ดาบเหนือ (ดาบสะบัดชัย)
.....ท่าแม่ไม้ (สางคลุม) ควงเป็นแบบเลข 8 ย้อนเกร็ด เลข 8 แนวนอนสลับซับซ้อนวนพันรอบตัว ทั้งซ้ายขวา หน้าหลัง บิดบัวบานเกี้ยวเกล้า แทงวัน สีไคล ตกกลีบแม่ฮาย(ไฮ) ฯลฯ วิถีทางดาบไม่ต่างจาก ดาบอาทมาตทางเหนือแต่อย่างใด ที่น่าสังเกตดาบเหนือ จะใช้ดาบเล็กและสั้นกว่าดาบทางภาคกลางเชี่ยวชาญชำนาญการปาด เฉือน ลดเลี้ยว (ตามเชิงขุม) ตัดข้อตัดเอ็น เป็นเลิศ ๛
ดาบใต้
.....เคล็ดดาบใต้ แนวเหมือนดาบเหนือแต่เป็นแนวจ้วงและฟัน บนลงล่าง วิถีดาบและแนวแรง เป็นดั่งการเหวี่ยงลูกตุ้มเหล็ก จากปลายโซ่ตีเกี่ยวล้วง จ้วงแทงและกดดาบปรปักษ์ได้เป็นอย่างดี ตามเคล็ดวิชาเหนือและใต้ครูบาอาจารย์ว่ากันว่าสางคลุมทางเหนือและควงทางใต้เป็นการแก้ทางกันไปในตัว๛
ดาบ สายกรมหลวงชุมพรฯ
.....เน้นตีแบบไม่ควงไม่วนดาบหรือจะเรียกว่าเป็นการวนข้างหน้าก็ได้ ใช้ข้อมือสะบัดตีอย่างรวดเร็วดั่งประกายไฟดูแทบไม่ทัน ครบ ๑๒ ไม้ในอึดใจ ได้กลิ่นหวายซ้อมเหม็นไหม้ฟุ้งกระจายน่าตื่นตาตื่นใจ ที่สำคัญ ๑๒ ไม้นี้ เมื่อคล่องแล้ว กลับนำมาใช้ตีได้ทั้งอาวุธยาวและสั้น บางครั้งก็จะนั่งย่อง ๆ ยกดาบคุม ลด ล่อ ไปมา แล้วจึงโลน (กระโจน)เข้าฟัน ๓ ? ๔ ไม้ ในครั้งเดียว ก็จะกลับหัวสนาม และเริ่ม ลด ล่อคลุมเชิงกันใหม่ ดูแล้วเพลงดาบ กลดาบลักษณะนี้น่าจะเป็นเพลงกระบี่อันสุดยอดเพราะใช้ข้อสะบัด ทำให้เกิดความเร็ว และแรง กว่าการควงดาบทั่ว ๆ ไปนับเป็นวิชาดาบที่น่าศึกษาอีกวิชาหนึ่ง ๛
ดาบอาทมาต
.....?วิชาอาทมาต? นับเป็นนับเป็นวิชาแห่งชายชาตรีนับเป็นนักรบที่สูงชั้นกว่า นักรบที่สวมเกราะ เพราะขึ้นชื่อว่าชายชาตรีย่อมมีดีทั้งนอกแลใน คือมีวิชาการต่อสู้เป็นเลิศ คนเดียวอาจสู้คนได้เป็นร้อยอย่างเช่น องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ พระยาสีหราชเดโช (น้อย) ท่านวีระมหาเทพเป็นต้น น่าเสียดายที่สรรพวิทยาอันสุดวิเศษคู่ชาติไทย ได้ถูกทำลาย สูญหายและถูกละเลยไม่เห็นความสำคัญไปหมดสิ้น ยังดีที่ยังมีผู้สืบทอดส่งต่อแม้อาจกล่าวได้ว่าอาจไม่สมบูรณ์ครบถ้วนนัก ก็ยังมีวิถีให้สืบค้น
