ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เกร็ดญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #2 : J2 เพลงชาติญี่ปุ่น

    • อัปเดตล่าสุด 21 เม.ย. 52


    เพลงชาติ
    เนื้อเพลง "คิมิงะโยะ"

    เนื้อเพลงเพลงชาติของญี่ปุ่น "คิมิงะโยะ" มาจากบทกวีโบราณ เนื้อเพลงในภาษาญี่ปุ่นมีดังนี้
    เนื้อเพลง 'คิมิงะโยะ' เพลงชาติญี่ปุ่น

    รัฐบาลได้นำเสนอคำแปลความหมายของเพลงชาติ "คิมิงะโย" ต่อรัฐสภาระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อประมวลกฎหมายว่าด้วยธงชาติและเพลงชาติ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 นายกรัฐมนตรีเคะอิโซ โอบุชิ ได้ให้คำอธิบายดังนี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คำว่า คิมิ ในบทเพลง "คิมิงะโย" หมายถึงพระจักรพรรดิผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศและความสามัคคีของปวงชน สถานภาพแห่งพระจักรพรรดิทรงได้รับการถวายด้วยความพร้อมใจจากปวงชนผู้ทรงอำนาจอธิปไตย บทเพลง "คิมิงะโย" บรรยายภาวะการดำรงอยู่เป็นรัฐของประเทศญี่ปุ่น โดยมีพระจักรพรรดิ - ผู้ทรงได้รับการถวายสถานภาพด้วยความพร้อมใจของปวงชนผู้ทรงอำนาจอธิปไตย - ทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศและความสามัคคีของปวงชน และเป็นการเหมาะสมจะสื่อถ้อยคำในเนื้อเพลงเพลงชาติว่าเป็นการอธิษฐานเพื่อความพิพัฒนาและความสงบสุขตลอดกาลนานของประเทศ

    ไม่เป็นที่ทราบว่าใครประพันธ์เนื้อเพลงชาติเป็นคนแรก แต่พบในบทกวีของศตวรรษที่ 10 ชื่อ โคคิน วะกะชู และ วะกัน โรเอะอิชู ของศตวรรษที่ 11 ซึ่งเป็นรวมบทกวีนิพนธ์ วะกะ สองฉบับ วะกะเป็นบทกวี 31 - พยางค์ ซึ่งไม่ปรากฏชื่อของผู้ประพันธ์

    ตั้งแต่โบราณกาล มักขับขานบทกวีในโอกาสฉลองวาระอันเป็นมงคลและงานเลี้ยงฉลองในโอกาสสำคัญๆ โดยมักใส่ทำนองดนตรีในท่วงทำนองการขับร้องแบบ โยเคียวขุ (การขับร้องในการแสดงละครโน) โคะอุตะ (การขับร้องคลอด้วยซะมิเซน) โจรุริ (การขับบทละครคลอด้วยซะมิเซน) ซะอิเระอิกะ (เพลงเทศกาล) และ บิวะอุตะ (เพลงขับร้องคลอด้วยเครื่องดนตรี บิวะ) ถ้อยคำในเนื้อเพลงยังนำไปใช้ในเทพนิยายและบทประพันธ์อื่นๆ และแม้แต่ในนิยายที่มีชื่อเสียงของสมัยเอโดะ เช่น อุกิโยะ - โซชิ และในรวมเรื่องขบขัน เคียวกะ

    เครดิตhttp://www.jat-languagecafe.com/about3.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×