สงครามดำเนินต่อตอนที่ 6 ตอนจบของสงครามจับตาให้ดีน่ะครับ
เรื่องนี้เป็นตอนจบของสงครามครั้งนี้ยังไงก็ดูกันไปบ่อยๆด้วยน่ะครับถ้ามีข้อสงสัยใดๆ สอบถามพี่เรย์ได้ทุกประการได้น่ะครับ ถ้าผิดพลาดข้อประการใดๆ ก็สามารถมาสอบถามกับพี่เรย์ได้ทันทีครับ เจอกันแบบนี้ด้วยครับ
ผู้เข้าชมรวม
2,282
ผู้เข้าชมเดือนนี้
12
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เยอรมันฮึกเหิม
การบุกครั้งใหญ่ของเยอรมันปี ค.ศ.1918 กองทัพเยอรมันบุกทะลวงผ่านแนวทหารของฝ่ายพันธมิตรและบีบให้อังกฤษต้องหันหลังกลับ เป็นการถอยทัพเต็มอัตราของทางอังกฤษ ทางใต้ลงไปการบุกอย่างรวดเร็วและรุนแรงอย่างต่อเนื่องของทางเยอรมันทำให้กองทัพของเยอรมันเดินทางมาเกือบถึงกรุงปารีส สถานการณ์ของทางฝ่ายพันธมิตรกำลังคับขันอย่างหนัก จนคำสั่งจากกองบัญชาการสูงสุดของพันธมิตรมาถึง นายพลฟอคผู้บัญชาการทหารของฝรั่งเศส ซึ่งส่งกำลังทุกหน่วยรบมาสกัดกั้นเยอรมันมาถึงช้าเกินไป เมื่อการบุกคืบหน้าครั้งใหญ่ของเยอรมันหยุดลง แนวรบของทหารเยอรมันเรียงตัวเป็นแนวโปร่งสองแนวรบใหญ่ ในช่วงนี้กองทัพทหารของอเมริกันเดินทางมาถึงฝรั่งเศสและเริ่มทำการรบ ในเดือนกรกฎาคมนายพลฟอคมีความรู้สึกว่ากองทหารของฝ่ายตนมีความเข้มแข็งมากพอที่จะโจมตีแนวโป่งของทหารเยอรมันในแนวแม่น้ำมาน (River marne) จอมพลเปแตง แห่งฝรั่งเศส วีรบุรุษแห่งเวเดิงได้ร่วมมือกับนายพลฟอคและได้เกิดความเชื่อมั่นว่าปาฏิหารย์ของชัยชนะนั้นอยู่แค่เอื้อม จอมพลเปแตงจึงมีคำสั่งให้โจมตีแนวรบที่สองของเยอรมัน คือแนวทหารของเยอรมันเป็นแนวโป่งตัวที่อาเมียนส์อย่างหนัก ยุทธภูมิอาเมียนส์ มีกองทัพทหารของอังกฤษและฝรั่งเศสสนับสนุนโดยรถถังรุกหนักทำให้เยอรมันต้องถอยร่นไปอย่างอลหม่าน ทันทีทันใดนั้นแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งเกือบไม่มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาถึงสี่ปี นับตั้งแต่สงครามได้เริ่มต้นก็เริ่มเคลื่อนไหวกันอย่างช้าๆอุ้ยอ้าย เหมือนหิมะถล่มเพราะมีแรงกดดันมหาศาลอยู่ทางข้างหลัง เยอรมันไม่สามารถที่จะหยุดยั้งมันได้ เยอรมันยังคงต่อสู้อย่างเข้มแข็งแต่ค่อยๆขยับเข้าไปสู่แนวพรมแดนประเทศของตน เมื่อบรรดาผู้นำของเยอรมันรู้ว่าจะต้องปราชัยก็พยายามที่จะยุติสงครามอย่างรวดเร็ว เหมือนอย่างการเริ่มต้นทำสงคราม
เยอรมันหมดฤทธิ์
ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1918 เยอรมันส่งคำเรียกร้องไปยัง วูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีของสหรัฐเพื่อที่จะขอสงบศึก ประธานาธิบดีตอบกับเยอรมันว่าเยอรมันจะต้องยอมรับเงื่อนไข 14 ข้อ ซึ่งวูดโรว์ วิลสันเป็นผู้กำหนดขึ้นสำหรับประกาศให้โลกทราบในเดือนมกราคม ปี ค.