ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การเขียนนิยายสไตล์มัลลิกา

    ลำดับตอนที่ #7 : การเตรียมต้นฉบับส่งสำนักพิมพ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 967
      2
      12 มี.ค. 50




    การเตรียมต้นฉบับเพื่อจัดส่งสำนักพิมพ์

     


            
            สวัสดีค่า ลิก้าเองนะคะ
    ^^ หายไปหลายวันลืมกันหรือยัง ถ้าลืมกันละก็จะงอนให้น่าดูชมเลย อิอิ ^^ น้องที่สนิทกันชอบบอกว่าลิก้าขี้งอน แต่ลิก้าว่าไม่จริ๊ง ไม่จริง ไม่เคยงอนเลย แต่ถ้าใครพูดให้ผิดหู หรือแสดงกิริยาให้ผิดตาละก็... ลิก้าจะไม่สนใจเขาอีกต่อไปเลย จนกว่าจะมาง้อก่อน ถึงจะยอมคืนดีด้วย อิอิ แล้วแบบนี้เรียกงอนหรือเปล่านะ =_= ” ไม่เนอะ

     

     

                    มาเข้าเรื่องกันดีกว่า วันนี้เอาบทความที่สัญญาไว้มาให้อ่านกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับนักเขียนไซเบอร์เช่นเราๆ นั่นก็คือ การเตรียมต้นฉบับเพื่อจัดส่งสำนักพิมพ์

     

     

                    การจัดเตรียมต้นฉบับเพื่อส่งสำนักพิมพ์เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การเขียนเรื่องให้สนุกเลยนะคะ เราจะทำอย่างไรให้ต้นฉบับเราดูน่าสนใจสำหรับกองบก.และโดดเด่นต่างจากต้นฉบับของคนอื่น เรื่องนี้ไม่ยากหรอกค่ะ รับรองว่าพออ่านบทความนี้จบต้นฉบับของเพื่อนๆ จะนิ้งขึ้นมาทันทีเลย

     

     

                    ลิก้าเองเคยเห็นนักเขียนท่านหนึ่งโพสข้อความถามบก.ของเขาในเว็บแห่งหนึ่งว่า นักเขียนมีหน้าที่รีไรท์เท่านั้นใช่ไหม ไม่ได้มีหน้าที่ตรวจคำผิดและจัดหน้าต้นฉบับ ตรงนี้ลิก้าคิดว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดนะคะ

     

                    นักเขียนนอกจากจะต้องเขียนเรื่องของตนให้จบและสนุกแล้ว ลิก้าคิดว่าเราควรจะมีหน้าที่ดูแลต้นฉบับของเราให้สมบูรณ์ที่สุดก่อนส่งให้สำนักพิมพ์ด้วย เพื่อนๆ คิดดูสิคะ ว่าถ้าเราเป็นบก.เราจะเลือกอ่านต้นฉบับที่เรียบร้อยสวยงามหรือว่าจะอ่านต้นฉบับที่มั่วๆ พิมพ์ผิดอื้อซ่าก่อน

     

     

                    นอกจากนี้การจัดต้นฉบับอย่างเป็นระเบียบสวยงามยังส่งผลดีต่อการจัดหน้าและตรวจปรู๊ฟตอนที่นิยายเราผ่านการพิจารณาแล้วด้วยนะคะ เพราะจากการที่ได้คุยกับบก.ท่านหนึ่ง พี่เขาเคยบอกว่าต้นฉบับชิ้นไหนจัดมาดีแล้ว เขาจะใช้เวลาอ่านเร็วมาก สามารถบอกว่าผ่านหรือไม่ได้ภายในไม่กี่วัน และเวลาจัดพิมพ์ก็จะใช้เวลารวดเร็วเช่นกัน

     

                    แต่หากไปเจอต้นฉบับที่ใช้คอมเหมือนใช้พิมพ์ดีด ไม่มีการจัดหน้าและตรวจคำผิดมาเลย เขาก็ต้องใช้เวลาในการพิจารณานานและตอนจัดพิมพ์ก็จะนานตามไปด้วย ดีไม่ดี อาจจะไม่อ่านเลยก็ได้

