The Woman in Black หลอนสิงร่าง
มันโหดเหี้ยม มันเคียดแค้น มันไม่ปราณี และ "มัน" คือหนึ่งในกลุ่มพวกเขาเอง
ผู้เข้าชมรวม
9,805
ผู้เข้าชมเดือนนี้
35
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
อลิซ, เหมยลี่, เวโรนิก้า, เอมิลี่, ไรอัน, เกเบรียล, แพทริกและจีโอวานนี่ แปดนักเรียนมัธยมปลายจากโรงเรียนรัฐแห่งหนึ่งในเมืองจอร์จทาวน์ ได้เดินทางไปทัศนศึกษายังเมืองซาเล็มอันมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในตอนนั้นทุกอย่างผ่านไปอย่างราบรื่นและเอื่อยเฉื่อย ระหว่างที่พวกเขากำลังรอให้กิจกรรมอันน่าเบื่อนี้เสร็จสิ้น ความเซ็งก็กำลังฆ่าพวกเขาอย่างช้าๆ จนกระทั่งอลิซชวนพวกเขาเล่นวีเจอร์บอร์ด เกมส์ที่ออกแบบมาเพื่อติดต่อกับวิญญาณของคนตาย
แล้ววินาทีนั้นเองที่ชีวิตของพวกเขากำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันกลับ
หลัง จากวันนั้นพวกเขาต้องเผชิญกับเหตุการณ์เหนือธรรมชาติอันน่าสยองขวัญ สิ่งที่พวกเขาไม่เคยเชื่อว่ามีอยู่จริง กลับกลายเป็นฝันร้ายที่คอยหลอกหลอนพวกเขาทั้งยามหลับยามตื่น และเหตุการณ์ต่างๆก็เริ่มเลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อจู่ๆเวโรนิก้าหายตัวไป พร้อมความตายซึ่งกำลังคืบคลานเข้ามาหาสมาชิกที่ร่วมเล่นวีเจอร์บอร์ดอย่าง ช้าๆโดยไม่มีทางหนี ไม่มีที่ให้หลบซ่อน หนทางเดียวที่จะเอาชีวิตรอดคือหาต้นตอของเรื่องทั้งหมดนี้ให้เจอแล้วกำจัดมันให้ได้ก่อนที่พวกเขาจะเป็นฝ่ายถูกฆ่าเสียเอง
2 โครินธ์ 11:14
อย่าได้แปลกใจไปเลย แม้แต่ซาตานเองยังจำแลงเป็นทูตแห่งแสงสว่างได้
ผลงานอื่นๆ ของ Alice Devereux/Nan-a(Alice)Hwang ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Alice Devereux/Nan-a(Alice)Hwang
"วิจารณ์"
(แจ้งลบ)The Woman in Black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง นวนิยายแนวระทึกขวัญขนาด 29 ตอนจบ ของ Nan-a (Alice) Hwang นำเสนอเรื่องราวของเด็กนักเรียนมัธยมปลาย 8 คน คือ อลิซ ไรท์, จาง เหมยลี่, เวโรนิก้า เซนโคว่า, เอมิลี่ เพจ, แพทริก คอบป์, ไรอัน เฟนน์, จีโอวานี่ เซรุตติ และ เกเบรียล ฟิชเชอร์ ขณะที่ไปทัศนศึกษาที่เมืองซาเล็ม ซึ่งเป็นเมืองมีประวัติศาสตร์ ... อ่านเพิ่มเติม
The Woman in Black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง นวนิยายแนวระทึกขวัญขนาด 29 ตอนจบ ของ Nan-a (Alice) Hwang นำเสนอเรื่องราวของเด็กนักเรียนมัธยมปลาย 8 คน คือ อลิซ ไรท์, จาง เหมยลี่, เวโรนิก้า เซนโคว่า, เอมิลี่ เพจ, แพทริก คอบป์, ไรอัน เฟนน์, จีโอวานี่ เซรุตติ และ เกเบรียล ฟิชเชอร์ ขณะที่ไปทัศนศึกษาที่เมืองซาเล็ม ซึ่งเป็นเมืองมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแม่มดและการล่าแม่มดมายาวนาน ได้เล่นวีเจอร์ บอร์ด (เกมส์กระดานที่ใช้ติดต่อกับวิญญาณคนตาย) เมื่อเดินทางกลับมายังบ้านที่เมืองจอร์จทาว์น ปรากฏว่าสมาชิกในกลุ่มเริ่มถูกตามล่าและถูกฆ่าไปที่ละคน โดยซาร่าห์ กู๊ดแมน ผู้หญิงชุดดำวิญญาณอดีตแม่มดซึ่งถูกฆ่าที่เมืองซาเล็ม ทางเดียวที่พวกเขาจะเอาชีวิตรอดจากเรื่องเหนือธรรมชาติครั้งนี้ได้ คือ การกำจัดซาร่าห์ก่อนที่จะกลายเป็นฝ่ายถูกฆ่าเสียเอง นวนิยายเรื่องนี้ดำเนินเรื่องได้อย่างน่าสนใจ ละมีความโดดเด่นในเรื่องของจังหวะเวลาที่ผู้เขียนวางไว้ได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว ในตอนต้นเรื่องซึ่งเป็นการปูเรื่องจะดำเนินไปอย่างเรื่อยๆ ไม่เร่งรีบมากนัก แต่เมื่อเริ่มการไล่ล่าของ ซาร่าห์จังหวะของเรื่องก็เปลี่ยนไป โดยจะมีความสั้น กระชั้น กระชับไว และรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องไปกับเนื้อเรื่องที่ทวีคามเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป หรือตามจำนวนเหยื่อที่ถูกกำจัด นอกจากนี้ ผู้เขียนยังเล่นกับการใช้จังหวะเวลาในการสร้างความน่าสนใจและความน่าตื่นเต้นให้กับเรื่องด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทอดระยะเวลาเพื่อกระตุ้นเร้าความอยากรู้และเฝ้ารอของคนอ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจบตอนที่มักจะทิ้งเรื่องให้หยุดไว้ในจังหวะเวลาสำคัญของในแต่ละเหตุการณ์ เช่น ความเป็นหรือความตายของตัวละคร ขณะเดียวกันเมื่อต้องการสร้างความตื่นเต้นระทึกขวัญสั่นประสาท โดยเฉพาะฉากการไล่ล่าที่ซาร่าห์ออกล่าเหยื่อ เวลาและเนื้อเรื่องในช่วงนั้นก็จะสั้น กระชับ ทำให้ผู้อ่านร่วมลุ้นระทึกไปพร้อมๆ กับตัวละครด้วย นอกจากนี้ ผู้เขียนยังเพิ่มความน่าติดตามให้กับเรื่อง โดยมักจะสร้างเรื่องล่อหลอกให้ผู้อ่านหลงทางอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเล่นกันประเด็นเหยื่อที่ถูกซาร่าห์สิงจริงๆ คือใคร ซึ่งผู้เขียนหักมุมในประเด็นนี้หลายครั้ง จนทำให้ผู้อ่านต้องตามอ่านจนถึงบรรทัดเกือบสุดท้ายก่อนจบจริงๆ ผู้เขียนถึงจะเฉลยว่า เหยื่อที่ซาร่าห์หมายตาไว้ตั้งแต่แรก แท้ที่จริงแล้วใคร แม้ว่านวนิยายเรื่องนี้จะเป็นแนวระทึกขวัญ แต่ผู้เขียนก็ไม่ได้มุ่งเน้นให้ตัวละครและผู้อ่านต้องอยู่ในสภาวะที่ตึงเครียด สั่นประสาท และหวาดผวาวิญญาณของซาร่าห์เพียงอย่างเดียว แต่ในเรื่องยังสอดแทรกอารมณ์ต่างๆ คละเคล้ากันไปอย่างหลากหลาย ทั้งมิตรภาพของเพื่อน ความรักระหว่างคู่รัก ความรักของพ่อแม่ ความรู้สึกผิด ความเศร้าเสียใจ ความกลัว ความโกรธ และบางครั้งยังแทรกมุขตลกไว้ด้วย นับว่าเป็นนวนิยายที่ครบรสเรื่องหนึ่ง The Woman in Black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง นับเป็นนวนิยายที่ดำเนินตามเค้าโครงของภาพยนตร์สยองขวัญของฮอลลีวูด ที่เน้นความสยดสยองในการฆ่าของวิญญาณแค้นในการฆ่าเหยื่อผู้บริสุทธิ์ที่มักจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ในเรื่องอาจกล่าวได้ว่า ผู้เขียนได้นำวิธีการฆ่าเหยื่ออย่างสุดสยอง (ที่มักพบในเรื่องราวสยองขวัญต่างๆ) มารวบรวมไว้ ทั้งการให้รถบรรทุกชนจนอวัยวะภายในไหลออกมา การให้ตกตึกลงมาจนร่างและสมองแหลกเหลว การให้เหยื่อท้องโป่งจนท้องแตกและมีสัตว์ประหลาดจำนวนมากออกมาจากท้อง การหักคอจนหมุดได้ 360 องศา การเผาทั้งเป็น การควักหัวใจขณะที่เหยือยยังมีชีวิต หรือ การดึงส่วนหัวให้หลุดจากลำตัว อีกทั้ง นวนิยายเรื่องนี้ยังจบเหมือนกับตอนจบของภาพยนตร์แนวสยองขวัญส่วนใหญ่ด้วย ที่มักจะจบเรื่องเมื่อวิญญาณร้ายถูกกำจัดโดยตัวละครที่เหลือรอด แทนที่จะจบเรื่องโดยพัฒนาเรื่องไปให้สุดว่า ตัวละครที่เหลือรอดเหล่านี้จะดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปในสังคมได้อย่างไร หลังจากที่ผ่านเหตุการณ์อันเลวร้ายเหล่านี้มาแล้ว อีกทั้งรูปคดีของทางตำรวจจะเป็นเช่นไร เพราะจากเหตุการณ์ในครั้งนี้มีเหยื่อที่ถูกวิญญาณ ซาร่าห์ฆ่าตายมากถึง 12 คน และนับว่าเป็นคดีสะเทือนขวัญ และผู้ตายในครั้งนี้ยังรวมถึงนายอำเภอ ผู้ช่วยนายอำเภอ และตำรวจสาวที่มาสืบคดีนี้ด้วย และผู้ตายอย่างน้อย 2 คนก็ถูกผู้ที่รอดชีวิตเพียงหนึ่งเดียวฆ่าจริงๆ แม้จะอ้างว่าป้องกันตัว และตอนนั้นคนเหล่านี้ถูกผีสิงก็ตาม การสร้างตัวละครพบว่า ผู้เขียนสามารถที่จะสร้างให้ตัวละครแต่ละตัวมีลักษณะเด่นเฉพาะของตนอย่างชัดเจน จนทำให้ผู้อ่านจดจำและแยกแยะว่าใครเป็นใคร ทั้งรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ นิสัย และความชอบต่างๆ แม้ว่าตัวละครส่วนใหญ่จะมีบทไม่มากนักเมื่อเทียบกับตัวละครที่เป็นผู้ดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น อลิซ จีโอวานี่ เวโรนิก้า หรือ ซาร่าห์ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนก็ได้เฉลี่ยให้ตัวละครแต่ละตัวมีความสำคัญทั้งต่อเรื่องและในบทบาทของตนในสัดส่วนที่พอเหมาะกับความยาวของเรื่อง ในแง่ของการเขียนนั้นพบว่า ผู้เขียนมีทักษะในการเขียนทั้งบทบรรยายและบทสนทนาได้เป็นอย่างดี ทั้งการใช้คำ การขยายความ และการใช้คำเพื่อสร้างจินตนาการให้ผู้อ่าน จึงทำให้เรื่องราวดำเนินไปอย่างลื่นไหล ส่งผลให้เรื่องราวน่าติดตาม อีกทั้งนวนิยายเรื่องนี้มีการ rewrite เป็นครั้งที่สองแล้วจึงพบคำผิดประปราย เช่น ล็อบบี้ เขียนเป็น ล๊อบบี้ ปรารถนา เขียนเป็น ปราถนา กฎ เขียนเป็น กฏ กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา ล็อก เขียนเป็น ล๊อก กะทันหัน เขียนเป็น กระทันหัน เวทมนตร์ เขียนเป็น เวทย์มนต์ ออฟฟิศ เขียนเป็น ออฟฟิซ หากผู้เขียนแก้ไขคำผิดเหล่านี้ได้ก็จะช่วยให้เรื่องนี้มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากขึ้น อ่านน้อยลง
bluewhale | 9 ธ.ค. 56
6
0
"รับวิจารณ์นิยายของ Mind Melody"
(แจ้งลบ)ชื่อเรื่อง : The woman in black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง นามปากกา : Nan-a(Alice)Hwang *คะแนนเนื้อเรื่องกับข้อมูลเบื้องต้นเป็นคะแนนเดียวกันนะคะ คะแนนละ 15 ชื่อเรื่อง (10/10): ชื่อเรื่องดูน่าติดตามคะ พล๊อตเรื่อง (20/20): พล๊อต ชอบอะ คือมันหักมุมนี้อะ บอกว่า มันอยู่ในกลุ่มของพวกเรามันหักมุมนะ และทำให้ผู้อ่านติดตามด้วย เนื้อเรื่อง (30/30): ... อ่านเพิ่มเติม
ชื่อเรื่อง : The woman in black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง นามปากกา : Nan-a(Alice)Hwang *คะแนนเนื้อเรื่องกับข้อมูลเบื้องต้นเป็นคะแนนเดียวกันนะคะ คะแนนละ 15 ชื่อเรื่อง (10/10): ชื่อเรื่องดูน่าติดตามคะ พล๊อตเรื่อง (20/20): พล๊อต ชอบอะ คือมันหักมุมนี้อะ บอกว่า มันอยู่ในกลุ่มของพวกเรามันหักมุมนะ และทำให้ผู้อ่านติดตามด้วย เนื้อเรื่อง (30/30): เนื้อเรื่องแต่ละตอนดูน่าติดตามมากคะ บรรยายได้ดี กระชับ ครบถ้วน ไม่มีติดขัดเลย แต่ละตอนก็ดูแบบเชื่อมโยงกันได้หลายๆอย่างนะ การดำเนินเรื่องถือว่าใช้ได้เลย โดยเฉพาะบทนำ คืออ่านแล้วกลัวเลยอะ น่ากลัวและขนลุกเลย คือเราอ่านแล้วแบบ อือหือ เห็นภาพได้ชัดเจนอะและดูแบบมีความนัยหลายๆอย่างได้ ส่วนเรื่องความสมจริง ไรเตอร์ไม่ต้องกังวลคะ นิยายไม่ใช้เรื่องจริงแต่อย่างใดนะคะ ข้อมูลเบื้องต้น : ข้อมูลเบื้องต้นก็มีการเกริ่นนำของโครงเรื่องเนอะ ก็ใช้ได้คะ แต่ถ้ามีโปสเตอร์อยู่ด้วยก็จะทำให้เข้าถึงเรื่องได้ดีนะคะ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นแค่การตกแต่ง ส่วนคำเกริ่นนำเรื่อง ใช้ได้เลย สิ่งที่ขัดข้อง: สิ่งที่ขัดข้องไม่มีนะคะ นิยายดำเนินเรื่องดีคะ ไม่มีติดขัดเลย ทั่วไป การใช้ภาษา (5/5): การใช้ภาษานี้ใช้ได้เลย ดูแฟนตาซีดีคะ เข้ากับเรื่องได้ดีด้วย ตัวหนังสือ (5/5): ตัวหนังสือใช้ได้ เห็นชัดเจน ตัวละคร (5/5): ตัวละครทุกตัวมีเสน่ห์ มีบทบาทและนิสัยที่แตกต่างกัน ชอบแบบนี้นะ การบรรยาย (5/10): การบรรยายดีเยี่ยมเลย ไม่ติดขัดอะไรมากๆ การตกแต่ง ธีม (5/5): ธีมเข้ากันได้ดีเลยดูลึกลีบดี เพลงประกอบ (5/5) : เพลงสยองมากๆเลย เปิดไปอ่านไปยังขนลุกเลยอะ แบนเนอร์ (0/5): ไม่มีแบนเนอร์ รวมคะแนน : 95 คะแนน อ่านน้อยลง
BOOMBEEM_MYMIND | 17 พ.ย. 56
5
0
ดูทั้งหมด
"Miss Suika รับวิจารณ์นิยาย"
(แจ้งลบ)The woman in black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง เกณฑ์การให้คะแนนเต็ม 100 ชื่อเรื่องและความสอดคล้องของเนื้อหา (10/10) คิดถึงภาพยนตร์เรื่องหนึ่งขึ้นมาเลยค่ะที่แดเนียลเล่น เมื่อมันมีความคล้ายคลึงกันก็น่าดึงดูดให้เข้ามาอ่านไม่ใช่น้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดำเนินเรื่องของนิยายเรื่องนี้ดูจะแต่งต่างกับภาพยนตร์และผู้วิจารณ์ขอยืนยันว่าเรื่องราวไม่ได้มีความเกี่ ... อ่านเพิ่มเติม
