โทษของ สารระเหย ระวังให้ดี ไม่งั้นถึงตายได้
ระวังให้ดี สารระเหย มีโทษอย่างไรลองไปอ่านกันน่ะครับ เพราะว่าสารระเหย มีโทษมากกว่า แล้วที่จริงๆ จะทำอย่างไร พวกสารระเหย มีโทษที่น่ากลัวที่สุดต้องระวังให้ดี
ผู้เข้าชมรวม
5,071
ผู้เข้าชมเดือนนี้
12
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ความหมายของสารเสพติดและสารระเหย
องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของยาเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษ ว่าหมายถึง ยาหรือสารที่สามารถมีปฏิกิริยาต่อร่างกาย ทำให้เกิดการติดยาทางร่างกายหรือจิตใจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของร่างกาย เมื่อหยุดใช้ยาจะเกิดอาการเนื่องจากการหยุดยา คือหงุดหงิด ตื่นเต้น หาวนอน น้ำมูกน้ำตาไหล เหงื่อออกมาก ขนลุก ตะคริว นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ
ในกรณีสารระเหย การติดทางจิตใจมีแน่นอน เนื่องจากผู้ที่จะเสพติดสารระเหยมักมีบุคคลิกภาพและสุขภาพจิตผิดปกติอยู่ก่อนแล้ว ต้องการใช้สารระเหยเพื่อหลีกเลี่ยงอารมณ์ซึมเศร้า กังวล ฯลฯ องค์การอนามัยโลกได้จัดตัวทำละลายที่ระเหยง่าย เช่น ethyl acetate ซึ่งพบในลูกโป่งวิทยาศาสตร์ และสารบางตัวเช่น thinners ซึ่งพบในกาวต่างๆ เป็นสารระเหยเป็นต้น เนื่องจากสารดังกล่าวเป็นปัญหาต่อการเสพติด
สารระเหย (Volatile Substances)
สารระเหยหมายถึง สารประกอบอินทรีย์เคมีประเภท ไฮโดรคาร์บอน์ที่ได้มาจากน้ำมันปิโตรเลี่ยมและก๊าซธรรมชาติ เป็นสารที่ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมปกติ สารเหล่านี้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่พบเห็นได้บ่อยๆ เช่น ทินเนอร์ แลคเกอร์
สารระเหยเมื่อแบ่งตามคุณสมบัติทางกายภาพ แบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ๆ คือ
1. สารระเหย (Volatile Substance) เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมีที่ได้มาจากน้ำมันปิโตรเลี่ยมและก๊าซธรรมชาติ เป็นสารที่ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิห้อง จึงนิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมที่มีคุณสมบัติแห้งระเหยได้เร็ว
2. ตัวทำละลาย (Solvents) เป็นสารที่เป็นของเหลวใช้เป็นส่วนผสมทั้งในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เช่น เฮกเซน มีอยู่ในพลาสติก ซิเมนต์ โทลูอีน ไซลีน มีอยู่ในกาวติดเครื่องบินเด็กเล่น แลกเกอร์ ทินเนอร์ อะซิโตน ในรูปน้ำยาล้างเล็บ เบนซิน ในน้ำยาทำความสะอาด
3. ละอองลอย (Aerosol) ซึ่งจัดบรรจุในภาชนะที่ใช้สำหรับฉีด มีส่วนผสมของไฮโดร-คาร์บอน หรือ ฮาโลคาร์บอน พบมากในรูปของสเปรย์ฉีดผม สีกระป๋องสำหรับพ่น
สารระเหยที่ประกาศควบคุม รวม 19 ชนิด ตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 มาตรา 31 มีดังต่อไปนี้
1.ผลิตภัณฑ์ที่มีสารระเหยเป็นส่วนประกอบ ได้แก่
1.1 ทินเนอร์
1.2 แลคเกอร์
1.3 กาวอินทรีย์สังเคราะห์
1.4 กาวอินทรีย์ธรรมชาติ
1.5 ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ หรือลูกโป่งพลาสติก
2.สารระเหยที่เป็นสารเคมี 14 ชนิด ได้แก่
2.1 โทลูอีน
2.2 อาซีโทน
2.3 เมทิลเอทิลคีโทน
2.4 ไอโซโปรปิลอาซีโทน
2.5 เอทิลอาซีเทต
2.6 เซลโลโซล์ฟอาซีเทต
2.7 เมทิลอาซีเทต
2.8 นอร์มาลบิวทิลอาซีเทต
2.9 เซคันดารีบิวทิลอาซีเทต
2.10 นอร์มาล-บิวทิลไนไตรท์
2.11 ไอโซ-บิวทิลไนไตรท์
2.12 บิวทิลเซลโลโซล์ฟ
2.13 เซลโลโซล์ฟ
2.14 เมทิลเซลโลโซล์ฟ
