ภูมิลักษณ์ของโลกกกกกก - ภูมิลักษณ์ของโลกกกกกก นิยาย ภูมิลักษณ์ของโลกกกกกก : Dek-D.com - Writer

    ภูมิลักษณ์ของโลกกกกกก

    ผู้เข้าชมรวม

    2,196

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    2.19K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  7 ม.ค. 53 / 13:42 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ภูมิลักษณ์ของโลก

      ทวีปอเมริกาเหนือ

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       


       

                      ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นดินแดนที่มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวผิวขาวที่มีการศึกษาดี ทำให้ทวีปอเมริกาเหนือได้รับการพัฒนา เจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว

      คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวอิตาเลียน เดินทางมาพบหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ในปี พ.ศ. 2035 และเข้าใจว่าดินแดนที่ค้นพบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ ทวีปเอเชีย

      ในปี พ.ศ 2042 อเมริโก เวสปุชขี ชาวอิตาเลียน ได้เดินทางสำรวจดินแดนที่ โคลัมบัสเคยสำรวจมาแล้ว และทราบว่าดินแดนที่พบนั้นเป็นทวีปใหม่ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชียตามที่โคลัมบัสเข้าใจ ดินแดนนี้ จึงได้ชื่อว่า อเมริกา (America) เพื่อเป็นเกียรติแก่ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci)

       

      ที่ตั้งและอาณาเขต
                      ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูดที่
      7 - 83 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 55 องศาตะวันตก - 172 องศาตะวันออก

      ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบ

      เดวิส ทะเลแลบราดอร์ เกาะขนาดใหญ่ได้แก่ เกาะกรีนแลนด์ เกาะแบฟฟิน เกาะวิกตอเรีย
                     

      ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญด้านนี้ ได้แก่ เกาะนิวฟันด์แลนด์ เกาะเบอร์มิวดา หมูเกาะบาฮามาส

      ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนเหนือมีช่องแคบเบริง กั้นระหว่างทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ น่านน้ำสำคัญได้แก่ อ่าวแคลิฟอร์เนีย อ่าวอะแลสกา เกาะใหญ่ได้แก่ เกาะแวนคูเวอร์ หมู่เกาะอาลิวเชียน หมู่เกาะควีนชาร์ล็อต

      ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ น่านน้ำสำคัญคือมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโกในมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญคือ หมู่เกาะอินดิสตะวันตก หมู่เกาะคิวบา ฮิสแปนิโอลา จาเมกา เปอร์โตริโก

      ทวีปอเมริกาเหนือ มีขนาดใหญ่เป็นที่ 3 รองจากทวีปเอเชีย และแอฟริกา รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม มีฐานทางด้านเหนือ ความกว้างของทวีปตั้งแต่ช่องแคบเบริง ถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ ส่วนที่แคบที่สุด คือคอคอดปานามา

       

      ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ
      ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ สามารถแบ่งได้เป็น 4 เขต คือ

      1. เขตเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนกันหลายแนว ซึ่งเกิดจากการโก่งตัวของหินเปลือกโลกที่มีอายุน้อยเป็นแนวต่อเนื่อง ตั้งแต่บริเวณช่องแคบเบริงลงมาจนถึง ประเทศปานามา และมีแนวต่อเนื่องไปจนถึงทวีปอเมริกาใต้ เทือกเขาสำคัญในเขตนี้ ได้แก่ เทือกเขาอะแลสกา มียอดเขาแมกคินเลย์ สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ เทือกเขารอกกี เทือกเขาแคสเกด เทือกเขาเซียราเนวาดา เทือกเขาเซียรามาเดร เทือกเขาชายฝั่ง

      2. เขตที่ราบภาคกลาง เป็นเขตที่ราบใหญ่มี 6 เขต ดังนี้

      2.1 ที่ราบลุ่มแมกเคนซี เป็นที่ราบแคบๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำ เขตหินเก่า อากาศหนาวเย็น มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง

      2.2 ที่ราบแพรรีในแคนาดา บริเวณมณฑลมานิโตบา ซาสเคตเชวันและ แอลเบอร์ตา เป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของโลก

      2.3 ที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ ทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ ทะเลสาบสุพีเรีย ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลสาบมิชิแกน ฮูรอน อีรี ออนตาริโอ เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก มีการขนส่งทางน้ำที่สำคัญที่สุดในโลก มีประชากรหนาแน่น

      2.4ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี และมิสซูรี เป็นที่ราบดินตะกอน มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แม่น้ำมิสซิสซิปปี เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของอเมริกาเหนือ มีสาขาสำคัญหลายสาย ได้แก่มิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอส์

      2.5ที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ บริเวณทางด้านตะวันออก ของเทือกเขาแอปปาเลเชียน ลงไปทางใต้จนถึงชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก เหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน

      2.6ที่ราบบนที่สูงได้แก่บริเวณด้านตะวันออกของเทือกเขารอกกี เป็นเขต เงาฝน ไม่เหมาะที่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทที่ใช้น้ำมาก แต่เหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกข้าวสาลี

      3.เขตหินเก่าแคนาดา ได้แก่บริเวณรอบอ่าวฮัดสันลงมาจนถึงทะเลสาบทั้ง 5 ประกอบด้วยหินเปลือกโลกเก่าแก่ มีอากาศหนาวเย็น ประชากรอาศัยอยู่เบาบาง

      4. เขตภูเขาด้านตะวันออก เป็นภูเขาหินเก่า คือเทือกเขาแอปปาเลเชียน มียอดเขาสูงสุด ชื่อ มิตเชล

       

      ลักษณะภูมิอากาศ

      ลักษณะภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ
      ทวีปอเมริกาเหนือ มีลักษณะอากาศที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้

      1. ปัจจัยด้านที่ตั้ง อยู่ในเขตอากาศร้อนใกล้ศูนย์สูตร จนถึงบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ ทำให้มีลักษณะอากาศแทบทุกประเภท

      2. ปัจจัยด้านลักษณะภูมิประเทศ มีแนวเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก ทอดตัวแนวเหนือใต้ เป็นกำแพงกั้นทางลมและความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ดินแดนด้านหลังของเทือกเขารอกกี (ด้านตะวันออกของเทือกเขา) มีอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง เป็นทะเลทรายและทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย

      3. ปัจจัยด้านลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านทวีปอเมริกาเหนือแตกต่างกันตามช่วงละติจูดคือ ตั้งแต่ละติจูดที่ 40 องศาเหนือขึ้นไปทางทิศเหนือ จะได้รับลมประจำตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดมาจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ฝนตกชุกบริเวณ ชายฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดา รัฐอะแลสกา ของสหรัฐอเมริกา สำหรับบริเวณ ใต้เส้นละติจูดที่ 40 องศาเหนือ จะได้รับลมตะวันออกเฉียงเหนือจากมหาสมุทรแอตแลนติก


      4. ปัจจัยด้านกระแสน้ำ มีอิทธิพลต่อทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่

      4.1 กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ไหลเลียบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา จากทิศใต้ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

      4.2 กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของเกาะกรีนแลนด์ มาพบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม บริเวณนอกฝั่งตะวันออกของเกาะนิวฟันด์แลนด์

      4.3 กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาลงมาจนถึงชายฝั่งมหาสมุทรแคลิฟอร์เนีย

      4.4 กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของรัฐอะแลสกา ขึ้นไปทางเหนือ จนถึงช่องแคบแบริง

      5. ระยะห่างจากทะเล ตอนเหนือของทวีปมีพื้นที่กว้างขวางมาก ตอนในของทวีปได้รับอิทธิพลจากทะเลเพียงเล็กน้อย ทำให้ตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและแคนาดามีอากาศแห้งแล้ง พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้า และทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย

      6. พายุเฮอริเคน เป็นพายุเมืองร้อน เกิดในทะเลแคริบเบียน เคลื่อนที่เข้าสู่เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา พายุทอร์นาโด เกิดในบริเวณที่ราบภาคกลางของสหรัฐอเมริกา มีกำลังแรงมาก มีลักษณะเป็นกรวยเมฆสีดำคล้ายงวง สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน


      ลักษณะอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ
      ทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตอากาศที่แตกต่างกันดังนี้

      1. เขตอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) ปรากฏบริเวณชายฝั่งตะวันออกของดินแดนทางตอนใต้ของอเมริกาเหนือ เม็กซิโก ปานามา มีฝนตกชุก อุณหภูมิสูง พืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบป่าเมืองร้อน

      2. ทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical Grassland Climate) ได้แก่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเม็กซิโก หมู่เกาะอินดิสตะวันตก อุณหภูมิในฤดูร้อนกับฤดูหนาวแตกต่างกันมาก มีฝนตกปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า เรียกว่าสะวันน่า (Savanna)

      3. เขตอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และภาคเหนือของเม็กซิโก มีอุณหภูมิสูงมากในฤดูร้อน มีปริมาณฝนน้อย พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่พืชจำพวกตะบองเพชร และประเภทไม้มีหนาม

      4. เขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) ปรากฏทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา บางส่วนของแคนาดา เม็กซิโก ซึ่งอยู่บริเวณชายขอบทะเลทราย มีลักษณะอากาศกึ่งแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น เรียกว่า สเต็ปป์ (Steppe)

      5.เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) ปรากฏบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลางรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ ในฤดูร้อน อากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าไม้พุ่มเตี้ย เรียกว่า

      ป่าแคระ (Chaparral)

      6.เขตอากาศแบบชื้น กึ่งร้อน (Humid Subtropical Climate) ปรากฏบริเวณภาคกลาง ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีลักษณะอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี ไม่มีฤดูแล้ง พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าสน

      7.เขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate) ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งหันหน้าเข้ารับลมประจำตะวันตก ที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ช่วงฤดูร้อน มีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวมีอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ไม่มีฤดูแล้ง ที่เด่นชัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่น

      8. เขตอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Humid Continental Climate) ปรากฏบริเวณทะเลสาบทั้ง 5 ตอนใต้ของแคนาดา ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำในฤดูหนาว ส่วนฤดูร้อนอุณหภูมิปานกลางถึงสูงมากเป็นช่วงที่ มีฝนตกชุก พืชพรรณธรรมชาติมีทั้งป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าไม้ไม่ผลัดใบ ชนิดมีใบแหลม

      9.เขตอากาศแบบไทกา (Taiga Climate) ได้แก่บริเวณรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา ภาคเหนือของประเทศแคนาดา มีลักษณะอากาศที่หนาวจัดเป็นระยะเวลายาวนาน มีหิมะตก ส่วนฤดูร้อนมีระยะสั้นอากาศค่อนข้างเย็น พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าสน และป่าไม้เนื้ออ่อน

      10. เขตอากาศแบบทุนดรา (Tundra Climate) ปรากฏบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกของรัฐอะแลสกาและแคนาดา รวมทั้งชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ ฤดูหนาวมีอากาศเย็นจัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นตะไคร่น้ำและมอส

      11. ลักษณะอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง (Ice-Cap Climate) คือดินแดนของเกาะ กรีนแลนด์ตอนกลาง มีอากาศหนาวจัด และมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี พืชพรรณธรรมชาติไม่สามารถเจริญเติบโตได้เลย

      12. ลักษณะอากาศแบบที่สูง (Highland Climate) อยู่ทางภาคตะวันตกของทวีป ในเขตภูเขาสูงนี้ อุณหภูมิ ความชื้น พืชพรรณธรรมชาติ เปลี่ยนไปตามความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงมากอากาศจะยิ่งเย็นจัด จนกระทั่งถึงมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ตลอดเวลา

       

      ลักษณะทางเศรษฐกิจ และอาชีพของประชากร ของทวีปอเมริกาเหนือ
      ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นทวีปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด ที่เด่นมาก ได้แก่

      1. ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งป่าไม้ที่สำคัญ อยู่ในเขตประเทศแคนาดา และสหรัฐอเมริกา บางส่วนของเม็กซิโก บริเวณแนวเทือกเขารอกกี

      2. ทรัพยากรแร่ธาตุ และพลังงาน พบถ่านหินมากในเขตเทือกเขาแอปปาเลเชียน แร่เหล็ก มีแหล่งผลิตบริเวณทะเลสาบทั้ง 5 โดยเฉพาะทะเลสาบสุพีเรีย ทองแดงมีมากในปานามา น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีแหล่งผลิตที่เทกซัส หลุยเซียนา แคลิฟอร์เนีย และอะแลสกา พลังงานน้ำที่นำมาใช้ในการหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้า มีมากทางด้านตะวันตกของประเทศแคนาดา

       

       

       

      พืชพรรณธรรมชาติ

      ในทวีปอเมริกาเหนือแบ่งลักษณะพืชพรรณธรรมชาติได้ดังนี้

      1.เขตป่าฝนเมืองร้อน หรือป่าดงดิบ มีไม้ปกคลุมหนาแน่นเพราะมีฝนตกชุกตลอดปี ได้แก่บริเวณหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนและอเมริกากลาง

      2.เขตป่าและไม้พุ่มเขตร้อน กึ่งป่าผลัดใบและไม้พุ่ม

                      จะมีลักษณะสัมพันธ์เชื่อมต่อกับเขตร้อนชื้นและแห้ง พืชพรรณจึงมีการผลัดใบสลับกับผลิใบ ได้แก่กลุ่มเกาะแคริบเบียนบางส่วน และชายฝั่งเม็กซิโกบางส่วน

       3.เขตสะวันนา ทุ่งหญ้าเขตร้อน ไม้เล็ก

                      จะสัมพันธ์กับเขตเชื่อมต่อของภูมิอากาศแบบชุ่มชื้นกึ่งร้อนกับแบบกึ่งทะเลทราย โดยบริเวณที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมากจะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ส่วนบริเวณที่ฝนน้อยกว่าจะเป็นทุ่งหญ้า  ได้แก่   บริเวณที่ราบสูงเอ็ดเวิร์ต ที่อยู่เชิงขอบเทือกเขารอกกีตอนล่างสุด

       

       

       

       

       

       

       

       


       

      ภาพตัวอย่างของทุ่งหญ้าสะวันนา

       

      4.    เขตทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ทุ่งหญ้า ไม้เล็ก

                                       ได้แก่บริเวณภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย พืชพรรณส่วนใหญ่จะเป็นหญ้า และแทรกสลับด้วยไม้เล็กๆ จำพวกไม้พุ่ม หรือไม้มีหนามเป็นหย่อม ๆ แตกต่างกับเขตสะวันนา

       

       

       

       

       

       

       

      5.  เขตไม้พุ่มเมดิเตอร์เรเนียน ไม้ยืนต้น ไม้พุ่มเตี้ย

      ได้แก่บริเวณชายฝั่งซานฟรานซิสโกที่มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ตระกูลส้ม เช่น องุ่น มะกอก ส้ม แลไม้พุ่มเตี้ยแทรกสลับกันอยู่รวมทั้งต้น คอร์กโอ๊ค(Cork Oak)

       

       

       

       

       

       

       

       

      ตัวอย่างต้น Cork Oak เป็นไม้ยืนต้นในเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่มีต้นเตี้ยแคระ เปลือกลำต้นหนา เพราะสามารถป้องกันการระเหยของน้ำได้ดี

       

       

       

       

       

       

       

       

       


       

      ลักษณะของเปลือกลำต้น Cork Oak ที่สามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าประเภทจุกไม้คอร์ก


      6. เขตมีอากาศชุ่มชื้นกึ่งร้อนและแบบภาคพื้นทวีป พืชพรรณธรรมชาติเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ

      (ไม้ใบกว้าง)และผสมกับป่าสน(ไม้ไม่ผลัดใบ) ได้แก่บริเวณที่ราบภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ต่อเนื่องเข้าไปในแคนาดาตอนใต้และกลุ่มเกาะนิวฟันแลนด์

       

       


       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      แผนที่แสดงเขตป่าไม้ใบกว้าง และไม้ผลัดใด ในส่วนต่าง ๆ ของโลก

      ซึ่งหมายถึงเขตละติจูดอบอุ่นของโลก

       