     

     

                    จากที่กล่าวมาทั้งหมดเพื่อนๆ ก็จะเห็นแล้วว่าการจัดเตรียมต้นฉบับก่อนส่งสำนักพิมพ์มีความสำคัญขนาดไหน ในฐานะที่เราเป็นนักเขียนไซเบอร์ ยังโนเนมอย่างสิ้นเชิง การเพิ่มโอกาสให้ต้นฉบับได้ผ่านตาบก. และได้รับการจัดพิมพ์แม้เพียงเล็กน้อยก็น่าจะคว้าไว้นะคะ

     

     

    ต้นฉบับที่จะส่งไปสนพ.ประกอบด้วยอะไรบ้าง

     

     

                   ก่อนจะรู้วิธีจัดเตรียมต้นฉบับ เรามารู้จักส่วนประกอบของต้นฉบับก่อนนะคะ จากการศึกษาเงื่อนไขในการรับพิจารณาต้นฉบับของสำนักพิมพ์ต่างๆ มาแล้วอย่างโชกโชน ลิก้าก็ทราบว่าต้นฉบับที่จะส่งไปสำนักพิมพ์ประกอบด้วย 4 ส่วนดังต่อไปนี้ (ควรแยกออกเป็น 4 ไฟล์)

     

     

                    1. เนื้อเรื่อง

                    ส่วนนี้คือเนื้อเรื่องของนิยายที่เราแต่งเสร็จสมบูรณ์ ตั้งแต่บทแรกยันบทสุดท้าย ยาวสั้นก็แล้วแต่นะคะ เนื้อเรื่องก็จะแบ่งออกเป็นบทๆ (เพราะคงไม่มีใครเขียนบทเดียวจบ มันคงจะเหนื่อยน่าดูทั้งคนเขียนคนอ่าน) จะกี่บทก็แล้วแต่ความยาวของเรื่องนะคะ ส่วนนี้มักจะใหญ่ (ไฟล์มีความจุมาก) เราจึงต้องทำการซิฟไฟล์ก่อนส่งเสมอ

     

                    อ๋อ... ควรเขียน ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรและอีเมลล์แอดเดรส ลงไปในหน้าแรกของต้นฉบับเลยนะคะ เพราะเว็บของสำนักพิมพ์มักจะลบทิ้งบ่อยๆ พอเขาก็อปงานเรามาอ่านแล้วบางทีก็ไม่รู้ว่าเอามาจากเมลล์ไหน พองานเราผ่านเขาก็ไม่รู้จะติดต่อกับเรายังไง ทำให้เราเสียโอกาสได้นะคะ

     

     

                    2. เรื่องย่อ

                  เรื่องย่อเป็นตัวแทนนิยายทั้งเรื่องของเรา การเขียนเรื่องย่อที่ดีควรยาวประมาณ 1-2 หน้าเอสี่ โดยหยิบประเด็นที่สำคัญในนิยายของเราออกมาเขียนให้บก.เห็น เพื่อกระตุ้นความสนใจ และชวนให้เขาติดตามอ่านเนื้อหาทั้งหมดของเรา (เหมือนล่องลวงบก.แหละค่ะ) การเขียนเรื่องย่อก็เขียนว่าเริ่มยังไง ไคลแมกซ์อยู่ตรงไหน และจบอย่างไร ไม่ต้องกั๊กไว้หรอกค่ะบอกเขาไปเลย

     

     

                    3. ชื่อและรายละเอียดตัวละคร

                  ตรงนี้สำนักพิมพ์มักไม่ค่อยบอกให้นักเขียนส่งมาด้วย แต่จากประสบการณ์ของลิก้านั่น ส่วนนี้สำคัญมากค่ะ โดยเฉพาะพวกที่เขียนยาวๆ 3 ภาค 4 ภาคจบ บก.เขาจะเอาไว้เปรียบเทียบว่าเขียนๆ ไปเราหลงชื่อตัวละครหรือบุคลิกตัวละครเปลี่ยนไปหรือเปล่า และที่สำคัญหากงานเราผ่าน ลักษณะตัวละครตรงนี้จะนำมาใช้ในการวาดปกค่ะ

