ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย...

    ลำดับตอนที่ #5 : การะเกด

    • อัปเดตล่าสุด 16 พ.ค. 53


    การะเกด

    การะเกด

    “…หอมกลิ่นการะเกดวรองค์ อ่อนเอย
    เนื้อสนิทนวลผจงเจิดหล้า…”
    ตามเสด็จไทรโยค : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5

    ชื่ออื่นๆ:ลำเจียกหนู เตยด่าง เตย
    ชื่อพฤกษศาสตร์:Pandanus tectorius Sol. ex Parkinson
    วงศ์:PANDANACEAE


    การะเกดเป็นไม้ต้น สูง 5-6 เมตร  ต้นสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน มีหนามแหลมสั้นๆ กระจายทั่วไป 

    ใบ
      รูปขอบขนาน ยาว 2 เมตร  ขอบหยัก มีหนาม ปลายหนามโค้งไปทางปลายใบ  กลิ่นหอมอ่อนๆ 

    ดอกช่อ
      เพศผู้และเพศเมียอยู่แยกคนละต้น  ดอกเพศผู้ออกตามปลายกิ่งเป็นช่อยาว  เพศผู้มีกลิ่นหอมมาก 

    การขยายพันธุ์
      เพาะเมล็ด แยกหน่อ 

    ประโยชน์
    เป็นไม้ประดับที่มีกลิ่นหอม  ดอกมีรสขมแก้โรคในอก ใช้ปรุงยาหอมทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ใช้เคี่ยวน้ำมันทำน้ำมันใส่ผม 

    ถิ่นกำเนิด
      เป็นไม้ถิ่นเดิมของไทย ชอบขึ้นกระจายตามริมน้ำ ริมคลอง 



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×