.....ในช่วงชีวิตของผู้เขียน นับว่าโชคดีได้พบสายดาบอาทมาต ถึงสองสายคือสายทางเหนือ และสายทางใต้ คำกล่าวที่เล่าขาน สืบทอดมาจากปรมาจารย์ทายาทขุนศึกที่เคยออกรบจริง ที่กล่าวว่า ขุนศึกหนึ่งท่านสามารถสู้ศึกได้เป็นร้อยดูไม่เกินจริงนัก (แม่ทัพจีนยังสู้ได้ตั้งหมื่น) เมื่อเห็นหลักวิชาดาบท่าเท้า(สามขุม) กลรบ กลศึก รุกรับรอบตัวจริง ๆ ดาบสองมือ พลิกแพลง ได้รอบตัวทิ้งกลิ้งทั้งม้วนตัว ใช้ได้ทุกอิริยาบท วิถีดาบหรือแม่ไม้ควงวนเป็นเลข 8 ทั้งแนวตั้ง แนวนอน แนวเฉียง ทำให้เกิดมรรค หรือวิถีแห่งดาบอย่างไม่รู้จบสิ้นเป็นอัศจรรย์
.....อาทมาต มิใช่เน้นที่สำนักหากแต่เน้นที่บุคคลที่มีความสามารถ เพียงผู้ใด มีดีถึงขั้นมาตรฐานที่กำหนดผู้นั้นย่อมเข้าถึงซึ่งคนดีศรีอยุธยา เข้าสู่ ? กองอาสาอาทมาต ? มีค่าควรคู่กับการปกป้องราชบัลลังก์ อาณาประชาราษฎร์ แลแผ่นดิน ให้อยู่เย็นเป็นสุขดุจนักรบแห่งเทพจุติ ๛
.....หมายเหตุ * กล่าวถึง กองอาทมาตว่าเป็นกองทหารหน่วยหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ตามเมืองหน้าด่าน และหัวเมืองสำคัญทำหน้าที่พิเศษ เช่น เป็นกองทหารม้า เคลื่อนที่เร็ว จู่โจม และหาข่าว บ้างก็ว่าเป็นกองรบ อันประกอบไปด้วยผู้ที่ชำนาญวิชาอาคม นำหน้า กองทัพ โดยมากจะเป็น ชาวมอญซึ่งมีความชำนาญใน อาวุธ ประเภทดาบสองมือเป็นอย่างยิ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ได้กล่าวถึงการรบของ กองอาทมาต ไว้เพียง ๒ ครั้งดังนี้
.....พ.ศ. ๒๓๐๒ การรบที่ อ่าวหว้าขาว ประจวบคีรีขันธ์ นั้น ขุนรองปลัดชูได้นำ กองอาทมาต ๔๐๐ คน เข้าสกัดต้านข้าศึก ที่รุกรานด้วย อาวุธสั้นถึงขั้นตะลุมบอน แต่ด้วยกำลังพลน้อยและขาดกองหนุน ถูกพม่าใช้กองช้างไล่เหยียบตายพวกที่เหลือ ก็ถูกต้อนลงทะเล จมน้ำตายไปสิ้น ด้วยเหตุขาดกำลังหนุน
.....พ.ศ.๒๓๐๙ กองอาทมาต อันนำโดย พระยาพระคลัง เข้าตีค่ายพม่าที่ ปากน้ำพระประสบจนเกือบจะตีค่ายได้ หากแต่ขาด เครื่องกำบังตนในการประชิดค่าย จึงถอนกำลังกลับและรุกตีใหม่ แต่เสียรู้กลแกล้งแพ้ของพม่า ถูกข้าศึกโอบล้อม ทัพพระยาพระคลังก็แตกถอยร่นกลับมา ดีว่าได้ กองทัพพระยาตาก คุ้มกันด้านหลังช่วยรั้งข้าศึกเอาไว้ได้.