      7. เขตป่าไทกา ในละติจูดสูง จำพวกป่าสน

                                      ได้แก่บริเวณตอนเหนือของแคนาดาไปจนถึงอะแลสกา ซึ่งจะสัมพันธ์กับภูมิอากาศเขตกึ่งขั้วโลก พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่จึงเป็นป่าสนเมืองหนาว(ไม่ผลัดใบ)

       

       

       

       

       

       

       

       


       

      แผนที่แสดงเขตภูมิอากาศและป่าไทกาของโลก

       

       

       

       

       

       

       

       


       

       

      ภาพตัวอย่างลักษณะป่าสนไทกา

       

      8. เขตทุนดรา มอส ไลเคน หญ้า

                      ได้แก่บริเวณชายฝั่งอาร์กติก และกลุ่มเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ทางเหนือของแคนาดา(บริเวณเหนือเขตป่าสนไทกา)ซึ่งเป็นเขตทุนดรา พืชพรรณธรรมชาติจงเป็นเพียงพืชชั้นต่ำ ได้แก่หญ้ามอส และไลเคน ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ในหน้าหนาวสั้น ๆ เท่านั้น  ในเขตทุนดราต้นไม้ยืนต้นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จะเป็นเพียงหญ้าขนาดเล็กเท่านั้น

       

      เศรษฐกิจของทวีปอเมริกาเหนือ

      1.การเพาะปลูก เป็นดินแดนผลิตอาหารที่สำคัญของโลก เป็นผู้นำในการผลิตข้าวโพดข้าวสาลี
      2.การเลี้ยงสัตว์ มีการทำฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ ชาวอเมริกันนิยมรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นมเนย มากกว่าอาหารโปรตีนชนิดอื่น วัวเนื้อ เลี้ยงบริเวณ เกรตเพลน (Great Plain) แหล่งเลี้ยงวัวนม ได้แก่บริเวณรอบทะเลสาบ ทั้ง 5

      3.การประมง มีการจับปลาในเขตน้ำตื้นชายฝั่ง แหล่งปลาชุกชุมอยู่ใกล้เกาะนิวฟันด์แลนด์ เรียกว่า แกรนด์แบงก์

      4.การอุตสาหกรรม อเมริกาเหนือเป็นทวีปที่ได้ชื่อว่าล้ำหน้าในเรื่องการอุตสาหกรรมของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีโรงงานผลิตสินค้าชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ อุตสาหกรรมสำคัญได้แก่การผลิตเหล็ก และเหล็กกล้า เครื่องจักรกล อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการขนส่ง

      -       เขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา คือ ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เข้ามาภายในจนถึงทะเลสาบใหญ่ทางตะวันตก และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น

      -           ย่านอุตสาหกรรมของแคนาดาอยู่บริเวณทางตอนใต้ของประเทศ ทำกระดาษและเยื่อไม้

      5.การพาณิชยกรรม เป็นตลาดการค้าสำคัญของโลก มีประชากรจำนวนมาก เศรษฐกิจดี ผู้นำในทวีปอเมริกาเหนือทั้ง 3 ชาติ คือสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก รวมกลุ่มกัน จัดตั้งเป็น เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ นาฟตา (NAFTA) เพื่อต่อรองและถ่วงดุลอำนาจกับประชาคมยุโรป

       

      ลักษณะทางสังคม
      ลักษณะทาง สังคม วัฒนธรรมทวีปอเมริกาเหนือ
      ทวีปอเมริกาเหนือ แบ่งสภาพทางวัฒนธรรมออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้

      1. แองโกลอเมริกา ได้แก่ดินแดนทางตอนเหนือของแม่น้ำริโอแกรนด์ ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ รักอิสรภาพ นิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย

      2. ละตินอเมริกา ได้แก่ดินแดนทางตอนใต้ของแม่น้ำริโอแกรนด์ ประชากรส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรม จากประเทศโปรตุเกสและสเปน นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิก
      3. กลุ่มชาวพื้นเมืองและพวกเลือดผสม ได้แก่ ลูกผสมระหว่าง ยุโรป และอินเดียนแดง เรียกว่า

      เมสติโซ (Mestizo) เป็นกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในเขตละตินอเมริกา ลูกผสมระหว่าง ยุโรปและนิโกร เรียกว่า มูแลตโต (Mulatto)
      4. กลุ่มประชากรเชื้อสายเอเชีย มีผิวสีน้ำตาลเหลือง อพยพมาจากเอเชียตะวันออก ได้แก่ชาวเอสกิโม ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา และในรัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา
      5. กลุ่มประชากรเชื้อสายนิโกร จากทวีปแอฟริกา เป็นกลุ่มที่ชาวผิวขาวนำมาเป็นทาสในรุ่นแรก ๆ


      ภาษา
      ภาษาที่ใช้ในทวีปอเมริกา ส่วนใหญ่เป็นตระกูล อินโด - ยูโรเปียน มีหลายกลุ่ม คือ

      -          ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาประจำชาติ และภาษาราชการประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา

      -          ภาษาสเปน เป็นภาษาราชการของประเทศเม็กซิโก และประเทศต่างๆ ในอเมริกากลาง

      -          ภาษาฝรั่งเศส ใช้กันมากในมณฑลควีเบกประเทศแคนาดา และในเกาะ เฮติ

      -       ภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาเอสกิโม ภาษาเผ่าต่างๆของชนกลุ่มน้อยของทวีปอเมริกาเหนือ ภาษาของชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

      ศาสนา
      ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือนับถือศาสนาคริสต์ นิกายที่สำคัญ ได้แก่

      -          นิกายโปรเตสแตนต์ เป็นศาสนาที่ประชากรส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และแคนาดานับถือ

      -       นิกายโรมันคาธอลิก เป็นศาสนาที่ประชากรในมณฑลควีเบก ของ แคนาดา และประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปนนับถือ



      ประชากร
      เปรียบเทียบลักษณะทางสังคม ของประชากรในทวีปอเมริกาเหนือ คือ
      ลักษณะทางสังคมของกลุ่มแองโกล - อเมริกา

      -          เป็นสังคมของประเทศที่มั่งคั่ง มีมาตรฐานการครองชีพสูง

      -          เป็นสังคมประชาธิปไตย ประชากรมีอิสรภาพ เสรีภาพ ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนสูง

      -          เป็นสังคมเมืองมากกว่าสังคมชนบท

      -           เป็นสังคมอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม

      -          ประชากรได้รับความสะดวกสบาย

      ลักษณะทางสังคมของกลุ่ม ละตินอเมริกา

      -          เป็นสังคมของประเทศยากจน ประชากรมีรายได้ต่ำ

      -          เป็นสังคมกึ่งประชาธิปไตย กึ่งเผด็จการ มีการปฏิวัติรัฐประหารบ่อย บางประเทศ เช่น คิวบาเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น

      -          เป็นสังคมชนบทมากกว่าสังคมเมือง

      -          ส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม

      -          เป็นสังคมที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์

      ลักษณะการกระจายตัวของประชากร
      1. บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นได้แก่ ภาคตะวันออกของทวีป ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีอากาศอบอุ่นสบาย ได้รับอิทธิพลจากทะเล มีปริมาณฝนเพียงพอ เหมาะแก่การเพาะปลูก อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ เหล็ก ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้า การคมนาคมขนส่งสะดวก
      2. บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง ได้แก่บริเวณภาคตะวันตก ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมและการประกอบอาชีพทุกชนิด บริเวณทะเลทราย ที่มีลักษณะอากาศรุนแรง เขตอากาศหนาวเย็นใน รัฐอะแลสกา และตอนเหนือของแคนาดา

       

       

       

      การแบ่งอาณาเขตประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      มลรัฐภาคตะวันตกของประเทศ

      แผนที่แสดงการแบ่งเขตการเมืองการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ

       

      มลรัฐตะวันออกของปรเะเทศ

       

      มลรัฐอะลาสกาและหมู่เกาะฮาวาย

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      การแบ่งเขตการปกครองของประเทศแคนาดา

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      อาณาเขตประเทศเม็กซิโก

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      อาณาเขตกลุ่มประเทศอเมริกากลาง

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ประเทศคิวบา จาไมกา หมู่เกาะบาฮามาส

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       กลุ่มประเทศในทะเลาคาริบเบียน เช่น ไฮติ สาธารณรัฐโดมินิกันเกาะเปอร์โตริโก

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ทวีปอเมริกาใต้

       

       

       

       

       

       

       

      ขนาด ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
                      ทวีปอเมริกาใต้ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายกับทวีปอเมริกาเหนือ มีฐานกว้างทางตอนเหนือ และเรียวแคบลงมาทางตอนใต้ มีพื้นที่อยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 12 องศาหนือ ถึง ละติจูดที่ 56 องศาใต้
      ทิศเหนือ ติดต่อกับทะเลแคริบเบียน และแผ่นดินติดต่อกับอเมริกากลางที่คอคอดปานามา
      ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแอตแลนติก
      ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติก กับมหาสมุทรแปซิฟิก
      ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก


      ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาใต้          

                      ทวีปอเมริกาใต้ มีฝั่งทะเลที่ไม่เว้าแหว่งมาก คล้ายกับทวีปแอฟริกา และออสเตรเลีย จึงมีอ่าวขนาดใหญ่เพียงเล็กน้อย เช่นอ่าวเวเนซูเอลา ทางตอนเหนือของทวีป อ่าวนี้มีทางน้ำเชื่อมติดต่อกับทะเลสาบน้ำเค็มคือ ทะเลสาบมาราไกโบ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้บริเวณประเทศชิลี มีลักษณะชายฝั่งเป็นแบบฟยอร์ด อันเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง ตอนใต้สุดของทวีป มีช่องแคบแมกเจลแลน กั้นระหว่างแผ่นดินใหญ่ และเกาะติแอร์ราเดลฟูเอโก ห่างออกไปประมาณ 400 กิโลเมตร มีหมู่เกาะฟอล์กแลนด์

      ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งออกได้เป็น 3 เขตใหญ่ๆ คือ

      1. เขตเทือกเขา และที่ราบสูงภาคตะวันตก เป็นเทือกเขาหินใหม่ ทอดแนวยาวจากเหนือไปใต้ คือเทือกเขาแอนดีสขนานกับแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ยอดเขาสูงสุดคือ อะคอนคากัว อยู่ในเขตประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างแนวเทือกเขา 2 แนวมีที่ราบสูงโบลิเวีย

       

       


       



       

       

      ยอดเขาอะคองคากัว

      2. เขตที่ราบสูงภาคตะวันออก มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง เรียงจากเหนือมาใต้ คือ ที่ราบสูงกายอานา อยู่ระหว่างแม่น้ำแอมะซอน กับแม่น้ำโอริโนโค ที่ราบสูงบราซิล อยู่ระหว่างแม่น้ำแอมะซอน กับแม่น้ำปารานา ปารากวัย อุรุกวัย ที่ราบสูงปาตาโกเนีย อยู่ทางตอนใต้ของทวีป ภาคใต้ของ อาร์เจนตินา

       

       

       


       

      ที่ราบสูงปาตาโกเนีย

      3. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ แม่น้ำสำคัญสายใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ทั้งหมด ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ทางด้านตะวันออกของทวีป แม่น้ำแอมะซอน อยู่ในประเทศบราซิล เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในอเมริกาใต้ แม่น้ำโอริโนโค อยู่ในประเทศเวเนซูเอลา แม่น้ำปารานา - ปารากวัย - อุรุกวัย อยู่ในประเทศ ปารากวัย อุรุกวัย และ อาร์เจนตินา

       

       แม่น้ำโอริโนโค

      เทือกเขาสำคัญในทวีปอเมริกาใต้
                      ในทวีปอเมริกาใต้ มีเทือกเขาสูงใหญ่มากเพียงเทือกเขาเดียว เป็นแนวยาวขนานไปกับชายฝั่งด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อ เทือกเขาแอนดิส เทือกเขานี้มีความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ
      7,200 กิโลเมตร สูง 6,960 เมตร อยู่ในประเทศอาร์เจนตินา

       

       

       

       


      เทือกเขาแอนดิส

                      ระหว่างละติจูด 10 องศาใต้ถึง 32 องศาใต้ เทือกเขาแอนดิสแยกออกเป็น 2 แนว มีที่ราบสูงคั่นอยู่กลาง เรียกชื่อว่า ที่ราบสูงโบลีเวีย ที่ราบสูงนี้ตั้งอยุ่สูงกว่าระดับน้ำทะเลระหว่าง 3,500-4,500 เมตร นับเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากที่ราบสูงทิเบต (ที่ราบสูงทิเบตสูงระหว่าง 4,500-6,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล)

       บริเวณเทือกขาแอนดิส มีภูเขาไฟที่ยังมีพลังปะทุอยู่เป็นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ภูเขาไฟโกโตปักซี ในประเทศเอกวาดอร์ ภูเขาไฟลูกนี้สูง 5,897 เมตร

       

       

       


      ภูเขาไฟโกโตปักซี

      แม่น้ำ
                      ทวีปอเมริกาใต้มีแม่น้ำสายใหญ่ๆ อยู่หลายสาย ทั้งหมดไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกทางด้านตะวันออกของทวีป แม่น้ำที่สำคัญได้แก่

      1.แม่น้ำอเมซอล ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบราซิล เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของทวีปอเมริกาใต้ ยาว 6259 กิโลเมตร
      จัดเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนส์ แม่น้ำสายนี้มีแควขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก จนบริเวณลุ่มแม่น้ำครอบคลุมเนื้อที่ถึง 6 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1/3 ของทวีปอเมริกาใต้ เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรซึ่งมีฝนตกชุก จึงมีปริมาณน้ำไหลอยู่เป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี ปากแม่น้ำมีลักษณะเป็นอ่าวขนาดใหญ่ และน้ำจืดที่ไหลออกจากปากน้ำ สามารถมองเห็นได้จนถึงระยะทางกว่า 300 กิโลเมตรจากชายฝั่ง

       

       

       

       

       

      2.แม่น้ำโอริโนโค ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเวเนซูเอลา ยาว 2500 กิโลเมตร

       

       

       

       


       

      3. แม่น้ำปารานา ปารากวัย อุรุกวัย เป็นแม่น้ำสายใหญ่ 3 สายที่ไหลมารวมกัน ทำให้ปากน้ำมีลักษณะเป็นลำน้ำขนาดใหญ่มาก เรียกว่า แม่น้ำ เพลตา หรือ ริโอ เดลา พลาตา

       

       

       

       

       

       ลักษณะภูมิอากาศ

      ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อลักษณะอากาศของทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่

      1. ที่ตั้งและรูปร่างของทวีป ทวีปอเมริกาใต้ตั้งอยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 12 องศาเหนือ ถึง 56 องศาใต้ รูปร่างของทวีปมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมีฐานอยู่ด้านบน ทำให้พื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 มีลักษณะภูมิอากาศแบบเมืองร้อน และอีก 1 ใน 3 มีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่น

      2. ทิศทางของลมประจำ ชายฝั่งตะวันออกของทวีป ตั้งแต่เส้น ทรอปิก ออฟ แคปริคอร์น ขึ้นไปทางด้านเหนือ ได้รับลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ และลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ จากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ฝนตกชุก ส่วน ชายฝั่งตะวันตกด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ลมที่พัดประจำบริเวณละติจูดที่ 40 องศาใต้ลงไป คือลมประจำตะวันตก

      3. กระแสน้ำในมหาสมุทร ได้แก่ ในมหาสมุทรแอตแลนติกมีกระแสน้ำอุ่นบราซิล ไหลเลียบฝั่งประเทศบราซิล ทำให้มีอากาศอบอุ่น ความชื้นสูง กระแสน้ำเย็นฟอล์กแลนด์ไหลเลียบฝั่งประเทศอาร์เจนตินา ทำให้มีอากาศเย็น ความชื้นต่ำ ในมหาสมุทรแปซิฟิกมีกระแสน้ำเย็นเปรู (หรือกระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์) ไหลเลียบฝั่ง ประเทศเปรู ทำให้มีอากาศเย็น ความชื้นต่ำ

