ฝนดาวตก - นิยาย ฝนดาวตก : Dek-D.com - Writer
×

    ฝนดาวตก

    เป็นวัตถุท้องฟ้าอย่างหนึ่ง คล้ายก้อนน้ำแข็งสกปรกของหินและฝุ่น เกาะกันอยู่ ด้วยก๊าซและน้ำที่แข็งตัว เมื่อดาวหางเคลื่อนเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์มากขึ้น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้ น้ำแข็งรอบนอกระเหิดออก ปล่อยซากเศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ กระจายเป็นธารอุกกาบาตเคลื่อนที่ ไป

    ผู้เข้าชมรวม

    483

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    483

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  4 มี.ค. 58 / 00:00 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูรายการอีบุ๊กทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล กับฝนดาวตกลีโอนิดส์

              ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล ค้นพบโดย วิลเฮล์ม เทมเพล และฮอแรส ทัดเทิล ในปี พ.ศ.2408 เป็นดาวหางคาบ สั้น โคจรรอบดวงอาทิตย์ในคาบ 33.2 ปี วงโคจรรูปวงรี ระยะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ใกล้เขตวงโคจรของโลก และระยะไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่เลยจากดาวยูเรนัสออกไป

              ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวดาวหางราว 1.9 กิโลเมตร จึงเป็นดาวหางดวงเล็ก ๆ ดวงหนึ่ง อันดับความสว่างประมาณ 9 ไม่สามารถ มองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า นอกจากจะอยู่ใน สภาพท้องฟ้าดีเยี่ยม แต่สามารถเห็นได้ หากใช้ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก หรือใช้ กล้อง 2 ตา ขนาดใหญ่ส่องสังเกต

              เป็นที่รู้กันดีว่า ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล เป็นแหล่งกำเนิดของซากเศษฝุ่น ต้นกำเนิดของฝนดาวตก ลีโอนิดส์ ซึ่งปรากฎให้เห็นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในปีอื่น ๆ ฝนดาวตกลีโอนิดส์เบาบาง จำนวนราว 10 ดวง ต่อชั่วโมงเท่านั้น แต่ในปี พ.ศ.2541 ดาวหางโคจรเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงคาดหมายว่า น่าจะเกิดปรากฏการณ์ พายุฝนดาวตก ในปี 2541 แต่ไม่เป็นไปตามคาด จึงติดตามเฝ้าดูกันในปีต่อ ๆ มา อย่างไร ก็ตาม ในปี 2544 ก็ยังถือว่า เป็นฝนดาวตกที่น่าดูอยู่

              หลังจากดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดแล้ว ขณะเดินทางห่างออกไป เส้นทางโคจรของดาวหางตัดผ่านเส้นทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เป็นมุม 17 องศา ซึ่งโลกเคลื่อนที่มาถึงจุดตัดดังกล่าว ในช่วงวันที่ 17-18-19 พฤศจิกายนของทุกปี

    เส้นทางฝนดาวตก 


    ตัวอย่าง สายธารฝนดาวตก (Meteor Showers) เศษซากธารฝุ่น ของ ดาวหาง 109P/Swift-Tuttie ที่โคจรผ่าน
    ไปยาวนานแล้ว แต่ยังหลงเหลืออยู่ในอวกาศ ค้างเป็นทางยาว นับแสนกิโลเมตร ในขณะเดียวกันช่วงเดือนสิงหาคม 
    โลกมีทางโคจรตัดผ่าน เส้นทางดังกล่าว ของ ดาวหาง 
    (Comet) จึงมองเห็นธารฝุ่น ฝนดาวตก จำนวนมากกว่าปกติ 

    ในวันที่ 12-13 สิงหาคม ของทุกปี ปรากฎจุดแผ่กระจายฝนดาวตก (Radiant) เกิดขึ้นบริเวณ กลุ่มดาว Perseus 
    (พอร์ซิอัส) จึงตั้งชื่อว่าฝนดาวตก Perseid (พอร์ซิอิดส์) ทำนองเดียวกัน ปรากฎจุดแผ่กระจาย ฝนดาวตก บริเวณ
    กลุ่มดาวสิงโต (Leo) จะตั้งชื่อว่า Leonid (ลีโอนิกส์) เป็นต้น 

