ประเด็นน่าสนใจทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ - ประเด็นน่าสนใจทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ นิยาย ประเด็นน่าสนใจทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ : Dek-D.com - Writer

    ประเด็นน่าสนใจทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

    สรุปข้อคิดและแนวทางใหม่ทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จากการสัมมนาในหัวข้อ ลัดฟ้า..สู่โลกกว้าง

    ผู้เข้าชมรวม

    753

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    753

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ก.ค. 49 / 20:10 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      สิ่งที่น่าสนใจจากการบรรยายพิเศษเรื่อง ลัดฟ้า...สู่โลกกว้าง

      1. Subject guide & Subject librarian

                      Subject guide & Subject librarian เป็นบริการสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการเข้าถึงสารสนเทศ โดยมีการจัดแบ่งหมวดหมู่สารสนเทศตามหัวเรื่องต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายชนิดในแต่ละหัวเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นตำรา  บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย หนังสืออ้างอิงต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถขอรับบริการหรือความช่วยเหลือในการใช้บริการหรือเข้าถึงสารสนเทศตามความต้องการได้จากบรรณารักษ์โดยตรง ซึ่งมีหน้าที่หลักในการค้นหาและจัดเตรียมสารสนเทศ แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ตามหัวเรื่องในแต่ละสาขาวิชาที่มีผู้ใช้บริการต้องการ รวมทั้งยังเป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำปรึกษาในการเข้าถึงสารสนเทศตามแต่ละสาขาวิชา ซึ่งเป็นการอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้บริการที่ต้องการสารสนเทศในสาขาใดสาขาหนึ่งในลักษณะที่ลึกซึ้งและเฉพาะเจาะจง บรรณารักษ์จะเป็นผู้ตอบสนองความต้องการสารสนเทศในสาขาต่างๆให้กับผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดี

                      บริการดังกล่าว นอกจากจะมีข้อดีในด้านของความสะดวกรวดเร็วและการได้สารสนเทศที่ตรงตามความต้องการในแต่ละสาขาวิชาแล้ว ยังช่วยให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่มาจากทรัพยากรฯหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบหรือประมวลผลลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะอำนวยประโยชน์ต่อการนำสารสนเทศไปใช้งาน ตลอดจนการสร้างสรรค์ทฤษฎีหรือความรู้ใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ต่อไป

                      นอกจากนี้ยังเป็นการลดภาระหน้าที่ของบรรณารักษ์บริการอ้างอิงในการช่วยเหลือผู้ใช้บริการที่ต้องการสารสนเทศในลักษณะที่เฉพาะเจาะจง ให้สามารถมาใช้บริการดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวบรรณารักษ์และผู้ใช้บริการโดยตรงในแง่ของคุณภาพของสารสนเทศและเวลาอันจำกัด รวมทั้งยังเป็นการสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการในด้านของบริการที่รวดเร็วและแม่นยำ พร้อมเต็มใจบริการ

       

      2. Subject specialist

                      Subject specialist เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้ใช้บริการในการเข้าถึงสารสนเทศ โดยอาจเป็นบรรณารักษ์หรืออาจารย์ หรือเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ซึ่งจะทำงานร่วมกับบรรณารักษ์ คอยให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหา จัดเตรียมและใช้งานสารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ

                      ทว่า บริการนี้อาจเป็นไปได้ยากในวงการห้องสมุดในประเทศไทย เนื่องจากสาเหตุหนึ่งเกิดจากการมีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะทำหน้าที่ด้านนี้ในห้องสมุดร่วมกับบรรณารักษ์น้อยเกินไป รวมทั้งขาดความร่วมมืออย่างจริงจังในการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ แต่ที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปนั้นจะอยู่ในรูปของผู้เชี่ยวชาญระดับสูงซึ่งจะประจำอยู่ตามหน่วยงานของตนเอง มีภาระหน้าที่งานหลักที่แตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการติดต่อขอคำปรึกษาเพื่อให้ได้รับสารสนเทศในแต่ละสาขาวิชา ทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง และถึงแม้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร แต่ผู้ใช้บริการอาจไม่ได้รับความเต็มใจและสารสนเทศที่จำกัดจากแหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคลผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ

                      ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของสถาบันบริการสารสนเทศในการแก้ปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาตำรางานเขียนของผู้เชี่ยวชาญมาให้บริการในห้องสมุด  การจัดอภิปราย บรรยายหรือสัมมนาตามแต่โอกาส รวมทั้งการเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในการให้บริการสารสนเทศกับหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น

       

      3. Library building and its atmosphere

                  สถาบันบริการสารสนเทศหรือห้องสมุดในต่างประเทศ นอกจากจะเน้นในเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่น่าจับตามอง คือ ลักษณะรูปลักษณ์ตัวอาคารห้องสมุด พื้นที่การใช้งาน ตลอดจนสถาปัตยกรรมในการออกแบบอาหารหอสมุด ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นสง่า สวยงาม สร้างความดึงดูดใจให้กับ       ผู้ใช้บริการในการเข้ามาเยือนและทดลองใช้บริการ ตัวอย่างที่เด่นชัด คือ ห้องสมุด Alexandria ในประเทศอียิปต์ ด้วยลักษณะตัวอาคารรูปพระอาทิตย์โผล่พ้นจากผืนน้ำ ซ่อนเร้นอาคารหอสมุดใต้ดินไว้ได้เป็นอย่างดี ด้านหลังตัวอาคารฉาบปูนและประดับประดาไปด้วยภาษาต่างๆจากทั่วโลก พร้อมให้ผู้ใช้ได้ยลโฉม ความประทับใจแรกพบจะกระตุ้นให้เกิดแรงขับในการเดินสำรวจรอบตัวอาคาร ตลอดจนการเยี่ยมชมการออกแบบตกแต่งภายในที่สามารถสัมผัสได้ด้วยตาตนเอง ด้วยแนวคิดในการประหยัดพลังงานในการใช้แสงสว่างและพลังงานจากดวงอาทิตย์ ตัวอาคารลดหลั่นเป็นชั้นๆ ลาดลงสู่ความทันสมัยของการออกแบบ เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายชนิดพร้อมให้บริการ โต๊ะนั่งอ่านหนังสือ คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น รวมถึงส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวรและชั่วคราวและพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม

                      บรรยากาศภายในตกแต่งอย่างเรียบง่าย แต่หรูหราและทันสมัย ด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้จากนานาประเทศ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจและพร้อมที่จะสร้างสรรค์ผลงานความรู้ใหม่ๆ อีกทั้งความอลังการจากรูปลักษณ์ที่โดดเด่น เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งบริการที่แสนประทับใจมีส่วนช่วยให้ผู้ใช้บริการเกิดความตราตรึงในดวงจิต เสมือนหนึ่งมิตรสหายจากแดนไกลผู้ที่มิเคยลบเลือนไปจากฤทัย แม้ว่าจะอีกแสนนานเพียงใด คุณคือบุคคลที่สำคัญของที่แห่งนี้ แหล่งความรู้ที่จะช่วยพัฒนาและต่อเติม สร้างสรรค์และบันทึกความรู้อันยั่งยืนของมนุษยชาติตลอดไป

       

                     

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×