The woman in black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง เกณฑ์การให้คะแนนเต็ม 100 ชื่อเรื่องและความสอดคล้องของเนื้อหา (10/10) คิดถึงภาพยนตร์เรื่องหนึ่งขึ้นมาเลยค่ะที่แดเนียลเล่น เมื่อมันมีความคล้ายคลึงกันก็น่าดึงดูดให้เข้ามาอ่านไม่ใช่น้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดำเนินเรื่องของนิยายเรื่องนี้ดูจะแต่งต่างกับภาพยนตร์และผู้วิจารณ์ขอยืนยันว่าเรื่องราวไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นแฟนฟิคแต่อย่างใด ความสนุก (30/30) ติดอยู่อย่างเดียวคือผู้วิจารณ์ไม่ถูกจริตกับนิยายแนวนี้เท่าไหร่ค่ะ อ่านไปก็รู้สึกกลัว ๆ ยิ่งฉากที่แต่ละคนโดนอะไรไปบ้างก็รู้สึกว่า อืม...เราควรเปลี่ยนเวลาอ่านนิยายเรื่องนี้ดีกว่านะ เพราะไม่งั้นคงผวาแน่ ๆ ซึ่งถ้าผู้แต่งต้องการให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์นี้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการเขียนนิยายเรื่องนี้แล้วล่ะค่ะ การันตีว่านิยายเรื่องนี้ทำให้หลอนจริง ๆ แถมรู้สึกไม่อยากอ่านตอนต่อไปเลย มันทั้งรู้สึกกลัว ตื่นเต้น ลุ้นปน ๆ กันไปหมดค่ะ สรุปว่าเป็นนิยายที่น่าอ่านอีกเรื่องหนึ่ง การบรรยาย (19/20) เป็นนิยายที่มีการบรรยายที่น่าติดตามมากเรื่องหนึ่งค่ะ แบบบุคคลที่สามทำให้บรรยายอารมณ์ของคนทุกคนได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ไม่เยิ่นเย้อ เห็นภาพชัดเจนและลุ้นไปกับเนื้อหาของมันได้ในทุก ๆ ตอน มีบ้างที่สะดุดเล็กน้อยกับการบรรยายแต่ไม่ถือว่าบกพร่อง แค่ลองปรับแก้เล็กน้อยก็ทำให้นิยายเรื่องนี้สนุกและน่าติดตามแล้วค่ะ ข้อสงสัย ฉากช่วงแรกที่บอกว่าเวโรนิก้ากับแพทริกเป็นแฟนกัน จุดนี้น่าจะมีการเสริมความสัมพันธ์ของทั้งสองหน่อยก็ได้ค่ะ ให้ดูว่าสองคนนี้เป็นแฟนนะไม่ใช่เพื่อนกันธรรมดา ๆ เช่นเสริมตอนที่กลุ่มเพื่อนชายปีนขึ้นห้อง อาจมีการโอบกอดแสดงความรักกันก่อนก็ได้ ฉากที่อลิซถามจีโอวานี่ว่าทำไมไม่ถามแพทริกเรื่องเวโรนิก้า แทนที่ตัวแพทริกจะเป็นคนตอบกลับให้จีโอวานี่ตอบแทน จุดนี้น่าจะให้เจ้าตัวตอบเลยก็ได้ค่ะเพราะก็ยืนอยู่ในวงสนทนากันอยู่แล้ว ฉากการตายทั้งไรอันและแพททริกจะเริ่มจากการที่พ่อกับแม่ไปเดตกันทั้งคู่ รู้สึกว่าจุดนี้น่าจะปรับให้เหตุผลมันต่างกันเล็กน้อยก็น่าจะดีค่ะ หญิงผอมแห้งจนดูเหมือนหนังหุ้มกระดูกในชุดกระโปรงแบบวิกตอเรียนสีดำซีด ใบหน้าขาวไร้เลือดฝาดสีเหมือนเนื้อปลาตาย ฉากที่อลิซมองเห็นผีจากชั้นสองของบ้านไม่น่าจะเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ชัดเจนขนาดนั้น เนื่องจากผู้แต่งใส่ข้อมูลรายละเอียดชัดมากเสมือนอยู่ตรงหน้าเลย ลองปรับดูนะคะให้สมจริงขึ้นมาอีกนิด ความถูกต้องของหลักภาษา/การใช้คำให้ถูกความหมาย/การเขียนถูกผิด (15/20) คำถูกผิดและเขียนตกหล่น เรื่องปรากฏเหนือธรรมชาติ เรื่องปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ, หลังจากกับมาจาก หลังกลับจากทัศนศึกษา, วางกล้าม วางก้าม, รยด่าง รอยด่าง, จนจบจบ จนจบ, อลิ อลิซ, เกี่ยวับ เกี่ยวกับ, ประดังประเด ประเดประดัง, ผีถ้วยแก้ ผีถ้วยแก้ว, หวาดกลัว เช่น ๆ พวกหนู หวาดกลัวเช่นพวกหนู, หรอ เหรอ, ไมถูกกลับอะไรบ้าง ไม่ถูกกับอะไรบ้าง, อันนึง อันหนึ่ง (ถ้าเป็นการบรรยายให้เขียนอยู่ในรูปภาษาเขียนเสมอ), แห้งหาก แห้งผาก, ปาด ปราด, ระล่ำระลัก ละล่ำละลัก, ตุ้ม ๆ ต่อม ๆ ตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ , ยัยยี้งี่เง่า ยัยงี่เง่า เป็นต้น ประโยคแปลก ๆ อาจถูกผีออกมาฆ่ากันยกกะบิ น่าจะเกิดจากการพิมพ์ผิดหรือเปล่า ไม่แน่ใจ เครื่องหมาย การใช้ไม้ยมก ต้องเคาะวรรคทั้งก่อนและหลังเครื่องหมาย เช่น ต่าง ๆ นานา เป็นต้น การเลียนเสียง เข้าใจว่าผู้แต่งต้องการเพิ่มอรรถรสในการอ่านโดยการใช้คำซ้ำ ๆ หลายครั้ง แต่ผู้วิจารณ์มองว่าผู้แต่งใช้คำเหล่านั้นฟุ่มเฟือย ยกตัวอย่างฉากที่เวโรนิก้าหัวเราะยาว ๆ ลองปรับให้มันดูพอเหมาะน่าจะดีกว่าค่ะ เพราะใจความโดยรวมมันก็คือการหัวเราะ ถ้าต้องการเน้นอารมณ์แนะนำว่าให้บรรยายซ้ำลงไปจะทำให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการกรีดร้อง ที่จริงแล้วไม่ต้องใส่ซาวเอฟเฟคลากยาวก็ได้ค่ะ มีแค่คำว่า “กรี๊ด!” แล้วบรรยายต่อไปว่ากรีดร้องแบบไหนก็ทำให้เรื่องราวดูเข้มข้นและลุ้นได้เหมือนกัน อีกทั้งยังแสดงความสามารถในการบรรยายลักษณะท่าทางตัวละครของผู้แต่งด้วยนะคะ กรี๊งกร๊าง บางจังหวะไม่ต้องระบุเสียงก็ได้นะคะ เช่นฉากที่เข้าสู่การบรรยายให้ดูน่ากลัว อาจแทนไปเลยว่าจู่ ๆ เสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น เป็นต้น ซึ่งทางที่ดี การเขียนบรรยายแนวสยองขวัญควรเลี่ยงคำแบบนี้ไปก็ได้ค่ะ การใช้คำที่เหมาะสม ชายหนุ่มผมดำที่สามารถดูออกได้อย่างง่ายดายว่าเป็นพวกพั้งค์ร็อก ลองปรับให้อ่านแล้วลื่นไหลเช่นว่า เกเบรียล พิชเชอร์ ชายหนุ่มผู้มีบุคลิกโดดเด่นสไตล์พั้งค์ร็อกทั้งเจาะหู ทาขอบตาดำราวกับเป็นญาติสนิทกับหมีแพนด้า ตอนนี้หรือเพียงพวกเขาเท่านั้น ปรับเป็น ตอนนี้เหลือเพียงพวกเขาเท่านั้น อลิซเหมือนจะตอกอะไรแรงใส่เขาสักอย่าง ปรับเป็น อลิซเหมือนอยากตอกอะไรแรง ๆ ใส่เขาสักอย่าง เอมิลีร้องสีหน้าเลิ่กลั่ก คำว่าเลิ่กลักน่าจะใช้กับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกงงงวย แต่ในฉากนี้น่าจะใช้คำอื่น เช่นว่า เอมิลีแย้งและมีท่าทีกระวนกระวาย โดยไม่สนใจตอบโต้อะไรกับเพื่อนทั้งสอง ปรับเป็น ไม่สนใจตอบโต้กับเพื่อนทั้งสอง ทันใดนั้นอลิซก็เหลือบไปเห็นในสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ตรงด้านหลังเวโรนิก้า ควรปรับเป็นว่า ทันใดนั้นอลิซก็เหลือบเห็นบางสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่เบื้องหลังของเวโรนิก้า สิ่งที่มองเพียงแวบแรกก็สามารถบอกได้มันไม่ได้มีชีวิต ประโยคไม่สมบูรณ์แล้วปรับเป็นว่า สิ่งที่มองเพียงแวบแรกก็บอกได้ว่ามันไม่มีชีวิต ความรู้สึกประหลาด ๆ กำลังคุกคาม จนรู้สึกปวดท้องแถมยังหนาวเหยือกตรงต้นคอก่อนจะแผ่สะท้านไปทั่วร่างราวกับว่ามีไฟฟ้าไหลผ่าน ลองปรับเป็น ความรู้สึกแปลกประหลาดกำลังคุกคาม จนรู้สึกปวดมวนไปทั่วท้องซ้ำต้นคอยังรู้สึกเย็นวาบและแผ่สะท้านไปทั่วร่างราวกับมีกระแสไฟไหลผ่าน สายตาของมันเต็มไปด้วยความมุ่งร้ายอันแสนเย็นเยียบและเงียบงัน ลองปรับเป็นว่าสายตาของมันเต็มไปด้วยความมุ่งร้ายราวกับพญามัจจุราชที่เลือดเย็น ตัดคำว่าเย็นเยียบไปค่ะประโยคมันฟุ่มเฟือย ความมืดมิดโรยรอบตัวเด็กสาวซึ่งนอนนิ่งอยู่บนเตียง ลองปรับคำว่า โรยรอบ เป็นรายรอบ, ปกคลุม, คืบคลาน, ทาบทับ, อาบร่าง น่าจะฟังดูไหลลื่นมากขึ้นนะคะ "มันยืนอยู่ข้าง ๆ เธอ ถึงจะแค่ชั่วพริบตาแต่ฉันยังรู้สึกถึงความโศกเศร้าและหวาดกลัวปกคลุมร่างเล็ก ๆ นั่นราวกับว่าความร่าเริงสดใสถูกสูบไปจากเวโรนิก้าจนหมดสิ้น เราสบตากันอยู่เสี้ยววินาทีก่อนที่เธอจะส่ายหน้าช้า ๆ" ฉากที่อลิซพูดถึงเวโรนิก้าในโรงอาหารรู้สึกว่าวิธีการพูดของอลิซเปลี่ยนไป เหมือนเป็นคำที่สละสลวยเกินการพูดคุยระหว่างเพื่อนด้วยกันเอง ลองปรับวิธีการพูดของอลิซดูนะคะ ฉากถัดมาตอนเล่าให้เพื่อนฟังด้วยเหมือนกัน ลองปรับให้เป็นภาษาพูดระหว่างเพื่อนแทนที่จะเอาการบรรยายมาใส่ในการสนทนาเลย อลิซเดินนำเพื่อน ๆ อีกครั้งก่อนจะกดนิ้วลงบนปุ่มพลาสติกแข็ง ๆ อย่างชำนาญ ในที่นี้ผู้แต่งต้องการสื่อถึงออดบ้านหรืออินเตอร์โฟนใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นระบุเป็นสิ่งของไปเลยค่ะ ไม่ต้องขยายความ และไม่ต้องใส่คำว่าชำนาญลงไป เพราะการกดออดใคร ๆ ก็ทำได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถพิเศษ เธอแน่ใจได้ยินเสียงกรี๊งกร๊างดังในตัวบ้านแล้ว เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ ควรแก้ไขเป็นว่า เธอแน่ใจว่าตนได้ยินเสียงกริ่งดังในตัวบ้านแล้ว เด็กสาวยกนาฬิกาข้อมือซ้ายขึ้นมาดูและรู้ว่ามันผิดปกติ ลองปรับเป็น เด็กสาวยกนาฬิกาขึ้นมองเวลาและรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติไปจากเดิม คราวนี้เธอเริ่มใช้มือเคาะบวกด้วยตะโกนเรียก ควรปรับเป็น คราวนี้เธอลองเคาะประตูพร้อมตะโกนเรียก