Buddhadham EQ for Work - นิยาย Buddhadham EQ for Work : Dek-D.com - Writer
×

    Buddhadham EQ for Work

    พุทธธรรม แก้ปัญหาชีวิต ธรรมะระบายทุกข์ เป็นวัคซีนให้ใจมีภูมิต้านทาน มีกำลังใจดี เพิ่ม EQ เสริม EQ และ ทักษะจากความฉลาดทางอารมณ์ที่เอื้อประโยชน์ต่อ IQ MQ AQ SQ

    ผู้เข้าชมรวม

    567

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    15

    ผู้เข้าชมรวม


    567

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    9
    จำนวนตอน :  4 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  21 ม.ค. 66 / 02:53 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    รู้จักโลก รู้โลกุตระ 

    ..การทำงานกับคน คนเป็นสิ่งทีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก นึกคิด มีความแปรปรวนตามความต้องการของใจอยู่ตลอดเวลา
    ..ระดับผู้บริหารก็ต้องมีการประสานงานกับลูกค้า และผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบในงาน
    ..ระดับผู้จัดการ ก็ต้องประสานงานกับนายระดับผู้บริหาร ลูกน้องใต้บังคับบัญชาด้วย และลูกค้าตลอดอยู่เวลา เพราะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบในงาน
    ..พนักงานทั่วไปบางกลุ่มมีโอกาสประสานงานลูกค้าน้อย แต่ต้องแบกรับคำสั่งผู้ใหญ่เเยอะแยะไปหมด แม้สิ่งนั้นจะชอบ หรือ ชัง จะอยากทำหรือไม่ก็ตาม แต่ก็ต้องทำ เพราะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบในงาน
    ..บางกลุ่มมีโอกาสประสานงานลูกค้ามาก ก็ต้องทนแบกรับสภาวะที่ต้องน้อมรับเสมอๆ แม้สิ่งนั้นจะชอบ หรือ ชัง จะอยากทำหรือไม่ก็ตาม เพราะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบในงาน

    ..ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ชื่อว่าสัตว์ เพราะยังอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ (ทั้ง 3 โลก มีเพียงพระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่ใช่สัตว์) ดังนี้สัตว์ย่อมอาศัยกายที่พ่อแม่ให้มาเป็นที่อยู่ของจิตที่จรมานี้(จิตที่จรมา นี้คือ ดวงวิญญาณของคนที่เวียนว่ายตายเกิด ไปเกิดเป็นคนก็ดี สัตว์เดรัจฉานก็ดี สัตว์นรกก็ดี เทวดาก็ดี มหาเทพก็ดี) ด้วยเหตุดังนี้จึงมีขันธ์ ๕ จึงมีความรู้สึกนึกคิดเสมอกัน คือ มีความรู้สึกเสวยอารมณ์อันเกิดแต่รับรู้สัมผัสเสมอกันด้วย ..ความสุขกาย-ทุกข์กาย-ไม่สุขไม่ทุกข์ทางกาย อันส่งไปถึงใจ ..มีความสุขใจ ทุกข์ใจ เฉยๆ เพราะความหน่วงนึกเหล่านี้ จึงมีความสำคัญมั่นหมายยินดี ยินร้าย และมีใจกลางๆเหมือนกันทุกคน
    ..ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ..สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลก คือ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีแรงต่อต้าน แรงสะท้อนกลับต่อทุกสิ่งที่รับรู้สัมผัสทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวเราเอง หรือใคร หรือสัตว์ใด ..สิ่งที่สะท้อน หรือตอบกลับสิ่งที่ตนได้รับรู้ทั้งปวงนั้นคือ..ความรู้สึก ยินดี ยินร้าย ชอบ ชัง รัก โลภ โกรธ หลง ไม่รู้ หรือ เฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย ที่มีสะท้อนกลับจากการรับรู้กระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ..ดังนั้น เมื่อรู้กระทบสัมผัสใดๆ ไม่ว่าจะเกิดมีความรู้สึกใดๆ สิ่งแรกที่เราควรคำนึงถึงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไม่ว่าเราจะประกอบกิจการงานใดๆ หรืออยู่ในสถานะภาพใดๆ ก็คือ ใช้ปัญญา ไม่ใช้ความรู้สึก..
    ..เพราะบัญฑิตนักปราชญ์จะใช้ปัญญาแก้ปัญหา ย่อมเห็นทางออกที่ดีมีคุณค่า ไม่รู้ก็ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมให้มาก เปิดโลกทัศน์ตน ไม่เอาความรู้สึกชอบชังมาปะปนเพราะประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลัง
    ..ส่วนคนเขลาปัญญาจะใช้ความรู้สึกนึกคิดตามกิเลสแก้ไข ย่อมเกิดภัยต่อตนเองและผู้อื่นอยู่ร่ำไป

