วิวัฒนการด้านการพิมพ์ในประเทศไทย - วิวัฒนการด้านการพิมพ์ในประเทศไทย นิยาย วิวัฒนการด้านการพิมพ์ในประเทศไทย : Dek-D.com - Writer

    วิวัฒนการด้านการพิมพ์ในประเทศไทย

    สาระสำคัญจาก นิทรรศการนิตยสารไทย ณ แฟชั่นฮอลล์ สยามพารากอน วันที่ 10-13 สิงหาคม 2549

    ผู้เข้าชมรวม

    848

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    848

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 ส.ค. 49 / 11:11 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      นิทรรศการนิตยสารไทย: ประวัติและพัฒนาการของการพิมพ์ในประเทศไทย

       

      การสื่อสารของคนไทยเป็นการสื่อสารแบบปากเปล่า การถ่ายทอดความรู้มักบันทึกลงในสมุดข่อยแล้วคัดลอกกันในหมู่ผู้รู้หนังสือ ส่วนการสื่อสารจากทางราชการมายังประชาชนนั้น ใช้วิธีการเขียนใบบอกซึ่งกรมพระอาลักษณ์จะได้รับพระบรมราชโองการให้จารึกลงบนกระดาษข่อยแล้วปิดไว้ที่หอหลวง

      เมื่อกำเนิดกิจการการพิมพ์ของหมดบรัดเลย์ รวมถึงชื่อเสียงของหมอ ทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระเมตตาโปรดเกล้าฯให้หมอบรัดเลย์พิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นและค้าฝิ่นจำนวน 9,000 ฉบับ นับได้ว่าเป็นประกาศของทางการฉบับแรกที่ใช้การพิมพ์แทนการเขียนลงในใบบอก

      เมื่อมีแท่นพิมพ์และได้พิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นแล้ว หมดบรัดเลย์จึงมีความคิดที่จะพิมพ์นิตยสารขึ้น เขาได้กราบบังคมทูลของพระบรมราชานุญาติจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้เหตุผลว่า นิตยสารจะเป็นสื่อกลางให้แต่ละคนอ่าน ทราบว่าใครอยู่ที่ไหน ทำอะไร รวมทั้งได้เสนอข่าวสารต่างๆทั้งในและต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงเชื่อเสียทุกอย่างที่ประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่พระองค์จะทรงเกลียดชังไปเสียเลยก็หาไม่ ทรงเข้าพระทัยถึงสิทธิและเสรีภาพของสื่อพอสมควร แต่ก็ทรงเล็งเห็นว่าควรจะมีขอบเขตเสียบ้าง

      ในยุคแรกนิตยสารไทยอยู่เฉพาะในมือของชาวต่างประเทศเท่านั้น จะมีเพียงราชกิจจานุเบกษาที่ถือเป็นหนังสือที่ทำโดยคนไทย คือรัชกาลที่ 4 หากแต่ยังมิได้นับเป็นนิตยสาร

      ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กิจการด้านนิตยสารกลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง ด้วยการเปลี่ยนมือจากชาวต่างประเทศมาสู่คนไทย ความสัมพันธ์ที่ดีและแนบแน่นขึ้นเป็นปัจจัยที่ช่วยผลักดันให้วงการสิ่งพิมพ์ของไทยเจริญเติบโต อันเป็นรากฐานไปสู่สมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งถือเป็นยุคที่เฟื่องฟูที่สุด

      เทียนวรรณเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวไทยคนแรกที่มีความคิดรุนแรง หัวก้าวหน้าและกล้าแสดงความคิดเห็นผ่านนิตยสารของเขาที่เป็นเจ้าของเอง เทียนวรรณเป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญกับผู้หญิง เขามีจุดประสงค์ที่จะให้ความรู้แก่สตรี เขาเขียนว่าสตรีไม่ควรจะอยู่ในฐานะประดุจทาสเช่นนั้น เขาจึงออกหนังสือชุดหนึ่ง ชื่อว่า บำรุงนารี

      แต่ในยุคเดียวกันได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งเกิดขึ้นมาในพ.ศ. 2449 คือนิตยสารกุลสัตรี ซึ่งถือว่าเป็นนิตยสารผู้หญิงฉบับแรกอย่างแท้จริง เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องอ่านเล่นและความรู้ในเรื่องทั่วๆไป

      ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วงการนิตยสารเติบโตไปมาก ลักษณะเด่นของนิตยสารในยุคนี้ คือ เป็นสื่อสำหรับแสดงความคิดเห็นทางการเมือง มีทั้งที่คนไทยและชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ นอกจากนั้นนิตยสารที่เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆก็เกิดขึ้นมาพร้อมกันหลายประเภท

      การเติบโตของอุตสาหกรรมและนวัตกรรมชนิดใหม่ คือ ภาพยนตร์ในยุคนั้น ทำให้วงการนิตยสารและสิ่งพิมพ์ในยุคนั้นต่างปรับตัวและจัดทำเนื้อหาเพื่อรองรับการเข้ามาของสื่อภาพยนตร์ และเมื่อสื่อบันเทิงชนิดนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้น การเติบโตของนิตยสารทางด้านดังกล่าวก็ถือกำเนิดและเพิ่มมากขึ้น

      นิตยสารในสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนใหญ่แล้ว จะมีขนาดใหญ่กว่าสมัย       รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 คือ ขนาดประมาณแท็บลอยด์ และเนื่องด้วยวิทยาการด้านการพิมพ์ที่เจริญรุดหน้ามาก นิตยสารในสมัยนี้จึงมีการตีพิมพ์รูปถ่ายมากมาย ส่วนใหญ่เป็นภาพขาวดำ การจัดรูปเล่มก็มีลักษณะที่เป็นระเบียบระบบแบบการทำนิตยสารมากขึ้น

      การควบคุมสิ่งพิมพ์ต่างๆด้วยการออกพระราชบัญญัติการพิมพ์ 2489 มีผลกระทบต่อนิตยสารน้อยกว่าหนังสือพิมพ์ เพราะหนังสือพิมพ์ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและผดุงไว้ซึ่งหน้าที่ของตนไปด้วยในเวลาเดียวกัน จะเห็นได้ว่าเป็นการแยกบทบาทอย่างชัดเจนระหว่างหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

      เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองมาจากจอมพลป. พิบูลสงครามมีการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกในด้านสื่อสารมวลชนมีการขยายตัวของสื่อมวลชนทุกประเภท ในช่วงนี้นิตยสารได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของสื่ออื่นด้วย

      ชีวิตถือได้ว่านิตยสาร ลลนา เป็นจุดเริ่มต้นของการทำนิตยสารสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับฝ่ายศิลป์ในกองบรรณาธิการ เน้นคุณภาพและความสวยงามของการจัดหน้า การออกแบบตัวหนังสือสวยงามในลักษณะใหม่ ลลนาจึงเป็นแม่แบบของการจัดหน้าและนิตยสารสมัยใหม่อย่างแท้จริง



      ที่มา: นิทรรศการนิตยสารไทย ณ แฟชั่นฮอลล์ สยามพารากอน 10-13 สิงหาคม 2549

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×