นับถอยหลัง...วันวินาศทักษิณ - นับถอยหลัง...วันวินาศทักษิณ นิยาย นับถอยหลัง...วันวินาศทักษิณ : Dek-D.com - Writer

    นับถอยหลัง...วันวินาศทักษิณ

    ย้อนรอยวิกฤตศรัทธา "ทักษิณ"

    ผู้เข้าชมรวม

    360

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    360

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  3 ธ.ค. 49 / 20:44 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      นับถอยหลัง...วันวินาศทักษิณ

         ย้อนรอยถึงวิกฤตศรัทธา อันนำพามาสู่เหตุการณ์ รัฐประหารอีกครั้งในรอบ 14 ปี ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลโดยสรุปได้ ดังนี้

         วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร นำลูกพรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งที่ 2 โดยได้ที่นั่ง ส.ส. ถึง 377 คน ครองที่นั่งสูงสุดในสภาผู้แทนราษฎร

         วันที่ 9 กันยายน 2548 รายการเมืองไทย รายวัน ของ คุณสนธิ  ลิ้มทองกุล ถูกถอดจากผังรายการ ของช่อง 9 อสมท. ซึ่งเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการประท้วงและการเดินขบวนต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร อย่างกว้างขวาง

         วันที่ 23 มกราคม 2549 กองทุน เทมาเส็กของสิงคโปร์ รับซื้อหุ้นของกิจการชินคอร์ป ของตระกูล ชินวัตรเป็นวงเงินมูลค่ากว่า 73,300 ล้านบาท โดย พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร อ้างช่องว่างทางกฎหมาย ทำให้ได้รับการยกเว้นภาษี สร้างความข้องใจให้แก่ประชาชน และนำมาสู่การต่อต้านของประชาชนที่รุนแรงมากขึ้น

         วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และเรียกร้องให้ใช้การเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นการตัดสินอนาคตทางการเมืองของทุกฝ่าย และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยอมรับในเสียงข้างมาก

         วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 สามพรรคการเมืองใหญ่ ประชาธิปัตย์,ชาติไทย และ มหาชน อดีตพรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกาศ ไม่ร่วมด้วยกับการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยเชื่อว่าจะมีการโกงเลือกตั้งเกิดขึ้น

         วันที่ 2 เมษายน 2549 การเลือกตั้งทั่วไป ผ่านพ้นไป โดยเสียงข้างมาก กว่า 16 ล้านเสียง เป็นของพรรคไทยรักไทย แต่คะแนนในช่องไม่ลงคะแนน มีสูงเป็นประวัติศาสตร์ มีมากถึง กว่า 10 ล้านเสียง จึงทำให้กระแสต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ยังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ประกาศผ่านโทรทัศน์ว่าจะไม่รับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ท่ามกลางเสียงต่อต้านการเลือกตั้ง โดยมีการฟ้องร้อง ที่ กกต. ทุจริตในการจัดการเลือกตั้ง เอื้อประโยชน์ต่อพรรคไทยรักไทย

         วันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก่อนที่รัฐบาลจะ กำหนดให้เลือกตั้งใหม่ วันที่ 15 ตุลาคม 2549

         วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 โผโยกย้ายข้าราชการประจำปี ได้โดน วิจารณ์ อย่างหนัก โดยเฉพาะกลุ่ม นายทหารระดับคุมกำลังพลนับ 100 ตำแหน่งที่เชื่อว่า เป็นผลตอบแทนแก่กลุ่มผู้ให้ประโยชน์แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร จนนำมาสู่การแบ่งฝ่ายในกองทัพอย่างชัดเจน จนมีข่าวลือว่าจะเกิดการทำรัฐประหารเกิดขึ้น

         วันที่ 3 กันยายน 2549 พลเอกสนธิ  บุญยรัตกลิน ประกาศอึดอัดในการทำงานแก้ปัญหาภาคใต้ เนื่องจากไม่มีอำนาจในการสั่งการเบ็ดเสร็จ

         วันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งนำโดย พลเอกสนธิ  บุญยรัตกลิน ร่วมกับ ผบ.เหล่าทัพ และ ผบ.ตร. ได้นำกำลังเข้ายึดอำนาจการปกครองจากพ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร

         จึงทำให้อำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร สิ้นสุดลงนับตั้งแต่ วันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 23.50 น. เป็นต้นมา


      อ่านแล้วโปรดกรุณาแสดงความคิดเห็นและ ติ -ชม หรือให้คำแนะนำ

      อย่าลืมให้คะแนนด้วยนะครับ

      ขอบคุณครับ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×