     

     

                    4. จดหมายแนะนำตัว

                    นี่ก็สำคัญมากค่ะ เพราะเป็นการแนะนำตัวให้สำนักพิมพ์รู้จักเรา หากงานเราผ่านจะได้ติดต่อกับมาสะดวก และที่สำคัญที่สุดก็คือ หากงานเราได้พิมพ์ข้อมูลส่วนนี้จะใช้ในการทำสัญญาเช่าลิขสิทธิ์ระหว่างกันค่ะ

     

                    จดหมายแนะนำตัวจะเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ไม่อยากหรอกค่ะ ขั้นแรกก็บอกว่าเราเป็นใคร ด้วยชื่อจริง นามสกุลจริง นามปากกาว่าอะไร อายุเท่าไร การศึกษาระดับไหน ทำงานอะไร ทำไมจึงสนใจมาเป็นนักเขียน ทำไมจึงเลือกเสนองานกับสำนักพิมพ์นี้ เป็นต้น

     

                    อ๋อ... ขอแนะนำว่าควรใช้สำนวนในการเขียนที่สุภาพ ภาษาถูกต้อง เพื่อสร้างความรู้สึกดีๆ กับผู้อ่าน การเขียนยียวนกวนอารมณ์ไม่ควรใช้ เพราะยังๆ ไง คนไทยก็จะชอบคนอ่อนน้อมถ่อมตนมากกว่าคนก้าวร้าว ถ้าเขาประดับใจเรา งานของเราก็จะดูดีขึ้นด้วยค่ะ

     

     

            เมื่อรู้องค์ประกอบของต้นฉบับแล้ว เราก้มาดูวีการจัดเตรียมต้นฉบับที่ดีกันได้แล้วค่ะ

     

     

    การจัดต้นฉบับเพื่อส่งสำนักพิมพ์

     

     

                  1.ขนาดตัวอักษร ควรใช้ตัวอักษรขนาด 14 พอยท์ ใช้ฟอนท์ อังษณานิว หรือ คอเดียนิวก็ได้ ไม่ควรใช้ตัวอักษรฟอนท์อื่น เพราะเมื่อส่งไปแล้วอ่านเปิดอ่านไม่ได้ก็ได้

     

     

                    2.การย่อหน้า ควรใช้การเคาะ Tab ทุกครั้งเมื่อต้องการย่อหน้า ห้ามใช้การเคาะสเปชบาร์ เด็ดขาด เพราะเป็นการใช้เครื่องมือที่ผิดประเภท คอมฯไม่ใช่พิมพ์ดีด ควรใช้ให้ถูกต้อง เพื่อสะดวกในการจัดรูปเล่มหากงานของเราผ่านการพิจารณา และควรเคาะแค่ 1 ครั้งเท่านั้นในการย่อหน้า 1 ครั้ง

     

     

                    3.การเว้นบรรทัด เมื่อจะขึ้นย่อหน้าใหม่ เพื่อเขียนบทบรรยายใหม่ หรือว่าเขียนบทสนทนาใหม่ ไม่ต้องเว้นบรรทัด การเว้นบรรทัดจะทำเมื่อต้องการเปลี่ยนฉากเท่านั้น

     

     

                    4.การเว้นช่องไฟ ในการเขียนนิยาย ควรเว้นช่องไฟด้วยการเคาะสเปซบาร์ เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

     

     

                    5.การใช้ตัวดำ ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ใช้ได้ตามสะดวก แต่อย่าบ่อยจนเฟือ อย่างตัวดำควรใช้เมื่อต้องการเน้นคำ แสดงเสียงดัง หรือแสดงความตกใจ ส่วนตัวเอียงใช้แทนเสียงเบา หรือการละเมอ

     

     