    ฝนดาวตก เกิดขึ้นห่างจากโลก สูงขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ 700-800 กิโลเมตร การที่ฟุ้งกระจายออกมา เป็นริ้วพาด
    ผ่านท้องฟ้าแตกระเบิดออก เรียกว่า ลูกไฟ (Fireball) สาเหตุเกิดการเสียดสีกัน ในชั้นบรรยากาศ 

    ส่วนใหญ่ฝนดาวตก มีแหล่งที่มาจากดาวหาง ยกเว้นฝนดาวตก เจมินิดส์ มิใช่เกิดจากดาวหาง แต่เกิดจากวัตถุชื่อว่า 
    3200 Phaethon (เฟธอน) ลักษณะเหมือนหินแปลกประหลาด เพราะได้สลัดเศษซากฝุ่น กระจายตัวออกมาผ่าน
    โลก ในตำแหน่งของ กลุ่มดาวคนคู่ หรือ Gemini (เจมินี่) ทำให้เกิดเป็น ฝนดาวตกชื่อ Geminids (เจมินิดส์)

    มกราคม : ฝนดาวตก Quadrantids (ควอแดรนติดส์) 
    วันที่เหมาะต่อการสังเกต คือ 3-4 มกราคม บริเวณเหนือขอบฟ้า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เวลา 02.00น.
    จะพบจุดแผ่กระจาย ฝนดาวตกควอแดรนติดส์ ระหว่างกลุ่มดาวมังกร และกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ 
    **ค่าเฉลี่ยมีอัตรา 90-120 ดวงต่อชั่วโมง


    เมษายน : ฝนดาวตก Lyrids (ไลลิดส์ หรือฝนดาวตกพิณ) 
    วันที่เหมาะต่อการสังเกต คือ 22-23 เมษายน บริเวณเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เวลา 22.00. 
    จะพบจุดแผ่กระจาย ฝนดาวตกไลลิดส์ ระหว่างกลุ่มดาวพิณ และกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส 
    ** ค่าเฉลี่ย มีอัตรา 15 ดวงต่อชั่วโมง


    พฤษภาคม : ฝนดาวตก Eta-Aquarids (อีต้า-อควอริดส์) 
    วันที่เหมาะต่อการสังเกต คือ 5-6 พฤษภาคม บริเวณเหนือขอบฟ้า ทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 02.00 น. 
    จะพบจุดแผ่กระจายฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ 
    ** ค่าเฉลี่ยมีอัตรา 60 ดวงต่อชั่วโมง


    สิงหาคม : ฝนดาวตก Perseids (เพอร์เซอิดส์)
     วันที่เหมาะต่อการสังเกต คือ 12-13 สิงหาคม บริเวณเหนือขอบฟ้า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เวลา 22.30 น. 
    จะพบจุดแผ่กระจาย ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ บริเวณกลุ่มดาวเพอร์เซอัส 
    ** ค่าเฉลี่ยมีอัตรา 110 ดวง ต่อชั่วโมง


    ตุลาคม : ฝนดาวตก Orionids (โอไลโอนิกส์) 
    วันที่เหมาะต่อการสังเกต คือ 21-22 ตุลาคม บริเวณเหนือขอบฟ้า ทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 22.30 น. 
    จะพบจุดแผ่กระจาย ฝนดาวตกโอไลโอนิกส์ บริเวณกลุ่มดาวนายพราน 
    ** ค่าเฉลี่ยมีอัตรา 20 ดวง ต่อชั่วโมง


    พฤศจิกายน : ฝนดาวตก Leonide (ลีโอนิกส์) 
    วันที่เหมาะต่อการสังเกต คือ 17-18 พฤศจิกายน บริเวณเหนือขอบฟ้า ทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 00.30 น.
    จะพบจุดแผ่กระจาย ฝนดาวตกลีโอนิกส์ บริเวณกลุ่มดาวสิงโต 
    ** ค่าเฉลี่ยมีอัตรา 15 ดวงต่อชั่วโมง 

