ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย...

    ลำดับตอนที่ #1 : ดอกกรรณิการ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 949
      1
      16 พ.ค. 53

    กรรณิการ์

    กรรณิการ์

    “…ไม้ม่วงพวงผลสุกห่ามใบงามสดชื่นรื่นร่ม
    กรรณิการ์ การะเกดสุกรมเที่ยวชมทั้งสระปทุมมาลย์…”
    ตามเสด็จไทรโยค : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5
    ชื่ออื่นๆ:กณิการ์ กรณิการ์
    ชื่อพฤกษศาสตร์:Nyctanthes abortristis L.
    วงศ์:OLEACEAE


    กรรณิการ์เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง

    ใบ
    หนา ค่อนข้างแข็ง โคนใบมน ปลายใบแหลม ใบมีขนาดเท่าใบมะยม  พื้นผิวใบหยาบ  สากระคายมือ 

    ดอกช่อ
      ออกเป็นช่อ โคนดอกเป็นหลอด  ปลายดอกแยกเป็นกลีบประมาณ  5 กลีบ เป็นจานคล้ายรูปกงจักร  สีขาว  ก้านดอกมีสีแดง หรือ สีส้ม บานกลางคืน กลิ่นหอมแรง  ออกดอกตลอดปี 

    การขยายพันธุ์  ปักชำกิ่ง  เพาะเมล็ด   ตอนกิ่ง

    ประโยชน์  ใบ  ดอก แก้ปวดตามข้อ แก้ไข้ เป็นยาระบาย แก้ตานขโมย เปลือกชั้นในต้มกิน แก้ปวดศีรษะ   ราก บำรุงกำลัง ธาตุ ผิวหนัง  แก้ไอ  แก้ผมหงอก 

    ถิ่นกำเนิด
    พบทั่วไปในทวีปเอเชียเขตร้อน เช่น พม่า ศรีลังกา อินเดีย และไทย  ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×