ข้อควรระวังในการบริโภคน้ำมันปลา มาจนได้แล้วน่ะครับไปอ่านด้วย
เกือบจะบอกว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างไรบ้างตอนนี้คือ ถ้าคุณไม่แน่ใจว่า น้ำมันปลาเหล่านี้ต้องระวังให้ดีๆน่ะครับสำคัญเท่ากันแต่ไม่เท่ากันเลยก็ได้น่ะครับให้คุณแนะนำไปลองอ่านดูกันน่ะครับ
ผู้เข้าชมรวม
2,638
ผู้เข้าชมเดือนนี้
11
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
- กรดดีโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA ( Decoxahexaenoic Acid )
- กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก หรือ EPA ( Eicosapentaenoic Acid )
จากการศึกษาพบว่าการบริโภคน้ำมันตับปลาทะเลอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือดได้ โดยการป้องกันการสะสมของไขมันใต้ผนังหลอดเลือดแดง (Arteroma)จากการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและการป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Thrombosis) จากการเพิ่ม Thrombroxane A3 (TXA3)
น้ำมันปลาทะเลที่ใช้ควรมีปริมาณ EPA สูงขนาดที่ใช้ประมาณ 3 กรัมต่อวัน และต้องบริโภคอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาทดลองในคนจำนวนมากเป็นเวลานานเพียงพอ จึงไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าการบริโภคน้ำมันปลาทะเลจะช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดแดงได้และจะมีอันตรายในระยะยาวหรือไม่
DHA พบมากทีสมองและจอตาของสัตว์บกและคน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดบ่งบอกว่า DHA มีผลต่อสายตาและการเรียนรู้ในระยะยาว ถ้าจะเติม DHA ในผลิตภัณฑ์นมเลี้ยงทารกและเด็กเล็กต้องเติม AA (Arachidonic acid) โดยมีปริมาณอัตราส่วนของ DHA และ AA เท่ากับในนมแม่ ไม่ควรมี EPA และอัตราส่วน กรดไลโนเลอิก และกรดไลโนเลนิค ต้องเท่ากับในนมแม่
ไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้นที่แสดงว่าถ้าบริโภคน้ำมันปลาทะเลแล้วจะทำให้เด็กฉลาดมากขึ้นและทำให้ผู้สูงอายุมีความจำดีขึ้น
น้ำมันปลาทะเลอาจเป็นประโยชน์ในการลดการอักเสบ ( inflammatory ) และโรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทาน ( Immunologic disease ) เช่น SLE, rheumatoid arthritis เป็นต้นด้วยการที่ EPA ไปแทนที่ AA ยับยั้งการสังเคราะห์ cytokines ที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น IL-1,IL-2 และ TNF มีรายงานผลการศึกษาการบริโภคน้ำมันปลาทะเลวันละ 6 กรัม ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 2.6 กรัม นาน 12 เดือนในผู้ป่วย rheumatoid arthritis พบว่าผู้ป่วยมีอาการของข้อดีขึ้นและสามารถลดยาที่รักษาอยู่ได้โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่บริโภคน้ำมันมะกอกวันละ 6 กรัมเช่นกัน
ข้อควรระวังในการบริโภคน้ำมันปลา
1. เลือดออกง่าย(Excess Bleeding) เนื่องจากการลดการจับตัวของเกร็ดเลือด ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ที่รับประทาน Baby Aspirin เป็นประจำ
2. เพิ่มความต้องการวิตามินอี เนื่องจากร่างกายต้องนำวิตามินอีไปต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัว (PUFA) ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับ Antioxidant ไม่เพียงพอในระยะยาวอาจส่งเสริมการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เนื่องจากการเพิ่ม oxidize LDL
3. อาจเกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจาก EPA กดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
น้ำมันปลาแม้จะมีประโยชน์ในการรักษาดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากน้ำมันปลาทะเลมีกลิ่นแรงและต้องใช้ขนาดสูง ผู้ป่วยมักรู้สึกผะอืดผะอมและปั่นป่วนในท้องมากจนต้องหยุดรับประทานไปในที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงควรบริโภคปลาทะเลแทนน้ำมันปลาทะเลในปริมาณสัปดาห์ละ 3 มื้อ มื้อละ100 กรัม
ที่มา
http://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/botanay-food/sub5_1.htm
ผลงานอื่นๆ ของ Hyper Blossom ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Hyper Blossom
ความคิดเห็น