    ธันวาคม : ฝนดาวตก Geminids (เจมินิดส์) 

     

    วันที่เหมาะต่อการสังเกต คือ 14-15 ธันวาคม บริเวณเหนือขอบฟ้า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เวลา 20.00 น. 
    จะพบจุดแผ่กระจาย ฝนดาวตกเจมินิดส์ บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ 
    ** ค่าเฉลี่ยมีอัตรา 120 ดวงต่อชั่วโมง


    ฝนดาวตกควอดแดรนต์


    ฝนดาวตกควอดแดรนต์ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนต์ (Quadrans Muralis) ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเก่า ปัจจุบันไม่มีแล้ว จุดกระจายดาวตกอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี ประเทศที่เห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูง ๆ ของซีกโลกเหนือ

     นักดาราศาสตร์ค้นพบฝนดาวตกควอดแดรนต์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ไม่พบว่าวัตถุใดคือต้นกำเนิดของมัน จนกระทั่ง ค.ศ. 2003 เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช 1 (2003 EH1) ซึ่งมีวงโคจรใกล้เคียงกับดาวตกที่มาจากฝนดาวตกกลุ่มนี้ และยังพบว่ามันอาจเป็นชิ้นส่วนหรือเป็นวัตถุเดียวกับดาวหาง C/1490 Y1 ที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปลาย ค.ศ. 1490 อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติของฝนดาวตกควอดแดรนต์สูงถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง แต่มีช่วงเวลาสั้น แสดงว่าธารสะเก็ดดาวค่อนข้างแคบมาก

     ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงเช้ามืดวันอังคารที่ 4 มกราคม 2554 ตามเวลาประเทศไทย ทำให้คาดหมายว่าประเทศแถบเอเชียตะวันออกจะสามารถสังเกตดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ค่อนข้างมาก ประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ตี 2 โดยอัตราตกจะต่ำมากในช่วงแรก หลังจากนั้นค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เวลาที่น่าจะพบเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:30 - 05:30 น. ภายใต้ฟ้ามืด ในหนึ่งชั่วโมงนี้อาจนับได้ราว 50 ดวง หากอากาศหนาวควรเตรียมตัวให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ 

    ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส


    ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสหรือฝนดาวตกวันแม่ เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ ทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นฤดูฝน

     สะเก็ดดาวในฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1992 มีคาบ 130 ปี เป็นดาวหางที่มีแนวโคจรผ่านใกล้โลก จุดกระจายของฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกับแคสซิโอเปีย เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง แต่ยังมีดาวตกน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายดาวตกอยู่สูงซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด ความเร็วขณะเข้าสู่บรรยากาศโลกของดาวตกกลุ่มนี้ประมาณ 59 กิโลเมตร/วินาที

     ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสในปี 2554 มีแสงจันทร์รบกวน แต่อาจพอจะเห็นดาวตกดวงที่สว่าง ๆ ได้บ้างหากท้องฟ้าโปร่ง วิธีสังเกตที่แนะนำคือหันหลังให้ดวงจันทร์ หรือเลือกตำแหน่งที่มีอาคารบ้านเรือนหรือต้นไม้บังทิศที่ดวงจันทร์อยู่ เพื่อไม่ให้แสงจันทร์เข้าตา คาดว่ามีมากที่สุดในคืนวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม

    ฝนดาวตกคนคู่

     


