"อยุธยา อาทิตย์อุทัย"
เหล่าซามูไรผู้อพยพจากเเผ่นดินเกิดเพื่อไปหาลิขิตชีวิตข้างหน้าในเเผ่นดินที่ตนไม่เคยพบเห็น มีคนกล่าวว่า การที่คนๆหนึ่งจะ"อยู่"ไม่สำคัญ จะ"ตาย"ก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ "เขาได้ทำสิ่งใดไว้เเก่โลกนี้ต่างหาก"
ผู้เข้าชมรวม
176
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
คริสตศักราช 1615 วันที่ 28 เดือน 6 เวลาบ่าย
ที่กลางมหาสมุทร(แปซิฟิกใกล้เขตอ่าวไทย)อันเวิ้งว้าง ปรากฎเรือสำเภาสัญชาติญี่ปุ่น 4 ลำ กำลังแล่นผ่านคลื่นน้ำและสายลมไปอย่างสง่างามพร้อมผู้ที่โดยสารมากว่า 400 กว่าชีวิต เกือบทั้งหมดเป็นชนชาวญี่ปุ่นผู้ซึ่งตัดสินใจอพยพย้ายถิ่นอย่างถาวร ลาจากแผ่นดินถิ่นเกิดมุ่งหน้าสู่แผ่นดินที่พวกเขาไม่เคยพบเห็น เป็นแผ่นดินที่ผู้คนต่างสืบเล่ากล่าวขานว่าเป็นแผ่นดินธรรม-แผ่นดินทอง ดินแดนที่อุดมด้วยทรัพย์ในดิน-สินในน้ำอุดมพร้อมสรรพด้วยข้าวปลาอาหาร แล ศูนย์รวมสินค้านานาพรรณจากทุกททวีปทั่วโลก ผู้คนเต็มด้วยอัธยาศัยไมตรีกริยางดงามเป็นมิตร ต้อนรับคนทุกหมู่ที่มาเยือนอย่างอบอุ่นที่ๆคนหลายชาติ หลายภาษาปรารถนาได้มาเยือนสักคราหนึ่งในชีวิต
แน่แท้พวกเขากำลังมุ่งตรงสู่ กรุงศรีอยุธยา มหาอาณาจักรแห่งดินแดนสุวรรณภูมิ
"เป็นเวลาเดือนเศษที่พวกเราออกเดินทาง ท่านคิดถึงญี่ปุ่นบ้างหรือไม่?" อิงะ ชายหนุ่มรูปร่างสันทัดแบบบาง ผู้มีรอยยิ้มและอารมณ์ดีอยู่เสมอกล่าวถามผู้บัญชาการ เรือ อิสึโมะ ซึ่งแล่นตามเรือ โยชิโกโร่ มาทางกาบซ้าย
"ก็น่าใจหาย ในทุกคราที่คิดถึง แต่จักทำอย่างไรได้ ในเมื่อชะตาพระผู้เบื้องบน เป็นผู้ทรงกำหนด" โคนิชิ เซกิงาฮาร่า ซามูไรหนุ่มวัย 25 ผู้มากความสามารถกล่าวตอบผู้เป็นมิตรคู่กาย-สหายร่วมรบ พร้อมเชิดหน้าเล็กน้อยมองไปยังขอบฟ้าด้วยสีหน้าเปื้อนยิ้มเล็กน้อยระคนกับความอาลัยในแผ่นดินถิ่นเกิด แล้วกล่าวต่อ
"หากพวกเราเป็นฝ่ายได้ชัย อะไรๆคงจะดีกว่านี้"
"น่าเสียดาย ที่การณ์กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น" อิงะ กล่าวเสริม
ในขณะเดียวกัน โยชิโกโร่ โชซาโต้ ผู้บัญชาการสูงสุดของคณะและผู้บัญชาการเรือโยชิโกโร่ ซึ่งเป็นเรือธง(เรือผู้นำ) ซึ่งแล่นนำอยู่ข้างหน้าสุดของกองเรือญี่ปุ่นอพยพ กองเล็กๆกองนี้ ก้ได้เอ่ยถามสหายร่วมรบชาวโปรตุเกสของเขาเช่นกัน
"ในครานี้เราคงจักรู้สึกเช่นเดียวกับท่านคราที่ท่านลาจากแผ่นดินเกิด เพื่อมาหาพวกเราที่ญี่ปุ่นเช่นกัน"
"ใช่แล้ว ท่านผู้เป็นสหาย มันเป็นความรู้สึกอาลัยในแผ่นดินอันเป็นที่รัก แต่มันไม่มีความโศกเศร้า หรือความทุกข์ใจเจือปนเลย ท่านก็เช่นกันใช่หรือไม่?" หลุยส์ ออกุสโต่ กราเซีย อัศวินยุโรปผู้ซึมซับวัฒนธรรมญี่ปุ่นจนอาจกล่าวได้ว่า เขากลายเป็น ซามูไร เชื้อสายโปรตุเกสไปแล้ว กล่าวตอบและถามผู้เป็นทั้งมิตรสหายและเป็นทั้งผู้บัญชาการของตน