      4. ทิศทางของเทือกเขาแอนดีส ทอดแนวยาวขนานกับฝั่งทะเล จากทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ ชิดขอบตะวันตกของทวีป พื้นที่ตอนกลางทวีปจึงได้รับอิทธิพลของลมสินค้าจากมหาสมุทรแอตแลนติก มีฝนตกชุก บริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงมีอุณหภูมิต่ำ อากาศไม่ร้อนจัดเหมือนบริเวณพื้นราบ ทำให้ประชาชนนิยมตั้งถิ่นฐานบริเวณ ที่สูงต่างๆ

       

       

      การแบ่งเขตภูมิอากาศของทวีปอเมริกาใต้ มีเขตภูมิอากาศต่างๆ รวม 7 เขต ดังนี้

      1.เขตร้อนชื้น หรือป่าไม้เขตร้อน
                      บริเวณลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเขตศูนย์สูตร มีฝนตกชุกตลอดปี พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ เรียกว่า เซลวาส

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      2. เขตร้อนชื้นสลับแล้ง หรือแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน
                      บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโอริโนโค ที่ราบสูงกายอานา ที่ราบสูงบราซิล ทุ่งหญ้าทางตอนเหนือของแม่น้ำแอมะซอน เรียกว่าทุ่งหญ้ายาโนส ทางตอนใต้เรียกว่าทุ่งหญ้าแคมโปส พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าสลับกับทุ่งหญ้า

       

       

       

       

       


       

      3.เขตทะเลทราย
                      บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เขตประเทศเปรู และ ชิลี เรียกชื่อว่า ทะเลทรายอะตากามา และดินแดนภาคตะวันตกของประเทศอาร์เจนตินา

       

       

       

       


       

      4.เขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
                      บริเวณทุ่งหญ้าบนที่ราบสูงปาตาโกเนีย ประเทศอาร์เจนตินาเหมาะที่จะใช้เลี้ยงแกะพันธุ์ขน

       

       



       

       

      5. เขตเมดิเตอร์เรเนียน
                       
      มีอากาศอบอุ่น ฝนตกในฤดูหนาว ตอนกลางของประเทศชิลี

       

       

       

       

       

       

       

      6.เขตอบอุ่นชื้น
                      มีอากาศอบอุ่น ฝนตกมากในฤดูร้อน บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา - ปารากวัย - อุรุกวัย ในเขตประเทศอาร์เจนตินามีทุ่งหญ้าปามปัส

       

       

       

       

       


       

      7.เขตภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก
                      อบอุ่นในฤดูร้อน หนาวจัดในฤดูหนาว ฝนตกตลอดปีเพราะอิทธิพลของลมประจำตะวันตก ได้แก่บริเวณภาคใต้ของประเทศชิลี

       

       

       

       

       

       

      8.เขตภูเขา
                      เขตภูเขาสูง และที่ราบสูง บริเวณเทือกเขาแอนดีส อุณหภูมิและความชื้นจะแตกต่างกันตามระยะความสูง คือ บริเวณที่ราบจะมีอุณหภูมิและความชื้นสูง เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น
      180 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 1 องศาเซลเชียส และพืชพรรณธรรมชาติจะแตกต่างกันออกไปตามระดับความสูงของพื้นที่

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในทวีปอเมริกาใต้ได้แก่
      1. ทรัพยากรดิน ทรัพยากรดิน บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา - ลาปลาตา ประเทศ อาร์เจนตินา อยู่ในเขตอากาศแบบอบอุ่นชื้น มีดินอุดมสมบูรณ์

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ทรัพยากรน้ำ

      2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำสายต่างๆ ของทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขา แอนดีส เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญ การพัฒนากำลังน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า มีเฉพาะบริเวณลุ่ม แม่น้ำปารานา ในประเทศบราซิล

       

       

       

       

       

      3. ทรัพยากรป่าไม้
                     
      ทรัพยากรป่าไม้ ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่ป่าไม้เกือบครึ่งหนึ่งของทวีป เขตป่าไม้ที่สำคัญและอุดมสมบูรณ์ที่สุด คือป่าดงดิบ (ป่าเซลวาส) บริเวณ
       ลุ่มแม่น้ำ แอมะซอน และสาขา เช่น แม่น้ำเนโกร แม่น้ำปูตูมาโย แม่น้ำฟรังโก เป็นต้น มีลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นสูงใหญ่ ปกคลุมพื้นที่หนาทึบเป็นบริเวณกว้างหลายร้อยตารางกิโลเมตร

                      ป่าไม้อีกเขตหนึ่งจะอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำปารานา ปารากวัย ปิลคิมาโย ในเขตประเทศ บราซิล ปารากวัย และอาร์เจนตินา ต้นไม้สำคัญคือ ไพน์
      ปารานา ซีดาร์ บีช มะฮอกกานี

      4. ทรัพยากรแร่ธาตุ       

       แร่ธาตุ มีเกือบทุกชนิด น้ำมันปิโตรเลียมมีมากในบราซิล เปรู เอกวาดอร์ โคลัมเบีย เวเนซูเอลาเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ทองแดง ผลิตโดย ชิลี ดีบุกมีแหล่งใหญ่ที่ โบลิเวีย

      นอกจากนี้ มีแร่เหล็ก เงิน ทองคำ ตะกั่ว สังกะสี บอกไซต์ เพชร และสินแร่อโลหะต่างๆ เช่น โครเมี่ยม แมงกานีส นิกเกิล เป็นต้น

      5. ทรัพยากรสัตว์ป่า
                      สัตว์ป่า สัตว์พื้นเมืองที่สำคัญของทวีปนี้คือ ยามา สามารถเดินไต่บนเทือกเขาสูง บริเวณป่าดงดิบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม

       

       

       

       

       

       ประชากร
                      ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากบริเวณชายฝั่งตะวันออก เช่น เมืองริโอเดจาเนโร บูเอโนไอเรส และบริเวณที่ราบสูงบนเทือกเขาแอนดีส ที่มีอากาศเย็นสบาย เป็นต้น

      การกระจายของประชากรในทวีปอเมริกาใต้

      เขตที่มีประชากรอาศัยอย่างหนาแน่น คือเขตที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสม มีอากาศอบอุ่นสบาย ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และการคมนาคมสะดวก คือ

      - ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ตอนใต้ของแม่น้ำแอมะซอน ถึงที่ราบปากอ่าวเดอลาปลาตา
      - ที่ราบสูงเทือกเขาแอนดีส ในประเทศโคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู
      - บริเวณเมืองหลวง ของประเทศต่างๆ

      ลักษณะทางสังคม
      ชาวอเมริกาใต้ มีลักษณะทางสังคมที่เด่นชัด คือ
      1. เป็นสังคมกึ่งประชาธิปไตย กึ่งเผด็จการ ขาดความมั่นคงทางการเมืองเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
      2. มีความไม่เป็นธรรมในสังคม มีความแตกต่างระหว่างชนชั้น ประชากรผิวขาวเชื้อสายยุโรป มีอำนาจทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ เกิดการเอาเปรียบชนพื้นเมืองอินเดียนแดง และนิโกร
      3. เป็นสังคมเกษตรกรรม และเป็นประเทศกำลังพัฒนาการกระจายรายได้ของประชากร ไม่ทั่วถึง
      4. ประชากรยึดมั่นในศาสนาอย่างแน่นแฟ้น มีลักษณะผสมผสานระหว่างสังคมยุโรปตะวันตก กับสังคมของชนพื้นเมือง
      5. ชนชั้นกลางมีบทบาทมากในสังคมสมัยใหม่

      ลักษณะทางวัฒนธรรม
                      วัฒนธรรมของทวีปอเมริกาใต้จัดอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมละตินอเมริกัน ลักษณะเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาของประชากรมีรากฐานมาจากกลุ่มยุโรปใต้ ผสมผสานกับวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองอินเดียนแดง และนิโกร

       

       

       

       

       

       

      เชื้อชาติ
      ทวีปอเมริกาใต้ มีประชากรหลายเชื้อชาติ ได้แก่
      ชาวอินเดียนแดง เป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปอเมริกาใต้ อาศัยอยู่บริเวณที่สูง บนเทือกเขาแอนดีส เขตที่ราบลุ่มปากแม่น้ำแอมะซอน ชายฝั่งทะเลแคริบเบียน มีอารยธรรมของตนเอง เช่น ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
      ชาวยุโรป เชื้อสายสเปน และโปรตุเกส เข้ายึดครองดินแดนจากชาว พื้นเมือง
      ชาวนิโกร เข้ามาในสมัยหลัง โดยชาวผิวขาวจับมาเป็นทาส ทำงานตามแหล่งเพาะปลูกในเขตร้อน เหมืองแร่ของชาวผิวขาวในประเทศบราซิล และโคลัมเบีย

      กลุ่มประชากรสายเลือดผสม หลายกลุ่ม คือ
      -   เมสติโซ เป็นสายเลือดผสมระหว่างชาวผิวขาว กับชาวอินเดียนแดง เป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
      -   มูแลตโต เป็นสายเลือดผสมระหว่างชาวผิวขาว กับนิโกร
      -   แซมโบ เป็นสายเลือดผสมระหว่างชาวอินเดียนแดง กับนิโกร

      การตั้งถิ่นฐานของชนชาติต่างๆ
                      อเมริกาใต้เป็นแหล่งอารยธรรมของชาวอินเดียนเผ่าอินคา
       ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ที่ประเทศเปรู เอกวาดอร์ โบลิเวีย และชิลีตอนเหนือ อารยธรรมสำคัญของชนเผ่านี้ ได้แก่

      -          สามารถนำหินมาปูถนน ทำสะพานแขวน ข้ามแม่น้ำ หรือหุบเขา

      -          สร้างบ้านจากหิน

      -          ปลูกพืชแบบขั้นบันได

      -          ปลูกอาหารพวกมันฝรั่ง

      -          นำขนสัตว์มาทำเครื่องนุ่งห่ม

      -          รู้จักการนำทองคำมาทำ เครื่องประดับ
                      ต่อมา
      3 พี่น้องตระกูลปิราโช  สามารถยึดดินแดนชาวอินเดียนเป็นอาณานิคมของสเปนได้ ทั้งชาวสเปนและโปรตุเกสก็เดินทางมาจับจองดินแดนเนื่องจากคำร่ำลือว่ามีทองคำ โดยแทบทุกประเทศเป็นอาณานิคมของชาวสเปน ยกเว้นบราซิลเป็นอาณานิคมของชาวโปรตุเกส และในพุทธศตวรรษที่ 25 เกิดการเรียกร้องเอกราชขึ้น เช่น

      -          โฮเซ เดอร์ ซานมาร์ติน สามารถทำให้เกิดเอกราชขึ้นในอาร์เจนตินาและชิลี

      -          ซีมอน โบลิวาร์ ได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษของอเมริกาใต้ ทำให้เกิดเอกราชในโคลัมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา

      -          แอนโตนิโอ โฮเซ เดอร์ ซูเคร สามารถทำให้เกิดเอกราชในเปรู ชาติแรกที่ได้รับเอกราช คือ เอกวาดอร์

      -          ปัจจุบันนี้ยังมีบางประเทศที่ยังคงเป็นอาณานิคมคือเฟรนช์เกียนา ซึ่งเป็น อาณานิคมของฝรั่งเศสและเกาะฟอล์กแลนด์เป็นอาณานิคมของ
      อังกฤษ

      อาชีพของประชากรในทวีปอเมริกาใต้
                      ประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้ อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ

      -          ขาดแคลนเงินทุน

      -          ขาดเทคโนโลยีสมัยใหม่

      -          ลักษณะภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย

      -          อยู่ห่างไกลจากตลาดการค้าของโลก

      อาชีพที่สำคัญได้แก่
      1. การเพาะปลูก
      มี 2 ลักษณะ คือ
      1.1 การเพาะปลูกเพื่อยังชีพ
      ชาวพื้นเมืองจะทำการเพาะปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก และการทำไร่เลื่อนลอย บริเวณลุ่มแม่น้ำแอมะซอน และบริเวณที่สูงของทวีป พืชที่ปลูกได้แก่ ผัก ข้าวโพด มันสำปะหลัง มันเทศ ถั่วลิสง
      1.2 การเพาะปลูกเพื่อการค้า
      ได้แก่

      -          ข้าวโพด ปลูกมากในเขตอากาศอบอุ่น ประเทศบราซิล อาร์เจนตินา

      -          ข้าวสาลี ปลูกมากบริเวณทุ่งหญ้าปามปาส ประเทศอาร์เจนตินา

      -          กาแฟ และ อ้อย ปลูกมากในบราซิล โคลัมเบีย เอกวาดอร์

      -          ฝ้าย ในบราซิล อาร์เจนตินา เปรู

      -          กาเกา ปลูกมากในบราซิล เอกวาดอร์ เวเนซูเอลา

      -                      ยางพารา ปลูกมากในบราซิล อุรุกวัย
      2. การทำป่าไม้ เขตป่าดงดิบบริเวณลุ่มแม่น้ำแอมะซอน คือ ป่าเซลวาส เป็นป่าที่อยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น ลำต้นสูงใหญ่ ปกคลุมพื้นที่หนาแน่น เป็นเขตทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก จึงมีการทำป่าไม้เฉพาะบริเวณที่มีแม่น้ำไหลผ่าน
      3. การเลี้ยงสัตว์ ทวีปอเมริกาใต้มีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่กว้างขวางมาก สัตว์เลี้ยงสำคัญ คือ

      -          วัวพันธุ์เนื้อ เลี้ยงมากบริเวณชายฝั่งตะวันออกของบราซิล อุรุกวัย อาร์เจนตินา ตอนเหนือของเวเนซูเอลา และโคลัมเบีย ประเทศที่ส่งวัวเนื้อออกจำหน่ายมากที่สุดของทวีป คือ อาร์เจนตินา

      -          แกะพันธุ์เนื้อ และพันธุ์ขน เลี้ยงมากบริเวณเขตอากาศกึ่งแห้งแล้งของเปรู ชิลี ที่ราบสูงปาตาโกเนีย และทางตอนใต้ของอาร์เจนตินา

      -          หมู เลี้ยงในบราซิล และอาร์เจนตินา

      4. การประมง ส่วนใหญ่ทำการประมงขนาดเล็กบริเวณชายฝั่ง แหล่งประมงที่สำคัญของทวีป คือ บริเวณชายฝั่งประเทศเปรู อาร์เจนตินา บราซิล หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ หมู่เกาะของเวเนซุเอลา ประเทศเปรู ส่งเสริม การทำปลาสดแช่เย็น ส่งไปจำหน่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
      5. การทำเหมืองแร่ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของโลก แหล่งแร่ที่สำคัญได้แก่

      -          น้ำมันปิโตรเลียม ขุดเจาะในประเทศอาร์เจนตินา

      -          เหล็ก ทองแดง ในประเทศบราซิล ชิลี

      -          ดีบุก ในโบลิเวีย

      -          ไนเตรต นำมาทำปุ๋ย ในเขตทะเลทรายอะตากามา ตอนเหนือของประเทศชิลี

      -          แร่บอกไซต์ แมงกานีส เงิน และพลวง ในประเทศซูรินาเม กายอานา

       

       

       

       


       


      6. การอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมในครัวเรือน จัดอยู่ในขั้นกำลังพัฒนา อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น

      -          อาหาร ประเภทเนื้อวัว เนื้อแกะสำเร็จรูป ในอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี

      -          สัตว์น้ำแช่แข็ง และปลากระป๋อง ในเปรู อาร์เจนตินา

      -          น้ำตาลทราย ในโคลัมเบีย บราซิล

      -          สกัดน้ำมันปาล์ม ในโคลัมเบีย เอกวาดอร์

      -          สกัดน้ำมันถั่วเหลือง ในบราซิล อาร์เจนตินา

      -          ทอผ้าฝ้าย ในบราซิล อาร์เจนตินา เปรู ชิลี

      -          ยางพารา ใน บราซิล

      -          โรงงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ใช้เงินทุนสูง เทคโนโลยีชั้นสูงจะเป็นการลงทุนร่วมกัน ระหว่างประเทศในทวีปอเมริกาใต้ และนักลงทุนชาติต่างๆ เช่นชาวอเมริกัน และชาวญี่ปุ่น เป็นต้น