การดำเนินการของ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย ผู้จัดหา ผู้ให้ ผู้ชักจูง และผู้เสพ
(ไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับสารระเหยต้องขอใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข)
1. ผู้ผลิตและผู้นำเข้า จะต้องจัดให้มีภาพหรือเครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหย ดังนี้
1) คำว่า "สารระเหย" ให้ใช้ตัวอักษรสีแดงบนพื้นขาว
2) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า แล้วแต่กรณี
3) ปริมาณที่บรรจุเป็นระบบเมตริก
4) ชื่อทางเคมีและอัตราส่วนของสารผสมทั้งหมดในสารระเหย
5) วิธีใช้และวิธีเก็บรักษา
6) คำว่า "คำเตือน ห้ามสูดดมเป็นอันตรายต่อชีวิต" ให้ใช้ตัวอักษรสีแดงบนพื้นขาว
สำหรับสารระเหยที่บรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่มีขนาดบรรจุเกิน 550 มิลลิลิตร หรือ 550 กรัม หากมีการจัดภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อที่บรรจุตามหลักเกณฑ์ วิธีหากมีการจัดภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อที่บรรจุตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขแห่งกฎหมายอื่นแล้ว ผู้ผลิตสารระเหยหรือนำเข้าสารระเหย ก่อนนำออกขายจะไม่จัดให้มีข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อที่บรรจุสารระเหย ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแห่งพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 ก็ได้
2.ผู้ขาย ผู้จัดหา ผู้ให้
2.1 ผู้ขายต้องตรวจสอบสารระเหยที่จะขายให้มีภาพหรือเครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสารระเหย ตามที่ผู้ผลิต/นำเข้า ดำเนินการไว้แล้วในข้อ1
2.2 ห้ามขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี เว้นแต่เป็นการขายโดยสถานศึกษาเพื่อใช้ในการเรียน การสอน
2.3 ห้ามขาย จัดหา หรือให้สารระเหยแก่ผู้ติดสารระเหย
3. ผู้เสพ ผู้ชักจูง
3.1 ห้ามใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูดดมหรือวิธีอื่นใด
3.2 ห้ามมิให้จูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบายหลอกลวงให้บุคคลอื่นใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูดดม หรือวิธีใด
สาเหตุของการติดและการระบาดของสารระเหย
เกิดจากแรงชักจูงของเพื่อนเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อน ราคาถูก หาซื้อง่ายกว่าสารเสพติดชนิดอื่น ออกฤทธิ์เร็ว บรรจุหีบห่อง่ายและพกพาสะดวก
คุณสมบัติทางกายภาพ
สารระเหยเกือบทุกชนิดจะเป็นของเหลว มีกลิ่นเฉพาะตัว จุดเดือดค่อนข้างต่ำมีความหนืด ค่าแรงตึงผิว และค่าความดันไอต่ำ จึงสามารถระเหยได้ดี สารระเหยบางตัวติดไฟได้ สารระเหยละลายน้ำได้ไม่ดีแต่ละลายในไขมันได้ดี
การกระจายตัว การดูดซึม และการกำจัดเมื่อสารระเหยเข้าสู่ร่างกาย
สารระเหยเข้าสู่ร่างกายได้ดีมากโดยเฉพาะทางการสูดดม และยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสามารถแทรกตัวเข้าไปในแขนงปอดได้ดี จากนั้นจะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิตแล้วแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะที่มีส่วนประกอบของไขมันอยู่มาก เช่นระบบประสาท เป็นต้น สารระเหยบางชนิดบางส่วนจะถูกกำจัดออกมาทางปอด แล้วผ่านทางเดินหายใจออกมา โดยอยู่ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง จึงสามารถได้กลิ่นจากการหายใจได้ บางส่วนที่เหลือจะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับเป็นสารตัวอื่น และถูกขับออกทางไต
