ภิกษุไร้นาม2024 - นิยาย ภิกษุไร้นาม2024 : Dek-D.com - Writer
×

    ภิกษุไร้นาม2024

    ท้องฟ้าสีคราม ประดับด้วยปุยเมฆสีขาวลอยฟ่องอยู่เป็นกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ ภายใต้แผ่นนภาอันกว้างไกล แสดงถึงความแจ่มใสของโลกที่พ้นฤดูฝนมาแล้ว ท้องฟ้าสีคราม ปุยเมฆสีขาว เป็นสิ่งที่มีมานานแล้วตั้งแต่โลกเกิด

    ผู้เข้าชมรวม

    961

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    28

    ผู้เข้าชมรวม


    961

    ความคิดเห็น


    6

    คนติดตาม


    24
    หมวด :  ผจญภัย
    จำนวนตอน :  24 ตอน (จบแล้ว)
    อัปเดตล่าสุด :  20 พ.ย. 66 / 20:14 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

     

    ฌาน (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

    ฌานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

    1. อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
    2. ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค ผล
      1. วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
      2. มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
      3. ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพาน อันมีลักษณะเป็น สุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง

    แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

    1. รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
    2. ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
    3. ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
    4. ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
    5. จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
    6. อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
    7. อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
    8. วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
    9. อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
    10. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)

    เมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า " ฌาน 4" จะหมายถึง แค่รูปฌาน 4 และเมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า "ฌาน 8" จะหมายถึง รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4 แต่ตามหลักอภิธรรมโดยสภาวะ อรูปฌานทั้ง 4 ท่านจัดว่าเป็นเพียงจตุตถฌาน เพราะประกอบด้วย อุเบกขา เอกกัคคตา เช่นเดียวกับจตุตถฌานของรูปฌาน เพียงแต่มีอารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้งกว่า จึงแยกเรียกโดยบัญญัติว่าฌาน 8 เพื่อความเข้าใจ

    สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งจนได้ฌาน ได้มีการรวบรวมไว้เรียกว่าสมถกรรมฐาน สิ่งที่ขวางกั้นจิต ไม่ให้เกิดฌาน คือ นิวรณ์

    ฌานสมาบัติ

    สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีตซึ่งพึ่งเข้าถึง มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ เป็นต้น สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ 8 อันได้แก่ ฌาน 8 (รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4)

    ในบางกรณี รูปฌาน 4 อาจถูกจำแนกใหม่ในรูปแบบของ ปัญจมฌาน เป็นการจำแนกตามแบบพระอภิธรรม เรียกว่า ปัญจกนัย การจำแนกตามแบบพระสูตร เรียกว่า จตุกนัย ที่ต้องจำแนกเป็นปัญจมฌาน เนื่องจากฌานลาภี(ผู้ได้ฌาน)มี 2 ประเภท คือ ติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) และ มันทบุคคล (ผู้รู้ช้า)

    อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 หมายถึง สมาบัติ 8 กับ นิโรธสมาบัติ

     

    ญาณ (บาลี: ญาณ ñāṇa; สันสกฤต: ज्ञान ชฺญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง

    ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง

    มีการกล่าวถึงญาณในหลายลักษณะ หรืออาจจัดแบ่งญาณได้เป็น ญาณ 3 (3 หมวด) และ ญาณ 16 (ในวิปัสสนาญาณ) ดังนี้

    ญาณ 3 ได้แก่ วิชชา 3

    คำว่า 'ญาณ' 3 อาจหมายถึงวิชชา 3 คือ[1]

    • บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เกิดในอดีตได้ คือ การระลึกชาติของตนได้
    • จุตูปปาตญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง
    • อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวะให้สิ้นไป

    ญาณ 3 ในส่วนอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน

    ญาณ 3 อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่[2]

    • อตีตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอดีต
    • อนาคตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอนาคต
    • ปัจจุปปันญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนปัจจุบัน

    ญาณ 3 ในการหยั่งรู้อริยสัจ[แก้]

    ญาณ 3 อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่[3]

    • สัจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง
    • กิจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้กิจในอริยสัจ
    • กตญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ

    ญาณ 16

    ญาณ 16 ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลีโดยตรงทั้งหมด แต่วิปัสสนาจารย์สายพม่าได้เรียบเรียงจากญาณที่ระบุในปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีร์วิสุทธิมรรค รวมกัน 16 ขั้น เรียกว่า ญาณ 16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ได้แก่

    1. นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
    2. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
    3. สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้
    4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า อุพยัพพยญาณ) หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
    5. ภังคานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า ภังคญาณ) หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว
    6. ภยตูปัฏฐานญาณ (เรียกโดยย่อว่า ภยญาณ) หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
    7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า อาทีนวญาณ) หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
    8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า นิพพิทาญาณ) หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
    9. มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
    10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า ปฏิสังขาญาณ) หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
    11. สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
    12. สัจจานุโลมิกญาณ (เรียกโดยย่อว่า อนุโลมญาณ) หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ)
    13. โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
    14. มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
    15. ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
    16. ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)

    วิปัสสนาญาณ 9

    แต่เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา จะมีเพียง 9 ขั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหนึ่งในวิสุทธิ 7) ที่บรรยายคัมภีร์ในวิสุทธิมรรค แต่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ นับรวม สัมมสนญาณ ด้วยเป็น 10 ขั้น) เมื่อโพชฌงค์เจริญบริบูรณ์ครบ 7 ข้อ จิตจึงมีกำลังสามารถเห็นวิปัสสนาญาณได้ และใช้วิปัสสนาที่ปรากฏขึ้นมาเป็นเครื่องมือนำไปสู่มรรค ผล นิพพาน

    • วิปัสสนาญาณคืออุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ภังคานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นอนิจจัง
    • วิปัสสนาญาณคือภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ นิพพิทานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นทุกขัง
    • วิปัสสนาญาณคือมุจจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ สังขารุเบกขาญาณ นั้นเห็นอนัตตา

    ญาณ16 จัดเข้าในวิสุทธิ 7

    • นามรูปปริทเฉทญาณ จัดเข้าใน ทิฏฐิวิสุทธิ
    • นามรูปปัจจยปริคคหญาณ จัดเข้าในกังขาวิตรณวิสุทธิ
    • สัมมสนญาณและอุทธยัพพยญาณอย่างอ่อน จัดเข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ
    • วิปัสสนาญาณทั้ง 9 จัดเข้าในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
    • โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ

    ลักษณะ 3 อย่างในญาณ 16

    1. สภาวะลักษณะ เห็นลักษณะที่ปรากฏจากความเป็นไปของธาตุ ปรากฏตั้งแต่ยังไม่ได้ญาณถึงนามรูปปัจจยปริคหญาณ
    2. สังขตลักษณะ เห็นลักษณะคือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ปรากฏตั้งแต่สัมมสนญาณ
    3. สามัญญลักษณะ เห็นลักษณะทั้งสามหรือไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏตั้งแต่อุทธยัพพยญาณ

     

     

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น