พลันเสียงแหลมสูงดังขึ้นมาจากสนามหญ้าบ้านข้าง ๆ ทำเอาพวกเธอถึงกับสะดุ้ง ควรปรับเป็น พลันเสียงแหลมดังมาจากบริเวณสนามหญ้าของบ้านข้าง ๆ ทำเอาพวกเธอสะดุ้งโหยงอย่างตกใจ ตะโกนขึ้นจากสนามหญ้าตรงบ้านของหล่อน ให้ความรู้สึกว่าผู้พูดฝังตัวอยู่ในสนามหญ้า ควรปรับเป็น ตะโกนมาจากสนามหญ้าบ้านของหล่อนเอง หรือ ตะโกนข้ามมาจากบริเวณสนามหญ้าในบ้านของหล่อน จู่ ๆ ก็บังเอิญสังเกตอะไรบางอย่าง ควรปรับเป็น จู่ ๆ ก็พลันเห็นบางอย่าง บางอย่างที่ไม่คาดฝัน กลายพันธุ์ ถ้าเอาให้สละสลวยแล้วเข้ากับนิยายแนวผี ๆ น่าจะเลือกคำดังนี้ค่ะ เริ่มเปลี่ยนบทสนทนา หรือออกนอกเรื่องกลายเป็นคุยสัพเพเหระไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเรียนอีกต่อไป เป็นต้น เหงื่อเย็นเยียบผุดออกมาอย่างไม่ขาดสาย ถ้าลักษณะอาการตื่นตระหนก หวาดกลัว แล้วมีเหงื่อไหลออกมา มันไม่น่าจะระบุว่าเหงื่อมันเย็น เพราะถ้าเหงื่อไหลมันต้องมากจากอุณหภูมิในร่างกายสูงจนผลิตเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อน แต่สิ่งที่ทำให้เหงื่อเย็นคืออากาศข้างนอก เพราะฉะนั้นเหงื่อจะเย็นเองไม่ได้ค่ะ แต่ถ้าปรับเป็นว่าแม้ท่ามกลางอากาศเย็นเยียบภายในห้องแต่เหงื่อของไรอันก็ผุดพรายออกมาอย่างไม่ขาดสาย จะแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่เกิดจากสถานการณ์ที่ผิดปกติตามท้องเรื่องได้ค่ะ ชายหนุ่มกลืนน้ำลายเอื๊อก ประโยคมันยังไม่สมบูรณ์ค่ะ ลองปรับเป็น ชายหนุ่มกลืนน้ำลายอึกใหญ่ หรือ ชายหนุ่มกลืนน้ำลายดังเอื๊อก พวกนายคิดมากไปกันเอง ควรเป็น พวกนายคิดมากกันไปเอง ไม่เห็นเหรอข้อความสุดท้ายก่อนที่มันทิ้งเอาไว้ว่า ควรเป็น ไม่เห็นเหรอ...ข้อความสุดท้ายที่มันทิ้งเอาไว้ สิ่งที่เขาพูดออกมาคงไม่ดีต่อผู้หญิงชุดดำคนนั้นสักเท่าไหร่ ในฉากอลิซเห็นผู้หญิงกำลังถูกแขวนคอ มันเป็นสถานการณ์ที่แน่ชัดแล้วว่าผู้หญิงคนนี้ต้องเจอกับอะไรดังนั้นคำว่าสักเท่าไหร่จึงไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรปรับเป็นว่า สิ่งที่เขาพูดออกมานั้นคงไม่ดีต่อผู้หญิงชุดดำคนนี้อย่างแน่นอน หัวใจเต้นโผงผาง คำว่าโผงผางแปลว่า ลักษณะการพูดตรง ๆ ไม่เกรงใจ หรือไม่ยับยั้งอ้อมค้อม เพราะฉะนั้นผู้แต่งเลือกใช้คำผิดความหมาย ควรปรับเป็น หัวใจเต้นโครมคราม หัวใจเต้นรัว เป็นต้น คำฟุ่มเฟือย ยังเห็นการใช้คำฟุ่มเฟื่อยอยู่ในทุกตอนนะคะ แนะนำว่าผู้แต่งพยายามอ่านอย่างละเอียดและพยายามปรับแก้ไปทีละประโยคค่ะ เช่น พยายามเลี่ยงใช้คำซ้ำกันในบรรทัดการบรรยาย หรือถ้าจำเป็นต้องใช้คำเหล่านั้นก็ให้เลือกใช้คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันค่ะ เพื่อให้การเขียนบรรยายดูลื่นไหล ขอยกตัวอย่างเท่าที่พอจะแนะนำได้นะคะ อีนังแพศยา เลือกสักคำเลยค่ะ เช่น อีแพศยา หรือนังแพศยา เพราะคำมันดูเยิ่นเย้อ หัวข้อข่าวลือแย่ ๆ มีคำฟุ่มเฟื่อยเช่นกันค่ะ หัวข้อแย่ ๆ หรือข่าวลือแย่ ๆ ฉากเกี่ยวกับผ้าห่ม ประโยคหลังมันทำให้การบรรยายดูยืดเยื้อ ลองปรับเป็นว่า แต่ตอนนี้มันกำลังไหลลงอย่างช้า ๆ จากหัวไหล่ เลื่อนมายังอกและเอว ราวกับถูกมือที่มองไม่เห็นค่อย ๆ ดึงมันและในที่สุดผ้าห่มผืนบางก็ร่วงกองกับพื้นห้อง เหม่ยลี่ก็ไม่ได้ถามซอกแซกอะไรอีกเพราะคิดว่ามันคงจะดีกว่าหากไม่ไปรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง มีคำว่า อีก ซ้ำกัน ให้ตัดออกไปนะคะ เพราะเป็นคำฟุ่มเฟือย เช่น เหม่ยลี่ไม่ถามซอกแซกอะไรเพราะคิดว่ามันคงดีกว่าหากไม่รื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง พวกเธอเดินทางมาถึงบ้านหลังเดิมที่พวกหล่อนมาได้มาเยี่ยมเมื่อวาน มีคำฟุ่มเฟือยและคำเกินนะคะ ควรปรับเป็น พวกเธอเดินทางมาถึงบ้านหลังเดิมที่ได้มาเยี่ยมกันเมื่อวาน เธอกำชับให้ไรอันให้ดูแลบ้านให้ดี มีคำว่า “ให้” หลายครั้ง ควรปรับประโยคให้มีความไหลลื่นขึ้น เช่น เธอกำชับไรอันให้ดูแลบ้าน หรือ เธอกำชับลูกชายให้ช่วยดูแลบ้าน หรือ เธอกำชัดไรอันให้ช่วยดูแลบ้านเป็นอย่างดี เป็นต้น บวกกับติดพันกับโทรศัพท์อยู่ด้วย ควรปรับประโยคเป็นว่า ขณะเดียวกันนั้นเขาก็กำลังติดพันอยู่กับการคุยโทรศัพท์ เหม่ยลี่หันไปถามชายหนุ่มซึ่งดูเหมือนจะอารมณ์เสียอยู่ตลอดเวลาซึ่งตอนนี้กำลังทำหน้าเหมือนถูกหวดด้วยไม้หน้าสาม... ในประโยคดังกล่าวมีคำว่า “ซึ่ง” ซ้ำกันสองที่ ลองปรับคำหรือตัดไปบ้าง เช่น เหม่ยลี่หันไปถามชายหนุ่มที่ดูเหมือนจะอารมณ์เสียอยู่ตลอดเวลาซึ่งตอนนี้กำลังทำหน้าเหมือนถูกหวด... ความสวยงามของบทความ (20/20) เรียบร้อยดีค่ะ ตัวหนังสืออ่านง่ายดี รวม 94 คะแนน โดยรวมแล้วเป็นนิยายที่น่าติดตามมาก ๆ เลยค่ะ อ่านแล้วรู้สึกสนุกจริง ๆ หวังว่าจะนำข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปปรับแก้ให้งานนิยายของท่านดียิ่งขึ้นนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ และหากมีข้อผิดพลาดขออภัยล่วงหน้าด้วย Miss Suika ยินดีให้บริการ อ่านน้อยลง
wondermomo | 12 พ.ค. 57
3
0
"วิจารณ์"
(แจ้งลบ)The Woman in Black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง นวนิยายแนวระทึกขวัญขนาด 29 ตอนจบ ของ Nan-a (Alice) Hwang นำเสนอเรื่องราวของเด็กนักเรียนมัธยมปลาย 8 คน คือ อลิซ ไรท์, จาง เหมยลี่, เวโรนิก้า เซนโคว่า, เอมิลี่ เพจ, แพทริก คอบป์, ไรอัน เฟนน์, จีโอวานี่ เซรุตติ และ เกเบรียล ฟิชเชอร์ ขณะที่ไปทัศนศึกษาที่เมืองซาเล็ม ซึ่งเป็นเมืองมีประวัติศาสตร์ ... อ่านเพิ่มเติม
The Woman in Black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง นวนิยายแนวระทึกขวัญขนาด 29 ตอนจบ ของ Nan-a (Alice) Hwang นำเสนอเรื่องราวของเด็กนักเรียนมัธยมปลาย 8 คน คือ อลิซ ไรท์, จาง เหมยลี่, เวโรนิก้า เซนโคว่า, เอมิลี่ เพจ, แพทริก คอบป์, ไรอัน เฟนน์, จีโอวานี่ เซรุตติ และ เกเบรียล ฟิชเชอร์ ขณะที่ไปทัศนศึกษาที่เมืองซาเล็ม ซึ่งเป็นเมืองมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแม่มดและการล่าแม่มดมายาวนาน ได้เล่นวีเจอร์ บอร์ด (เกมส์กระดานที่ใช้ติดต่อกับวิญญาณคนตาย) เมื่อเดินทางกลับมายังบ้านที่เมืองจอร์จทาว์น ปรากฏว่าสมาชิกในกลุ่มเริ่มถูกตามล่าและถูกฆ่าไปที่ละคน โดยซาร่าห์ กู๊ดแมน ผู้หญิงชุดดำวิญญาณอดีตแม่มดซึ่งถูกฆ่าที่เมืองซาเล็ม ทางเดียวที่พวกเขาจะเอาชีวิตรอดจากเรื่องเหนือธรรมชาติครั้งนี้ได้ คือ การกำจัดซาร่าห์ก่อนที่จะกลายเป็นฝ่ายถูกฆ่าเสียเอง นวนิยายเรื่องนี้ดำเนินเรื่องได้อย่างน่าสนใจ ละมีความโดดเด่นในเรื่องของจังหวะเวลาที่ผู้เขียนวางไว้ได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว ในตอนต้นเรื่องซึ่งเป็นการปูเรื่องจะดำเนินไปอย่างเรื่อยๆ ไม่เร่งรีบมากนัก แต่เมื่อเริ่มการไล่ล่าของ ซาร่าห์จังหวะของเรื่องก็เปลี่ยนไป โดยจะมีความสั้น กระชั้น กระชับไว และรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องไปกับเนื้อเรื่องที่ทวีคามเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป หรือตามจำนวนเหยื่อที่ถูกกำจัด นอกจากนี้ ผู้เขียนยังเล่นกับการใช้จังหวะเวลาในการสร้างความน่าสนใจและความน่าตื่นเต้นให้กับเรื่องด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทอดระยะเวลาเพื่อกระตุ้นเร้าความอยากรู้และเฝ้ารอของคนอ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจบตอนที่มักจะทิ้งเรื่องให้หยุดไว้ในจังหวะเวลาสำคัญของในแต่ละเหตุการณ์ เช่น ความเป็นหรือความตายของตัวละคร ขณะเดียวกันเมื่อต้องการสร้างความตื่นเต้นระทึกขวัญสั่นประสาท โดยเฉพาะฉากการไล่ล่าที่ซาร่าห์ออกล่าเหยื่อ เวลาและเนื้อเรื่องในช่วงนั้นก็จะสั้น กระชับ ทำให้ผู้อ่านร่วมลุ้นระทึกไปพร้อมๆ กับตัวละครด้วย นอกจากนี้ ผู้เขียนยังเพิ่มความน่าติดตามให้กับเรื่อง