10 ปัญหาคาใจเกี่ยวกับการนอน
1. ทำไมการนอนจึงสำคัญ
การนอนทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะทุกส่วนได้พักผ่อนอย่างเต็มที่พร้อมสำหรับการทำงานในวันต่อไป เมื่อนอนน้อยอาจส่งผลให้ทำงานผิดพลาด ทำงานได้น้อยลงคุณภาพงานต่ำกว่าปกติ และมีงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 4 ชม.หรือนอนมากกว่า 10 ชม. ต่อคืน เป็นประจำ อาจมีอายุสั้นกว่าคนที่นอนหลับปกติคนที่นอนไม่เพียงพอนานๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดโรคหลอดเลือดเมื่ออายุมากขึ้น และการนอนระหว่าง 21. 00-22.00 น.จะได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะโกร๊ธ ฮอร์โมน ( growth homone) หลั่งออกมาอย่างเต็มที่ในช่วง 22.00-24.00 น. ช่วยซ่อมสร้างเซลล์ในร่างกายและควรนอนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ต่อวัน
2. นอนหลับท่าไหนดีที่สุด
การนอนมีความสัมพันธ์กับกระดูกสันหลังเพราะหากนอนผิดท่า เช่น นอนงอตัวหรือนอนบิดตัว ติดต่อกันหลายๆ ปีอาจทำให้กระดูกสันหลังเลื่อนออกนอกแนวระนาบ ผิดรูป หรือคดงอได้ ท่านอนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นอนหลับสนิท ตื่นนอนอย่างสดชื่นและไม่ปวดเมื่อย
- นอนหงายควรใช้หมอนหนุนหัวแบบต่ำเพื่อให้ต้นคออยู่แนวเดียวกับลำตัว ป้องกันการปวดคอจากนอนคอพับหรือนอนเงยคอมากเกินไปแต่ท่านี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก หัวใจทำงานลำบากขึ้น การนอนหงายยังอาจทำให้ผู้มีอาการปวดหลังมีอาการรุนแรงขึ้นด้วย
- นอนตะแคงการนอนตะแคงขวาช่วยให้หัวใจทำงานสะดวกและอาหารที่ค้างในกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ช่วยลดอาการปวดหลังได้ทางหนึ่งแต่การนอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เสียดลิ้นปี่เพราะอาหารย่อยไม่หมดและค้างอยู่ในกระเพาะอาหารหญิงตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับกระดูกสันหลังและเส้นเลือดแดงใหญ่กลางลำตัว
- นอนคว่ำหน้าอาจทำให้หายใจติดขัดและปวดต้นคอเพราะคอแอ่นมาทางด้านหลังหรือบิดไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานานๆถ้าต้องนอนคว่ำหน้าควรใช้หมอนรองใต้หน้าอกเพื่อไม่ให้ปวดเมื่อยต้นคอ
3. เลือกซื้อที่นอนอย่างไรดี
ที่นอนควรมีขนาดกลางๆ ไม่นิ่มหรือแน่นเกินไป (แต่ถ้าต้องเลือกระหว่างที่นอนนิ่ม กับที่นอนแน่นควรเลือกที่นอนแน่น เพราะที่นอนนิ่มจะทำให้ปวดหลังได้มากกว่า)แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและสรีระของแต่ละบุคคล ถ้าคุณลองนอนดูแล้วไม่เกิดอาการปวดหลังก็ถือว่าใช้ได้และควรเลือกที่นอนที่ยาวกว่าความสูงของตัวเองอย่างน้อย 15 ซม.และพิจารณาสิ่งสำคัญต่อไปนี้ด้วย
- ความแน่นของที่นอน (Firmmess) ขึ้นอยู่กับความชอบและรูปร่างของผู้นอน เช่น คนที่รูปร่างใหญ่จะเหมาะกับที่นอนแน่นเป็นพิเศษ
- ชั้นโอบรับ (Conformity) คือมีส่วนที่สัมผัสและโอบรับกับร่างกายอย่างเหมาะสม เข้ากับส่วนโค้งเว้าได้ดีจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและนอนหลับสบายขึ้น
- ความแข็งของที่นอน (Edge Support) คือความสามารถในการรับน้ำหนัก โดยเฉพาะช่วงขอบของที่นอน ป้องกันการยุบตัวและไม่เกิดการลื่นไหลเวลานั่งขณะขึ้นหรือลงจากที่นอน
- เมื่อใช้ที่นอนนานเกิน 6 เดือน ควรกลับที่นอนอีกด้านหนึ่งขึ้นมาใช้ เพื่อไม่ให้ที่นอนถูกใช้งานเพียงด้านเด ียว เพราะทำให้ที่นอนเสื่อมสภาพเร็ว และควรกลับด้านหัวนอนและปลายเท้าสลับกันด้วย เพื่อใช้งานอย่างทั่วถึงทั้งสี่ด้าน
