การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในธิเบต - การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในธิเบต นิยาย การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในธิเบต : Dek-D.com - Writer

    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในธิเบต

    ประวัติ และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในธิเบต

    ผู้เข้าชมรวม

    9,921

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    9.92K

    ความคิดเห็น


    10

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  5 พ.ค. 49 / 22:46 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       

          เดิมนั้นชาวธิเบตนับถือคติผีสางเทวดาอย่างหนึ่ง ว่า ลัทธิบอนโป ต่อมา
      พระเจ้าสรองสันคัมโป(ประสูติ พ.. ๑๑๖๐) ประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ธิเบตได้รุกรานจีน จนตีไปถึงเมืองเสฉวน พระจักรพรรดิจีนในสมัยนั้น คือ พระเจ้าถังไท่จงมหาราช ทรงพระประสงค์จะผูกสัมพันธ์ไมตรีกับกษัตริย์แห่งธิเบต จึงได้ทรงพระราชทานพระธิดาพระองค์หนึ่ง ให้เป็นพระมเหสีกับพระเจ้าสรองตสันคัมโป คือพระนางเวนเชง กงจู๊(หรือเหวินเฉิน) ในขณะนั้นธิเบตก็ได้ยกกองทัพเข้าตีเนปาลเหมือนกัน ซึ่วกษัตริย์เนปาลก็ได้ทรงกระทำเช่นเดียวกับจีน เพื่อผูกสัมพันธ์ไมตรี(โปรดเข้าใจว่าสมัยธิเบตยังไม่ไดนับถือพระพุทธศาสนานั้น ชาวธิเบตก็เป็นชนชาตินักรบดีๆนี่เอง หลังจากที่ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ก็กลายเป็นชนชาติที่มีความเมตตากรุณาขึ้นมา) ได้ทูลถวายพระราชธิดาเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสรองตสันคัมโป คือพระนางกฤกุฏีเทวี อาศัยที่พระมเหสีทั้งสองพระองค์ของพระเจ้าสรองตสันคัมโป ทรงเป็นพุทธอุบาสิกา นับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงมาเป็นพระมเหสีของกษัตริย์ธิเบตแล้ว ได้ทรงนำอาพระพุทธรูป พระธรรมคัมภีร์ติดพระองค์มาด้วย จึงทำให้เป็นที่สนพระทัยของพระเจ้าสรองตสันคัมโป เหตุนี้เอง พระพุทธศาสนาจึงได้เริ่มเข้าสู่ประเทศธิเบต... พระเจ้าสรองตสันคัมโป ได้ทรงสร้างพระวิหาร(วัด)ในพระพุทธศาสนา เป็นแห่งแรกในธิเบต คือวัดโจกัง และยังได้ทรงส่งทูตชื่อว่า ทอนมิสัมโภตะ ไปศึกษาพระพุทธศาสนาและภาษาต่างๆ ในประเทศอินเดีย เมื่อกลับมายังมาตุภูมิ จึงได้นำเอาอักษรเทวนาครีของอินเดีย มาดัดแปลงให้เป็นอักษรธิเบต และได้มีการนำเอาคัมภีร์พระพุทธศาสนา ภาษาสันสกฤต มาแปลเป็นอักษรธิเบตด้วย
      อย่างไรก็ดี พระพุทธศาสนา ในยุคเริ่มแรกนี้ ยังไม่มีความแพร่หลายมากนัก เพาะยังเป็นศาสนาที่ใหม่อยู่ ในสายตาของชาวธิเบต อีกประการหนึ่ง ยังได้รับการไม่ยอมรับ และการต่อต้าน จากลัทธิศาสนาเดิม ของชาวธิเบต(ลัทธิบอนโป)อีกด้วย
      กาลต่อมา ... นับจากพระเจ้าสรองตสันคัมโป พระมหากษัตริย์ องค์ที่ ๕ นับจากสมัยของพระเจ้าสรองตสันคัมโป (ประมาณ พ.. ๑๒๙๙-๑๓๔๐)คือพระเจ้าถิสรองเดสสัน พระองค์ได้ทรงอาราธนา พระศานติรักษิต แห่งมหาวิทยาลัยนาลันทา มาเผยแพร่หลักพุทธธรรมที่แท้ในธิเบต แต่ประจวบเวลานั้น เกิดมีภัยธรรมชาติและโรคระบาด ประชาชนทั้งหลายจึงเห็นไปว่า เป็นอาเพศเพราะการนำลัทธิผิดแปลกเข้ามาสั่งสอน ถึงกับพระศานติรักษิตต้องกลับไปอินเดียครั้งนึงก่อน เพื่อกลับไปหาอาจารย์ขลังๆ เป็นพระภิกษุผู้ทรงอภิญญา และมีอิทธิฤทธิ์ เพื่อให้เข้ากันได้กับอุปนิสัยของชาวธิเบต และเพื่อใช้สู้กับลัทธิผีสางเทวดา ในถิ่นเดิม จึงไปอาราธนานิมนต์ พระอาจารย์ผู้เป็นสิทธะ ในนิกายมนตรยาน ชื่อดังรูปหนึ่ง คือ พระปัทมสัมภวะ