ศ.11918 โดยมิได้มีการปรึกษากับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งทำการสู้รบอย่างขมขื่นมานานกว่าสามปี หลักการ 14 ข้อของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐกล่าวโดยสรุปมีดังนี้ 1. ไม่มีการจัดทำสนธิสัญญาลับระหว่างประเทศอีก 2. ความมีเสรีภาพทางท้องทะเลแม้ในยามสงคราม 3. การค้าเสรีระหว่างประเทศ 4. การลดอาวุธ 5. แก้ไขเรื่องการอ้างสิทธิอาณานิคม 6. จะต้องถอนตัวออกจากดินแดนของรัสเซีย 7. เบลเยี่ยมจะต้องมีอิสรภาพ 8. จะต้องคืนแคว้นอัลซัค-ลอร์เรนให้ฝรั่งเศส 9. จะต้องปรับพรมแดนของอิตาลี 10. ประชาชนในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจะต้องมีโอกาสในการปกครองตนเอง 11. จะต้องฟื้นฟูรัฐในบอลข่าน และเซอร์เบียจะต้องมีทางออกทางทะเล 12. ประชากรไม่ใช่ชาวเติร์ก ในจักรวรรดิตุรกีจะต้องเป็นอิสระ 13. จะต้องสร้างโปแลนด์ขึ้นมาใหม่ 14. จะต้องจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ ในหลักการ 14 ข้อของวิลสัน มองเห็นได้ชัดเจนถึงเจตนารมณ์ของวิลสันในเรื่องสันติภาพและความยุติธรรม และยังมองเห็นได้ชัดเจนอีด้วยว่า วิลสันเชื่อว่าสงครามนั้นเกิดจากความละโมบของรัฐบาลที่เสาะแสวงหาดินแดนและอำนาจ และประชากรกลุ่มน้อยจะต้องมีสิทธิในการจัดตั้งรัฐอิสรภาพของตนเอง เพราะวิลสันได้แสดงความเห็นใจต่อชาวเชค โปล เซิร์บ สโลวัคและประชากร กลุ่มอื่นๆซึ่งเข้ามาขอร้องเรื่องนี้ในสหรัฐ ในขณะที่การเจรจาสงบศึกกำลังดำเนินอยู่นั้น มิตรของทางเยอรมันก็ได้แพ้สงคราม ซึ่งมีดังนี้ บัลแกเรียยอมแพ้สงครามเมื่อวันที่ 30 กันยายน ตุรกีวันที่ 31 ตุลาคม และ ออสเตรียในวันที่ 3 พฤศจิกายน ในขณะเดียวกันบรรดานายพลของเยอรมันก็เรียกร้องให้รัฐบาลของตนเร่งทำสัญญาสันติภาพ ก่อนที่กองทัพของเยอรมันจะถูกตีถอยร่นกลับเข้าสู่ดินแดนเยอรมัน เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่ากองทัพของเยอรมันมิได้พ่ายแพ้ในสมรภูมิ แต่เพราะมิตรซึ่งเข้าร่วมสงครามฝ่ายเดียวกันและพลเรือนภายในประเทศหักหลัง ความจริงประชาชนชาวเยอรมันยืนหยัดอดทนต่อความกดดันของสงครามได้อย่างน่าพิศวงเฉพาะเมื่อกองทัพต้องถอยร่นเท่านั้น ที่ประชาชนชาวเยอรมันก่อจลาจลขึ้นในหลายแห่งของประเทศและคนงานชาวเยอรมันจัดตั้งสภาคนงาน “โซเวียต” ในลักษณะสภา- โซเวียตของรัสเซีย จุดจบของสงครามมาถึงอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 ผู้แทนเจรจาสงบศึกของทางเยอรมันได้รับเงื่อนไขของการสงบศึก ซึ่งมีรายการสังเขปดังนี้ กองทัพของเยอรมันจะถอนตัวไปอยู่หลังแม่น้ำไรน์ อาวุธอุปกรณ์ เรือดำน้ำและเรือรบจะต้องยอมจำนน สนธิสัญญาเบรสท์ - ลิทอฟส์ ระหว่างเยอรมัน-รัสเซียต้องยกเลิก ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 และมกุฎราชกุมารของเยอรมันเสด็จหนีไปประทัพอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เรื่องนี้ทำให้ประชาชนชาวเยอรมันโกรธแค้นที่ไกเซอร์ทอดทิ้งกองทัพในชั่วโมงของความพ่ายแพ้จึงพอใจให้พระองค์เสด็จหนีไปในวันนั้นเองในกรุงเบอร์ลิน เยอรมันก็ประกาศเป็น สาธารณรัฐ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 สัญญาสงบศึกมีผลบังคับใช้ เสียงปืนในแนวรบด้านตะวันตกเงียบสนิทแล้วสงครามโลกครั้งแรกก็ได้ผ่านพ้นไป ทิ้งความทรงจำไว้บนหน้าประวัติศาสตร์โลก
ผลงานอื่นๆ ของ Hyper Blossom ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Hyper Blossom
ความคิดเห็น