ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย...

    ลำดับตอนที่ #7 : ขจร

    • อัปเดตล่าสุด 16 พ.ค. 53


    ขจร

    ขจร

    “…หอมดอกไม้ใกล้กุฏิสายหยุดมลิลา
    ยี่หุบบุปผาแย้มผกากลิ่นขจร…”

    พระอภัยมณี : สุนทรภู่

    ชื่ออื่นๆ:สลิด
    ชื่อพฤกษศาสตร์:Telosma minor Craib
    วงศ์:ASCLEPIADACEAE

    ขจรเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่หรือร้านต้นไม้ 

    ใบ
    กลมโตและปลายแหลมเหมือนใบข้าวสาร  สีเขียวอมแดงเล็กน้อย 

    ดอกช่อ
      ออกเป็นช่อกระจุก หรือพวงคล้ายพวงอุบะ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว กลีบแยกกัน กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หอม  เมล็ด  กลม ยาว  คล้ายลูกนุ่นที่ยังเล็ก  ผลแก่แตกเป็นเมล็ดในปลิวว่อน  เมล็ดเกาะติดอยู่กับใยสีขาว  เกสรเป็นใยสีขาวๆ 

    การขยายพันธุ์
       เพาะเมล็ด  ปักชำ 

    ประโยชน์
      ดอก ผลอ่อน รับประทานเป็นผัก  ราก รักษาตา กินให้อาเจียน  ถอนพิษเบื่อเมา ดับพิษทั้งปวง 

    ถิ่นกำเนิด
    เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×