ดาบบ้านไชว (ชะไว)
.....คุณตาผู้ถ่ายทอด วิชาดาบไทยให้กับผู้เขียน ท่านเป็นชาวบ้านไชว อ่างทองท่านได้เล่าให้ฟังว่า หัวเมืองรอบ พระนครศรีอยุธยา นั้นเป็นที่รวมพลของทัพที่เกณฑ์มาจากที่ต่าง ๆ มาตั้งค่ายสร้างเมือง อยู่จนกลายเป็นชุมชนมาจนปัจจุบันนี้ ที่บ้านไชว และในแถบใกล้เคียง เมื่อมีงานบุญ งานวัด งานแต่งงานสำนักดาบต่าง ๆ ในบริเวณนั้นจะมีการนำ นักดาบในสำนักมาร่วมงาน ตีดาบแข่นกันเองบ้างรำอวดกันบ้าง ตีดาบ รอขบวนบวชบ้างบางทีก็ร้องเชิญชวน เพื่อนต่างสำนัก มาประดาบกันพอเป็นที่ครื้นเครง และอวดสาว ต่างค่ายต่างสำนักกัน เลิกแล้วก็เป็นเพื่อนกันขอโทษขอโพยกันก็แล้ว
.....ดาบบ้านไชว
นั้นมีความคล้ายคลึงดาบสายกรมหลวงชุมพร เป็นอย่างมาก ที่แตกต่างคือ ดาบบ้านไชว เน้นย่อต่ำมาก ๆถึงขั้นนั่งตีกันเลยที่เดียว และที่สำคัญการรำดาบของดาบบ้านไชวจะไม่รำเหมือนสำนักดาบทั่วๆ ไปไม่ขึ้นพรหมพอกราบรำลึกถึงครูบาอาจารย์เป็นเบื้องต้นเสร็จ ท่านก็จับดาบขึ้นรำเข้าไม้ลดล่อกรายดาบ เข้าหาปรปักษ์ตามกลดาบ เพื่อตีเลยทีเดียว ( กลวิธีนี้คล้ายกับการรำไหว้ครูของมวยไชยา และการรำมวยแบบโบราณมาก )ทำให้ผู้เขียนซึ่งถูกบังคับให้ลงเล่นกับท่านด้วย และกำลังขึ้นพรหมอยู่ถึงกลับต้องรีบตาลีตาลานคว้าดาบขึ้นปิดทาง ด้วยไม้รำ แก้แทบไม่ทันท่านอุทานคำเดียวว่า ?แก้เป็นนี่? คือท่านใช้ไม้รำ เข้าทำเลยต้องแก้ด้วยไม้รำให้ข่มกันได้ หรือรับกันได้ ท่านก็จะเปลี่ยนไม้ไปเรื่อย ๆไม่รำอวดโชว์ก่อนตี ดั่งประเพณีนิยมเพื่ออนุรักษ์แบบสำนักทั้งหลายทำให้เห็นมิติที่เป็นจริง ยิ่งขึ้น ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านอบรมสั่งสอนว่า?ไม้รำคือไม้เด็ด ไม้ตายของดาบไทย ? แบบแผนที่รำกันทุกวันนี้ จึงเป็นการรำเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปะของวิชาดาบไทยเพื่อให้ยุทธศาสตร์ของเผ่าไทยให้ดำรงคงอยู่ต่อไป ๛
ดาบพุธไทยสวรรค์ ๐๗
ดาบพุธไทยสวรรค์ นั้นคีอวิธีการต่อสู้ด้วยดาบ อันเป็นมรดกตกทอดมาจาก ทหารไทย ในสมัย รัคน์โกสินทร์ โดย
ชี่อเรียกขานนั้น มาจากชี่อวัดไทย ที่ในสมัยอยุธยา ตั้งเป็นสถานฝึกสอน วิชาฟันดาบแห่งหนึ่ง นั่นเอง ในยุคสมัย
ต่อมา ได้มีการเปิดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกสอนและนำเอาชี่อนี้ มาใช้เป็นชี่อของสถาบัน และชี่อของวิธีการต่อสู้ในแนว
นี้ จนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่ยุคสมัย อยุธยาได้สิ้นสุดลงไป การทำสงครามก็เริ่มขาดความจำเป็น ของการใช้ดาบเข้าสู้รบ ทหารไทย
ได้เริ่มใช้อาวุธทันสมัย จากยุโรป การฝึกสอนวิชาต่อสู้ด้วยดาบ จะมีเฉพาะที่เห็นจำเป็นเท่านั้น และจนกระทั่งถึง
จุดที่ อาวุธดาบ ได้ถอนออกจากวิชาการทหาร วิธีการต่อสู้ส่วนที่เหลีอจะมีเพียงแต่ท่าฟันตีแบบขั้นต้น เหลีออยู่
