เปียโน....
ผู้เข้าชมรวม
630
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เปียโน
เปียโน เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตี สาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า "เบาดัง" มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์
ในฐานะเครื่องสาย เปียโนมีความคล้ายคลึงกับคลาวิคอร์ด (clavichord) และฮาร์พซิคอร์ด (harpsichord) จะแตกต่างกันเพียงวิธีการสร้างเสียง สายฮาร์พซิคอร์ดจะถูกดีดหรือเกาโดยขนนก ส่วนสายของคลาวิ คอร์ดจะถูกเคาะด้วยกลไกที่จะยังคงสัมผัสกับสายอยู่ตลอดเวลา หลังการเคาะ เพื่อบังคับความถี่ของการสั่น ส่วนสายเปียโนถูกเคาะด้วยลิ่มที่สะท้อนกลับในทันที เพื่อให้เกิดการสั่นของสายอย่างเป็นอิสระ
เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในดนตรี คลาสสิกตะวันตก ดนตรีแจ๊ซ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และดนตรีอีกหลายรูปแบบ เปียโนยังเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชนชั้นกลางและชน ชั้นสูง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Piano_keyboard.JPG
ประเภทเปียโน
เปียโนในปัจจุบันมีรูปแบบสองรูปแบบ คือเปียโนตั้งตรงและแกรนด์เปียโน
แกรนด์เปียโน(Grand)เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวนอน โดยที่สายเสียงนั้นจะถูกขึงออกจากคีย์บอร์ด ซึ่งทำให้มีเสียงและลักษณะที่ต่างออกไปจากเปียโนตั้งตรงแต่จะใช้ที่ทางมาก ทั้งยังจำเป็นต้องหาห้องที่มีการสะท้อนเสียงที่พอเหมาะสำหรับคุณภาพเสียงที่ ดีที่สุด ในบรรดาแกรนด์เปียโนเองยังมีหลายขนาดและประเภท ซึ่งอาจจะแตกต่างกันตามผู้ผลิตหรือรุ่น แต่ก็ยังสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ เช่น คอนเสิร์ตแกรนด์ ที่มีขนาดประมาน 3 เมตร แกรนด์ ที่มีขนาดประมาน 1.8 เมตร หรือ เบบี้แกรนด์ ที่มักจะสั้นกว่าความกว้าง. เปียโนที่มีความยาวจะสร้างเสียงที่ดีกว่าและเพี้ยนน้อยกว่าเปียโนเครื่อง อื่นๆ แกรนด์เปียโนใหญ่จึงเป็นที่นิยมใช้ในคอนเสิร์ต
http://www.sunshineofmyart.com/piano2ndhand.htm
อัพไรท์เปียโน(Upright)เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวตั้ง และขึงสายเปียตั้งแต่ด้านล่างจนถึงด้านบนของเปียโน แต่เปียโนประเภทนี้ไม่สามารถควบคุมการสร้างเสียงได้นุ่มนวลเท่าแกรนด์เปียโน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยีเปียโนตั้งตรงได้พัฒนาคุณภาพเสียงมากขึ้น โดยการปรับปรุงโครงสร้างใภยในให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นโดยใช้พื้นที่ในการตั้งวางน้อยกว่าแกรนด์ แต่ให้เสียงที่ใกล้เคียงมากขึ้น
http://www.sunshineofmyart.com/piano2ndhand.htm
ในปี ค.ศ. 1863 เฮนรี ฟอร์โนว์ (Henry Fourneaux) ประดิษฐ์เปียโนที่สามารถเล่นตัวเองได้ (player piano) โดยใช้ม้วนเหล็กที่เดินเครื่องกลในตัวเปียโน ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เริ่มมีการผลิตเปียโนดิจิตัลขึ้นใช้ โดยเลียนแบบเสียงของเปียโน เปียโนประเภทนี้เริ่มที่จะมีความซับซ้อนและการทำงานที่มากขึ้น โดยสามารถเลียนแบบชิ้นส่วนของเปียโนจริง เช่น น้ำหนักคีย์บอร์ด คันเหยียบ และเสียงเครื่องดนตรีอื่น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะทดแทนเปียโนเครื่องจริง
คีย์บอร์ด
เปียโนสมัยใหม่เกือบทุกตัวจะมี 88 คีย์ (มากกว่า 7 Octave เล็กน้อย เรียงลำดับตั้งแต่ A0 ถึง C8) เปียโนรุ่นเก่าหลายตัวมีเพียง 85 คีย์ (ตั้งแต่ A0 ถึง A7) ผู้ผลิตบางรายก็อาจจะเพิ่มปริมาณคีย์ให้มากกว่านั้น โดยบ้างก็เพิ่มเพียงฝั่งเดียวก็เพิ่มทั้งสองฝั่ง ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือเปียโนBösendorfer ซึ่งบางตัวเพิ่มคีย์เสียงต่ำลงไปกว่าปกติจนถึง F0 บางทีต่ำลงไปจนถึง C0 เลยก็มี ทำให้มีครบ 8 octave บางรุ่นอาจจะซ่อนคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมานี้ไว้ใต้ฝาปิดเล็กๆ ซึ่งสามารถปิดคีย์เอาไว้ได้เพื่อป้องกันไม่ให้นักเปียโนที่คุ้นกับเปียโน ปกติเห็นแล้วเกิดความสับสนกับคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมา บางตัวก็อาจจะสลับสีคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาเหล่านี้ (สลับดำเป็นขาว ขาวเป็นดำ) ด้วยเหตุผลเดียวกันนั่นเอง คีย์ที่เพิ่มขึ้นมานั้นโดยมากแล้วก็มีไว้เพื่อสร้างเสียงสะท้อน (resonance) ได้มากขึ้น ซึ่งก็คือมันจะสั่นไปพร้อมกับสายเปียโนเส้นอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่เหยียบคันเหยียบ ซึ่งก็จะให้เสียงได้เต็มกว่า มีเพลงที่แต่งขึ้นมาสำหรับเปียโนไม่กี่เพลงนักที่จะใช้คีย์พิเศษเหล่านี้ ไม่นานมานี้ บริษัท Stuart and Sons ได้ผลิตเปียโนที่มีคีย์มากกว่าปกติออกมาเช่นกัน เปียโนของบริษัทนี้จะเพิ่มคีย์เสียงแหลมขึ้นไปจนถึง 8 octave เต็ม ซึ่งคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาก็ดูเหมือนคีย์ปกติทุกประการ
http://izabelle.files.wordpress.com/2007/02/piano11.jpg
สำหรับการจัดเรียงคีย์บนเปียโน ให้ดูในหมวด Musical keyboard การจัดเรียงเช่นนี้ได้แบบมาจาก harpsichord โดยไม่ผิดเพี้ยน เว้นแต่สีของลิ่มคีย์ (สีขาวสำหรับเสียงปกติ และสีดำสำหรับชาร์ป sharps) ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับเปียโนในตอนปลายศตวรรษที่ 18
คันเหยียบ (Pedal)
เปียโนมีการใช้คันเหยียบหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้มาตั้งแต่ยุคต้นๆ (ในศตวรรษที่ 18 เปียโนบางตัวใช้แท่นแทนคันเหยียบ โดยให้ผู้เล่นใช้เข่าดันขึ้น คันเหยียบสามประเภทซึ่งได้กลายมาเป็นมาตรฐานในเปียโนปัจจุบัน ได้แก่
คัน เหยียบ damper pedal (บ้างก็เรียก sustain pedal หรือ loud pedal) มักจะถูกเรียกว่า "the pedal" เฉยๆเพราะว่าเป็นคันเหยียบที่ถูกใช้งานมากที่สุด ซึ่งเป็นคันเหยียบที่อยู่ทางขวาสุด
คันเหยียบที่พบเห็นโดยมากที่ติด อยู่กับเปียโนนั้นโดยส่วนมากจะมีอยู่ 3 อัน หรือบางยี่ห้อหรือบางรุ่นจะมีเพียง 2 อันเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้การเล่นเปียโนนั้นมี dinamic ต่าง ๆ กันได้แก่
www.krupiano.com/blog/archives/tag/pedal
* คันเหยียบอันซ้ายสุด = มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน ในแกรนด์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว ชุดของคีย์บอร์ดรวมทั้งไม้ฆ้อนจะขยับไปทางซ้ายหรือทางขวาเล็กน้อย เพื่อให้ไม้ฆ้อนตีถูกสายเพียงครึ่งเดียว (ปกติเปียโนจะมีสาย 1 ถึง 3 เส้น ต่อ 1 คีย์)ทำให้เสียงค่อยลง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า (Una Corda แปลว่า สายเส้นเดียว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีคานมาดันชุดไม้ฆ้อนให้ขยับเข้าไปใกล้กับสายมากขึ้น ทำให้เมื่อกดคีย์แล้ว ไม้ฆ้อนจะเหวี่ยงตัวได้น้อยกว่าปกติ แรงที่เคาะสายจึงน้อยลงด้วย ผลที่ตามมาก็คือ เสียงที่ค่อยกว่า และนุ่มนวลกว่า และจะได้เสียงที่นุ่มลงกว่าเดิม แต่เมื่อเรายกเท้าจากคันเหยียบอันนี้เสียงเปียโนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
* คันเหยียบอันกลาง = มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีผ้ามากั้นระหว่างฆ้อนกับสาย เพราะฉะนั้นเมื่อเรากดคีย์ เสียงที่ได้จะเบาลง คันเหยีบบอันนี้มีความพิเศษก็คือ มันจะมีช่องสำหรับให้คันเหยียบอันนี้ค้างอยู่ได้ จึงทำให้เราไม่ต้องเมื่อยเมื่อต้องใช้เสียงเบา หรือต้องการใช้ dinamic แบบนี้นาน ๆ ได้ และเรายังสามารถปรับความดัง-เบา นุ่มลึกได้โดยการปรับระดับของแผ่นผ้าที่เคลื่อนลงมากั้นระหว่างฆ้อนเมื่อจะ เคาะสายเปียโนได้อีกด้วย (แต่การปรับนั้นต้องเปิดฝาข้างล่างของเปียโนก่อน)
* คันเหยียบอันขวาสุด = คันเหยียบอันนี้มักจะถูกใช้บ่อย ๆ ซึ่งคำว่า pedal หรือ sustain ที่เราใช้เรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้นั้นก็มาจากการทำงานของคันเหยียบตัวนี้ นั่นคือมันมีไว้เพื่อลากเสียงของโน้ตให้ยาวขึ้น คือเมื่อเรากดคีย์เปียโน 1 ครั้งและยกมือออกจากคีย์ เสียงก็จะหยุดทันที แต่คันเหยียบตัวนี้จะทำให้เกิดโน้ตที่มีเสียงยาวขึ้นโดยที่เราไม่ต้องกดมือ ค้างไว้ เพื่อจะได้เล่นโน้ตตัวอื่นได้อีก ทำให้เกิด hamony ขึ้นในเพลง เพิ่มความก้องกังวาน และความไพเราะให้กับการบรรเลงเปียโนของเรามากขึ้น (การเหยียบคันเหยียบอันนี้ค้างไว้นาน ๆ นั้นไม่ได้ทำให้การบรรเลงเพลงไพเราะเลยทีเดียวนะครับ เพราะการเหยียบนาน ๆ ค้างไว้จะทำให้เสียงของโน้ตหลาย ๆ เสียงเกิดปนกัน ทำให้เกิดคู่เสียงอันไม่พึงประสงได้ เพราะฉะนั้นหากจะใช้คันเหยียบอันนี้ก็ต้องฝึกฝน ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน) [โด-วโรดม/chiangmai thailand]
การอ่านโน๊ตดนตรีเบื้องต้น
ตัวโน๊ต คือสัญลักษณ์ที่บันทึกแทน ความสั้น ยาวของเสียง
ตัวหยุด คือสัญลักษณ์ที่บันทึกแทน ความสั้น ยาวของความเงียบ
ตัวโน๊ต
ตัวกลม มีค่าเท่ากับ สี่จังหวะ
ตัวขาว มีค่าเท่ากับสองจังหวะ หมายความว่า ตัวกลมหนึ่งตัว เท่ากับตัวขาว สองตัว
ตัวดำ มีค่าเท่ากับหนึ่งจังหวะ หมายความว่า ตัวขาวหนึ่งตัว เท่ากับ ตัวดำสองตัว
เขบ๊ตหนึ่งชั้น มีค่าเท่ากับ ½ จังหวะ หมายความว่า ตัวดำหนึ่งตัว เท่ากับ เขบ๊ตหนึ่งชั้นสองตัว
เขบ๊ตสองชั้น มีค่าเท่ากับ ¼ จังหวะ หมายความว่า เขบ็ตหนึ่งชั้นหนึ่งตัว เท่ากับเขบ๊ตสองชั้นสองตัว
ตัวหยุด
มีค่าเท่ากับ หยุดสี่จังหวะ
มีค่าเท่ากับ หยุดสองจังหวะ
มีค่าเท่ากับ หยุดหนึ่งจังหวะ
มีค่าเท่ากับ หยุด ½ จังหวะ
มีค่าเท่ากับ หยุด ¼ จังหวะ
โน๊ตประจุด ทำให้ค่าความยาวของตัวโน๊ตหรือตัวหยุดเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของตัวโน๊ตที่มีจุด อย่างเช่น
สอนการหัดเล่นเปียโน
คลิปเดี่ยวเปียโนเพลง แสงจันทร์ - โต๋ ศักดิ์สิทธิ์
นักเปียโนชื่อดัง
โชแปง
ประวัติ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Frederic_chopin.jpg
โช แปงเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 (ตามบันทึกของสังฆมณฑลบอกว่าเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์) ที่เมือง เซลาโซวา โวลาซึ่ง ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ บิดาของโชแปงเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมารังวิลล์-ซูร์-มาดง (Marainville-sur-Madon) ในแคว้นลอแรนน์ มารดาเป็นชาวโปแลนด์ โชแปงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุหกขวบ (พ.ศ. 2359) และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ (พ.ศ. 2360) และเปิดการแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่ออายุแปดขวบ (ค.ศ. 1818) ครูสอนดนตรีคนแรกของโชแปงได้แก่ โวซีเอค ซีนี(Wojciech Żywny) และหลังจากปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีจากโจเซฟ เอลส์เนอร์ (Joseph Elsner) เป็นหลัก