      7. การพาณิชยกรรม สินค้าหลักของทวีปอเมริกาใต้ เป็นประเภทวัตถุดิบ ที่ส่งเป็นสินค้าออก คือ

      -          บราซิล ส่งออกกาแฟ น้ำตาลทราย ยาสูบ กล้วย ผลไม้ตระกูลส้ม

      -          อาร์เจนตินา ส่งออกเนื้อสัตว์ ขนแกะ ฝ้าย ข้าวโพด ข้าวสาลี

      -          เปรู ส่งออกมันฝรั่ง สัตว์น้ำ

      -          สินค้าที่สั่งเข้าได้แก่ เครื่องจักรกลสำหรับการเกษตร เคมีภัณฑ์ เยื่อกระดาษ รถยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า

      ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ประชาคมยุโรป ญี่ปุ่น ประเทศในทวีปแอฟริกาตะวันตก

      การปกครอง
                      จำนวนและขนาดของประเทศ ทวีปยุโรปแบ่งการปกครองออกเป็น
      46 ประเทศ พิจารณาตามตำแหน่งที่ตั้ง สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มใหญ่ คือ
      กลุ่มยุโรปภาคตะวันตกและภาคกลาง

                      นับเป็นกลุ่มที่มีควมสำคัญมากตั้งแต่อดีต ในอดีตหลายประเทศในกลุ่มนี้มีอาณานิคมกระจายอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อโลกมากทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง มีความก้าวหน้าทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเกษตรและอุตสาหกรรม ประเทศในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มย่อยๆ ดังนี้
                      กลุ่มประเทศบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ (บริเตนใหญ่ประกอบด้วย อังกฤษ สกอตแลนด์และเวลส์)

      ภาษาที่ใช้ในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่

      ภาษาสเปน เป็นภาษาทางการของประเทศต่างๆ ที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศสเปนมาก่อน คือ โคลัมเบีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา ชิลี
      ภาษาโปรตุเกส เป็นภาษาทางการของประเทศบราซิลเพราะเคยเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสมาก่อน

      ภาษาอินเดียนแดง ชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองยังคงพูดภาษาของตน และมี 2 ประเทศที่กำหนดให้ภาษาอินเดียนแดงเป็นภาษาทางการ ควบคู่ไปกับภาษาสเปนด้วย คือ เปรู และโบลิเวีย
      ภาษาอื่นๆ ในบางประเทศใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ คือ ประเทศกายอานา หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ประเทศที่ใช้ภาษาฮอลันดา คือ ซูรินาเม ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส คือ เฟรนช์เกียนา

      ศาสนาในทวีปอเมริกาใต้
                      ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนศาสนา ลัทธิ ความเชื่ออื่นมีประชากรส่วนน้อยนับถือ พอสรุปได้ดังนี้

      1. ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก นำมาเผยแพร่โดยชาวสเปน และ โปรตุเกส ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มเข้ามาแสวงหาอาณานิคม จึงมีประชากรชาวอเมริกาใต้นับถืออยู่ถึง ร้อยละ 90

       2. ประชากรอีกร้อยละ 10 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ นำมาเผยแพร่โดยคณะมิชชันนารีจากประเทศสหรัฐอเมริกา และศาสนาอื่นๆ ได้แก่ ลัทธิความเชื่อของชาวอินเดียนแดง ลัทธิความเชื่อของชาวนิโกร ศาสนายูดาย ของชาวยิว ลัทธิขงจื๊อและพระพุทธศาสนาของชาวจีน และศาสนาฮินดู ของชาวอินเดีย

       

       

       

       

      ทวีปแอฟริกา

       

       

       

       



       

      ขนาด ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
                      ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นที่
      2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า " ทวีปมืด " หรือ " กาฬทวีป " ทั้งนี้เพราะความล้าหลังทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประกอบกับประชากรส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำ
                      สมัยก่อน ชาวยุโรปจะให้ความสนใจทวีปเอเชีย เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากร และตลาดการค้า ในปัจจุบัน ความคิดเช่นนั้นเปลี่ยนแปลงไป ชาวยุโรปได้เริ่มเห็นความสำคัญของทวีปแอฟริกา เช่น ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือติดต่อระหว่างทวีปยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งผลิตแร่ธาตุที่สำคัญ เป็นต้น

      ลักษณะภูมิประเทศ
                 
      ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่ไม่ค่อยมีคาบสมุทร และอ่าว พื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 เป็นที่ราบสูง ส่วนพื้นที่ ที่เป็นที่ราบอย่างแท้จริงนั้น มีอยู่น้อย มักจะเป็นที่ราบแคบๆ บริเวณขอบทวีป
      จำแนกลักษณะภูมิประเทศเป็น 4 เขต ดังนี้
      1. เขตภูเขาโก่งตัวยุคใหม่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่บริเวณเทือกเขา แอตลาสที่ราบสูง หุบเขา และที่ราบชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนบริเวณด้านใต้ของเทือกเขาแอตลาสคือ
      ทะเลทรายสะฮารา

       

       

      2. เขตที่ราบสูง ภูเขาภาคตะวันออกและภาคใต้

      -       เขตที่ราบสูงและภูเขาสูงทางภาคตะวันออก เป็นเขตที่มีความ สูงมาก เต็มไปด้วยภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นและดับแล้ว มียอดเขา คิลิมานจาโร เป็นยอดเขาสูงสุดในทวีป ทางตะวันออกมีแอ่งแผ่นดิน ที่ทรุดต่ำกลายเป็นทะเลสาบอยู่หลายแห่ง เช่นทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่เป็นที่ 2 ของโลก เป็นต้น

      -       เขตภูเขาและที่ราบสูงภาคใต้ เป็นที่ราบสูงหินแกรนิต อยู่ระหว่าง แม่น้ำวาล และแม่น้ำลิมโปโป เรียกว่า เดอะแรนด์ มีเทือกเขาดราเกนสเบอร์ก เป็นบริเวณสูงสุดอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกมีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนามิบ

      3. เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก เป็นที่ราบสูงหินเก่า มีอาณาเขตจาก ทะเลทรายสะฮารา ไปจนถึงอ่าวกินี ภูเขาที่สำคัญคือ ภูเขาอะฮักการ์ และภูเขาทีเบสตี
      4.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ระหว่างที่ราบสูงต่างๆ จะมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากที่สูงตอนในของทวีป และไหลลงสู่ทะเลโดยรอบ มีลักษณะเป็น ที่ราบแคบๆ ลุ่มแม่น้ำ และบางตอนเต็มไปด้วยแก่งหินและน้ำตก ทำให้กระแสน้ำ ไหลแรง ไม่มีประโยชน์ด้านการคมนาคม แต่สามารถใช้ประโยชน์ด้านการผลิต กระแสไฟฟ้า

      -       ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ทางตอนเหนือของทวีป ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ อียิปต์และซูดาน แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก เกิดจากภูเขาสูงด้านตะวันออกไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

       



       

      -        ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก เกิดจากเทือกเขาด้านตะวันออก ไหลผ่าน ตอนกลางทวีปเขตศูนย์สูตร ประเทศซาอีร์ คองโก มีเกาะแก่ง และน้ำตกมาก เนื่องจากไหลผ่านที่ราบสูง หลายแห่งออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก

      -          ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ อยู่ทางตะวันตกของประเทศมาลี ไนเจอร์ ไนจีเรีย ไหลลงสู่อ่าวกินี

       

      -          ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมเบซี มีลักษณะเป็นที่ราบแคบๆ อยู่ทางตอนใต้ในประเทศซิมบับเว โมซัมบิก ไหลออกสู่มหาสมุทรอินเดีย

      ลักษณะภูมิอากาศ
      ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปแอฟริกา ได้แก่

      1. ที่ตั้ง เนื่องจากทวีปแอฟริกามีที่ตั้งอยู่ทั้งในซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต้ โดยมีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านเกือบกลางทวีป จึงทำให้ดินแดนส่วนใหญ่มีอากาศร้อน ตอนเหนือสุดและตอนใต้สุดของทวีปมีอากาศอบอุ่น

      2. ทิศทางลมประจำ เนื่องจากมีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านกลางทวีป ทำให้เกือบทั้งทวีปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมสินค้า คือลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ และ ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะพาฝนเข้ามาทางด้านตะวันออกและปะทะกับขอบที่ราบสูง เป็นผลให้บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้มีฝนตกชุก แต่พื้นที่ด้านเหนือ และด้านใต้ของทวีปเกิดเป็นทะเลทรายกว้างใหญ่

      3.ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ทำให้พื้นที่บางแห่ง ทางด้านตะวันออกของทวีป มีอากาศไม่ร้อนจัดมากนัก

      4.กระแสน้ำ กระแสน้ำที่มีอิทธิพลต่อลักษณะอากาศของทวีปแอฟริกา ได้แก่
      กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก ไหลเลียบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้อากาศ อบอุ่นชุ่มชื้น
      กระแสน้ำเย็นคานารี ไหลเลียบชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง
      กระแสน้ำเย็นเบงเกลา ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง

      การแบ่งเขตภูมิอากาศของทวีปแอฟริกา มีเขตภูมิอากาศต่างๆ รวม 7 เขต ดังนี้

      1.เขตร้อนชื้น หรือป่าไม้เขตร้อน
                     
      เขตภูมิอากาศแบบป่าเมืองร้อน หรือป่าดิบชื้น ได้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก ชายฝั่งรอบอ่าวกินี ชายฝั่งตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ มีอากาศร้อน ฝนตกชุก พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ

       

       

       

       

      2. เขตร้อนชื้นสลับแล้ง หรือแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน
                      คือบริเวณตอนเหนือและใต้แนวศูนย์สูตร มีฝนตกชุกในฤดูร้อน และแห้งแล้งในฤดูหนาวพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า

       

       


      3.
      เขตทะเลทราย

                      ตอนเหนือของทวีปได้แก่ทะเลทราย สะฮารา และทะเลทรายลิเบีย ตอนใต้ของทวีปได้แก่ ทะเลทรายนามิบ และคาลาฮารี มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนต่ำมาก พืชพรรณธรรมชาติคือตะบองเพชร พืชพรรณธรรมชาติคือตะบองเพชร บริเวณโอเอซีสมีอินทผลัม

       

       



      4.
      เขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย

                      พบทางตอนกลางของทวีป และทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร ลักษณะอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนในทะเลทราย แต่มีฝนตกน้อยกว่าพืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์

       

       

       

       

       

      5. เขตเมดิเตอร์เรเนียน
                      ได้แก่ดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณริมฝั่งบาบาร์รี ในประเทศแอลจีเรีย และตูนีเซีย และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป แถบเมืองเคปทาวน์ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

       

      6.เขตภูมิอากาศแบบชื้นกึ่งร้อนหรืออบอุ่นชื้น
                      ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารัฐแอฟริกาใต้ และภาคใต้ของโมแซมบิก มีลักษณะอากาศอบอุ่นและชื้น ฝนตกในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว อุณหภูมิปานกลาง

       

       

       

       

       


       

      ทรัพยากรธรรมชาติ
      ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในทวีปแอฟริกาได้แก่
      1. ทรัพยากรป่าไม้
                     
      แหล่งป่าไม้ที่สำคัญอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโกบริเวณชายฝั่งอ่าวกินี ่ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ถ้าเปรียบเทียบกับทวีปอื่นแล้ว แอฟริกาผลิตไม้ได้น้อย

       

       



      2. ทรัพยากรแร่ธาตุ
                     
      แร่ธาตุสำคัญได้แก่ ทองคำ เพชร ทองแดง เหล็ก ยูเรเนียม น้ำมัน ดีบุก ถ่านหิน แมงกานีส มีมากใน 5 ประเทศ คือ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ลิเบีย ไนจีเรีย และแซมเบีย

       

       




       

      ประชากรในทวีปแอฟริกา แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
      1. แอฟริกันนิโกร เป็นประชากรส่วนใหญ่ของทวีป ประกอบด้วยชนเผ่าต่างๆ มากมาย
      2.กลุ่มเชื้อสายคอเคซอยด์ อาศัยอยู่ในเขตเหนือทะเลทรายสะฮาร่า บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์
      เรเนียน เป็นเจ้าของอารยธรรมเก่าแก่ในเขตลุ่มแม่น้ำไนล์

      3.กลุ่มยุโรป เป็นเชื้อสายของชาวยุโรปที่เข้ามาปกครองดินแดนแอฟริกา อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่น บริเวณชายฝั่งตอนเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ และบริเวณใต้สุดของทวีป

       

       

      การกระจายของประชากร
      ประชากรของทวีปแอฟริกาตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่นบริเวณ ต่างๆ ดังนี้

      1. ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ อยู่ในเขตประเทศอียิปต์ ซูดาน
      2. ที่ราบชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนีเซีย
      3. ที่ราบชายฝั่งตะวันตก คือกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอ่าวกินี
      4. ที่ราบชายฝั่งทางด้านใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ในเขตประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ โมซัมบิก
      5. ที่ราบสูงชายฝั่งตะวันออก ได้แก่บริเวณรอบๆทะเลสาบวิกตอเรีย บริเวณที่มีประชากรเบาบาง ได้แก่บริเวณที่แห้งแล้ง เป็นทะเลทราย

      ลักษณะทางสังคม

      ทวีปแอฟริกา มีลักษณะทางสังคมดังนี้

      1. เป็นสังคมชนบทและเกษตรกรรม ประชาชนยากจน สุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์ เป็นโรคขาดอาหาร เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคเมืองร้อนนานาชนิด
      2.ชีวิตความเป็นอยู่ ขึ้นอยู่กับจารีตประเพณีดั้งเดิม ถือจำนวนสัตว์เลี้ยง เป็นเครื่องแสดงฐานะตน
      3.ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ชาวยุโรปยังมีอำนาจในการปกครอง มีนโยบายแยกผิวอย่างรุนแรง
      4.เกิดการปฏิวัติรัฐประหารอยู่เสมอ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้นปกครองซึ่งได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก กับชาวพื้นเมือง

       

       

       

      ลักษณะทางวัฒนธรรม
                      แหล่งอารยธรรมโบราณของทวีปแอฟริกา คือบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ประเทศ อียิปต์ สรุปลักษณะเด่น ได้ดังนี้

      1. ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาวอียิปต์ เด่นกว่าชนชาติใดๆ ในสมัยเดียวกัน
      2. ความเจริญของอียิปต์บางอย่าง มีส่วนเสริมสร้าง และเป็นรากฐานความเจริญของอารยธรรมยุโรป
      3. วิวัฒนาการการปกครองของชาวอียิปต์ และความสามารถในการจัดระบบการปกครองของกษัตริย์ที่เน้นการดึงอำนาจมาสู่ศูนย์กลางมีผลทำให้อียิปต์มีระบบการปกครองที่มั่นคง
      4. อียิปต์เป็นชนชาติแรกที่ประดิษฐ์ตัวอักษร คืออักษรเฮียโรกลิฟฟิค มีลักษณะเป็นอักษรภาพ
      5. ผลงานเด่นด้านสถาปัตยกรรมของอียิปต์ คือการสร้างพีรามิด ซึ่งใช้เป็นสถานที่เก็บพระศพของฟาโรห์ และการทำมัมมี่ รักษาศพมิให้เน่าเปื่อย
      6. ความสามารถด้านอื่นของชาวอียิปต์ เช่น การชลประทาน เลขคณิต เรขาคณิต การแพทย์ เป็นต้น ชาวแอฟริกัน ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอาไว้ได้มาก เช่นการนับถือภูติผี ปิศาจ เป็นต้น วัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากชาวตะวันตกส่วนใหญ่เป็นความเจริญด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ การศึกษา และการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีชาวแอฟริกันละทิ้งชีวิตแบบชาวเผ่า มาใช้ชีวิตในเมือง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในเหมืองแร่ ชาวแอฟริกันจึงมีชีวิตทั้งแบบเก่าและใหม่ปนกัน

