ใครว่า...ชีวิตเด็กแลกเปลี่ยนสบาย??? - ใครว่า...ชีวิตเด็กแลกเปลี่ยนสบาย??? นิยาย ใครว่า...ชีวิตเด็กแลกเปลี่ยนสบาย??? : Dek-D.com - Writer

    ใครว่า...ชีวิตเด็กแลกเปลี่ยนสบาย???

    ใครว่า...ชีวิตเด็กแลกเปลี่ยนสบาย??? มีทั้งเนื้อหาและข้อคิดสำหรับคนที่ต้องการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน....ส่วนใครที่เคยเป็นแล้วนั้นสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้

    ผู้เข้าชมรวม

    3,276

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    3.27K

    ความคิดเห็น


    40

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ก.พ. 52 / 04:55 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ใครว่า...ชีวิตเด็กแลกเปลี่ยนสบาย???
      โดย ลิงภูเก็ต
       

      สวัสดีพี่น้องชาวเด็กดีทุกคนน่ะค่ะ นี่ก็ใกล้วันวาเลนไทน์เข้ามาแล้วคงจะเตรียมของขวัญให้คนที่รักจนวุ่นอยู่ล่ะสิ ฮ่าๆๆ วันนี้ลิงภูเก็ตมีเรื่องราวประสบการณ์ของเด็กแลกเปลี่ยนมาเล่าให้ฟังเผื่อใครคนไหนสนใจจะเป็นเด็กแลกเปลี่ยนกับเค้ามั้ง เพราะแต่ละปีประเทศไทยส่งเด้กไปต่างประเทศไม่ต่ำกว่า พันคน ในหลายๆโปรแกรมแต่ที่ฮิตสุดก็คงจะไม่พ้น AFS และ Rotary ได้ข่าวจากวงในว่ามีการทำลายสถิติว่าเป็นประเทศที่ส่งเด็กไปทั่วโลกมากที่สุด

      ขอแนะนำตัวเองก่อน ชื่อ นูร์โซเฟีย เกษมสมาน ( เฟีย ) ชั้น ม.5/3 โรงเรียนสตรีภูเก็ค เกรดเฉลี่ยน 3.36 เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนโครงการ AFS ศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐฯ เป็นระยะเวลาหนึ่งปี โดยได้รับทุนการศึกษาจาสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ซึ่งทุนนี้เป็นทุนเฉพาะเด็กมุสลิมเท่านั้น ในปีเฟียได้ทั้งหมด 31 คนจากทั่วประเทศไทย ทุนรัฐ 20 คน ทุนจากสถานทูต 11 คน ทุนนี้สอบได้โหดมากแต่ก็คุ้ม ฮ่าๆๆ 

      ช่วงแรกๆของการอยู่ที่นี่นั้นเหนื่อยเอาการเพราะภาษาอังกฤษของเฟียนั้นยังอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนาอีกเยอะแม่เฟียเคยบอกให้ อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ดูหนังเป็นภาษาอังกฤษ ฟังเทป หัดพูดอังกฤษ ฝึกเขียน แต่เฟียไม่เคยทำตาม ฮ่าๆๆ ช่างเป็นลูกที่ดีจริงๆ (เด็กดีห้ามลอกเลียนแบบ) เพราะตอนนั้นคิดว่า มาตายเอาดาบหน้า และมันก็ตายจริงๆตามที่พูดไว้ เพราะฉะนั้นอย่าเป็นอย่างเฟีย อะไรที่เตรียมพร้อมได้ เตรียมมาเหอะ เหนื่อยตอนแรกดีกว่าเหนื่อยตอนหลังเพราะอย่างน้อยมันคุ้มกับที่ยอมเสียไป อ้อ อย่าลืมฝึกทำอาหารกับรำไทยหรืออะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับไทยมาด้วยน่ะ เพราะต้องใช้เยอะมาก
       
      ณ ตอนนี้ก็เป็นเวลาเกือบจะห้าเดือนแล้ว เฟียอยู่ เมือง Lee มลรัฐ Massachusetts, USA ก่อนหน้านี้ย้ายไปสองเมือง คือ Stockbridge , Great Barrington ทั้งสามเมืองที่บอกไปนั้นเป็นเมืองเล็กมาก เล็กยิ่งกว่าภูเก็ตอีก  ฮ่าๆๆ เป็นห้าเดือนที่ทำให้เฟียหยุดพักบนยอดเขาและหันกลับไปมองข้าหลังว่าเราได้ทำอะไรมาบ้าง อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมก็ทำต่อไป อะไรที่คิดว่าไร้สาระก็หยุดทำ ก่อนจะก้าวเดินต่อไป เพราะครึ่งทางสุดท้ายนี้จะผ่านไปเร็วจนเราไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกทีก็ถึงวันกลับแล้วและทุกคนจะมีกำลังใจสู้ต่อไปเมื่อได้ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น (คำแนะนำจาก พี่บอส USA รุ่น 45) 

