรียกว่า ใยแก้วนำแสง(Optical fiber)

        เส้นใยแก้วนำแสงเป็นตัวกลางของลำแสงเลเซอร์จากแหล่งกำเนิดซึ่งเป็นจุดเล็กๆ สังเกตว่าแสงเคลื่อนที่โค้งไปตามเส้นใยแก้วนำแสงได้ด้วยการสะท้อนภายในเส้นใยแก้วเอง โดยมีแสงทะลุผ่านออกมาน้อยมาก

      ลำแสงที่ผ่านเส้นใยแก้วนี้อาจทำหน้าส่งข่าวสารได้เช่นเดียวกับคลื่นวิทยุ  ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการแปรผันของแอมพลิจูดของแสงภายในเส้นใย ในทางทฤษฎีลำแสงแต่ละลำสามารถรับส่งข่าวสารทางโทรศัพท์ รายการสถานีวิทยุ และรายการโทรทัศน์ทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือ  ปัจจุบันนี้บริษัทต่างๆที่ดำเนินการเกี่ยวกับโทรศัพท์ใช้ใยแก้วนำแสงในการส่งข่าวสารโทรศัพท์ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าลวดทองแดงและใช้เนื้อที่น้อยกว่ามาก  นอกจากนี้ใยแก้วนำแสงยังสามารถรับส่งข้อมูลได้มากกว่าและไม่ได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าสถิต  ซึ่งทำให้เกิดเสียงซ่าเมื่อใช้โทรศัพท์ที่ส่งผ่านลวดทองแดง
         ใยแก้วนำแสงสร้างจากวัตถุที่มีองค์ประกอบเหมือนกับกระจกหน้าต่าง คือ ซิลิกา (SiO2) โซดา (Na2CO3)และปูน(CaO) ที่ต่างกันคือ แก้วธรรมดายอมให้แสงผ่านไปได้ในระยะเพียงประมาณ1เมตร  แต่ใยแก้วนำแสงที่ใช้ในการสื่อสารสามารถส่งผ่านแสงได้เป็นระยะทางไกลๆโดยความเข้มแสงไม่เปลี่ยนแปลง
        เนื่องจากแสงจะยังคงเคลื่อนที่ไปตามเส้นใยแก้วตลอดเวลาแม้เมื่อใยแก้วขดงอ  แพทย์อาจใช้ใยแก้วนำแสงช่วยให้มองเห็นภาพในส่วนต่างๆของร่างกายคนไข้ได้ วิธีนี้ช่วยลดค่าใช้จ่าย ความเจ็บปวดและความเสี่ยงที่จะต้องผ่าตัดได้เป็นอย่างดี  และเนื่องจากใยแก้วมีขนาดเล็กมาก  แพทย์จึงสามารถแม้กระทั่งสอดใยแก้วเข้าไปในเส้นเลือดเพื่อถ่ายรูปภายในหัวใจได้ของคนไข้ได้

                                      
      ใครอยากรู้เรื่องอะไรเกี่ยวเคมีถามได้นะครับถามตอบได้ก็จะตอบให้
      อย่าลืมนะครับเคมีมีคำตอบ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×