      เชื้อชาติของประชากร
      ประชากรในทวีปแอฟริกาแบ่งตามเชื้อชาติ ได้
      2 กลุ่ม คือ
      1. เชื้อชาตินิกรอยด์ หรือแอฟริกันนิโกร เป็นชนกลุ่มใหญ่ของทวีป อาศัยอยู่บริเวณตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา ลงไปจนถึงตอนใต้สุดของทวีป มีลักษณะเด่นคือ ผิวสีดำ ผมสีดำหรือน้ำตาล หยิกหยองขมวดติดหนังศีรษะ ริมฝีปากหนา จมูกแบนและกว้าง ขากรรไกรยื่น กระโหลกศีรษะค่อนข้างยาว ประกอบด้วยกลุ่มย่อยๆ คือ
                  1.1 กลุ่มบันตู อาศัยอยู่ในแอฟริกาตะวันออก แอฟริกากลาง และ แอฟริกาใต้
                  1.2 กลุ่มซูดานนิโกร อาศัยอยู่ในแอฟริกาตะวันตก
                  1.3 กลุ่มปิ๊กมี บุชแมน และฮอตเทนทอต อาศัยอยู่กระจายเป็นกลุ่มเล็กๆ
      2. เชื้อชาติคอเคซอยด์ มีผิวขาว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
                  2.1 กลุ่มอาหรับ และเบอร์เบอร์ เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา อาศัยอยู่ตั้งแต่บริเวณทะเลทรายขึ้นไปจนถึงชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
                  2.2 ชาวผิวขาวที่อพยพไปจากยุโรป กลุ่มนี้จะตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอบอุ่น บริเวณประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

      ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
                      ทวีปแอฟริกาเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก คือ อาณาจักรอิยิปต์โบราณ พบบริเวณลุ่มแม่น้ำไนส์ ประชากรมีหลายกลุ่มหลายเชื้อชาติ ทั้งที่เป็นชาวพื้นเมือง และมาจากทวีปอื่น ประชากรในชนบทส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน ฐานะยากจนด้อยการศึกษา จึงมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก

      อาชีพที่สำคัญของประชากรในทวีปแอฟริกาคือ


      1. อาชีพเพาะปลูก ทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์จะสามารถใช้ประโยชน์ ในด้านการเกษตรได้เฉพาะบริเวณที่ราบดินตะกอนปากแม่น้ำสายต่างๆ ดังนั้นผลผลิตจึงไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงประชากรภายในทวีป เขตเกษตรกรรมที่สำคัญคือ
                      1.1 แหล่งปลูกพืชเมืองร้อนในเขตร้อนชื้น บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันตก ปลูกโกโก้มากที่สุด นอกจากนี้มี ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ถั่วลิสง อ้อย ยางพารา เผือก มัน
                      1.2 ลุ่มแม่น้ำไนล์ เขตนี้มีอากาศร้อน แห้งแล้งสามารถปลูกฝ้าย ชา อินทผลัม ข้าวฟ่าง
                      1.3 เขตเมดิเตอร์เรเนียน คือชายฝั่งบาร์บารี ตอนเหนือสุดของทวีป และตอนใต้สุดของทวีปปลูกส้ม องุ่น มะกอก ข้าวสาลี
                      1.4 เขตอบอุ่นชื้น ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป ปลูกผลไม้ ข้าวสาลี ข้าวโพด

      2. อาชีพเลี้ยงสัตว์และล่าสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญในแอฟริกาคือ
                      2.1 โคเขายาว พันธุ์พื้นเมือง เลี้ยงทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของทวีป เพื่อใช้แรงงาน ใช้เนื้อเป็นอาหารและเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม
                      2.2 โคเนื้อ และโคนมพันธุ์ต่างประเทศ เลี้ยงในเขตอบอุ่นชื้น
                      2.3 แพะ แกะ เลี้ยงแบบเร่ร่อนในเขตทะเลทราย
                      2.4 อูฐ ใช้เนื้อเป็นอาหาร และใช้เป็นพาหนะในเขตทะเลทราย
                      2.5 ลา ใช้เป็นพาหนะในเขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
                      2.6 อาชีพล่าสัตว์โดยชาวพื้นเมืองเช่น ปิ๊กมี และบุชแมน เป็นต้น สินค้าที่เป็นที่สนใจของชาวต่างชาติคือ งาช้าง นอแรด

      3. อาชีพการทำเหมืองแร่ ทวีปแอฟริกามีแหล่งแร่อยู่เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ เพชร มีปริมาณมากกว่าทุกทวีป แหล่งผลิตแร่ธาตุที่สำคัญคือ
                      3.1 ถ่านหิน แหล่งใหญ่ที่สุด อยู่ในรัฐทรานสวาล และนาตาล ประเทศ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
                      3.2 น้ำมันปิโตรเลียม พบในแอฟริกาเหนือเขตทะเลทรายสะฮารา ประเทศลิเบีย แอลจีเรีย  อียิปต์ ไนจีเรีย
                      3.3 ก๊าซธรรมชาติ มีมากบริเวณที่ลุ่มของแอฟริกาเหนือ และ แอฟริกาตะวันตก แอลจีเรียมีปริมาณก๊าซธรรมชาติมากที่สุด แห่งหนึ่งของโลก
                      3.4 เพชร มีแหล่งใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ นามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก
                      3.5 ทองคำ ที่วิตวอเตอร์สแรนด์ ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
                      3.6 ทองแดง พบมากในประเทศซาอีร์

      4. การอุตสาหกรรม ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมของทวีปนี้ คือสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
      5. การค้าขาย ตลาดคู่ค้าที่สำคัญคือ กลุ่มตลาดร่วมยุโรป กลุ่มโอเปค สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
                      5.1 สินค้าออกที่สำคัญของทวีปแอฟริกาคือ วัตถุดิบต่างๆ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
                      5.2 สินค้าเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล ยานยนต์

      การปกครอง
      กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
                      ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นประเทศเดียวที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว รูปแบบการปกครองเป็นแบบรัฐเดี่ยว มีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภา ดำรงตำแหน่งคราวละ
      7 ปี แบ่งการปกครองออกเป็น 4 มณฑล มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และประกอบด้วยสภาเดี่ยวเป็นรัฐสภา โดยมีสมาชิกจาก 3 กลุ่มคือ

      -          เลือกตั้งโดยชนผิวขาว

      -          เลือกตั้งโดยรัฐสภา

      -          แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

      กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
                      มีระบบการปกครองหลายแบบ ปัญหาปัจจุบันที่ทำให้การปกครองประเทศในกลุ่มนี้ยังไม่พัฒนานักคือการนำหลักเคร่งครัดของคัมภีร์ในศาสนาอิสลามมาใช้ในการปกครองบ้านเมือง ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของทวีปแอฟริกามีระบบการปกครองหลายแบบ เป็นต้นว่าระบอบสาธารณรัฐ เช่น กาบอง เคนยา ระบบทหาร เช่น กานา ไนจีเรีย บางประเทศเช่น เอธิโอเปีย ใช้ระบอบคอมมิวนิสต์ในการปกครอง ส่วนที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือลิเบีย เพราะเป็นการปกครองแบบสังคมนิยมอาหรับอิสลาม บางประเทศยังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง เช่น ประเทศแอลจีเรีย ซึ่งในระยะแรกมีการปกครอบแบบสังคมนิยม แต่มีพรรคการเมือง เพียงพรรคเดียว แต่ปัจจุบันนี้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยกเลิกนโยบายสังคมนิยมและเปิดโอกาสให้มีพรรคการเมืองหลายพรรคขึ้น      ปัญหาที่ทำให้การปกครองในกลุ่มนี้ยังไม่พัฒนานักคือการนำหลักเคร่งครัดของคัมภีร์ในศาสนาอิสลามที่เรียกว่า ชาริยะ มาใช้กับการปกครองบ้านเมือง ทำให้เกิดการต่อต้านจากคนที่นับถือศาสนาอื่น
                      หลังสงครามโลกครั้งที่
      2 สิ้ดสุดลง ประเทศในทวีปแอฟริกาต่างก็ได้รับเอกราชปกครองตนเองเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ จนในปัจจุบันมีประเทศที่เป็นเอกราชในทวีปแอฟริกามากกว่า 40 ประเทศ แต่ประเทศเหล่านี้ก็ยังประสบปัญหาการขาดความมั่นคงทางด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งมีสาเหตมาจาก

      1.     ขาดความชำนาญทางด้านการปกครอง ทั้งนี้ เพราะประเทศเอกราชเหล่านั้นเคยถูกชาวยุโรปปกครองมาโดยตลอด ไม่ได้มีส่วนร่วมในการปกครองแต่อย่างใด เมื่อได้รับเอกราชและต้องมาปกครองตนเอง จึงขาดบุคลากรที่มีความชำนาญด้านนี้ ทำให้การบริหารงานของรัฐบาลมักจะประสบปัญหา

      2.     ความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ สังคมและวัฒนธรรม เพราะประเทศแอฟริกาประกอบด้วยชนเผ่าต่างๆ ที่มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้ยากแก่การรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การพัฒนาประเทศจึงเป็นไปได้ยาก

      3.     การแทรกแซงของประเทศมหาอำนาจตะวันตกในอดีต ทั้งโลกฝ่ายเสรีและฝ่ายคอมมิวนิสต์ นอกจากเพื่อต้องการใช้ดินแดนแอฟริกาเป็นแหล่งวัตถุดิบ และเป็นตลาดระบายสินค้าของตนแล้ว ยังต้องการใช้เป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง การทหารของทั้ง 2 ฝ่ายอีกด้วย

      4.     ปัญหาเศรษฐกิจจากความยากจน การขาดแคลนอาหาร รัฐบาลไม่สามารถจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ประชาชนโดยทั่วไป

      ในทวีปแอฟริกา มีประชากรหลายกลุ่ม ทำให้มีภาษาพูดแตกต่างกัน ดังนี้
      1 กลุ่มภาษาอาหรับ หรือ กลุ่มภาษาเซมิติก ใช้ในแถบแอฟริกาเหนือ เช่นอียิปต์ ลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรีย โมร็อกโก ซูดาน
      2. กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศที่ตั้งอยู่ในเขต ทุ่งหญ้าสะวันนา
      3. ภาษาบันตู ใช้ในประเทศที่ตั้งอยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกของทวีป
      4. ภาษายุโรป ใช้ในประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศในยุโรป เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส เป็นต้น

       

      ศาสนาในทวีปแอฟริกา
                      ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาคริสต์ และยิว

      ในทวีปแอฟริกา ประชากรยังมีความเชื่อ เรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของดวงดาว สิ่งมหัศจรรย์ และปฏิบัติตามความเชื่อนั้นสืบต่อกันมา
                      ในปัจจุบัน มีนักสอนศาสนาคริสต์นิกายต่างๆ พยายามเผยแพร่คำสอนไปสู่ชาวแอฟริกัน ทำให้มีจำนวนผู้เลื่อมใสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

       

       

       

       

      ทวีปยุโรป

       

       

       

      ขนาด ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
                      ทวีปยุโรปมีเนื้อที่
      9.94 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่เกือบจะเล็กที่สุดถัดจากทวีปออสเตรเลีย และมีขนาดเล็กกว่าทวีปเอเชียซึ่งเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดถึง 4 1/2 เท่า
                      ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือทั้งหมด ไม่มีดินแดนส่วนใดของทวีปอยู่ใต้เส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ บริเวณใต้สุดของทวีปอยู่ในแนวเดียวกับตอนกลางของประเทศจีนและตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น อาณาเขตติดต่อของทวีปยุโรปมีดังนี้ คือ
      ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก มีทะเลต่างๆ คือ ทะเลแบเรนต์ส ทะลคารา และทะเลขาว
      ทิศตะวันออก ติดต่อกับทวีปเอเซีย เป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน แนวแบ่งเขตทวีปทั้งสองอย่างคร่าวๆ ถือตามแนวของเทือกเขาอูรัล แม่น้ำอูราล ทะเลแคสเปียน ทะเลดำ และเทือกเขาคอเคซัส การแบ่งเช่นนี้ทำให้มี
      2 ประเทศที่มีดินแดนตั้งอยู่ในทวีปยุโรปและทวีปเอเซีย คือ รัสเซีย และตุรกี
      ทิศใต้ ติดต่อกับทะเลแคสเปียน เทือกเขาคอเคซัส ทะเลดำ ทะเลมาร์มะรา และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
      ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลต่างๆ คือ ทะเลนอร์วิเจียน ทะเลเหนือ ทะเลไอริส และทะเลบอลติก
                      จำนวนและขนาดของประเทศ ทวีปยุโรปแบ่งการปกครองออกเป็น
      46 ประเทศ พิจารณาตามตำแหน่งที่ตั้ง สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มใหญ่ คือ

       

       

       

      1. กลุ่มยุโรปภาคตะวันตกและภาคกลาง นับเป็นกลุ่มที่มีควมสำคัญมากตั้งแต่อดีต ในอดีตหลายประเทศในกลุ่มนี้มีอาณานิคมกระจายอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อโลกมากทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง มีความก้าวหน้าทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเกษตรและอุตสาหกรรม ประเทศในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มย่อยๆ ดังนี้

      -          กลุ่มประเทศบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ (บริเตนใหญ่ประกอบด้วย อังกฤษ สกอตแลนด์และเวลส์)

      -          กลุ่มประเทศเบเนลักซ์ ประกอบด้วย ประเทศเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก

      -       กลุ่มประเทศที่ไม่มีอาณาเขตจดทะเล เป็นกลุ่มประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ได้แก่ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และลิกเตนสไตน์

      -          กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย หรือนอร์ดิก ได้แก่ นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์

      -          ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี

      2. กลุ่มยุโรปใต้ ได้แก่ ประเทศที่ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของทวีป แบ่งออกเป็น4 กลุ่มย่อยดังนี้

      -          บนคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ สเปน โปรตุเกส และอันดอร์รา

      -          บนคาบสมุทรอิตาลี ได้แก่ ประเทศอิตาลี

      -          บนคาบสมุทรบอลข่าน ได้แก่ กรีซ แอลบาเนีย ยูโกสลาเวีย

      -          บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ มอนตา ซานมาริโน โมนาโก และนครวาติกัน

      3. กลุ่มยุโรปตะวันออก เป็นกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของเยอรมนี และตั้งเรียงรายตั้งแต่ทะเลบอลติกด้านเหนือลงมาถึงทะเลเอเดรียติกที่อยู่ด้านใต้ ทั้งยังเป็นกลุ่มประเทศที่เคยเป็นบริวารหรือได้รับอิทธิพลจากประเทศสหภาพโซเวียตเดิม ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันอยู่ในช่วงฟื้นฟูทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ได้แก่ โปแลนด์ เช็คและสโลวัก ฮังการี โรมาเนีย และบัลกาเรีย

      4. กลุ่มประชาคมรัฐเอกราช สหภาพโซเวียตเคยเป็นประเทศที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ที่สุดของยุโรป แต่จากเหตุการณ์ยึดอำนาจจากประธานาธิบดี มิลคาอิล กอร์บาชอฟ ในช่วงวันที่ 19-21 สิงหาคม 2534 แม้ว่าการยึดอำนาจดังกล่าวจะไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม แต่ก็เป็นผลให้ในท้ายที่สุด สหภาพโซเวียตได้กลายเป็นกลุ่มประชาคมรัฐเอกราช ซึ่งประกอบด้วย ประเทศรัสเซีย และ 13 สาธารณรัฐ ไม่รวมสาธารณรัฐจอร์เจีย สาธารณรัฐใหม่เหล่านี้มีการปกครองของตนเอง ไม่ขึ้นกับรัสเซียอีกต่อไป

       