โดยมักจะสร้างเรื่องล่อหลอกให้ผู้อ่านหลงทางอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเล่นกันประเด็นเหยื่อที่ถูกซาร่าห์สิงจริงๆ คือใคร ซึ่งผู้เขียนหักมุมในประเด็นนี้หลายครั้ง จนทำให้ผู้อ่านต้องตามอ่านจนถึงบรรทัดเกือบสุดท้ายก่อนจบจริงๆ ผู้เขียนถึงจะเฉลยว่า เหยื่อที่ซาร่าห์หมายตาไว้ตั้งแต่แรก แท้ที่จริงแล้วใคร แม้ว่านวนิยายเรื่องนี้จะเป็นแนวระทึกขวัญ แต่ผู้เขียนก็ไม่ได้มุ่งเน้นให้ตัวละครและผู้อ่านต้องอยู่ในสภาวะที่ตึงเครียด สั่นประสาท และหวาดผวาวิญญาณของซาร่าห์เพียงอย่างเดียว แต่ในเรื่องยังสอดแทรกอารมณ์ต่างๆ คละเคล้ากันไปอย่างหลากหลาย ทั้งมิตรภาพของเพื่อน ความรักระหว่างคู่รัก ความรักของพ่อแม่ ความรู้สึกผิด ความเศร้าเสียใจ ความกลัว ความโกรธ และบางครั้งยังแทรกมุขตลกไว้ด้วย นับว่าเป็นนวนิยายที่ครบรสเรื่องหนึ่ง The Woman in Black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง นับเป็นนวนิยายที่ดำเนินตามเค้าโครงของภาพยนตร์สยองขวัญของฮอลลีวูด ที่เน้นความสยดสยองในการฆ่าของวิญญาณแค้นในการฆ่าเหยื่อผู้บริสุทธิ์ที่มักจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ในเรื่องอาจกล่าวได้ว่า ผู้เขียนได้นำวิธีการฆ่าเหยื่ออย่างสุดสยอง (ที่มักพบในเรื่องราวสยองขวัญต่างๆ) มารวบรวมไว้ ทั้งการให้รถบรรทุกชนจนอวัยวะภายในไหลออกมา การให้ตกตึกลงมาจนร่างและสมองแหลกเหลว การให้เหยื่อท้องโป่งจนท้องแตกและมีสัตว์ประหลาดจำนวนมากออกมาจากท้อง การหักคอจนหมุดได้ 360 องศา การเผาทั้งเป็น การควักหัวใจขณะที่เหยือยยังมีชีวิต หรือ การดึงส่วนหัวให้หลุดจากลำตัว อีกทั้ง นวนิยายเรื่องนี้ยังจบเหมือนกับตอนจบของภาพยนตร์แนวสยองขวัญส่วนใหญ่ด้วย ที่มักจะจบเรื่องเมื่อวิญญาณร้ายถูกกำจัดโดยตัวละครที่เหลือรอด แทนที่จะจบเรื่องโดยพัฒนาเรื่องไปให้สุดว่า ตัวละครที่เหลือรอดเหล่านี้จะดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปในสังคมได้อย่างไร หลังจากที่ผ่านเหตุการณ์อันเลวร้ายเหล่านี้มาแล้ว อีกทั้งรูปคดีของทางตำรวจจะเป็นเช่นไร เพราะจากเหตุการณ์ในครั้งนี้มีเหยื่อที่ถูกวิญญาณ ซาร่าห์ฆ่าตายมากถึง 12 คน และนับว่าเป็นคดีสะเทือนขวัญ และผู้ตายในครั้งนี้ยังรวมถึงนายอำเภอ ผู้ช่วยนายอำเภอ และตำรวจสาวที่มาสืบคดีนี้ด้วย และผู้ตายอย่างน้อย 2 คนก็ถูกผู้ที่รอดชีวิตเพียงหนึ่งเดียวฆ่าจริงๆ แม้จะอ้างว่าป้องกันตัว และตอนนั้นคนเหล่านี้ถูกผีสิงก็ตาม การสร้างตัวละครพบว่า ผู้เขียนสามารถที่จะสร้างให้ตัวละครแต่ละตัวมีลักษณะเด่นเฉพาะของตนอย่างชัดเจน จนทำให้ผู้อ่านจดจำและแยกแยะว่าใครเป็นใคร ทั้งรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ นิสัย และความชอบต่างๆ แม้ว่าตัวละครส่วนใหญ่จะมีบทไม่มากนักเมื่อเทียบกับตัวละครที่เป็นผู้ดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น อลิซ จีโอวานี่ เวโรนิก้า หรือ ซาร่าห์ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนก็ได้เฉลี่ยให้ตัวละครแต่ละตัวมีความสำคัญทั้งต่อเรื่องและในบทบาทของตนในสัดส่วนที่พอเหมาะกับความยาวของเรื่อง ในแง่ของการเขียนนั้นพบว่า ผู้เขียนมีทักษะในการเขียนทั้งบทบรรยายและบทสนทนาได้เป็นอย่างดี ทั้งการใช้คำ การขยายความ และการใช้คำเพื่อสร้างจินตนาการให้ผู้อ่าน จึงทำให้เรื่องราวดำเนินไปอย่างลื่นไหล ส่งผลให้เรื่องราวน่าติดตาม อีกทั้งนวนิยายเรื่องนี้มีการ rewrite เป็นครั้งที่สองแล้วจึงพบคำผิดประปราย เช่น ล็อบบี้ เขียนเป็น ล๊อบบี้ ปรารถนา เขียนเป็น ปราถนา กฎ เขียนเป็น กฏ กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา ล็อก เขียนเป็น ล๊อก กะทันหัน เขียนเป็น กระทันหัน เวทมนตร์ เขียนเป็น เวทย์มนต์ ออฟฟิศ เขียนเป็น ออฟฟิซ หากผู้เขียนแก้ไขคำผิดเหล่านี้ได้ก็จะช่วยให้เรื่องนี้มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากขึ้น อ่านน้อยลง
bluewhale | 9 ธ.ค. 56
6
0
ดูทั้งหมด
ความคิดเห็น