    ..ทุกๆครั้งที่ใจเราหวั่นไหว อ่อนไหวตามกิเลส ชอบ ชัง เฉย รัก โลภ โกรธ หลงไม่รู้ ทำให้แม้เรื่องเล็กน้อย เรื่องไม่เป็นเรื่อง เรื่องที่ไม่ใช่ของตน ก็ยังเก็บเอามาทำให้โทมนัส เศร้าหมอง โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน อัดอั้น อึดอัด คับแค้นกายใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจทั้งหลายได้
    ..ดังนั้นเมื่อใจเราอ่อนไหวคล้อยตามกิเลส ..เราก็จะรู้ได้ทันทีว่า "ใจเรานี้มันอ่อนแอเและเปราะบางหลือเกิน"
    ..ด้วยเหตุดังนี้เราจึงจำเป็นต้องอบรมฝึกฝนจิตใจตนเองให้ "ใจมีกำลังถีงพร้อมทั้งสติปัญญา" โดยสิ่งที่จะทำให้เข้าถึง "ใจที่มีกำลังถึงพร้อมด้วยสติปัญญา" ได้นั้นมีเพียงในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น นั่นคือ กรรมฐาน ๔๐ และ มหาสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง
    - โดยในทางโลก เราจะใช้ในการดำรงชีพในชีวิตประจำวัน เพื่อความให้เรามีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น ทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้ออย่างปกติสุข แม้จะเจอจุดที่ต่าง ส่วนที่ต่างกัน ก็ยังสามารถประครองใจอยู่ได้ไม่ลำบาก ไม่เร่าร้อน อัดอั้น คับแค้นก่ายใจ ทุกข์กายทุกข์ใจ
    - ส่วนในทางธรรม คือ เข้าถึงวิปัสสนา ถึงคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ น้ำเรียบตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ

    ..ดังนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสสอนให้ใช้สติปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจแจ้งชัดถูกต้องตามจริง รู้ชัดแทงตลอดในกิจการงานที่ตนทำ และ สิ่งทั้งปวงที่เป็นประโยชน์ ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม รู้คน ..แล้วจะก่อให้เกิดเป็นวิธีการทำความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ นำไปสู่หนทางของความเชื่อ เป็นขั้นตอนแนวทางวิธีคิด เกิดเป็นแนวโน้มของความคิด กรอบความคิด นำไปสู่วิถีการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นทางธรรม หรือในทางโลก

    ..ความว่าปัญญาอันยิ่งนี้ มีที่สุดใน รอบ ๓ อาการ ๑๒ ของพระพระอริยะสัจ ๔
    ทุกข์ [สิ่งที่ทนได้ยาก]
    สมุทัย [เหตุแห่งทุกข์]
    นิโรธ [ความดับสิ้นทุกข์]
    มรรค [ทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์]

    รอบ ๓ อาการ ๑๒
    ​​​​คือ การที่จิตมีความหยั่งรู้ ในแต่รอบของพระอริยะสัจ ๔ ความหยั่งรู้ไม่ใช่การคิดเอา รอบ ๓ อาการ ๑๒ ไม่ใช่การคิดทบทวน แค่เป็นการเข้าไปรู้เห็นตามจริงของจิต ดังนี้คือ..

