ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทวตำนานเทพเจ้ากรีก โรมันและอีทรัสกัน

    ลำดับตอนที่ #16 : อารยธรรมอีทรัสกัน:ชาวอีทรัสกัน 100%

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.98K
      4
      24 ต.ค. 55

    ชาวอีทรัสกัน

    ต้นกำเนิด

              ชาวอีทรัสกันตั้งรกรากในภาคกลางของอิตาลีราวคริสต์วรรษที่ 8 ก่อน ค.ศ. ต้นกำเนิดอารยธรรมยังคงเป็นปริศนามาเป็นเวลายาวนาน แต่ถึงอย่างนั้นอารยธรรมอีทรัสกันก็ยังเป็นหนึ่งในอารยธรรมชั้นสูงแรกๆ ชาวอีทรัสกันครอบครองอิตาลีตอนกลางเป็นเวลากว่าศตวรรษ การปกครองไม่ได้เป็นรวามอำนาจเข้าศูนย์กลาง แต่แบ่งเป็นการปกครองออกเป็นรัฐอิสระ โดยนครรัฐจะมีกษัตริย์เรียกว่า ลูคูโม เป็นผู้วางแผนงานประจำปี โดยขุนนางและนักบวชเป็นที่ปรึกษา

              และจากงานวิจัยหลายชิ้นทำให้เชื่อได้ว่าประวัติศาสตร์ของชาวอีทรัสกันมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับวัฒนธรรมวิลล่าโนวาล

              เมื่อเทียบกับชาวอิตาลิก ชาวอิทรัสกันนอกจากจะมีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์และหนังสือแล้ว ยังสามารถถลุงโลหะได้ดีกว่าอีกด้วย วัฒนธรรมที่เหนือกว่าทำให้ชาวอีทรัสกันสามารถแผ่ขยายอาณาเขตไปไดทั้งภาคกลางของคาบสมุทร อิตาลิกจนกระทั้งอาณาจักรโรมถือกำเนิด

     

    ศิลปะอีทรัสกัน

              ผลงานศิลปะของชาวอีทรัสกัน มีลักษณะรูปแบบผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลจากผลงานศิลปะของชาวไมนวน ชาวไมซีเนียน ชาวกรีก และชาวอียิปต์ แต่ก็มีลักษณะเฉพาะตนที่บ่งบอกถึงความเป็นอักลักษณ์ของอีทรัสกัน และพัฒนาไปสู่ผลงานของชาวโรมันต่อไป

              ศิลปกรรมอีทรัสกันสะท้อนให้เห็นลักษณะของชาวชนบทด้อยพัฒนา ที่กลายสภาพเป็นชาวเมืองที่มีความเป็นอยู่ที่มั่งคั่ง มีบ้านเรือนสวยงาม มีเครื่องประดับเพชรพลอย มีรูปหล่อสัมริด มีอุโมงค์เก็บศพที่ประดับตกแต่งด้วยเสื้อโทกา(Toga) และการใช้วัสดุที่เป็นมัดหวายมีขวานปักตรงกลางเรียกว่า ฟัสซิส (Fasces)

              ชาวอีทรัสกันเป็นนักออกแบบและสถาปนิกชั้นเยี่ยม แต่ผลงานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้จึงไม่ค่อยหลงเหลือให้เห็น พอมีอยู่บ้างคือ สุสานเก็บศพและวิหารเทพเจ้า ซึ่งผลงานจิตรกรรมของชาวอีทรัสกันก็มักจะปรากฏในหลุมฝังศพนี้ ส่วนมากเป็นภาพเขียนแบบปูนเปียก(Fresco) เป็นภาพการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ผลงานประติมากรรมที่โดดเด่น ก็เป็นผลงานประติมากรรมที่ประดับตกแต่งโลงศพและวิหาร โดยเทคนิคดินเผา หล่อโลหะ และสลักหิน รูปทรงของประติมากรรมมีลักษณะอ่อนช้อยไม่แข็งกระด้าง

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×