เท่านั้น
ในยุคสมัย รัคนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธลิศหล้านภาลัย ( ร.๒ ) ได้พยายามให้วิชาการต่อสู้ด้วยดาบ ให้
มีการฟี้นฟูขึ้นมาโดย ท่านได้นำเอาเข้ารวมแต่งกับ วรรณคดี ขึ้นมา จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว ( ร.๔ ) ที่ทรงสนพระทัย ในวิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธ อันเป็นผลให้มีการส่งเสริมและเปลี่ยนแปลง จากวิธี
การต่อสู้ มาเป็นกีฬาการต่อสู้ด้วยอาวุธแต่นั้น เป็นต้นมา พร้อมทั้งได้เกิดมีการจัดแสดงการต่อสู้ด้วยอาวุธตาม
มาอีกด้วย ทั้งสองลักษณะนี้ได้มีชี่อ เรียกขาน กันว่า วิชา กระบี่่กระบอง นั่นเอง
นับตั่งแต่ยุคสมัยนี้ คำว่า ดาบ พุทไทยสวรรค์ หมายถึงวิชาการต่อสู้ด้วยดาบ โดยมีจุดกำเนิดมาจากทหารไทย
ในอดีต และส่วน กระบี่ กระบอง ก็จะหมายถึง กีฬาการต่อสู้ด้วยอาวุธ เป็นต้น
ท่าน อาจารย์ดาบ นาค เทพอัสดิน ณ. อยุธยา ได้นำเอาวิชา กระบี่กระบอง ไปเป็นหลักสูตรสอน อยู่ที่วิทยาลัย
พละศึกษา โดยลักษณะที่แปลงไป จาก วิชาฟันดาบ เสมีอนเช่นเดียวกับ การแยกพาหุยุทธ์ ออกมาเป็น มวย
ไทย นั่นเอง
คำว่า กระบี่ นั้นแท้ที่จริง เป็นคำเรียกขาน ดาบจีน ประกอบกับลักษณะของดาบเสปน อันในยุคสมัยของ
อยุธยา ได้มีชาวยุโรป มารับใช้เป็นทหารรับจ้างอยู่ นั้นก็ได้นำเอาอาวุธโบราณ ติดตัวมาด้วย อันเป็นผลที่
ทำให้รูปทรงของ กระบี่ นั้นเปลี่ยนแปลงออกไปอีกครั้ง นั่นเอง
กระบี่แบบไทย มีรูปทรงแตกต่างออกไปจาก ดาบไทยเดิมอันที่ประยุกต์มาจาก ไม้ตีข้าว โดย กระบี่ นั้น
มีด้ามสั้น ตัวดาบเรียวเล็กเป็นแนวตรง อันมิได้ประกอบให้เป็น อาวุธ ใช้โดยตรง อันเป็นอาวุธลักษณะ
จินตนาการณ์ ที่ใช้สำหรับแสดงละคร นั่นเอง
ลักษณะวิธีต่อสู้ ของกระบี่ นั้นจะมีแนวโน้มไปในด้านความสวยงาม และแสดงนัยถึงลักษณะท่าต่อสู้
โดยมิได้ต่อสู้จริง สำหรับในด้านกีฬาการต่อสู้ที่พยายามเอามาใช้ นั้น มักจะเป็นลักษณะท่าฟันแทงแบบ
ง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่าที่มีลักษณะสวยงามเป็นสำคัญ
คำว่า กระบอง แต่เดิมนั้นมาจากตำนานเล่าของชาวจีน เรี่อง พระถังกำจั๊ง โดยที่มนุษย์คลึ่ง
ลิง ( แฮ่งเจี้ย ) ใช้ กระบอง เป็นอาวุธติดตัว อันเป็นต้นกำเนิด ของวิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธยาวประเภท
หนึ่ง ของไทยขึ้นมา นั่นเอง
ส่วนพี้นฐานที่มา อันที่สอง มาจากดินแดน อินเดีย ตามคำเล่าในตำนาน นั้น พวกยักษ์ ได้ใช้กระบอง
เป็นอาวุธ อันแต่ก่อน กระบองเป็นเพียงกระบองสั้น เท่านั้น แต่ตามยุคสมัยต่าง ๆ ที่ผ่านมา ถึงได้มี
การแยกระหว่าง กระบอง กับกระบองสั้น ออกจากกัน โดยมักจะขึ้นอยู่กับประโยคนั้น ๆ ว่าหมายถึง
กระบองประเภทใด นั่นเอง
สำหรับ ในการแสดงการต่อสู้ หรีอกีฬาการต่อสู้ จะเรียกกันทั่วไปว่า เป็นประเภท อาวุธยาว โดยจะมี