"ท่านว่าถูกแล้ว มันไม่มีความเศร้าโศกหรือความทุกข์ใจเลย และท่านก็คงคิดเช่นกันใช่หรือไม่? ว่าหาก ทำในสิ่งซึ่งดีที่สุดจนสุดความสามารถแล้ว ก็ไม่มีอันใดต้องเสียใจ" โชซาโต้ ขุนศึกซามูไร วัย 25 ซึ่งขึ้นเกราะพร้อมรบเต็มยศ เหลือแต่หมวกเกราะที่ถือไว้ยังมิได้สวม ปล่อยผมยาวสยายลอยปลิวพริ้วไปตามสายลมแห่งท้องทะเล
"ใช่แล้วท่าน หากเราทำในสิ่งซึ่งดีที่สุดจนสุดความสามารถแล้ว ก็ไม่เหลืออันใดไว้ให้ต้องเสียใจ" ออกุสโต้ กราเซีย ผู้สวมเกราะทรงยุโรปผสมเกราะทรงซามูไรกล่าวตอบสหายผู้บัญชาการของตนอย่างมั่นใจ
ส่วนทางเรือ อาริงาโตะ โนะ คามิ ซึ่งแล่นตามมาทางกาบขวาของเรือธงโยชิโกโร่ กัปตัน เองาว่า นาริตะ ซามูไรรุ่นใหญ่ วัย 48 ผู้ชำนาญการเรือรบตัวยงกำลังเดินตรวจตราความเรียบร้อยบนเรือของเขาอย่างคุ้นเคย ซามูไรลูกเรือของเขาทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนอย่างแข็งขันเช่นกัน
"ข้างล่างเป็นอย่างไรกันบ้าง อดทนอีกอาทิตย์เดียวเท่านั้นก็ได้ขึ้นฝั่งกันแล้ว" กัปตันอาวุโสกล่าวทักทายให้กำลังใจผู้โดยสาร 20 กว่าคน ที่ถึงคิวขึ้นมาเดินเล่นบนลำเรือก่อนที่จจะต้องกลับลงไปที่ท้องเรืออันเป็นส่วนของที่พักลูกเรือและผู้โดยสารในอีกไม่กี่สิบนาทีข้างหน้า
แน่นอนสำหรับคนทั่วไปที่ไม่สันทัดการใช้ชีวิตบนเรือ การได้มาโต้คลื่นบนเรือนั้นเป็นเรื่องที่ไม่น่าอภิรมย์ เพราะอาการเมาคลื่นนั้นจักสร้างความทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส เป็นอาการของผู้ป่วยที่ต้องอาเจียนเกือบตลอดเวลา อันตรายอาจถึงชีวิตและยิ่งต้องมาอาศัยอยู่ในห้องหับที่ไม่สู้จักขว้างขวางนักในเรือเป็นเวลาร่วมเดือน แลไม่อาจรู้ได้ว่าจะถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพหรือไม่ด้วยแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจว่าหากในคราที่คนกลุ่มหนึ่งจะต้องตัดสินใจลาจากถิ่นฐานบ้านเกิดเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังแผ่นดินที่ไม่เคยพบเห็นโดยไม่อาจรู้ชะตาฟ้าลิขิต ก็ย่อมจะมีคนบางส่วนหรือส่วนใหญ่ที่ไม่อาจติดตามผู้ที่ตนเบอกว่า"รัก"ไปด้วยได้
ญี่ปุ่นอพยพกลุ่มนี้ก็เช่นกันความจริงน่าจะมีจำนวนผู้ร่วมทาง-ร่วมชีวิตมาด้วยกันมากกว่านี้สัก2-3เท่า แต่ด้วยสาเหตุประการข้างต้นจึงทำให้หลายครอบครัวจำต้องแยกจากสมาชิกที่ตนรักไปอาจชั่วนิรันทร์
ผลงานอื่นๆ ของ ศิริอารยะไมตรี ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ศิริอารยะไมตรี
ความคิดเห็น