ในปี พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) เขาได้จากโปแลนด์ประเทศ บ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพนักดนตรีที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ใช้ช่วงชีวิตที่เหลือพำนักอยู่ที่กรุงปารีส หรือไม่ก็ในบริเวณใกล้เคียง เขาตกหลุมรักสาวนางหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ ความรักที่เขามีต่อหล่อนได้เป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง "บัลลาด หมายเลข 1 โอปุสที่ 23" ที่แสนไพเราะ รวมถึงมูฟเมนท์ที่สองของคอนแชร์โต้หมายเลขหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838) ถึง 2390 (ค.ศ. 1847) เขาได้กลายเป็นชู้รักของจอร์จเจอ ซ็องด์(George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของโช แปงทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด เห็นจะได้แก่เหตุการณ์ในเกาะมายอร์ก้า ประเทศสเปน ในช่วงที่โชแปงใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่อย่างอนาถในบ้านชาวนาโดยปราศจากเครื่อง ทำความร้อน บทเพลงเขาได้ประพันธ์ระหว่างช่วงเวลาอันน่าสังเวชนี้ได้แก่พรีลูด โอปุสที่ 28 อันพรรณนาถึงความสิ้นหวังของทั้งคู่ ช่วงเวลาดังกล่าวได้มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของโชแปง ที่ป่วยจากวัณโรคเรื้อรัง ทำให้เขาและจอร์จเจอ ซ็องด์ต้องตัดสินใจเดินทางกลับกรุงปารีสเพื่อรักษาชีวิตของโชแปงเอาไว้ เขารอดชีวิตมาได้ก็จริง แต่ก็ไม่หายขาดจากอาการป่วย จนกระทั่งจบชีวิตอย่างน่าสลดด้วยวัยเพียง 39 ปี
โชแปงสนิทกับฟรานซ์ ลิซ (Franz Liszt) วินเซนโซ เบลลินี (Vincenzo Bellini - ผู้ซึ่งศพถูกฝังอยู่ใกล้กับเขาที่สุสานแปร์ ลาแชสในกรุงปารีส) และยูจีน เดอลาครัวซ์ เขายังเป็นเพื่อนกับคีตกวีเฮกเตอร์ แบร์ลิออซ (Hector Berlioz) และโรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) และแม้ว่าโชแปงจะได้มอบบทเพลงบางบทเพื่ออุทิศให้เพื่อนนักประพันธ์ทั้งสองก็ ตาม แต่เขาก็ไม่ค่อยประทับใจกับบทเพลงที่ทั้งสองแต่ขึ้นสักเท่าไหร่นัก เขาได้ขอร้องให้ร้องเพลงสวดเรเคียมของโมซาร์ทในงานศพของเขา แต่เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) พิธีศพที่จัดขึ้นที่โบสถ์ ลา มัดเดอเล็น(La Madeleine)ไม่ได้ราบเรียบเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มีการขออนุญาตให้ใช้วงประสานเสียงสตรีในการร้อง เพลงสวด ข่าวอื้อฉาวดังกล่าวได้แพร่ออกไปส่งผลให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไปอีกสอง สัปดาห์ แต่ในที่สุดโบสถ์ก็ยอมรับคำขอดังกล่าว ทำให้คำขอร้องครั้งสุดท้ายของโชแปงก็เป็นจริงขึ้นมา
ผลงานทุกชิ้นของ โชแปงเป็นผลงานชิ้นเอก รวมถึงเพลงบรรเลงสำหรับเปียโน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเดี่ยวเปียโน งานประพันธ์ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานมีเพียงคอนแชร์โต้สองบท โปโลเนส(polonaise)หนึ่งบท รอนโด้(rondo)หนึ่งบท และวาริอาซิยง(variation)อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวงออเคสตร้า เพลงเชมเบอร์มิวสิคมีเพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาได้นำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับออกุสต์ ฟร็องชอมม์ (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิคของโชแปงได้ใช้เชลโล่บรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน
คลิปเพลง Chopin Waltz No. 9 in A flat major, Op. 69, No. 1, "L'adieu"
ผลงานอื่นๆ ของ NammiN ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ NammiN
ความคิดเห็น