    ๑. สัจจะญาณ (รู้ความจริง คือ รู้ในอริยะสัจ ๔)
    เป็นการรู้ชัดว่า
    - จิตอุปาทานขันธ์ ๕ นี้คือทุกข์
    - ตัณหา (ความอยาก ๓ ตลอดจนถึง ทิฏฐิ ๓) นี้คือสมุทัย
    - ความดับสิ้นตัณหา นี้คือนิโรธ
    - สิ่งที่ทำให้เกิดมีขึ้นจนเต็มบริบูรณ์แล้ว จะทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ นี้คือมรรค

    ๒. กิจญาณ (รู้หน้าที่ คือ รู้กิจหน้าที่ที่ควรธรรมในอริยสัจ ๔)
    เป็นการรู้สิ่งที่กควรทำในอริยะสัจ ๔ ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรปฏิบัติให้มาก

    ๓. กตญาณ (รู้ว่าได้ทำในกิจนั้นเสร็จสิ้นแล้ว)
    เป็นการรู้ว่าได้ทำกิจในอริยะสัจ ๔ นั้นเสร็จสิ้นแล้ว คือ รู้ว่าทุกข์ได้กำหนเดรู้แล้ว รู้ว่าสมุทัยได้ละแล้ว รู้ว่านิโโรธได้ทำให้แจ้งแล้ว รู้ว่ามรรคได้ทำให้มากจนเสร็จสิ้นแล้ว
     



    ด้วยธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แบ่งออกเป็นหลายระดับ คือ

    ๑. ธรรมในพระอริยะสาวก คือ พระโสดาปัติมรรคขึ้นไป ถึงพระอรหันตผล โดยแยกเป็นธรรมของฆราวาส (ผู้ครองเรือง) และ ผู้ออกจากเรือน คือ ภิกษุ สามเณร / ภิกษุณี สามเณรี

    ๒. ธรรมในสมมติสาวก คือ ผู้ปฏิบัติตามกิจอันพระอริยะสาวกบรรลุบทอันกระทำแล้ว คือ ปุถุชนผู้สนใจธรรมน้อมเอาธรรมการปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ มาสู่ตน คือ ปฏิบัติด้วยกุศล ทาน ศีล ภาวนา สะสมเหตุใน พระอริยะสัจ ๔ ..โดยน้อมเอาธรรมพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติใช้กับทางโลกในชีวิตประจำวันดังนี้..

    ในทางโลกเราได้น้อมนำเอาพระอริยะสัจ ๔ มาเป็นที่ตั้ง เพื่อ..
    ๑. กำหนดรู้ปัญหา
    ๒. ละเหตุของปัญหา
    ๓. ทำความรู้ชัด และทำให้สำเร็จซึ่งความสิ้นไปแห่งปัญหา
    ๔. ปฏิบัติตามทางดับสิ้นปัญหาให้จนเสร็จสิ้นกิจหน้าที่อันควรกระทำแล้ว

    ด้วยศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่งปัญญา เราจึงต้องมียึดในหลักอริยะสัจ ๔ ในการพิจารณาสิ่งต่างๆ จากนั้นก็เริ่มทำความรู้ความเข้าใจ ฝึกฝน รู้ว่าสิ่งใดมี สิ่งใดจึงมี สิ่งใดไม่มี สิ่งใดจึงไม่มี สิ่งใดที่สมกันพอเหมาะกัน ดังนี้..

    - ความรู้ความเข้าใจแจ้งชัดถูกต้องตามจริง รู้ชัดแทงตลอด แล้วจะก่อให้เกิดเป็นวิธีการทำความรู้ความเข้าใจ
    ..ในทางธรรมจัดเป็นส่วนของการทำให้เข้าถึง ญาณทัสนะ สัมมาทิฏฐิ, วุฒิธรรม 4 , หัวใจนักปราชญ์ ๔ (ดู คิด ถาม จด)
    การนำมาใช้ในทางโลก 

    ยกตัวอย่าง

    ..ซึ่งการฝึกฝนเรียนรู้ศึกษาอย่างผู้รู้ในทางธรรม คือ หัวใจนักปราชญ์ ๔ สุตะ จิตตะ ปุจฉา ลิขิต ได้แก่..
    ๑. สุตะ คือ การศึกษาเรียนรู้ ดู ฟัง
    ๒. จิตตะ คือ พิจารณาตามสิ่งที่ศึกษาเรียนรู้อยู่นั้น สังเกตุ คิดวิเคราะห์ตาม
    ๓. ปุจฉา คือ ถาม ไม่รู้ให้ถามผู้รู้ ถามไม่ได้ก็ให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือ ตั้งสมมติฐาน แล้วลงมือทำ ทดลอง วินิจฉัย ฝึกฝนจนชำนาญ รู้แจ้งแทงตลอดอย่างละเอียดแยบคาย
    ๔. ลิขิต คือ จด เมื่อรู้แจ้งชัดแยบคายแล้วก็ให้สรุปผล แล้วบันทึกข้อมูลเพื่อเอาไว้ทบทวน โดยวิธีจดบันทึกนั้นให้จดในแบบที่เราเข้าใจง่าย ตลอดจนถึงให้คนอื่นรู้ตามได้ ย่อความได้ ขยายความได้