    ฝนดาวตกคนคู่เกิดในฤดูหนาวที่ท้องฟ้าเปิดเป็นส่วนใหญ่และมีจำนวนมากหลายสิบดวงต่อชั่วโมง ปีนี้คาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันอังคารที่ 13 ถึงเช้ามืดวันพุธที่ 14 ธันวาคม แต่แสงจากดวงจันทร์ที่สว่างเกือบเต็มดวงทำให้เห็นดาวตกได้น้อย จุดกระจายฝนดาวตกอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ ฝนดาวตกคนคู่เกิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟทอน (3200 Phaethon) ซึ่งน่าจะเคยเป็นดาวหางมาก่อน สามารถสังเกตดาวตกได้ตลอดทั้งคืนโดยเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 2 ทุ่ม จนถึงเช้ามืด มักตกถี่ที่สุดในช่วงประมาณตี 2 ซึ่งเป็นเวลาที่จุดกระจายฝนดาวตกอยู่สูงกลางฟ้า
     

                                                                            ฝนดาวตกพิณ                                                                                                                                                              

     ฝนดาวตกพิณเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16-25 เมษายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันเสาร์ที่ 21 เมษายน ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2555 ซึ่งตรงกับช่วงจันทร์ดับ   ฝนดาวตกพิณตั้งชื่อตามกลุ่มดาวพิณ (Lyra) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 21-22 เมษายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 18 ดวงต่อชั่วโมง (เคยสูงถึง 90 ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2525) ค้นพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของฝนดาวตกพิณคือดาวหางแทตเชอร์ (C/1861 G1 Thatcher) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 415 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2404 นักดาราศาสตร์ค้นพบใน 6 ปีต่อมาว่าตำแหน่งที่โลกอยู่ ณ วันที่ 20 เมษายน ของทุกปี เป็นตำแหน่งที่วงโคจรของดาวหางอยู่ห่างจากโลกเพียง 0.002 หน่วยดาราศาสตร์ หลังจากนั้นได้พบหลักฐานในบันทึกของจีน กล่าวถึงฝนดาวตกพิณเมื่อ 687 ปีก่อนคริสต์ศักราช

     ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 22 เมษายน เวลา 12:30 น. จากเวลานี้ พื้นที่ที่สังเกตได้ดีที่สุดคือด้านตะวันออกของอเมริกาเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้ และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในอดีตแสดงว่าเวลาอาจเร็วหรือช้ากว่านั้นได้ โดยอยู่ในช่วง 04:30 - 15:30 น. ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ 4 ทุ่ม โดยอัตราตกค่อย ๆ เพิ่มขึ้น คาดว่าเวลาเที่ยงคืนถึงเช้ามืดวันที่ 22 เมษายน น่าจะเห็นดาวตกได้ด้วยอัตรา 10-15 ดวงต่อชั่วโมง 

                    ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ                                                                                                                               

    ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19 เมษายน - 28 พฤษภาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในช่วงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2555 ซึ่งตรงกับปลายข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างเกือบเต็มดวง จึงมีแสงจันทร์รบกวน     ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำตั้งชื่อตามดาวอีตา (η) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 4-5 พฤษภาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 70 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 40-85) ต้นกำเนิดคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529 ดาวหางแฮลลีย์ทำให้เกิดฝนดาวตกอีกกลุ่มหนึ่งในเดือนตุลาคมด้วย

    คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 6 พฤษภาคม เวลาประมาณ 2 น. จากเวลานี้ พื้นที่ที่สังเกตได้ดีที่สุดคือกลางมหาสมุทรแปซิฟิก (แต่มีแสงจันทร์รบกวน) สำหรับประเทศไทย จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาตี 2 เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:00 - 05:00 น. หากท้องฟ้าโปร่งอาจนับได้ราว 20-30 ดวง โดยพยายามหันหลังให้ดวงจันทร์ หรือเลือกตำแหน่งที่มีอาคารบ้านเรือนหรือต้นไม้บังทิศที่ดวงจันทร์อยู่ เพื่อไม่ให้แสงจันทร์เข้าตา                                        

             ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้                                                                                                                    

    ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม - 23 สิงหาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดใน 2 คืน ได้แก่คืนวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2555 และคืนวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม 2555 ซึ่งตรงกับครึ่งหลังของข้างขึ้น ดวงจันทร์ส่วนสว่างมากกว่าครึ่งดวง

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น