      ลักษณะภูมิประเทศ

                      ลักษณะของชายฝั่งทะเล ทวีปยุโรปมีฝั่งทะเลยาวมากเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อที่ ทั้งนี้เนื่องจากชายฝั่งทะเลมีลักษณะเว้าแหว่งมาก มีคาบสมุทรขนาดใหญ่หลายแห่งที่สำคัญ ได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวียและคาบสมุทรจัตแลนด์ในยุโรปภาคเหนือ คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลีและคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปภาคใต้ ลักษณะชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นชายหาดแคบๆ บางแห่งไม่มีหาดทรายเลย และบางแห่งเป็นหน้าผาชันน้ำลึก

       

       

       

       

       


       



       

      คาบสมุทรทางตอนเหนือ

      ลักษณะภูมิประเทศของทวีปยุโรปแบ่งได้เป็น 4 เขตใหญ่ๆ

      1.เขตภูเขาภาคเหนือ ภาคเหนือของทวีปยุโรปมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาโดยมีที่ราบชายฝั่งทะเลเป็นบางตอน บริเวณที่เป็นภูเขาอยู่แถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและในแคว้นสกอตแลนด์และแคว้นเวลส์ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันตกของเกาะบริเตนใหญ่ รวมทั้งเกาะไอซ์แลนด์
                      เนื่องจากภาคเหนือของทวีปยุโรปเคยมีน้ำแข็งปกคลุมมาก่อนในสมัยน้ำแข็ง จึงมีร่องรอยการกัดเซาะและการทับถมที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง คือ ชายฝั่งที่มีลักษณะเว้าแหว่งมากเป็นพิเศษ โดยมีอ่าวแคบๆ ที่มีน้ำลึกมาก เรียกว่ อ่าวฟยอร์ด ชายฝั่งเช่นนี้มีพบอยู่ทั่วไปในประเทศนอร์เวย์ และแคว้นสกอตแลนด์ของประเทศสหราชอาณาจักร

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      2.เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง ตอนกลางของทวีปยุโรปมีภูมิประเทศเป็นที่ราบต่อเนื่องกันเป็นผืนใหญ่ ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงเทือกเขายูราลในรัสเซีย ครอบคลุมดินแดนซีกตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส ภาคตะวันออกของประเทศอังกฤษ ประเทศเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ดินแดนภาคเหนือของประเทศเยอรมนี และโปแลนด์ ดินแดนส่วนใหญ่ของรัสเซีย เขตที่ราบใหญ่ภาคกลางนี้มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่น และเป็นเขตที่มีความสำคัญทางด้านเกษตรกรรมมากที่สุดของทวีปยุโรป

      3.เขตที่ราบสูงภาคกลาง อยู่ทางตอนกลางของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส ภาคใต้ของประเทศเยอรมนี และประเทศโปแลนด์ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ซึ่งเป็นเขตเชื่อมต่อระหว่างเขตที่ราบใหญ่ภาคกลางกับเขตเทือกเขาสูงภาคใต้ของทวีป เขตที่ราบนี้ยังปรากฏต่อเนื่องไปในบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไอบีเรียในยุโรปภาคใต้ ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศสเปนและโปรตุเกสด้วย

                                                                                                                                       แบรกฟอเรสต์ ในเยอรมนี

      4.เขตเทือกเขาสูงภาคใต้ ภาคใต้ของทวีปยุโรปมีเทือกเขาสูงๆ เป็นลักษณะเด่นทางด้านภูมิประเทศ เทือกเขาเหล่านี้มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับเทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย ในทางธรณีวิทยาถือว่าเป็นเทือกเขารุ่นใหม่ที่มีอายุน้อย จึงมีการสึกกร่อนพังทลายไม่มาก ลักษณะเป็นยอดสุง และมีหุบเขาลึก ตามบริเวณยอดเขามีธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ปกคลุมอยู่โดยทั่วไป ในภาคใต้ของทวีปยุโรปเป็นเขตที่เปลือกโลกยังไม่สงบตัวดี มีปรากฏการณ์แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดเกิดขึ้นบ่อยๆ ประเทศที่มักประสบภัยจากแผ่นดินไหว ได้แก่ อิตาลี ยูโกสลาเวีย และกรีซ นอกจากนี้ยังมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังปะทุอยู่หลายลูก ได้แก่ ภูเขาไฟวิซูเวียส ภูเขาไฟเอตนา และภูเขาไฟสตรอมโบลีในประเทศอิตาลี เมื่อปี พ.ศ.622 ภูเขาวิซูเวียสได้เกิดการปะทุครั้งสำคัญ ลาวาจากภูเขาไฟ ไหลไปท่วมทับเมืองปอมเปอีซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงเขา ปัจจุบันจะเห็นซากของเมืองปอมเปอีที่นักโบราณคดีขุดบูรณะตกแต่งไว้แล้ว

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      เทือกเขาสำคัญในทวีปยุโรป

      -       เทือกเขาแอลป์ มีอาณาบริเวณตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ผ่านไปในเขตของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาคเหนือของประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรียและภาคเหนือของประเทศยูโกสลาเวีย มียอดสูงสุดชื่อ มองต์บลังก์ สูง 4807 เมตร

      -          เทือกเขาพิเรนิส กั้นพรมแดนระหว่างประเทศฝรั่งเศส กับประเทศสเปน

      -          เทือกเขาคาร์เปเทียน อยู่ในเขตของประเทศเช็คและสโลวักต่อเนื่องไปจนถึงประเทศโรมาเนีย

      -          เทือกเขาแอเพนไนน์ อยู่ในประเทศอิตาลี

      -       เทือกเขาคอเคซัส อยู่ในประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจัน ระหว่างทะเลดำกับทะเลแคสเปียน มียอดสูงที่สุดชื่อ เอลบรุส (Elbrus) สูง 5,642 เมตร นับเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของทวีปยุโรป

       

       

       

       

       

       

       

         เทือกเขาแอลป์                                            เทือกเขาพิเรนิส                                   เทือกเขาคาร์เปเทียน

       

       

       

       

       


                                            เทือกเขาแอเพนไนน์                                   เทือกเขาคอเคซัส

       

       

      แม่น้ำ

                      ในทวีปยุโรปถึงแม้ว่าจะมีความยาวไม่เท่ากับแม่น้ำสายยาวๆ ในทวีปเอเซีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ แต่ก็ใช้ประโยชน์ในด้านการคมนาคมขนส่งได้มาก เพราะมีน้ำไหลสม่ำเสมอตลอดทั้งปี และมีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำสายต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เดินเรือได้สะดวก โดยเฉพาะแม่น้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสายใหญ่ นับว่ามีความสำคัญมากกว่าแม่น้ำที่ไหลลงมหาสมุทรอาร์กติกและทะเลภายในต่างๆ ซึ่งอยู่นอกเส้นทางการค้า

      แม่น้ำที่สำคัญในทวีปยุโรปมีดังต่อไปนี้

      แม่น้ำไรน์ มีต้นน้ำอยู่ที่เทือกเขาแอลป์ทางตอนใต้ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นไปทางเหนือ จนถึงพรมแดนระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีแล้วไหลต่อเข้าไปในประเทศเยอรมนีและประเทศเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ มีความยาว 1312 กิโลเมตร
                 
      แม่น้ำไรน์ นับเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ ที่มีความสำคัญมากที่สุดของทวีปยุโรปการส่งสินค้าตามลำน้ำสายนี้มีเป็นจำนวนมาก สินค้าสำคัญ ได้แก่ ถ่านหิน แร่เหล็ก และแป้งสาลี โดยเฉพาะถ่านหิน เป็นสินค้าที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากแม่น้ำไรน์ไหลผ่านย่านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ถ่านหินของประเทศเยอรมนี แม่น้ำสายนี้จึงได้รับสมญาว่าเป็นแม่น้ำถ่านหิน (CoalRiver) เมืองท่า สำคัญที่ตังอยู่ที่ปากแม่น้ำไรน์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ คือ เมืองรอตเตอร์ดัม เป็นเมืองท่าที่มีจำนวนเรือสินค้ามาจอดรับส่งสินค้ามากกว่าเมืองท่าอื่นๆ ของทวีปยุโรป

      แม่น้ำเอลเบ มีต้นน้ำอยู่ในประเทศเช็คและสโลวัก ไหลผ่านประเทศเยอรมนีไปออกทะเลเหนือ มีความยาว 1152 กิโลเมตร เมืองท่าสำคัญที่ตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ คือ เมืองฮัมบูร์ก เป็นเมืองท่าใหญ่ที่สุดของประเทศเยอรมนี

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      แม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำอยู่ในภาคใต้ของประเทศเยอรมนี ไหลผ่านประเทศออสเตรีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย และพรมแดนระหว่างประเทศบัลกาเรียกับประเทศโรมาเนีย มีความยาว 2760 กิโลเมตร

                      แม่น้ำดานูบมีสาขาต่างๆ เป็นจำนวนมาก และเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศที่ไหลผ่านจำนวนประเทศจำนวนมากที่สุดในทวีปยุโรป แต่ในด้านความสำคัญของการคมนาคมขนส่งทางน้ำมีไม่มากเท่ากับแม่น้ำไรน์และแม่น้ำเอลเบ เนื่องจากแม่น้ำดานูบไหลลงสู่ทะเลดำซึ่งเป็นทะเลภายใน ไม่ได้อยู่ในเส้นทางเดินเรือสายสำคัญของโลก

      แม่น้ำโวลกา เป็นแม่น้ำในรัสเซีย ไหลจากบริเวณภาคกลางของประเทศไปลงทะเลแคสเปียน มีความยาวถึง 3700 กิโลเมตร นับเป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของทวีปยุโรป

      ลักษณะภูมิอากาศ

      ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปยุโรป ได้แก่
      ละติจูด ทวีปยุโรปตั้งอยู่ในช่วงละติจูด 35-70 องศาเหนือ ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากพอสมควร ฉะนั้นจึงไม่มีภูมิอากาศเมืองร้อนเหนืออย่างทวีปอื่นๆ ที่มีดินแดนใกล้เส้นศูนย์สูตร จะเห็นได้ว่าทางตอนใต้สุดของทวีปเป็นเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ทิศทางลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปเป็นลมฝ่ายตะวันตกพัดจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้ามาทางด้านตะวันตกของทวีป ด้วยเหตุนี้ทางซีกตะวันตกของทวีปจึงมีฝนตกชุก ส่วนทางซีกตะวันออกของทวีปฝนจะตกน้อยลง และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีมากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป

      กระแสน้ำในมหาสมุทร ชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปมีกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือไหลเลืยบฝั่งของหมู่เกาะบริติช และชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ ทำให้มีผลต่อภูมิอากาศของบริเวณดังกล่าว ดังจะเห็นได้ว่า หมู่เกาะบริติชอันเป็นที่ตั้งองประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศไอร์แลนด์นั้นมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี แม้ในฤดูหนาวอากาศก็ไม่หนาวเย็นมากนัก นอกจากนี้ชายฝั่งของประเทศนอร์เวย์ น้ำทะเลไม่แข็งตัวในฤดูหนาว ผิดกับน้ำในทะเลบอลติกซึ่งแข็งตัวเป็นเวลานานหลายเดือน ในระหว่างฤดูหนาว ประเทศสวีเดนจึงต้องอาศัยการขนส่งสินค้าทางรถไฟไปลงเรือที่เมืองท่าของประเทศนอร์เวย์ เพราะไม่สามารถใช้เมืองท่าของตนในทะเลบอลติกได้

      ระยะห่างจากทะเล การที่ทวีปยุโรปมีฝั่งทะเลยาว เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อที่ทวีป ทำให้ดินแดนตอนในของทวีปอยู่ห่างจากทะเลไม่มากนัก ลักษณะเช่นนี้มีผลต่อภูมิอากาศของทวีปยุโรป คือ ไม่มีดินแดนส่วนใดที่อยู่ลึกเข้าไปภายในทวีปมาก จนไม่ได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรเลย จึงไม่มีเขตภูมิอากาศแห้งแล้งเหมือนอย่างในบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชีย

      ทิศทางของเทือกเขา เทือกเขาส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปมีทิศทางในแนวทิศตะวันตก ตะวันออก จึงไม่กีดขวางทางลมประจำตะวันตกที่นำความชื้นจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าไปในทวีป บริเวณส่วนใหญ่ของทวีปจึงได้รับฝนอย่างทั่วถึง                                                                                           
                      หากสมมติว่าทวีปยุโรปมีเทือกเขาสูงขนานไปกับชายฝั่งตะวันตก เหมือนอย่างในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ บริเวณที่มีฝนตกชุกก็คงจะจำกัดอยู่เฉพาะตามชายฝั่งเท่านั้น ส่วนทางตอนในของทวีปจะกลายเป็นเขตที่มีฝนตกน้อย เพราะถูกเทือกเขากั้นกำบังความชื้นไปหมด

       

       

       

      จากปัจจัยต่างๆ ทำให้ภูมิอากาศของทวีปยุโรปได้ชื่อว่าเหมาะสมสำหรับการดำรงชีพ เพราะส่วนใหญ่มีอากาศอบอุ่น ไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไปในขณะเดียวกันก็มีฝนตกพอเพียงสำหรับการเพาะปลูก จะเห็นได้ว่าทวีปยุโรปเป็นทวีปเดียวที่ไม่มีทะเลทราย แม้แต่เขตที่แห้งแล้งที่สุดของทวีปก็จัดเป็นภูมิอากาศประเภททุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเท่านั้น

       การแบ่งเขตภูมิอากาศของทวีปยุโรป ทวีปยุโรปมีเขตภูมิอากาศต่างๆ รวม 7 เขต ดังนี้

      1.ภูมิอากาศแบบเมติเตอร์เรเนียน

      สภาพอากาศ เป็นภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง มีฝนตกในฤดูหนาว ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 500-1000 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น ที่เรียกว่า ป่าเมดิเตอร์เรเนียน
      บริเวณที่พบ
      ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปภาคใต้ ครอบคลุมดินแดนชายฝั่งของประเทศสเปน ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ชายฝั่งของประเทศยูโกสลาเวีย และประเทศกรีซ

      2. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น
      สภาพอากาศ
      ภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง ซึ่งมีฝนตกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนทั้งปีประมาณ 500-1000 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ   เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น หรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
      บริเวณที่พบ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดานูบในประเทศฮังการี ภาคเหนือของประเทศยูโกสลาเวียและประเทศโรมาเนีย

      3.ภูมิอากาศทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
      สภาพอากาศ
      เป็นภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อย คือ ปริมาณฝนทั้งปี ประมาณ 250-500 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ  ทุ่งหญ้าที่ขึ้นเบาบาง
      บริเวณที่พบ
      มี
      2 แห่ง คือ ตอนกลางของประเทศสเปน อูเครน จอร์เจียและตอนใต้ของรัสเซีย

       

       

      4.ภูมิอากาศภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก
      สภาพอากาศ
      ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 750-1500 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าไม้สน
      บริเวณที่พบ
      บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตกของทวีป ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส หมู่เกาะบริติช เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ภาคเหนือของเยอรมนี และภาคใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน

      5. ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป
      สภาพอากาศ
      เป็นภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรไม่มากนัก เพราะอยู่ลึกเข้ามาในทวีป ฤดูหนาวอากาศค่อนข้างหนาว ปริมาณน้ำฝนทั้งปีประมาณ 500-750 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตกในฤดูร้อน
      พืชพรรณธรรมชาติ   เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น ซึ่งมีทั้งป่าผลัดใบและป่าสนผสมปะปนอยู่ บางแห่งที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
      บริเวณที่พบ
      ยุโรปตะวันออก ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศโปแลนด์ เช็คและสโลวัก รัสเซีย และสาธารณรัฐเอกราชต่างๆ ที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียต

      6.ภูมิอากาศแบบไทกา
      สภาพภูมิอากาศ
      เป็นภูมิอากาศหนาวซึ่งมีฤดูหนาวยาวนาน ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 250-500 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ   ป่าสน (หรือป่าไม้ใบแหลมมีใบเขียวทั้งปี)
      บริเวณที่พบ
      ดินแดนทางเหนือของประเทศฟินแลนด์ ภาคกลางของนอร์เวย์และสวีเดน