การเกิดพิษ
การเกิดพิษแบ่งเป็นการเกิดพิษระยะเฉียบพลันและการเกิดพิษระยะเรื้อรัง
1.พิษระยะเฉียบพลัน
อาการที่มักจะเกิดทันทีหลังเสพสารระเหยคือ ในระยะแรกจะทำให้มีความรู้สึกเป็นสุข ร่าเริง ตื่นเต้น ต่อมาจะมีอาการเมาคล้ายเมาสุรา พูดจาอ้อแอ้ ไม่ชัด ไม่รู้เวลาสถานที่ ควบคุมตัวเองไม่ได้ มีอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในปากและจมูก ทำให้น้ำลายไหลออกมาก ตามีความไวต่อแสงมากขึ้น มีเสียงในหู กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ในตอนแรกจะมีผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้นอนไม่หลับ ต่อมาจะมีฤทธิ์กด ทำให้ง่วงซึม หมดสติ ถ้าเสพขนาดสูง สารระเหยจะไปกดศูนย์หายใจทำให้ตายได้ สารระเหยบางชนิดทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ โดยเฉพาะถ้าสูดดมในสภาวะตึงเครียด หรือเหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย การสูดดมเป็นเวลาสั้นๆ ก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ยังพบอาการจาม ไอ คลื่นไส้ ท้องเดิน สั่นและชักแบบลมบ้าหมู
2.พิษระยะเรื้อรัง
เนื่องจากการสูดดมติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้อวัยวะในร่างกายเสื่อมสภาพ เช่น
2.1 อาการทางระบบประสาท มีผลต่อทั้งระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย โดยทำให้เกิดอาการวิงเวียน เดินโซเซ ลูกตาแกว่ง พูดลำบาก มือสั่น ตัวสั่น หลงลืม เซื่องซึม ความคิดอ่านช้าลง สับสน นิสัยและอารมณ์เปลี่ยนแปลง การรับรู้เปลี่ยนแปลงไป เช่นการมองเห็น อาจทำให้เห็นภาพซ้อน การได้กลิ่นผิดปกติไป หรืออาจเกิดอาการปลายประสาทอักเสบ ชาตามมือปลายเท้า
2.2 อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ กดการทำงานของไขกระดูกทำให้การสร้างเม็ดเลือดหยุดชะงักทำให้เม็ดเลือดแดงต่ำ เกร็ดเลือดต่ำ เลือดออกง่าย อ่อนเพลีย บางรายอาจเกิดมะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้
2.3 อาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดอาการระคายเคืองจนกระทั่งถึงอาการอักเสบตั้งแต่ปลายจมูกจนถึงหลอดลม ปอด ถุงลม อาจเกิดอาการน้ำคั่งในปอด มีเลือดออกในถุงลม
2.4 อาการทางระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางรายพบเลือดออกในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่ามีการทำลายเนื้อเยื่อของตับเป็นหย่อมๆ ตับโต ตับและไตอักเสบ บางรายปัสสาวะเป็นเลือด
2.5 อาการทางระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อลีบ จนถึงเป็นอัมพาตได้
2.6 ระบบสืบพันธุ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม ซึ่งมีหน้าที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้อาจมีผลลดการสร้างอสุจิเนื่องจากเซลล์ในท่ออสุจิผิดปกติไป
2.7 อื่นๆ เช่น หากถูกผิวหนัง ทำให้ผิวหนังแห้ง เป็นผื่นคัน ถ้าถูกตาจะทำให้ตาบอดได้ เป็นต้น
อาการขาดยา
เกิดอาการหงุดหงิด หาวนอน ปวดท้อง เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน จาม คัดจมูก ปวดตามกล้ามเนื้อ ฟุ้งซ่าน น้ำตาไหล ขนลุก ตะคริว นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ปวดกระดูก เจ็บหน้าอก เป็นต้น
แหล่งข้อมูลจาก กลุ่มวิจัยและพัฒนา
ผลงานอื่นๆ ของ Hyper Blossom ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Hyper Blossom
ความคิดเห็น