                    6.การเลียนเสียงธรรมชาติ ใช้ได้ตามสะดวก แต่อย่าบ่อยมันจะทำให้ต้นฉบับรก และควรใช้คู่กับการบรรยายเสมอ

     

     

                    7.ความยาวของเรื่อง นิยายเรื่องหนึ่งควรจะยาวแค่ไหน อันนี้บอกตายตัวไม่ได้ขึ้นกับแต่ละคน แต่สามารถบอกได้ว่า นิยายที่ยาวประมาณ 80 หน้าเอสี่ พอจัดหน้าแล้วจะได้หนังสือขนาด 120 หน้า แต่โดยปกติสำนักพิมพ์จะรับพิจารณานิยายที่ยาวตั้งแต่ 100 หน้าขึ้นไปเท่านั้น แต่ถ้าเป็นนิยายของลิก้า มักจะยาว 200-250 หน้าขึ้นไป เพื่อให้เวลาจัดทำหนังสือจะได้หนังสือที่หนาเกิน 300 หน้า

     

     

                    8.นิยายเรื่องหนึ่งควรมีกี่ตอน จำนวนตอนก็ขึ้นกับเนื้อหาเป็นสำคัญ โดยจะตัดเป็นกี่ตอนก็แล้วแต่คนเขียนเป็นสำคัญ เป็นความชอบและความถนัดส่วนตัว ไม่มีการกำหนดแน่ชัด อย่างน้องที่รู้จักกันเขาชอบเขียนตอนสั้นๆ นิยายเขาหนา 250 หน้า เขาแบ่งออกเป็นตอนๆ ได้ 50 ตอน ส่วนนิยายของลิก้าหนา 210 หน้า แต่แบ่งเป็นตอนได้ 19 ตอน

     

                    ข้อดีของการตัดตอนเยอะก็คือเราสามารถเปลี่ยนฉากและเดินเรื่องได้อย่างฉับไว แต่ข้อเสียของมันก็คือต้องคิดชื่อตอนเยอะ ซึ่งชื่อตอนที่ดีก็ต้องเป็นตัวแทนของเนื้อหาในตอนนั้น และเป็นจุดไคลแมกซ์ในตอนนั้นๆ แต่นักเขียนบางคนก็เลือกที่จะแบ่งตอนโดยไม่ใส่ชื่อตอน ใส่เพียงตอนที่ 1, 2,3.... ไปเรื่อยๆ

     

     

                    8.ความยาวในแต่ละตอน ความยาวในแต่ละตอนก็ขึ้นกับเนื้อเรื่องเป็นสำคัญว่าเราจะตัดตอนตรงจุดไหนจึงจะเหมาะที่สุด แต่โดยปกติ 1 ตอน มักจะยาวประมาณ 10 หน้าเอสี่ แต่ถ้าเป็นนิยายของลิก้าจะชอบตอนยาวๆ ในหนึ่งเรื่องจะมีไม่กี่ตอน ดังนั้นตอนหนึ่งมักจะยาวประมาณ 10-19 หน้าเอสี่

     

     

                    9.การตรวจคำผิด นักเขียนไซเบอร์หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องของกองบก.หรือคนตรวจปรู๊ฟต้องทำเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ค่ะ นักเขียนที่ดีควรเตรียมต้นฉบับของตัวเองให้เรียบร้อยเพื่อการจัดพิมพ์ที่สุด ควรมีคำผิดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประโยชน์ของเราเองค่ะ เพราะต้นฉบับที่เขียนไม่ผิดเลยแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางภาษาของคนเขียนนะคะ ว่ามีมากน้อยแค่ไหน

     

     

                    โอ้ย...เมื่อยมือ เรื่องเกี่ยวกับการจัดเตรียมต้นฉบับที่นึกออกคงมีแค่นี้แหละค่ะ งันวันนี้ไปก่อนดีกว่า คราวหน้าจะเอาเรื่องรายได้จากงานเขียนมาฝากนะคะ วันนี้บายล่ะ ลิก้าจังค่ะ รักนะ จุ๊บๆๆ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×