      7.ภูมิอากาศแบบทุนดรา
       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      สภาพภูมิอากาศ เป็นภูมิอากาศหนาวแบบขั้วโลก มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีฤดูร้อนสั้นๆ เพียง 1-2 เดือน ที่พืชพรรณจะเจริญเติบโตได้ นอกนั้นแล้วจะมีอุณหภูมิต่ำถึงขีดเยือกแข็ง
      พืชพรรณธรรมชาติ พืชชั้นต่ำจำพวกหญ้า และตะไคร่ที่ทนอากาศหนาวเย็นได้ เช่น มอสและไลเคนบริเวณที่พบ ชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือของทวีปยุโรป

      ทรัพยากรธรรมชาติ  ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในยุโรปได้แก่

      ทรัพยากรดิน ยุโรปเป็นทวีปที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรดินทวีปหนึ่งในโลก ความแตกต่างของดินจะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิอากาศ และวัตถุต้นกำเนิดของดิน ในยุโรปจะพบดินหลายชนิดด้วยกัน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ได้แก่ ดินร่วนสีดำ พบในภาคใต้ของรัสเซีย ในยูเครน โปแลนด์ เช็คและสโลวักและออสเตรีย ซึ่งเหมาะสมในการปลูกข้าวสาลี
                      ในบริเวณลุ่มแม่น้ำจะมีดินตะกอนที่แม่น้ำพามาทับถมกัน ทำให้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนในบริเวณที่ดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์จะใช้ประโยชน์ในด้านการเลี้ยงแกะทั้งพันธ์เนื้อและพันธุ์ขน การที่ทวีปยุโรปไม่มีเขตภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทรายหรือร้อนชื้นแบบป่าดงดิบ ทำให้ทรัพยากรดินของทวีปสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

      ทรัพยากรน้ำ ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีขนาดเล็ก มีอาณาเขตเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดแล้วจะจดทะเลมากกว่าทวีปอื่น ลักษณะภูมิอากาศของยุโรปจึงไม่มีลักษณะภูมิอากาศแบบทะเลทรายหรือกึ่งทะเลทราย แหล่งทรัพยากรน้ำในทวีปยุโรปได้แก่ แม่น้ำสายต่างๆ ซี่งแม่น้ำในทวีปยุโรปนั้นจะไม่มีลำน้ำกว้างขวาง และมีความยาวมากเหมือนแม่น้ำในทวีปอเมริกาเหนือหรือเอเซีย แต่มีสาขาของแม่น้ำหลายสายและไหลลงสู่ทะเล แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำดานูบ แม่น้ำโรน แม่น้ำโวลกา แม่น้ำโป แม่น้ำส่วนใหญ่ไหลผ่านที่ราบของทวีป กระแสน้ำจึงไม่ไหลเชี่ยวมีประโยชน์ทั้งด้านการคมนาคมและการเกษตร ในส่วนของปริมาณน้ำฝนนั้น จากที่ตั้งของทวีป ความใกล้ทะเล ความสูงของพื้นที่ การวางตัวของเทือกเขา ตลอดจนอิทธิพลของลมประจำ เป็นผลให้ทวีปยุโรปมีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยสูงสุดคือ 1500 มิลลิเมตรต่อปี และพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมากกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี

      ทรัพยากรป่าไม้ ในอดีตยุโรปเป็นทวีปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ แต่จากการเพิ่มจำนวนประชากรทำให้ปริมาณป่าไม้ลดลง แหล่งป่าไม้ที่สำคัญของยุโรปได้แก่ ป่าสนในประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ นอกจากนี้ยังพบป่าไม้ในปริมาณไม่มากนักในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ซึงประเทศเหล่านี้ต้องนำเข้าสินค้าไม้จากสวีเดนและฟินแลนด์ ป่าไม้ในยุโรปมีทั้งป่าไม้เนื้ออ่อนและป่าไม้เนื้อแข็ง ป่าไม้เนื้ออ่อนพบในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เทือกเขาในยุโรปกลางและยุโรปใต้ เช่น แอลป์ จูรา พิเรนิส ส่วนป่าไม้เนื้อแข็งจะพบในเขตที่ราบต่ำของยุโรปตะวันตก ปัจจุบันรัฐบาลในหลายประเทศใช้วิธีการปลูกป่าไม้ขึ้นใหม่ทดแทนกับป่าที่ถูกทำลาย นอกจากนี้ยังพบป่าไม้ผลัดใบ เช่น โอ๊ก บีช ในยุโรปตะวันออกด้วย ซึ่งในบริเวณพื้นที่สูงจะมีป่าสนขึ้นปะปนกับไม้ผลัดใบเหล่านี้

      ทรัพยากรแร่ธาตุ ยุโรปอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุหลายชนิดด้วยกัน โดยเฉพาะแร่เหล็กและถ่านหิน อันเป็นแร่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม แร่ทั้งสองนี้จะอยู่กระจัดกระจายโดยทั่วไปในเขตยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก แต่จากความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมที่เกิดก่อนทวีปอื่น ตลอดจนการผ่านสงครามโลกถึงสองครั้ง เป็นผลให้ปริมาณทรัพยากรประเภทแร่ธาตุลดน้อยลง แร่ธาตุที่สำคัญของยุโรป เช่น

      • ถ่านหิน พบมากใน อังกฤษ กลุ่มประเทศเบเนลักซ์ อูเครน โปแลนด์
      • แร่เหล็ก พบมากในรัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อูเครน เยอรมนี เช็คและสโลวัก โรมาเนีย โปแลนด์
      • ตะกั่ว ในบัลกาเรีย อิตาลี เยอรมนี
      • บอกไซด์ ในฝรั่งเศส ฮังการี
      • น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พบในเขตทะเลเหนือ และกลุ่มประชาคมรัฐเอกราช

       

       

      ประชากร
      จำนวนประชากร
                      ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย (รวมประชาคมรัฐเอกราช) แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมา ทวีปยุโรปมีอัตราการเพิ่มประชากร อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าทวีปอื่นๆ ทั้งหมด คือเพียงร้อยละ 0.2 ต่อปี

      ความหนาแน่นของประชากร
                      ทวีปยุโรปมีความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากร 84 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ได้ชื่อว่าเป็นทวีปที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของโลก

                 
      ในด้านการกระจายของประชากร ทวีปยุโรปมีการเฉลี่ยจำนวนประชากรไปอยูอาศัยตามภาคต่างๆ ของทวีปอย่างทั่วถึง ไม่ค่อยมีบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นมาก หรือเบาบางมากจนเห็นได้ชัดเหมือนอย่างในทวีปเอเซียและทวีปออสเตรเลีย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากในทวีปยุโรปไม่มีบริเวณที่มีภูมิอากาศแห้งแล้งมากจนเป็นทะเลทราย ทั้งบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงๆ ก็มีไม่มากนัก อุปสรรคในการตั้งถิ่นฐานมีเฉพาะบริเวณบางแห่งในภาคเหนือของทวีป ซึ่งมีภูมิอากาศหนาวเย็น ได้แก่ ในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และภาคเหนือของรัสเซีย แต่ก็มีอาณาบริเวณไม่กว้างขวางนัก

      อย่างไรก็ตาม มีบริเวณบางส่วนของทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นกว่าเขตอื่นๆ ของทวีป ได้แก่ เขตที่ราบภาคตะวันตกและภาคกลางของทวีป ในช่วงละติจูดที่ 45-50 องศาเหนือ ซึ่งได้แก่ ภาคเหนือของฝรั่งเศส ภาคใต้ของอังกฤษ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ภาคกลางของเยอรมนี ภาคกลางของโปแลนด์และภาคกลางของรัสเซีย เขตดังกล่าวเป็นเขตเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของทวีปยุโรป
                      ในด้านการกระจายของประชากรในเขตเมืองและเขตชนบท ปรากฏว่าประชากรของทวีปยุโรปอาศัยอยู่ในเขตเมืองถึงร้อยละ
      74 ของประชากรทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางด้านการค้าและอุตสาหกรรม ซึ่งสนับสนุนให้ประชากรเป็นจำนวนมากตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเขตเมือง มีเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรตั้งแต่ 3 ล้านคนขึ้นไป ได้แก่ มอสโก (รัสเซีย) ลอนดอน (สหราชอาณาจักร) ปารีส (ฝรั่งเศส)

       

       

       

       

       

       

       

       

      จากปัจจัยต่างๆ ทำให้ภูมิอากาศของทวีปยุโรปได้ชื่อว่าเหมาะสมสำหรับการดำรงชีพ เพราะส่วนใหญ่มีอากาศอบอุ่น ไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไปในขณะเดียวกันก็มีฝนตกพอเพียงสำหรับการเพาะปลูก จะเห็นได้ว่าทวีปยุโรปเป็นทวีปเดียวที่ไม่มีทะเลทราย แม้แต่เขตที่แห้งแล้งที่สุดของทวีปก็จัดเป็นภูมิอากาศประเภททุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเท่านั้น

       การแบ่งเขตภูมิอากาศของทวีปยุโรป ทวีปยุโรปมีเขตภูมิอากาศต่างๆ รวม 7 เขต ดังนี้

      1.ภูมิอากาศแบบเมติเตอร์เรเนียน

      สภาพอากาศ เป็นภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง มีฝนตกในฤดูหนาว ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 500-1000 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น ที่เรียกว่า ป่าเมดิเตอร์เรเนียน
      บริเวณที่พบ
      ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปภาคใต้ ครอบคลุมดินแดนชายฝั่งของประเทศสเปน ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ชายฝั่งของประเทศยูโกสลาเวีย และประเทศกรีซ

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      2. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น
      สภาพอากาศ
      ภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง ซึ่งมีฝนตกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนทั้งปีประมาณ 500-1000 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ   เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น หรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
      บริเวณที่พบ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดานูบในประเทศฮังการี ภาคเหนือของประเทศยูโกสลาเวียและประเทศโรมาเนีย

      3.ภูมิอากาศทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
      สภาพอากาศ
      เป็นภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อย คือ ปริมาณฝนทั้งปี ประมาณ 250-500 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ  ทุ่งหญ้าที่ขึ้นเบาบาง
      บริเวณที่พบ
      มี
      2 แห่ง คือ ตอนกลางของประเทศสเปน อูเครน จอร์เจียและตอนใต้ของรัสเซีย

       

       

      4.ภูมิอากาศภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก
      สภาพอากาศ
      ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 750-1500 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าไม้สน
      บริเวณที่พบ
      บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตกของทวีป ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส หมู่เกาะบริติช เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ภาคเหนือของเยอรมนี และภาคใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      5. ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป
      สภาพอากาศ
      เป็นภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรไม่มากนัก เพราะอยู่ลึกเข้ามาในทวีป ฤดูหนาวอากาศค่อนข้างหนาว ปริมาณน้ำฝนทั้งปีประมาณ 500-750 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตกในฤดูร้อน
      พืชพรรณธรรมชาติ   เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น ซึ่งมีทั้งป่าผลัดใบและป่าสนผสมปะปนอยู่ บางแห่งที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
      บริเวณที่พบ
      ยุโรปตะวันออก ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศโปแลนด์ เช็คและสโลวัก รัสเซีย และสาธารณรัฐเอกราชต่างๆ ที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียต

      6.ภูมิอากาศแบบไทกา
      สภาพภูมิอากาศ
      เป็นภูมิอากาศหนาวซึ่งมีฤดูหนาวยาวนาน ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 250-500 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ   ป่าสน (หรือป่าไม้ใบแหลมมีใบเขียวทั้งปี)
      บริเวณที่พบ
      ดินแดนทางเหนือของประเทศฟินแลนด์ ภาคกลางของนอร์เวย์และสวีเดน

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      7.ภูมิอากาศแบบทุนดรา
      สภาพภูมิอากาศ
      เป็นภูมิอากาศหนาวแบบขั้วโลก มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีฤดูร้อนสั้นๆ เพียง 1-2 เดือน ที่พืชพรรณจะเจริญเติบโตได้ นอกนั้นแล้วจะมีอุณหภูมิต่ำถึงขีดเยือกแข็ง
      พืชพรรณธรรมชาติ พืชชั้นต่ำจำพวกหญ้า และตะไคร่ที่ทนอากาศหนาวเย็นได้ เช่น มอสและไลเคนบริเวณที่พบ ชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือของทวีปยุโรป

      ทรัพยากรธรรมชาติ  ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในยุโรปได้แก่

      ทรัพยากรดิน ยุโรปเป็นทวีปที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรดินทวีปหนึ่งในโลก ความแตกต่างของดินจะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิอากาศ และวัตถุต้นกำเนิดของดิน ในยุโรปจะพบดินหลายชนิดด้วยกัน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ได้แก่ ดินร่วนสีดำ พบในภาคใต้ของรัสเซีย ในยูเครน โปแลนด์ เช็คและสโลวักและออสเตรีย ซึ่งเหมาะสมในการปลูกข้าวสาลี
                      ในบริเวณลุ่มแม่น้ำจะมีดินตะกอนที่แม่น้ำพามาทับถมกัน ทำให้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนในบริเวณที่ดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์จะใช้ประโยชน์ในด้านการเลี้ยงแกะทั้งพันธ์เนื้อและพันธุ์ขน การที่ทวีปยุโรปไม่มีเขตภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทรายหรือร้อนชื้นแบบป่าดงดิบ ทำให้ทรัพยากรดินของทวีปสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

      ทรัพยากรน้ำ ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีขนาดเล็ก มีอาณาเขตเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดแล้วจะจดทะเลมากกว่าทวีปอื่น ลักษณะภูมิอากาศของยุโรปจึงไม่มีลักษณะภูมิอากาศแบบทะเลทรายหรือกึ่งทะเลทราย แหล่งทรัพยากรน้ำในทวีปยุโรปได้แก่ แม่น้ำสายต่างๆ ซี่งแม่น้ำในทวีปยุโรปนั้นจะไม่มีลำน้ำกว้างขวาง และมีความยาวมากเหมือนแม่น้ำในทวีปอเมริกาเหนือหรือเอเซีย แต่มีสาขาของแม่น้ำหลายสายและไหลลงสู่ทะเล แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำดานูบ แม่น้ำโรน แม่น้ำโวลกา แม่น้ำโป แม่น้ำส่วนใหญ่ไหลผ่านที่ราบของทวีป กระแสน้ำจึงไม่ไหลเชี่ยวมีประโยชน์ทั้งด้านการคมนาคมและการเกษตร ในส่วนของปริมาณน้ำฝนนั้น จากที่ตั้งของทวีป ความใกล้ทะเล ความสูงของพื้นที่ การวางตัวของเทือกเขา ตลอดจนอิทธิพลของลมประจำ เป็นผลให้ทวีปยุโรปมีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยสูงสุดคือ 1500 มิลลิเมตรต่อปี และพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมากกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี

      ทรัพยากรป่าไม้ ในอดีตยุโรปเป็นทวีปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ แต่จากการเพิ่มจำนวนประชากรทำให้ปริมาณป่าไม้ลดลง แหล่งป่าไม้ที่สำคัญของยุโรปได้แก่ ป่าสนในประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ นอกจากนี้ยังพบป่าไม้ในปริมาณไม่มากนักในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ซึงประเทศเหล่านี้ต้องนำเข้าสินค้าไม้จากสวีเดนและฟินแลนด์ ป่าไม้ในยุโรปมีทั้งป่าไม้เนื้ออ่อนและป่าไม้เนื้อแข็ง ป่าไม้เนื้ออ่อนพบในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เทือกเขาในยุโรปกลางและยุโรปใต้ เช่น แอลป์ จูรา พิเรนิส ส่วนป่าไม้เนื้อแข็งจะพบในเขตที่ราบต่ำของยุโรปตะวันตก ปัจจุบันรัฐบาลในหลายประเทศใช้วิธีการปลูกป่าไม้ขึ้นใหม่ทดแทนกับป่าที่ถูกทำลาย นอกจากนี้ยังพบป่าไม้ผลัดใบ เช่น โอ๊ก บีช ในยุโรปตะวันออกด้วย ซึ่งในบริเวณพื้นที่สูงจะมีป่าสนขึ้นปะปนกับไม้ผลัดใบเหล่านี้

