คำศัพท์ชีวทยา ม.4 บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เล่ม1 - คำศัพท์ชีวทยา ม.4 บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เล่ม1 นิยาย คำศัพท์ชีวทยา ม.4 บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เล่ม1 : Dek-D.com - Writer

    คำศัพท์ชีวทยา ม.4 บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เล่ม1

    คำศัพท์มาเสริฟแล้วคร๊าบ !!

    ผู้เข้าชมรวม

    12,861

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    36

    ผู้เข้าชมรวม


    12.86K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    8
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  24 ก.ค. 58 / 21:08 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    บทที่ 3
    เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
    (เล่มมดน้อย)
    # บางอันยังไม่ได้หานะ เรียงไม่ค่อยสวยขอโทษทีน๊า ที่ทำไฮไลต์ไว้ก็คือตัวคำศัพท์นะ  ^__^

    ด้านในของคลอโรพลาสต์ ยังมีเยื่อไทลาคอยด์ ส่วนที่พับทับซ้อนไปมาเรียกว่า กรานุม

    กอลจิบอดี มีรูปร่างเป็นลักษณะคล้ายชามซึ่งเรียกว่า ซิสเทอร์นา (cisterna หรือ flattened sac) เป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกัน เป็นชั้นๆ มีจำนวนไม่แน่นอน มีประมาณ 5-10 ชั้น มักพบ 2-8 อัน ตรงปลายของถุงมักโป่งออก ถุงเหล่านี้มีผนัง 2 ชั้น หรือยูนิตเมมเบรนเหมือนๆ กับเยื่อหุ้มนิวเคลียส และเยื่อหุ้มเซลล์ และมีโครงสร้างคล้าย SER ภายในถุงมีของเหลวบรรจุอยู่ โดยทั่วไป จะพบในเซลล์สัตว์ มีกระดูกสันหลัง มากกว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

    การตอบสนอง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และถ่ายทอดการรับรู้ไปยังหน่วยแปลความรู้สึก พร้อมทั้งออกคำสั่งให้หน่วยปฏิบัติงานทำงาน

    การรับสัญญาณ นำสัญญาณเข้าสู่ตัวเซลล์

    การส่งสัญญาณ การส่งสัญญาณออกนอกเซลล์

    ไกลโคโปรตีน (อังกฤษ: Glycoprotein) เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีนที่หลั่งออกนอกเซลล์ และโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยเป็นโปรตีนที่เชื่อมต่อกับโอลิโกแซคคาไรด์ มีหน้าที่ที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต พบในโมเลกุลที่เป็นโครงสร้าง เช่น คอลลาเจน ไฟบริน 

    คลอโรพลาสต์ (อังกฤษ: Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ขนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของกรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยงแต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด 

    คลอโรฟิลล์ (อังกฤษ: Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบ นอกจากนี้ยังพบได้ที่ลำต้น ดอก ผลและรากที่มีสีเขียว และยังพบได้ในสาหร่ายทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบได้ในแบคทีเรียบางชนิด คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 

    ไคทิน (อังกฤษ: Chitin;C8H13O5Nn (/ˈktɪn/) เป็นโครงสร้างภายนอกของเซลล์สัตว์ พบในเปลือกหอย กุ้ง ปู และแมลง เป็นโฮโมโพลีแซคคาไรด์

    Cutin

    สารประเภทขี้ผึ้ง พบมากในคิวทิเคิล ป้องกันการซึมผ่านของน้ำและแก๊ส

    แคโรทีนอยด์คือ วัตถุที่มีทั้ ง สีเหลือง ส้ม แดง และส้ม-แดง สามารถพบทัวไปในพืช และสิ่งมีชีวิตที่ สามารถสังเคราะห์แสงได้ ทํางานร่วมกบคลอโรฟิลส์ซึ่งเป็นวัตถุที่มีสีเขียวซึ่งทําหน้าที่ดูดซับพลังงานจาก แสงอาทิตย์เพื่อการสังเคราะห์แสงและช่วยการเจริญเติบโตของพืช

    โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อฮิสโตน(histone)เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน

    โครโมพลาสต์ (chromoplast) มีสีต่าง ๆ ยกเว้นสีเขียว เกิดจากรงควัตถุหลายชนิด เช่น แคโรทีนอยด์ ทำให้เกิดสีบนใบไม้หรือดอก

     โครโมโซม (Chromosome)เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA)รวมถึงหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(gene)[ยีน(gene)ก็อยู่ใน ดีเอ็นเอ (DNA) อีกที] ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว

     

    แกบ จังก์ชัน (อังกฤษ: Gap junction) หรือ เนกซัส (nexus) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สัตว์ [1][2][3]โครงสร้างเป็นโปรตีนที่แทรกตัวผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของทั้งสองเซลล์ เกิดเป็นช่องที่โมเลกุลขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าออกได้อยู่ภายในโปรตีนที่แทรกผ่าน เซลล์สามารถติดต่อสื่อสารหรือส่งสารเคมีระหว่างกันได้โดยผ่านแกบ จังก์ชันนี้

    ซิลิกา (จากภาษาละตินคำว่า silex) คือสารประกอบระหว่างออกไซด์และซิลิกอนรวมตัวกันเป็นสูตรทางเคมีคือ SiO2 และเป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยโบราณถึงความแข็งแกร่งของมัน ซิลิกามักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติอาจในรูปของทรายหรือควอตซ์ และในผนังเซลล์ของไดอะตอม ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก

     ซูเบอริน (suberin) เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งที่ผนังเซลล์นักสัตววิทยาชาวเยอรมันพิสูจน์ว่า ชาร์โคดหรือโพรโตพลาสซึมที่พบในเซลล์สัตว์และเซลล์พืชเป็นของเหลวชนิดเดียวกันสูตรกำลังขยายรวมใช้ได้กับกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

    เซนทริโอล (อังกฤษ: centriole) เป็นส่วนที่อยู่ใกล้นิวเคลียส พบในเซลล์สัตว์ และโพรทีสต์บางชนิด มีขนาดเล็ก ใส มีรัศมีแผ่ออกมาโดยรอบมีรูปร่างคล้ายท่อทรงกระบอก ในแต่ละเซลล์จะมีเซนทริโอล 2 อัน เรียงในลักษณะตั้งฉากกัน หน้าที่ของเซนทริโอล คือ ช่วยในการเคลื่อนที่ของโครโมโซมในขณะที่มีการแบ่ง เซลล์ ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์บางชนิด

    เซนโทรโซม (อังกฤษ: centrosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก พบในเซลล์สัตว์ทุกชนิดและพบในพวกโปรตีสต์บางชนิด ถ้ามีลักษณะ 2 อัน วางตั้งฉากกันจะเรียกว่า เซนโทรโซม (centrosome) ซึ่งแต่ละอันจะประกอบด้วย ไมโครทูบูล (microtubule) โดยมีโครงสร้างแบบ 9+0 (9+0=27) มีหน้าที่ในการแบ่งเซลล์ของสัตว์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของโครโมโซม โดยการสร้างเส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) หรือเส้นใยไมโทติก

     เซลล์ (อังกฤษ: Cell) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ในบางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต ("building blocks of life") สิ่งมีชีวิตบางชนิดเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (unicellular organism) เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ แต่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น พืช สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) (มนุษย์มีเซลล์อยู่ประมาณ 100 ล้านล้าน หรือ 1014 เซลล์)

    การเปลี่ยนสภาพของเซลล์ เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสทำให้ได้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น และเป็นผลให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น

    แวคิวโอล  เป็นช่องๆ ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายในเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotic cell) บางชนิด พบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักเล็กกว่าในพืช แวคิวโอลสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม 

    ไซโคลซิส (cyclosis หรือ cytoplasmic streaming) หมายถึง การไหลของไซโทพลาซึมไปรอบๆ เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นผลจากการหดและคลายของไมโครฟิลาเมนท์

    ไซโตซอล หรือของเหลวภายในเซลล์ (cytosol หรือ intracellular fluid หรือ cytoplasmic matrix) เป็นของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ในยูคาริโอตส่วนนี้จะแยกออกจากส่วนของออร์แกเนลล์ด้วยเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ ต่างจากไซโทพลาสซึม ซึ่งหมายถึงส่วนต่างๆที่อยู่ข้างในเยื่อหุ้มเซลล์ ไม่รวมนิวเคลียส ในโปรคาริโอต ปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่เกิดในไซโตซอล ส่วนน้อยเกิดที่ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์ที่ม้วนพับไปมา

    ไซโทพลาซีม เป็นส่วนหนึ่งของโพรโทพลาสซึม ที่อยู่รอบ ๆ นิวเคลียส ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตภายในเซลล์ เป็นของเหลว ซึ่งภายในมีหลายอย่างที่สำคัญเช่น คลอโรพลาสต์ ในคลอโรพลาสมีคลอโรฟิลล์เอาไว้สังเคราะห์แสง มีออแกเนล ซึ่งทำให้เซลล์มีชีวิตอยู่ได้เป็นต้น ซึ่งสามารถพบได้ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

    ไซโทสเกเลตอน เป็นเส้นใยโปรตีนที่เชื่อมโยงกันเป็นร่างแหเพื่อค้ำจุนรูปร่างของเซลล์และเป็นที่ยึดเกาะ ของออร์แกเนลล์  เช่น คลอโรพลาสต์ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม ให้อยู่ตามตำแหน่งต่าง ๆ เปรียบได้กับโครงกระดูกของเซลล์ อีกทั้งลำเลียง ออร์แกเนลล์ให้เคลื่อนที่ภายในเซลล์

    ด้านที่มีขั้ว...............................................................................................

    ด้านที่ไม่มีขั้ว............................................................................................

    ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system

    ทฤษฎีเซลล์ ในวิชาชีววิทยา เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายคุณสมบัติของเซลล์ หน่วยโครงสร้างพื้นฐานในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด การพัฒนาทฤษฎีเซลล์ช่วงต้น ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 อาศัยความก้าวหน้าของจุลทรรศนศาสตร์ ทฤษฎีเซลล์เป็นหนึ่งในรากฐานของวิชาชีววิทยา

    ทฤษฎีเซลล์อธิบายได้ดังนี้

    1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า

    2. เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้าง การทำหน้าที่และการจัดระเบียบพื้นฐานในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

    3. ทุกเซลล์มาจากเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ก่อน

    ธีโอดอร์ ชวันน์, มัททิอัส ยาคอบ ชไลเดน และรูดอล์ฟ วีร์โชว์มักได้รับเกียรติว่าเป็นผู้พัฒนาทฤษฎีเซลล์

    ไมโครทิวบูลประกอบด้วยโปรตีนหน่วยย่อยคือโปรตีนทิวบูลิน (tubulin) ซึ่งมีหลายชนิดได้แก่ แอลฟา-ทิวบูลิน เบต้า-ทิวบูลิน และแกมมา-ทิวบูลิน เป็นต้น โดยแกมมา-ทิวบูลินนั้น จะทำหน้าที่เป็นฐานเพื่อให้แอลฟาและเบต้า-ทิวบูลินมาต่อเป็นสายยาวได้

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×