      แล้วที่เฟียเปรียบเทียบกับการขึ้นภูเขานั้น ถ้าใครเคยเดินป่า หรือ ปีนเขา หรืออะไรก็ตามแต่ จะเห็นได้ว่า ตอนขาขึ้นนั้นแสนลำบากยากเย็น ใช้เวลาหลายชั่วโมง บางครั้งก็เจออุปสรรคที่ทำให้เราเสียเวลาอีก บางครั้งก็เจอสิ่งที่ดึงดูดทำให้เราต้องหยุดชื่นชมมัน แต่เหมือนมาถึงยอดเขา ก็เหมือนเราประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง แต่ของจริงมันอยู่ตอนเดินลงจากเขา ว่าเราได้อะไรจากการเดินเขาครั้งนี้บ้าง เพราะการลงจากยอดเข้านั้นเราเดินลงเส้นทางเดิม ไม่ได้เปลี่ยนเส้นทาง เรารู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรที่ต้องเจอ และยังใช้เวลาน้อยกว่าขาขึ้นอีกด้วย นั่นก็เพราะเราเจอมันมาแล้ว แล้วเราก็รู้ว่าต้องทำอย่างไรไม่ให้เสียเวลา 

      เวลามักจะผ่านไปเร็วโดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัวหรือรับมือกับมัน!!!
       
      ตอนนี้เฟียได้ย้ายมาอยู่กับครอบครัวอุปถัมป์ ครอบครัวที่สามแล้ว ครอบครัวนี้ลูกสาวคนโตกำลังอยู่ที่ประเทศอาร์เจนตินา เป็นเด็กแลกเปลี่ยนเหมือนกัน และคนน้องก็ใฝ่ฝันอยากเป็นเด็กแลกเปลี่ยนไปประเทศอิตาลี แต่ก่อนย้ายมาอยู่กับครอบครัวนี้ เฟียได้มีโอกาสนั่งเปิดใจคุยปัญหาเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับครอบครัวที่แล้วเหมือนเป็นการอบรมครั้งสุดท้ายก่อนย้ายออก เฟียคุยกับโฮสแด๊ด (พ่ออุปถัมป์) ท่านบอกว่า ท่านเข้าใจว่าการมาอยู่ต่างเมืองที่ไม่ใช่ประเทศตัวเองนั้นยากที่จะปรับตัว ทั้งเรื่องของภาษา ชีวิตความเป็นอยู่ เพราะท่านเองก็ไม่ใช่ชาวอเมริกัน แต่เป็นชาวญี่ปุ่น ช่วงแรกๆที่มาอยู่ที่นี่นั่นมีแต่เพื่อนที่เป็นชาวญี่ปุ่นด้วยกัน พูดญี่ปุ่นตลอดไม่ยอมพูดอังกฤษ ทำให้ภาษาอังกฤษไม่พัฒนา แต่เมื่อย้ายมาอีกเมืองหนึ่งที่มีแต่คนพูดอังกฤษเลยทำให้ภาษาอังกฤษพัฒนาขึ้นตามลำดับ 
       
      ....................???

      และวิธีการหาเพื่อนที่ง่ายที่สุดและรุ่นพี่แนะนำให้กับรุ่นน้อง คือ ทำกิจกรรม กับ เล่นกีฬา ใช้มาเกือบสิบกว่าปี ถือเป็นประโยคคลาสสิค ฮ่าๆๆ จริงอย่างที่รุ่นพี่แนะนำมาวิธีนั้นง่ายสุดแล้วเฟียก็รู้จักคนเยอะจากการเล่นกีฬาและร่วมกิจกรรม เช่น บาสเกตบอล, วอลเล่บอล, ชมรมต่างๆ เข้าไปเหอะ แต่จำไว้อย่างหนึ่ง คือ เราต้องเข้าไปหาเขาก่อนไม่ใช่คอยให้เขาเข้ามาหาเรา วิธีง่ายๆแค่นี้ก็มีเพื่อนแล้ว หุหุ
       