        เมื่อท่านปัทมะสัมภวะเข้าไปในธิเบตแล้ว ก็ได้ทำการสั่งสอน ปนกับการใช้อิทธิฤทธิ์ของท่าน ซึ่งเป็นที่ถูกจริตของชาวธิเบตเป็นอย่างมาก เมื่อชาวธิเบตเริ่มมีความสนใจในพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านศานติรักษิตจึงได้เริ่มสอนพุทธธรรมที่แท้จริงในภายหลัง
      เพราะเหตุที่พระพุทธศาสนายุคแรกในธิเบต มีท่านปัทมะสัมภวะเป็นผู้ ทำให้ประดิษฐานอยู่ได้ ดังนั้น จึงทำให้พระพุทธศาสนาในธิเบต มีทั้งพุทธธรรม และปนไปกับไสยศาสตร์ ตามแนวคิดที่ว่า "ในบางครั้ง พุทธกับไสย ย่อมอาศัยแก่กัน"
         
      นอกจากนั้นท่านปัทมสัมภวะยังเป็นผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนานิกายแรกสุดในธิเบต คือ นิกายณยิงมะปะ ในธิเบต
         กษัตรย์ธิเบตพระองค์ต่อๆมา แทบทุกพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา บางองค์ทรงเป็นปราชญ์ รอบรู้ธรรมลึกซึ้ง วรรณคดีพระพุทธศาสนาได้เจริญมากขึ้น เช่น มีการจัดทำพจนานุกรมภาษาสันสกฤตธิเบตฉบับแรก เมื่อประมาณ พ.. ๑๓๕๗ มีการเขียนประวัติศาสตร์ธิเบตฉบับแรก ในรัชสมัยพระเจ้าราลปาเชน(.. ๑๓๕๙-๑๓๘๑) เป็นต้น เฉพาะกษัตริย์องค์หลังนี้ทรงมีพระราชศรัทธาแรงกล้าถึงกับทรงสยายพระเกศารองเป็นอาสนะ ให้พระสงฆ์นั่งล้อมแสดงธรรมถวายแด่พระองค์ และในสมยันั้นได้มีการติดต่อประสานงานด้านพระพุทธศาสนา
      กับทางอินเดียมากขึ้น มีการอาราธนาพระคณาจารย์จากอินเดีย มาจากมหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลา มาสั่งสอนธรรม และช่วยงานแปลพระคัมภีร์จากสันสกฤต เป็นภาษาธิเบต เช่น ท่านกมลศีล ท่านเทเวนทรโพธิ ได้อุทิศชีวิตของตนช่วยงานแปลคัมภีร์ในธิเบต จึงทำให้ธิเบต กลายเป็นแหล่งรวมพระคัมภีร์ทั้งฝ่ายสาวกยาน และมหายานในยุคหลังๆอย่างมาก ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเริ่มสาบสูญไปจากอินเดียจากภัยอิสลาม และชาวธิเบตบางส่วนผู้ใฝ่ในการศึกษาพระพุทธธรรม ทั้งพระ และฆราวาส ได้เดินทางจากธิเบตไปหมอบกราบแทบเท้า(คือไปเรียน)ในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน มหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลา โอทันตปุรี เป็นต้น เมื่อท่านเหล่านี้กลับมา ก็ได้ทำงานแปลพระคัมภีร์บ้าง แต่งอรรถกถา ฏีกาขยายความบ้าง เรียกว่า เป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในธิเบต สมัยเริ่มแรกเลยทีเดียว
      พระพุทธศาสนาในธิเบตคงจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปยิ่งกว่านี้เป็นแน่ หากว่า.....จะไม่มีกษัตริย์ทรราชมาทำลายพระพุทธศาสนาซะก่อน...
         
      หลังจากรัชสมัยของพระเจ้าราลปาเชน(หลักฐานบางแห่งว่า พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์) และกษัตริย์ผู้เป็นปฏิปักษ์พระพุทธศาสนาก็ขึ้นครองราชย์(พระเจ้าคลังดามา) ได้ทำลายพระพุทธศาสนา พระภิกษุสงฆ์ และคัมภีร์เป็นจำนวนมาก จนพระสงฆ์บางส่วนต้องลี้ภัยไปอยู่ตามชายแดนจีนกับอินเดีย พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมลง แต่กฏแห่งกรรมก็ทำหน้าที่ได้อย่างชะงัดนัก...กษัตริย์ทรราชองค์นี้ทรงมีพระชนม์สั้น หลังจากครองราชย์ได้ ๕ ปี ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ในงานเต้นรำ รัชทายาทของพระเจ้าลางคมาก็ได้เริ่มทำงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนา แต่สถารการณ์พระพุทธศาสนาในธิเบตตอนนั้น อยู่ในฐานะระส่ำระสาย อาณาจักรธิเบตแตกแยกออกไปเป็นหลายแคว้น เมื่อชาติไม่สามัคคี พระพุทธศาสนาในธิเบตก็ไม่สามารถจะดำเนินต่อไปได้...
         