      ทรัพยากรแร่ธาตุ ยุโรปอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุหลายชนิดด้วยกัน โดยเฉพาะแร่เหล็กและถ่านหิน อันเป็นแร่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม แร่ทั้งสองนี้จะอยู่กระจัดกระจายโดยทั่วไปในเขตยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก แต่จากความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมที่เกิดก่อนทวีปอื่น ตลอดจนการผ่านสงครามโลกถึงสองครั้ง เป็นผลให้ปริมาณทรัพยากรประเภทแร่ธาตุลดน้อยลง แร่ธาตุที่สำคัญของยุโรป เช่น

      • ถ่านหิน พบมากใน อังกฤษ กลุ่มประเทศเบเนลักซ์ อูเครน โปแลนด์
      • แร่เหล็ก พบมากในรัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อูเครน เยอรมนี เช็คและสโลวัก โรมาเนีย โปแลนด์
      • ตะกั่ว ในบัลกาเรีย อิตาลี เยอรมนี
      • บอกไซด์ ในฝรั่งเศส ฮังการี
      • น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พบในเขตทะเลเหนือ และกลุ่มประชาคมรัฐเอกราช

       

       

      ประชากร
      จำนวนประชากร
                      ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย (รวมประชาคมรัฐเอกราช) แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมา ทวีปยุโรปมีอัตราการเพิ่มประชากร อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าทวีปอื่นๆ ทั้งหมด คือเพียงร้อยละ 0.2 ต่อปี

      ความหนาแน่นของประชากร
                      ทวีปยุโรปมีความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากร 84 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ได้ชื่อว่าเป็นทวีปที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของโลก

                 
      ในด้านการกระจายของประชากร ทวีปยุโรปมีการเฉลี่ยจำนวนประชากรไปอยูอาศัยตามภาคต่างๆ ของทวีปอย่างทั่วถึง ไม่ค่อยมีบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นมาก หรือเบาบางมากจนเห็นได้ชัดเหมือนอย่างในทวีปเอเซียและทวีปออสเตรเลีย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากในทวีปยุโรปไม่มีบริเวณที่มีภูมิอากาศแห้งแล้งมากจนเป็นทะเลทราย ทั้งบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงๆ ก็มีไม่มากนัก อุปสรรคในการตั้งถิ่นฐานมีเฉพาะบริเวณบางแห่งในภาคเหนือของทวีป ซึ่งมีภูมิอากาศหนาวเย็น ได้แก่ ในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และภาคเหนือของรัสเซีย แต่ก็มีอาณาบริเวณไม่กว้างขวางนัก

      อย่างไรก็ตาม มีบริเวณบางส่วนของทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นกว่าเขตอื่นๆ ของทวีป ได้แก่ เขตที่ราบภาคตะวันตกและภาคกลางของทวีป ในช่วงละติจูดที่ 45-50 องศาเหนือ ซึ่งได้แก่ ภาคเหนือของฝรั่งเศส ภาคใต้ของอังกฤษ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ภาคกลางของเยอรมนี ภาคกลางของโปแลนด์และภาคกลางของรัสเซีย เขตดังกล่าวเป็นเขตเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของทวีปยุโรป
                      ในด้านการกระจายของประชากรในเขตเมืองและเขตชนบท ปรากฏว่าประชากรของทวีปยุโรปอาศัยอยู่ในเขตเมืองถึงร้อยละ
      74 ของประชากรทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางด้านการค้าและอุตสาหกรรม ซึ่งสนับสนุนให้ประชากรเป็นจำนวนมากตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเขตเมือง มีเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรตั้งแต่ 3 ล้านคนขึ้นไป ได้แก่ มอสโก (รัสเซีย) ลอนดอน (สหราชอาณาจักร) ปารีส (ฝรั่งเศส)

       

       

       

       

       

       

       

      จากปัจจัยต่างๆ ทำให้ภูมิอากาศของทวีปยุโรปได้ชื่อว่าเหมาะสมสำหรับการดำรงชีพ เพราะส่วนใหญ่มีอากาศอบอุ่น ไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไปในขณะเดียวกันก็มีฝนตกพอเพียงสำหรับการเพาะปลูก จะเห็นได้ว่าทวีปยุโรปเป็นทวีปเดียวที่ไม่มีทะเลทราย แม้แต่เขตที่แห้งแล้งที่สุดของทวีปก็จัดเป็นภูมิอากาศประเภททุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเท่านั้น

       การแบ่งเขตภูมิอากาศของทวีปยุโรป ทวีปยุโรปมีเขตภูมิอากาศต่างๆ รวม 7 เขต ดังนี้

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      1.ภูมิอากาศแบบเมติเตอร์เรเนียน

      สภาพอากาศ เป็นภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง มีฝนตกในฤดูหนาว ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 500-1000 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น ที่เรียกว่า ป่าเมดิเตอร์เรเนียน
      บริเวณที่พบ
      ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปภาคใต้ ครอบคลุมดินแดนชายฝั่งของประเทศสเปน ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ชายฝั่งของประเทศยูโกสลาเวีย และประเทศกรีซ

       

       

       

       

       

       

       

       

      2. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น
      สภาพอากาศ
      ภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง ซึ่งมีฝนตกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนทั้งปีประมาณ 500-1000 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ   เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น หรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
      บริเวณที่พบ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดานูบในประเทศฮังการี ภาคเหนือของประเทศยูโกสลาเวียและประเทศโรมาเนีย

      3.ภูมิอากาศทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
      สภาพอากาศ
      เป็นภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อย คือ ปริมาณฝนทั้งปี ประมาณ 250-500 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ  ทุ่งหญ้าที่ขึ้นเบาบาง
      บริเวณที่พบ
      มี
      2 แห่ง คือ ตอนกลางของประเทศสเปน อูเครน จอร์เจียและตอนใต้ของรัสเซีย

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      4.ภูมิอากาศภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก
      สภาพอากาศ
      ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 750-1500 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าไม้สน
      บริเวณที่พบ
      บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตกของทวีป ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส หมู่เกาะบริติช เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ภาคเหนือของเยอรมนี และภาคใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน

       

       

       

       

       

       

       

       

      5. ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป
      สภาพอากาศ
      เป็นภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรไม่มากนัก เพราะอยู่ลึกเข้ามาในทวีป ฤดูหนาวอากาศค่อนข้างหนาว ปริมาณน้ำฝนทั้งปีประมาณ 500-750 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตกในฤดูร้อน
      พืชพรรณธรรมชาติ   เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น ซึ่งมีทั้งป่าผลัดใบและป่าสนผสมปะปนอยู่ บางแห่งที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
      บริเวณที่พบ
      ยุโรปตะวันออก ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศโปแลนด์ เช็คและสโลวัก รัสเซีย และสาธารณรัฐเอกราชต่างๆ ที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียต

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      6.ภูมิอากาศแบบไทกา
      สภาพภูมิอากาศ
      เป็นภูมิอากาศหนาวซึ่งมีฤดูหนาวยาวนาน ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 250-500 มิลลิเมตร
      พืชพรรณธรรมชาติ   ป่าสน (หรือป่าไม้ใบแหลมมีใบเขียวทั้งปี)
      บริเวณที่พบ
      ดินแดนทางเหนือของประเทศฟินแลนด์ ภาคกลางของนอร์เวย์และสวีเดน

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      7.ภูมิอากาศแบบทุนดรา
      สภาพภูมิอากาศ
      เป็นภูมิอากาศหนาวแบบขั้วโลก มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีฤดูร้อนสั้นๆ เพียง 1-2 เดือน ที่พืชพรรณจะเจริญเติบโตได้ นอกนั้นแล้วจะมีอุณหภูมิต่ำถึงขีดเยือกแข็ง
      พืชพรรณธรรมชาติ พืชชั้นต่ำจำพวกหญ้า และตะไคร่ที่ทนอากาศหนาวเย็นได้ เช่น มอสและไลเคนบริเวณที่พบ ชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือของทวีปยุโรป

      ทรัพยากรธรรมชาติ  ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในยุโรปได้แก่

      ทรัพยากรดิน ยุโรปเป็นทวีปที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรดินทวีปหนึ่งในโลก ความแตกต่างของดินจะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิอากาศ และวัตถุต้นกำเนิดของดิน ในยุโรปจะพบดินหลายชนิดด้วยกัน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ได้แก่ ดินร่วนสีดำ พบในภาคใต้ของรัสเซีย ในยูเครน โปแลนด์ เช็คและสโลวักและออสเตรีย ซึ่งเหมาะสมในการปลูกข้าวสาลี
                      ในบริเวณลุ่มแม่น้ำจะมีดินตะกอนที่แม่น้ำพามาทับถมกัน ทำให้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนในบริเวณที่ดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์จะใช้ประโยชน์ในด้านการเลี้ยงแกะทั้งพันธ์เนื้อและพันธุ์ขน การที่ทวีปยุโรปไม่มีเขตภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทรายหรือร้อนชื้นแบบป่าดงดิบ ทำให้ทรัพยากรดินของทวีปสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

      ทรัพยากรน้ำ ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีขนาดเล็ก มีอาณาเขตเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดแล้วจะจดทะเลมากกว่าทวีปอื่น ลักษณะภูมิอากาศของยุโรปจึงไม่มีลักษณะภูมิอากาศแบบทะเลทรายหรือกึ่งทะเลทราย แหล่งทรัพยากรน้ำในทวีปยุโรปได้แก่ แม่น้ำสายต่างๆ ซี่งแม่น้ำในทวีปยุโรปนั้นจะไม่มีลำน้ำกว้างขวาง และมีความยาวมากเหมือนแม่น้ำในทวีปอเมริกาเหนือหรือเอเซีย แต่มีสาขาของแม่น้ำหลายสายและไหลลงสู่ทะเล แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำดานูบ แม่น้ำโรน แม่น้ำโวลกา แม่น้ำโป แม่น้ำส่วนใหญ่ไหลผ่านที่ราบของทวีป กระแสน้ำจึงไม่ไหลเชี่ยวมีประโยชน์ทั้งด้านการคมนาคมและการเกษตร ในส่วนของปริมาณน้ำฝนนั้น จากที่ตั้งของทวีป ความใกล้ทะเล ความสูงของพื้นที่ การวางตัวของเทือกเขา ตลอดจนอิทธิพลของลมประจำ เป็นผลให้ทวีปยุโรปมีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยสูงสุดคือ 1500 มิลลิเมตรต่อปี และพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมากกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี

      ทรัพยากรป่าไม้ ในอดีตยุโรปเป็นทวีปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ แต่จากการเพิ่มจำนวนประชากรทำให้ปริมาณป่าไม้ลดลง แหล่งป่าไม้ที่สำคัญของยุโรปได้แก่ ป่าสนในประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ นอกจากนี้ยังพบป่าไม้ในปริมาณไม่มากนักในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ซึงประเทศเหล่านี้ต้องนำเข้าสินค้าไม้จากสวีเดนและฟินแลนด์ ป่าไม้ในยุโรปมีทั้งป่าไม้เนื้ออ่อนและป่าไม้เนื้อแข็ง ป่าไม้เนื้ออ่อนพบในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เทือกเขาในยุโรปกลางและยุโรปใต้ เช่น แอลป์ จูรา พิเรนิส ส่วนป่าไม้เนื้อแข็งจะพบในเขตที่ราบต่ำของยุโรปตะวันตก ปัจจุบันรัฐบาลในหลายประเทศใช้วิธีการปลูกป่าไม้ขึ้นใหม่ทดแทนกับป่าที่ถูกทำลาย นอกจากนี้ยังพบป่าไม้ผลัดใบ เช่น โอ๊ก บีช ในยุโรปตะวันออกด้วย ซึ่งในบริเวณพื้นที่สูงจะมีป่าสนขึ้นปะปนกับไม้ผลัดใบเหล่านี้

      ทรัพยากรแร่ธาตุ ยุโรปอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุหลายชนิดด้วยกัน โดยเฉพาะแร่เหล็กและถ่านหิน อันเป็นแร่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม แร่ทั้งสองนี้จะอยู่กระจัดกระจายโดยทั่วไปในเขตยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก แต่จากความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมที่เกิดก่อนทวีปอื่น ตลอดจนการผ่านสงครามโลกถึงสองครั้ง เป็นผลให้ปริมาณทรัพยากรประเภทแร่ธาตุลดน้อยลง แร่ธาตุที่สำคัญของยุโรป เช่น

      • ถ่านหิน พบมากใน อังกฤษ กลุ่มประเทศเบเนลักซ์ อูเครน โปแลนด์
      • แร่เหล็ก พบมากในรัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อูเครน เยอรมนี เช็คและสโลวัก โรมาเนีย โปแลนด์
      • ตะกั่ว ในบัลกาเรีย อิตาลี เยอรมนี
      • บอกไซด์ ในฝรั่งเศส ฮังการี
      • น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พบในเขตทะเลเหนือ และกลุ่มประชาคมรัฐเอกราช

       

       

      ประชากร
      จำนวนประชากร
                      ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย (รวมประชาคมรัฐเอกราช) แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมา ทวีปยุโรปมีอัตราการเพิ่มประชากร อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าทวีปอื่นๆ ทั้งหมด คือเพียงร้อยละ 0.2 ต่อปี

      ความหนาแน่นของประชากร
                      ทวีปยุโรปมีความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากร 84 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ได้ชื่อว่าเป็นทวีปที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของโลก

                 
      ในด้านการกระจายของประชากร ทวีปยุโรปมีการเฉลี่ยจำนวนประชากรไปอยูอาศัยตามภาคต่างๆ ของทวีปอย่างทั่วถึง ไม่ค่อยมีบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นมาก หรือเบาบางมากจนเห็นได้ชัดเหมือนอย่างในทวีปเอเซียและทวีปออสเตรเลีย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากในทวีปยุโรปไม่มีบริเวณที่มีภูมิอากาศแห้งแล้งมากจนเป็นทะเลทราย ทั้งบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงๆ ก็มีไม่มากนัก อุปสรรคในการตั้งถิ่นฐานมีเฉพาะบริเวณบางแห่งในภาคเหนือของทวีป ซึ่งมีภูมิอากาศหนาวเย็น ได้แก่ ในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และภาคเหนือของรัสเซีย แต่ก็มีอาณาบริเวณไม่กว้างขวางนัก

      อย่างไรก็ตาม มีบริเวณบางส่วนของทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นกว่าเขตอื่นๆ ของทวีป ได้แก่ เขตที่ราบภาคตะวันตกและภาคกลางของทวีป ในช่วงละติจูดที่ 45-50 องศาเหนือ ซึ่งได้แก่ ภาคเหนือของฝรั่งเศส ภาคใต้ของอังกฤษ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ภาคกลางของเยอรมนี ภาคกลางของโปแลนด์และภาคกลางของรัสเซีย เขตดังกล่าวเป็นเขตเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของทวีปยุโรป
                      ในด้านการกระจายของประชากรในเขตเมืองและเขตชนบท ปรากฏว่าประชากรของทวีปยุโรปอาศัยอยู่ในเขตเมืองถึงร้อยละ
      74 ของประชากรทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางด้านการค้าและอุตสาหกรรม ซึ่งสนับสนุนให้ประชากรเป็นจำนวนมากตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเขตเมือง มีเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรตั้งแต่ 3 ล้านคนขึ้นไป ได้แก่ มอสโก (รัสเซีย) ลอนดอน (สหราชอาณาจักร) ปารีส (ฝรั่งเศส)

       

      แหล่งที่มา http://tc.mengrai.ac.th

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×