      ต่อไปที่เป็นคำถามมากที่สุดคือ การเรียน เด็กแลกเปลี่ยนทุกคนเค้าจะบังคับให้เรียนประวัติศาสตร์อเมริกา แต่ของเฟียไม่มีวิชานั้นเพราะฝ่ายวิชาการนั้นบอกว่า มันยากไปสำหรับเฟียไหนจะอ่าน ไหนจะแปล ที่นี่เค้าให้เลือกลงอะไรก็ได้แต่มีวิชาบังคับอยู่ ห้า วิชา คือ เลข อังกฤษ สังคม พละ และวิทย์ แต่จะมีให้ทั้งหมดแปดคาบต่อวัน เรียนเหมือนกันทั้งอาทิตย์ ถ้าถามว่าเบื่อมั้ย ก็มีเบื่อบ้างเหมือนกัน ฮ่าๆๆ แล้วที่นี่วิทย์ แยกเป็น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แต่ให้เลือกได้ปีละ หนึ่งวิชา เรียนปีเดียว ไม่เหมือนของไทยเรียนสามปี ฮ่าๆๆ เรียนซะให้คุ้ม เลขที่นี่ง่ายมาก จิ้มเครื่องคิดเลขกันเลย แต่เฟียลง พรีแคลคูลัส รุ่นพี่บอกให้ลงแคล แต่เฟียไม่เอา เพราะยังไม่ได้เรียน หุหุ ส่วนวิชาที่เฟียเลือกเรียนก็มี Chorus, Pre-Cal, Music, Sci and tech, Ceramic, Graphic Design, Anatomy, Drawing, Creative Writing, Studio Art, Ceramic 2 
       
      การปรับตัวให้เข้ากับคนในครอบครัวคือ เอกลักษณ์ที่ดีของคนไทยเป็นยังไงงัดออกมาใช้ให้หมด เค้าไม่รักให้มันรู้ไป และใช้นิสัยอ่อนน้อมถ่อมตนตามฉบับมารยาทดีของคนไทยเข้าไว้แล้วเค้าจะเอ็นดูเหมือนลูก ฮ่าๆๆ ไม่เชื่อลองดู เวลาที่อยู่บ้านก็ช่วยโฮสด้วย เล็กๆ น้อยๆ ก็ทำไปเหอะ ถือเป็นการฝึกฝนการใช้ชีวิตด้วยตนเองไปในตัว ดังคำกล่าวที่ว่า อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่ายเล่น

      เพิ่มเติมนิดนึง "เราว่าบางอย่างก็ต้องใช้วัฒนธรรมต่างชาตินะ คนไทยจะพูดแบบเกรงใจกัน มีอ้อมค้อม แต่ฝรั่งเค้าไม่มี เค้าคิดยังไงก็พูดอย่างงั้น เหมือนขวานผ่าซาก บางทีคนไทยฟังแล้วก็อึ้ง สะเทือนใจ แต่เค้าก็พูดจากใจจริง แล้วก็จริงใจด้วย ตอนที่เรามาอยู่แรกๆที่นี่ ก็มัวแต่พูดแบบเกรงใจ จนในที่สุดก็เปลี่ยนไป พูดแบบตรงไปตรงมา ชัดๆเลย ชอบอะไร,ไม่ชอบอะไร ก็บอกตรงๆ แล้วก็ให้เหตุผลด้วย โฮสเค้าจะชอบมาก ถ้ามัวแต่มาเกรงใจกัน โฮสเค้าก็งงว่า มันจะเอายังไงแน่ไอ่นี่ ! (โฮสเรานะ ha ha ha) " ( USA 47 ) 

       
      หนทางของการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายไหนจะต้องสอบข้อเขียนเอยไหนจะต้องสอบสัมภาษณ์เอยแต่เมื่อผ่านมาได้แล้วนั้นถือว่าเป็นกำไรของชีวิต!!! แม้จะต้องแลกด้วยการซ้ำชั้นอีกหนึ่งปีมันก็คุ้มที่จะแลก อย่าเพิ่งยอมแพ้กับสิ่งที่ตัวเองหวัง และอย่าเพิ่งหมดหวังถ้าเราไม่ทำให้ดีที่สุดเพราะหนทางข้างหน้านั้นอาจจะไม่เลวร้ายอย่างที่เราคิดไว้ก็ได้ใครจะไปรู้ จริงมั้ย??

       
      ข้อคิด ::  เราไม่ได้เป็นเพียงแค่นักเรียนแลกเปลี่ยน แต่เราเป็นถึงทูตวัฒนธรรม

      ถ้าใครมีอะไรสงสัยก็ถามมาได้เดี๋ยวจะมาตอบให้เกลี้ยงแบบไม่มีกั๊ก


      ที่มา :::  ที่จริงบทความนี้มันต้องอยู่ในวารสารวิทยาศาสตร์โรงเรียนสตรีภูเก็ต (เฟียม่ได้ไปก๊อปมาน่ะ) เพราะเฟียเป็นนักเขียนในวารสารนั้นด้วย ถ้าเด็กสตรีภูเก็ตคนไหน อย่าตามมาเตะน่ะ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×