4. หมอนแบบไหนดีที่สุด
การหนุนหมอนที่ไม่มีคุณภาพนานๆ อาจทำให้กระดูกต้นคอกดทับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หรือเกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตันหากลิ่มเลือดขึ้นสมองอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้คุณจึงควรสังเกตอยู่เสมอว่ามีอาการปวดช่วงต้นคอหลังจากตื่นนอนด้วยหรือไม่หมอนที่ดีควรนอนแล้วรับกับกระดูกต้นคอได้พอดี เสมอเป็นระนาบเดียวกับลำตัวนอนแล้วคอไม่แหงนหรือพับ วัสดุที่ใช้ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน
- ใยสังเคราะห์มีทั้งแบบนุ่มฟูและแน่นขึ้นอยู่กับความชอบข้อดีคือมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามรูปศีรษะ คืนรูปและระบายอากาศได้ดี ข้อจำกัดคือ เสื่อมสภาพเร็ว อายุใช้งานไม่คงทน
- โฟมลาเทกซ์แข็งและแน่นมากกว่าหมอนประเภทอื่นๆ ข้อดีคือ คงทนอายุการใช้งานนาน ข้อจำกัดคือ การระบายอากาศไม่ดีหากเลือกขนาดไม่เหมาะกับศีรษะอาจนอนแล้วปวดคอได้
- ยางพารามีทั้งแบบแข็งและแบบนิ่ม ข้อดีคือ คงทนอายุการใช้งานนาน ข้อจำกัดคือ การระบายอากาศไม่ดี
- ขนเป็ดมีความนุ่มฟูเป็นพิเศษ เหมาะกับผู้ที่ชอบหมอนนุ่มมากๆมีข้อจำกัด เรื่องการทำความสะอาด (ซักไม่ได้) และราคาค่อนข้างสูง
- นุ่นเป็นวัสดุที่ดีในการทำเครื่องนอนเพราะสามารถปรับให้รับกับสรีระของผู้นอนได้ และราคาไม่แพง แต่มีข้อจำกัด คือการทำความสะอาดยากและอาจมีเศษนุ่นหลุดเป็นละอองออกมาจึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้
5. เราจำเป็นต้องมีหมอนหนุนของตนเองหรือเปล่า
ควรเพราะสรีระแต่ละคนแตกต่างกัน ขนาดของหมอนที่เหมาะกับแต่ละคนจึงต่างการเลือกหมอนต้องดูความเหมาะสมกับร่างกาย เช่น ผู้ที่รูปร่างใหญ่ หรือนอนกรนควรใช้หมอนที่สูง เพื่อให้คออยู่ระนาบเดียวกับลำตัวพอดี ทำให้รู้สึกไม่อึดอัดและลดการนอนกรนหากเป็นคนตัวเล็กอาจหนุนหมอนต่ำลงมาหน่อยเพื่อรักษาแนวระนาบของลำตัว
สำหรับรูปทรงของหมอนขึ้นอยู่กับท่านอนของแต่ละคนควรเลือกหมอนที่มีขนาดใหญ่พอสมควร และมีส่วนกว้างออกมาถึงช่วงไหล่เวลาพลิกตัวจะได้ไม่ตกหมอน หมอนที่มีส่วนเว้าโค้ง ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับต้นคอจะเหมาะกับท่านอนหงาย หากนำมาใช้นอนตะแคงอาจปวดต้นคอและลองนอนหนุนหมอนทุกครั้งก่อนซื้อ เพื่อทดสอบความพอดีกับต้นคอ ความสูง ความนิ่มว่าเหมาะสมกับตัวเองมากน้อยเพ ียงใด
นอกจากนี้ยังมีหมอนเพื่อรองรับการใช้งานรูปแบบอื่นๆ เช่น หมอนรองเอว หมอนรองขา หมอนรองคอหมอนข้าง ผู้ที่มีปัญหาเวลานอนแล้วปวดขา ปวดเอวอาจซื้อหมอนประเภทนี้มารองเพื่อให้รู้สึกนอนสบายยิ่งขึ้นก็ได้
6. หมอนสุขภาพจำเป็นไหม
หมอนสุขภาพมีการผลิตจากวัสดุหลายประเภทเช่น โฟมลาเทกซ์ หรือยางพารา ฯลฯซึ่งอาจผลิตให้โค้งเว้าเพื่อรองรับกระดูกต้นคอให้ได้ระนาบเวลานอนมากขึ้นซึ่งมีข้อดีคือรองรับต้นคอได้พอดีเมื่อนอนหงายแต่อาจไม่เหมาะกับผู้ที่ชอบนอนตะแคงเพราะจะคอเอียงและปวดคอได้
ส่วนหมอนที่ผลิตจากเปลือกไม้หรือเปลือกเมล็ดพืชเป็นหมอนที่ผลิตเพื่อรองรับและให้เข้ารูปกับศีรษะและต้นคอของผู้นอนแต่ละคนซึ่งหลายคนที่เคยทดลองใช้ให้ความเห็นว่านอนหลับสบายขึ้น แต่มีข้อจำกัดคือราคาแพงและต้องผึ่งแดดบ่อยๆ เพื่อป้องกันความชื้นและแมลงกันไปด้วย
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น