รวมคำคม ภาษิต จีน - นิยาย รวมคำคม ภาษิต จีน : Dek-D.com - Writer
×

รวมคำคม ภาษิต จีน

รวม คำคม ภาษิตจีน ที่เจอบ่อยๆ ในนิยาย

ผู้เข้าชมรวม

40,585

ผู้เข้าชมเดือนนี้

381

ผู้เข้าชมรวม


40.58K

ความคิดเห็น


36

คนติดตาม


906
จำนวนตอน : 80 ตอน
อัปเดตล่าสุด :  17 ม.ค. 61 / 13:12 น.

อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ

                
มารู้จักภาษิตจีนกันเถอะ

               สุภาษิตเปรียบเสมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การศึกษาสุภาษิตจีนเป็นการศึกษาเพื่อค้นคว้าหาแนวความคิด และวิถีชีวิตของมนุษย์ในอดีต ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นบทเรียนสำหรับการดำเนินชีวิตของชนรุ่นหลังในปัจจุบันคำกล่าวที่ยกมานี้ไม่ได้ผิดไปจากข้อแท้จริงของความหมายโดยแท้จริงนัก 

                 คำสุภาษิต หรือสำนวนของชนชาติใดไม่ว่าผ่านกาลเวลาไปนานสักเท่าไร ได้สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละท้องถิ่นนั้นนั่นเอง เรามักใช้สุภาษิตในการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ในการชมเชย ให้กำลังใจ การสั่งสอนการออกตัว การเสียดสี และการเยาะเย้ย ฯลฯ ดังนั้นควรจะเข้าใจความหมายและขอบเขตของสุภาษิตแต่ละบท 

    สุภาษิตมีที่มา มาจาก 4 แหล่ง
1. สุภาษิตที่มาจากพงศาวดารจีน古代文献 หรือวรรณกรรมจีนโบราณ มี 3 ประเภท ได้แก่
               1.1) เค้าโครงประวัติศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องทหาร ชนรุ่นหลังได้ใช้คำวลี หรือประโยคสั้น ๆ แต่กินใจแทนเรื่องราวเหล่านี้ เช่น 

望梅止渴(三国)วั่ง เหม่ย จือ เข่อ (ซานกั๋ว)   “มองต้นบ๊วยแล้วหยุดกระหายน้ำ(สามก๊ก)”
四面楚歌(秦朝)ซื่อ เมี่ยน ฉู่ เกอ (ฉิน ฉาว)   “ถูกศัตรูล้อมทั้งสี่ด้าน (ราชวงศ์ฉิน)”

               1.2) เค้าโครงนิทาน ซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ในวรรณกรรมจีนโบราณได้บันทึกเรื่องราว ที่สนุกสนานและน่าสนใจหลายเรื่องในที่นี้มีคำสุภาษิตหลายบทที่มีมาจากนิทานเหล่านี้ด้วย

狐假虎威(战国)หู เจี่ย หู่ เวย (จั๋นกว๋อ)        “หมาจิ้งจอกแอบอ้างอำนาจเสือ(ยุคสงคราม)
滥竽充数(战国)ลั่น หวี ซง ซุ่ (จั๋นกว๋อ)      “ตบตาคนโดยเอาของเสียปนกับของดี(ยุคสงคราม)

               1.3) ตัดตอนมาจากบทประพันธ์โบราณ สุภาษิตบางคำมาจากบทประพันธ์โบราณ และบางคำได้วิวัฒนาการมาจากบทประพันธ์โบราณมาเป็นสุภาษิตอีกต่อหนึ่ง เช่น    
                       
青出于蓝      ชิง ชู หวี หลัน(สวิน จื่อ เชวี่ยน เสวีย)  “ลูกศิษย์เก่งกว่าครู”(เรื่องการศึกษาของสวินจื่อ)
后来居上      โฮ่ว ไหล จวี ซั่ง(สื่อ จี้)     “คนมาทีหลังดังกว่า”(พงศาวดารเรื่องสื่อจี้)

  2.   สุภาษิตมาจากการสืบทอดทางวรรณกรรมพื้นบ้าน 民间文学 ซึ่งมีคำสุภาษิตที่ชาวบ้านนิยมใช้กัน
       亡齿寒              ฉุน หวัง ฉื่อ หัน        “ลิ้นกับฟัน”
            孤掌难鸣              กู่ จั่ง หนัน หมิง        “ตบมือข้างเดียวไม่ดัง”

 3.   สุภาษิตที่มาจากภาษาจีนปัจจุบัน 现代汉语 ภาษาเป็นสิ่งที่มีวิวัฒนาการตามกาลสมัย ปัจจุบันมีคำสุภาษิตที่เกิดใหม่จำนวนมากที่สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งใหม่ หรือความรู้สึกนึกคิดของคนรุ่นใหม่ เช่น 

                                   脚踏实地            เจี่ยว ท่า สือ ตี้           “เท้าติดดิน”
                         取长补短            ฉวี่ ฉัง ปู๋ ต่วน           “หยิบยาวปะสั้น”

4.   สุภาษิตที่มาจากภาษาต่างประเทศ 外来语 ซึ่งมาจากมิตรภาพของชนเผ่าต่าง ๆ ที่มีการติดต่อแลกแปลี่ยนกันทางศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน มีสุภาษิตต่างประเทศไม่น้อย ที่มีปรากฏอยู่ในสุภาษิตจีนปัจจุบัน เช่น

             五体投地          อู๋ ถี่ โถว ตี้                  “ เบญจางคประดิษฐ์ ”(เลื่อมใสอย่างยิ่ง)
             现身说法   เซี่ยน เซิน ซวอ ฝ่า               “ ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ”
             回头是岸         หุย โถว ซื่อ อั้น               “ กลับใจเป็นคนดี ”

                         นอกจากนี้ถ้าเราเปรียบเทียบสุภาษิตจีนและสุภาษิตไทย จะพบว่าสุภาษิตทั้งสองประเทศมีความหมายใกล้เคียงกัน เนื่องจากภาษาจีนกับภาษาไทยเป็นภาษาที่จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบตด้วยกัน ทั้งสองภาษานี้มีการถ่ายโอนและแลกเปลี่ยนคำกัน มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีใกล้เคียงกัน ดังนั้นเรามักจะเห็นคำสุภาษิตของสองประเทศมีความคล้ายคลึงกันมาก เช่น


             自力更生                    จื้อ ลี่ เกิ้ง เซิง         “พึ่งลำแข้งตนเอง”
             口是心非                    โข่ว ซื่อ ซิน เฟย       “ปากหวานก้นเปรี้ยว”
             知面不知心             จือ เหมี่ยน ปู้ จือ ซิน     “รู้หน้าไม่รู้ใจ”
             唇亡齿寒                    ฉุน หวัง ชือ หาน      “น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า”
             尽力而为                    จิ้น ลี่ เอ่อร์ เว่ย        “หนักเอาเบาสู้”
             天长地久                    เทียน ฉาง ตี้ จิ่ว       “ชั่วฟ้าดินสลาย”

                ยังมีคำสุภาษิตอีกมากมายที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม ประเพณีของชนชาตินั้น โดยทั้งผ่านอักษรสั้นๆจนกระทั่งถึงเป็นประโยคยาวๆ มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ซึ่งเราควรเลือกใช้สุภาษิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์






ที่มา  http://toeyyeh.blogspot.com/2013/09/blog-post_27.html

นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

คำนิยม Top

ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

คำนิยมล่าสุด

ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

ความคิดเห็น