กระบอง - พลอง - ง้าว - หอก - หรีอไม้กลมท่อนยาว ( ไม้ยาว ) รวมอยู่
ในบางแห่ง ที่ไม่นิยมเรียก กระบี่กระบอง ก็จะใช้เรียก ไม้สั้นไม้ยาว แทน สาเหตุนั้นมาจากการนำเอา
โลห์ แบบต่าง ๆ เข้ามาผสมใช้ในการต่อสู้ รวมทั้งโลห์ ประเภทหนึ่งที่เป็นลักษณะกาบไม้ ประกบติด
แขน มีชี่อเรียกกันว่า เป็นไม้สั้น ๆ ได้นำมาเป็นอาวุธต่อสู้ประเภทหนึ่ง สำหรับการใช้โลห์ นั้นได้เริ่ม
นำเอามาใช้ หลังจากยุคสมัย อยุธยา ได้สิ้นลงไป เพราะอาวุธปกป้องประเภทเหล่านี้ได้นำเอามาจาก
ต่างประเทศมิใช่ อาวุธไทยแท้นั่นเอง โลห์ประเภทที่เรียกว่า ดั้ง เป็นโลห์ที่มีลักษณะกึ่ง
กลมคลายกาบไม้ ขอบเป็นสี่เหลี่ยมผีนผ้า อันมาจาก ดินแดนจีน สำหรับโลห์กลม นั้นมาจากทวีป
ยุโรปตอนเหนีอ โดยแต่เดิมใช้สำหรับป้องกันข้าศึกของทหารเรีอ เป็นต้น นอกจาก โลห์ ประเภทที่
เรียกว่า ไม้สั้น เท่านั้นเป็นอาวุธที่คิดค้นมาจาก ชาวไทยเอง อนึ่งโลห์ ประเภทนี้มิได้ค้นคิดมาเพี่อ
สำหรับใช้ป้องกันอาวุธข้าศึกเท่านั้น ยังสามารถใช้ในการจู่โจมได้อีกด้วย
ส่วน ดาบ ที่ใช้สำหรับการแสดง จะมีลักษณะแตกต่างไปจาก ดาบไทยโบราณ โดยที่จะมีด้ามสั้น
รวมทั้ง เพี่อความปลอดภัย ของผู้แสดง หรีอนักกีฬา จะไม่มีการใช้ท่าแทงด้วยด้ามดาบ เป็นต้น
ผมไม่รู้จะอธิบายเกี่ยวกับวิชานี้ยังไงดี เพราะ ศิลปะดาบอิไอ คือพื้นฐานท่ายืนทั้งหมดของวิชาดาบ ซึ่งการจะใช้วิชาที่ว่าต้องมีจังหวะก้าวเท้า เป็นเคล็ดลับสำคัญ เพื่อให้วงดาบนั้นกระจายออกได้ไกลที่สุด
แต่ถ้าชักดาบออกจากฝักแล้วปลิดชีพในดาบเดียว จะเรียกการชักดาบแบนี้ว่า "บัตโต" ซึ่งเป็นเพลงดาบที่มีแนวคิดว่า "การต่อสู้เริ่มต้นตั้งแต่ดาบยังไม่ออกจากฝัก" ซึ่งมันก็จัดอยู่ในสายของ อิไอโด เช่นกัน
สรุปง่ายๆคือ อิไอ คือเทคนิค การดึงดาบออกจากฝักอย่างรวดเร็ว และโจมตีเป้าหมายอย่างแม่นยำ
โดยมีแบบแผนดังนี้ คือ
1.ชักดาบออกจากฝัก
2.ฟาดฟัน
3.เช็ดหรือสลัดเลือด
4.เก็บเข้าฝัก
ดาบ2มือ
ไม้รำทั้ง๑๒
วิธีการเดินของไม้รำ
การเดินในท่าไม้รำ หมายถึง ท่าการก้าวเดินในการรำไม้รำแต่ละไม้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน แต่สามารถจัดแบ่งแบบการเดินได้ในท่าไม้รำออกได้เป็น 2 แบบ
1. การเดินตรง คือ การก้าวเดินเป็นแนวเส้นตรงซึ่งอาจมีการเดินไปข้างหน้าบ้าง ถอยหลังบ้างก็ได้ ภาพแสดงการเดินตรง
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
2. การเดินสลับฟันปลา คือ การเดินเฉียงไปทางขวาครั้งหนึ่ง แล้วเดินเฉียงไปทางซ้ายครั้งหนึ่งสลับกันไป ภาพแสดงการเดินสลับฟันปลา
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