      จนกระทั่ง ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕(ประมาณ พ.. ๑๕๐๐-๑๖๐๐)เจ้าครองแคว้นองค์หนึ่ง พระนามว่า ขอเด (ภายหลังสละราชสมบัติไปบวชเป็นพระลามะ) ได้ส่งทูตไปอินเดีย นิมนต์พระ อตีศ ทีปังกร ได้เดินทางมาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในธิเบต ท่านอตีศได้เดินทางมาฟื้นฟูเรื่องพระวินัย และได้เขียนหนังสืออันมีชื่อเสียงในธิเบต คือ โพธิบทประทีปศาสตร์ ศิษย์ของท่านผู้นี้ได้ตั้งนิกายวินัยขึ้นในธิเบต ครั้นลุถึงปลายศตวรรษที่ ๑๘ มีพระธิเบตรูปหนึ่งชื่อตสองขะปะ เป็นชาวเมืองอัมโดใกล้ๆกับทะเลสาบโกโปนอ ตสองขะปะเป็นมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของธิเบต ได้สร้างวัดกันดันขึ้นใกล้ๆกับลาซา(เมืองหลวงของธิเบต) และได้ตั้งนิกาย เคลุกปะ(นิกายหมวกเหลือง ซึ่งต่อมาเป็นนิกายทางราชการธิเบต และองค์ทะไลลามะทุกพระองค์ ทรงเป็นพระในนิกายนี้)โดยมีจุดมุ่งหมายในทางปฏิบัติพระวินัยให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ส่วนลามะในนิกาย ณยิงมะปะ(นิกายหมวกดำ) ส่วนมากประพฤติเลอะเทอะ คือมีลูกเมียได้ในวัด และทำตัวเป็นพ่อมด คือไม่สนใจเรื่องพระธรรมวินัยเลย จะเอาแต่เรื่องขลังอย่างเดียว แต่นิกายเคลุกปะนี้ห้ามเด็ดขาด ......
         
      หลังจากนั้น ศิษย์ของตสองขะปะได้สร้างวัดใหญ่ขึ้นอีก เช่นวัดเดรปุง วัดเซรา(ศีล) วัดตชิลุมโป ตสองขะปะได้เขียนอรรถกถา ฏีกาจำนวนมาก เล่มที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านคือ โพธิมรรค อนุปุพพศาสตร์ ใช้เป็นหลักสูตรหนึ่ง ในการศึกษาพระปริยัติธรรมในธิเบตเดี๋ยวนี้* ภายในเล่ม กล่าวอธิบายเรือง ศีล สมาธิ ปัญญา คล้ายคลึงกับวิสุทธิมรรคมาก เมื่อท่านตสองขะปะจะมรณภาพได้สั่งให้ศิษย์ชั้นผู้ใหญ่สองรูป ทำหน้าที่ตายแล้วเกิดใหม่.. เป็นการเริ่ม ระบบอวตาร ของธิเบต**

               พระปัทมสัมภวะคุรุปัทมสมภพ ธิเบตเรียก กูรูรินโปเช่ ชาวพุทธวัชรยานถือว่าพระองค์เป็นพุทธเจ้าองค์ที่ 2 พระองค์ทรงเป็นวัชรนิรมานกายของพระอมิตาภะพุทธเจ้า วัชรธรรมกายของพระองค์คือวัชรธรรมกายของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระองค์เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้าสู่ธิเบตและดินแดนในแถบหิมาลัย ในพระสูตรวัชรยาน ได้บันทึกไว้ ว่าพระพุทธศากยะมุนีพุทธเจ้าได้สั่งพระอานนท์เถระเจ้าไว้ว่าหลังพระองค์ปรินิพาน 8 ปี ให้พระอานนท์รับบุรุษผู้หนึ่งจากแคว้นอุทยานเป็นศิษย์ให้ถ่ายทอดธรรมทั้งสิ้นให้ ด้วยว่าท่านผู้นั้นจะเป็นผู้จรรโลงพุทธศาสนาต่อไปจนถึยุดสุดท้าย ท่านก็คือ "องค์คุรุปัทมสมภพ"หรือกูรูรินโปเช่นั่นเอง ในช่วงเวลา800ปี ในอินเดียบางช่วงท่านก็ปรากฏขึ้น บางช่วงท่านก็หายไป จนกระทั่งก่อนจะเข้าธิเบตจากการเชื้อเชิญจากกษัตริย์ไตรซองเดสเซนตามคำแนะนำของพระศานตรักษิต ท่านเป็นคุรุผู้บรรลุแห่งมหาวิทยานาลันทา ทรงความรู้ความสามารถ อิทธิปาฏิหาริย์ในพุทธตันตระยานอย่างถ่องแท้ หลังจากที่ท่านได้เข้าธิเบตแล้ว ทำให้ประชาชนในธิเบตและในแถบเทือกเขาหิมาลัยหันมาเป็นชาวพุทธและพุทธตันตระยานจะเป็นพุทธศาสนาที่รุ่งเรือง มั่นคงไปทั่วโลกในยุดต่อไป

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×