South East Asia Study คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้เข้าชมรวม
20,607
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา - SOUTH EAST ASIA STUDY [ SEAS]
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทำไมธุรกิจไทยจึงถูกเขมรเผา
การประชุมเอเปคส่งผลต่อภูมิภาคนี้เช่นไร
ทำไมจึงต้องมีการต่ออายุและส่งกลับแรงงานต่างชาติ
ทำไมจึงต้องมีการระเบิดเกาะแก่งในลุ่มน้ำโขง
นี่คือความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศของเรา หรือที่เรียกรวมๆ ว่า "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ซึ่งจัดเป็นภูมิภาคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรง ทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในแง่มุมหนึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมอันน่าสนใจวิถีชีวิตชนบท ในลาว พม่า หรือเวียดนาม ดูจะเป็นภาพที่ขัดแย้งกับวิถีชีวิตในเมืองใหญ่อย่างสิงค์โปร กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพ หรือ มะนิลา ในอีกแง่มุมหนึ่งการเมืองการปกครองของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็แตกต่างหลากหลาย และกำลังเดินหน้าไปสู่ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเรื่องราวต่างๆ ที่เคลื่อนไหวอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านเรานี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทุกๆ ด้าน แต่ก็น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้เรายังมีความรู้เรื่องประเทศเพื่อนบ้านเราน้อยอย่างยิ่ง ประเทศไทยเรายังขาดบุคลากรที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก
ในยุคที่โลกจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวนี้ ความสำคัญของความรู้ในเรื่องโลกที่อยู่รอบตัวเรา โลกของเพื่อนบ้านของเราป็นสิ่งจำป็นอย่างยิ่ง และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ตระหนักในความสำคัญดังกล่าวนี้ จึงได้เปิดหลักสูตร ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในลักษณะที่เป็นสหวิทยาการ ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม และภาษาของประเทศในภูมิภาค รวมทั้งเน้นให้มีความรู้ภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น โครงการปริญญาตรี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษานี้ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดให้มีการเรียนการสอนสาขานี้ขึ้น ทั้งที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงค์โปร ได้เดินหน้าเปิดการเรียนการสอนสาขานี้มาก่อนแล้ว
โครงการนี้เปิดสอน และเตรียมการที่จะให้ผู้เรียนมีความรู้เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง ในลักษณะซึ่งเราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นสหวิชาการ หรือ Interdisciplinary เน้นในแง่ของสิ่งที่เรียกว่าอาณาบริเวณศึกษา หรือว่า Area Study เพราะฉะนั้นหลักสูตรวิชานี้จะเรียนในแง่ของเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม และในประเด็นที่เราจะเน้นเป็นพิเศษก็คือว่า โครงการนี้การเรียนการสอนเป็นภาษาไทยเป็นหลัก แต่ว่านักศึกษาเมื่อเข้ามาแล้วจะต้องเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 แล้วก็เลือกเรียนภาษาในภูมิภาคนี้เป็นภาษาที่ 3 อีกหนึ่งภาษา คืออาจจะเป็นภาษาจีนก็ได้ หรือภาษาอินโดนีเซียก็ได้ ภาษาเวียตนามก็ได้ หรือแม้กระทั่งภาษาโปรตุเกส ก็คือเน้นหนักไปในด้านภาษา ทำให้บัณฑิตของเรามีลักษณะเป็นค่อนข้างจะสากลเป็นนานาชาติเป็นพิเศษ นอกจากการเรียนภาษา และหลักสูตรตามภาคการศึกษาปกติแล้ว ก็ยังมีภาคฤดูร้อนเพื่อเรียนภาษาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือบางวิชาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเรียนร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และนำหน่วยกิตมาเทียบโอนได้ด้วย โดยเป้าหมายของการเปิดการเรียนการสอนสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คือ ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ในสถานการณ์โลก มีความเชี่ยวชาญ ด้านการมือง การปกครองเศรษฐกิจ สังคม ศิลป วัฒนธรรม ของภูมิภาคนี้ ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงเปิดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรอบด้าน จึงมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศาสนากับสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเอเชียอาคเนย์ การเมืองการปกครองของประเทศในกลุ่มเอเชียอาคเนย์ ขณะเดียวกันนักศึกษาก็สามารถสร้างความสนใจในการศึกษาของตัวเองได้ จาการเรียนในสาขานี้ ไม่ว่าจะสนใจในเรื่องการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ หรือสังคม และวัฒนธรรม เช่นเดียวกับการเลือกความสนใจไปในประเทศหรือกลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นการเลือกเรียนภาษาของประเทศนั้นๆ
เมื่อทางโครงการเน้นภาษาเป็นพิเศษจึงมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสงสัยว่า "ถ้าเรียนภาษาไม่เก่งจะเป็นปัญหาในการเรียนโครงการนี้ไหม" คำตอบคือ ในเรื่องของภาษานั้นโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ของเราเน้นเป็นพิเศษที่จะให้บัณฑิตมีความเชี่ยวชาญภาษาทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แม้ว่าโครงการนี้จะไม่ใช่หลักสูตรภาษาอังกฤษ แต่ก็มีการเปิดสอนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลา 4 ปี ในขณะที่สาขาวิชาอื่นอาจจะเรียนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยแค่ 1 ปีแรกเท่านั้น ดังนั้นเชื่อได้ว่าการได้เรียนอย่างต่อเนื่องจะทำให้บัณฑิตเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันโครงการนี้ก็เน้นว่าต้องเรียนภาษาราชการ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาบาฮาสาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ภาษาพม่า หรือภาษาเวียดนาม ความรู้ด้านภาษาอย่างเชี่ยวชาญนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งกับโลกที่กำลัง เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเช่นทุกวันนี้
ซึ่งเป็นเอกหนึ่งของ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่นก็คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ซึ่งเป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งน้องจะเรียนครอบคลุมเกี่ยวกับ ภาษา / ประวัติศาสตร์ / สังคม /ประเพณี / เศรษฐศาสตร์ /
ผลงานอื่นๆ ของ musakikun ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ musakikun
ความคิดเห็น