    ..ส่วนการฝึกฝนเรียนรู้ศึกษในทางโลกด้านการวิทยาศาสตร์ โดยหลักการดังนี้ 
    1. ดู วิเคราะห์ สังเกตและระบุปัญหา
    2. ตั้งสมมุติฐาน
    3. ทำการทดลองหรือทดสอบสมมติฐาน ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม
    4. เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการทดลอง

    (ขั้นตอนวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่พระอริยะสัจ ๔ ในทางธรรม แต่เป็นหัวใจนักปราชญ์ ๔ เพราะในพระอริยะสัจ ๔ เป็นการเดินจิตเข้าไปรู้ ตามรู้ เกิดปัญญารู้เห็นตามจริง ตัด ถอน สละคืน ถึงความไม่มี คนที่เข้าถึงสภาวะธรรม สันนตะติขาด เกิดญาณทัสนะ จะรู้เข้าใจจุดนี้
    - แค่หากเราน้อมนำพระธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยอยากฝึกในอริยะสัจ ๔ กรรมฐานแบบสาสะวะ คือ สะสมเหตุ ก็นำมาเรียกหรือฝึกใช้ หรือน้อมใจว่า ขั้นตอนวิทยาศาสตร์เป็นอริยะสัจ ๔ ก็ได้ แต่เราต้องรู้ว่าอริยะสัจ ๔ แท้ๆนั้นมีหลักอย่างไร ใช้เพื่ออะไร จะเรียกว่าเอาขั้นตอนวิทยาศาสตร์มาใช้เสริมคู่กับหลักพระอริยะสัจ ๔ ให้เป็นการฝึกฝนสะสมเหตุก็ได้ เช่น การใช้แก้ปัญหา
    - ปัญหาของเรคืออะไร เป็นแบบไหน (กำหนดรู้ปัญหา) พระอริยะสัจ ๔ ในทางธรรมแล้วจะหยังลึกลงถึงการรับรู้สัมผัส ตัวรู้(วิญญาณขันธ์) กำหนดรู้ในสภาวะธรรม  ผลสืบต่อ หยั่งลึกลงใจ จนเห็นปัญหาที่แท้จริง ก็พิจารณาลำดับขั้นตอน อนุโลม ปฏิโลม จนแจ้งชัดตัวปัญหา จะเห็นว่าข้อวิทยาศาสตรฺ์จะเป็นการสร้างการทดลองขึ้นมาเพื่อดูผลที่เกิดขึ้น ซึ่งการตั้งการทดลองนั้นอาจจะเป้นจริง หรือเป็นเท็จก็ได้ ตามตรรกะทางคณิคศาสตร์ แต่พระอริยะสัจ ๔ นั้นเป็นการเอาจิตเข้าไปดูของจริง ที่มีอยู่จริง เกิดขึ้นจริง ดูสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และการสังเกตุ ตั้งสมมติฐาน ทดลองดูตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรผกผัน สรุปผลทางวิทยาศาสตร์ เมื่อเปรียบดูแล้วจะเป็นเพียงองค์ประกอบย่อยส่วนหนึ่งในขั้นตอน อนุโลม ปฏิโลมนี้เพียงเท่านั้น แต่ในธรรมแท้แล้วการอนุโลม-ปฏิโลมเป็นการเข้าสภาวะธรรม ออกสภาวะธรรม เลื่อนขึ้นหรือถอยสภาวะธรรมอีกด้วย ซึ่งเมื่อแยบคายแล้วจะเห็นว่าขั้นตอนวิทยาศาสตร์ไม่ต่างจากหัวใจนักปราชญ์ ๔ เลย คือ ดู คิด(วิเคราะห์ สังเกตุ) ถาม(ตั้งสมมติฐาน) จด(สรุปผลบันทึกข้อมูล) แต่เราก็สามารถนำขั้นตอนวิทยาศาตร์มาใช่ร่วมกับพระอริยะสัจ ๔ ได้ นั่นคือ การกำหนดรู้ด้วยปัญญาทางโลก คือ ความนึกคิดใคร่ครวญ การใช้ความคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองแบบอนุโลม-ปฏิโลม เพื่อวินิจฉัยให้รู้ตัวทุกข์ หรือ ปัญหาชีวิตทั้งปวงของเราได้ รวมถึงกำหนดรู้ทางแก้ปัญหา จนสามารถหาแนวทางแก้ไขได้ต่อไป ให้ผลดีด้วย )

    - นำไปสู่หนทางของความเชื่อ เกิดเป็นแนวทางความคิด กรอบความคิด นำไปสู่วิถีการดำรงชีวิตในทางโลก ..ซึ่งทางธรรมจัดเป็นส่วนของการทำให้เข้าถึง สัมมาสังกัปปะ, สัทธาเจตสิก, ฉันทะเจตสิก, วิตกเจตสิก, วิจารเจตสิก อันได้แก่..
    1. ทัศนะคติ คือ สภาวะความพร้อมทางจิตที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และแนวโน้มของพฤติกรรมบุคคลที่มีต่อบุคคล  สิ่งของ  สถานการณ์ต่าง ๆ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง และสภาวะความพร้อมทางจิตนี้จะต้องอยู่นานพอสมควร ผลผสมผสานระหว่างความนึกคิด ความเชื่อ ความคิดเห็น ความรู้ และความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด คนใดคนหนึ่ง สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ๆ (เป็นมโนกรรมที่เกิดจากการเสวยความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัส ทาง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังไม่ถึงการกระทำทางกายและวาจา)
    2. Adtitude คือ เจตคติ ความรู้สึก หรือพฤติกรรมท่าทีของบุคคลที่มีต่อบุคคล วัตถุสิ่งของ หรือสถานการณ์ต่างๆ ความรู้สึก หรือท่าทีจะเป็นไปในทำนองที่พึงพอใจ หรือไม่พอใจ สืบต่อมา จึงเกิดเป็นคำพูด การประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีพตนสืบต่อมา
    3. Mindset คือ มุมมองความคิด กรอบความคิด ความเชื่อ ที่นำไปสู่การกระทำ ประพฤติปฏิบัติ

    ซึ่งสิ่งข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มีจำแนกอยู่มากมายใน ธรรม ๔ อันประเสริฐ โดยในทางธรรมแล้ว ธรรม ๔ อันสูงสุด ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ที่สามารถกล่าวได้ว่าบุคคลหรือสัตว์เป็นทุกข์ เพราะไม่รู้จักธรรม ๔ อันสูงยิ่งนี้คือ พระอริยะสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้ในแต่ละระดับดังนี้คือ..

    1. ขั้นต้น รู้จักโดยเป็นแนวทางวิธีคิดวิธีปฏิบัติ ไว้ใช้ในกุศลปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรมให้เป็นอุปนิสัย (ในที่นี้จะกล่าวถึงส่วนนี้เป็นหลัก)
    2. ขั้นกลาง รู้จักโดยเป็นแนวทางวิธีคิดวิธีปฏิบัติ ในการอบรมจิตให้เจตนาเป็นกุศลถึงความสุจริต (ในที่นี้จะกล่าวถึงส่วนนี้ในบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก้ผู้ปฏิบัติ)
    3. ขั้นสุด รู้จักโดยเป็นกริยาที่จิตทำกิจตัดสังโยชน์ ทำให้ถึงที่สุดแห่งกองกิเลสทุกข์ทั้งสิ้นนี้ๆ (จุดนี้เป็นสิ่งที่พระอริยะสาวกเท่านั้นที่เข้าถึง หากกล่าวจะเป็นธรรมเบื้องลึกเกินไป และ ผู้เขียนก็ยังเข้าไม่ถึง จึงไม่สามารถกล่าวถึงจุดนี้ได้ถูกตรงโดยชอบ และแาจทำให้พระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบิดเบือนได้ จึงของดเว้นส่วนนี้ไว้)
     



     

     

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น