ท่าการไม้รำดาบสองมือมีอยู่มากมายหลายท่า จากหลายสำนักดาบ ก็จะประดิษฐ์คิดท่าการรำที่แตกต่างกันไป ตามแนวทางของครูบาอาจารย์แต่ละสำนักดาบ ที่จะกล่าวถึงท่าไม้รำต่อไปนี้ตามแบบของ ท่าน อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา บรมครูผู้ประสาทวิชากระบี่กระบอง และนำวิชากระบี่กระบอง เข้ามาในหลักสูตรการเรียนในระดับต่าง ๆ ท่าการรำไม้รำตามแบบอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา มีทั้งหมด 12 ไม้รำ
ไม้รำที่ ๑ ต่อด้าม
ไม้รำที่ ๕ ตัดหัวเทียน
ไม้รำที่ ๙ ฟันสีดา
ไม้รำที่ ๒ แบก ไม้รำที่ ๖ ยักษ์
ไม้รำที่ ๑๐ สอดสร้อย
ไม้รำที่ ๓ ทัดหู
ไม้รำที่ ๗ ส่องกล้อง ไม้รำที่ ๑๑ ลดล่อ
ไม้รำที่ ๔ เรียงหมอน
ไม้รำที่ ๘ กากบาท ไม้รำที่ ๑๒ เทพรำพึง
ไม้รำที่ ๑ ต่อด้าม เดินสลับฟันปลา
วิธีการเดินของไม้รำ
การเดินในท่าไม้รำ หมายถึง ท่าการก้าวเดินในการรำไม้รำแต่ละไม้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน แต่สามารถจัดแบ่งแบบการเดินได้ในท่าไม้รำออกได้เป็น 2 แบบ
1. การเดินตรง คือ การก้าวเดินเป็นแนวเส้นตรงซึ่งอาจมีการเดินไปข้างหน้าบ้าง ถอยหลังบ้างก็ได้ ภาพแสดงการเดินตรง
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
2. การเดินสลับฟันปลา คือ การเดินเฉียงไปทางขวาครั้งหนึ่ง แล้วเดินเฉียงไปทางซ้ายครั้งหนึ่งสลับกันไป ภาพแสดงการเดินสลับฟันปลา
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
ท่าการไม้รำดาบสองมือมีอยู่มากมายหลายท่า จากหลายสำนักดาบ ก็จะประดิษฐ์คิดท่าการรำที่แตกต่างกันไป ตามแนวทางของครูบาอาจารย์แต่ละสำนักดาบ ที่จะกล่าวถึงท่าไม้รำต่อไปนี้ตามแบบของ ท่าน อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา บรมครูผู้ประสาทวิชากระบี่กระบอง และนำวิชากระบี่กระบอง เข้ามาในหลักสูตรการเรียนในระดับต่าง ๆ ท่าการรำไม้รำตามแบบอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา มีทั้งหมด 12 ไม้รำ
o เริ่มจากท่าคุมรำพักดาบซ้ายออกไปข้างหน้า
o ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา 45 องศา โล้ตัวไปข้างหน้า ยกดาบขวาขึ้นพาดไหล่ขวา ดาบทั้ง สองจดกันโดยด้ามดาบขวา แตะกับดาบซ้ายที่พักดาบประมาณ 1 ใน 3 ของดาบที่ตั้ง เรียกว่า ต่อด้าม
o ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้ายขึ้นระดับเอว
o หมุนตัวด้วยเท้าขวา 1 มุมฉาก วางเท้าซ้ายลง พักดาบขวา ดาบซ้ายอยู่บริเวณต้นขา
o ก้าวเท้าขวาเฉียงไป 45 องศา โล้ตัวไปข้างหน้า พร้อมกับยกดาบซ้ายพาดไหล่ซ้าย พักดาบขวา ด้านหน้าดาบทั้งสองแตะกัน โดยด้ามดาบซ้ายแตะดาบขวาที่ตั้งตรง ประมาณ 1 ใน 3 ของตัวดาบ
o ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
• หันหน้าตรงและลงคุมรำ เท้าขวาอยู่หน้า เท้าซ้ายอยู่หลังดาบขวาพาดเท้าขวา ดาบซ้ายวางบนไหล่ซ้าย
ไม้รำที่ ๓ ทัดหู เดินสลับฟันปลา
วิธีการเดินของไม้รำ
การเดินในท่าไม้รำ หมายถึง ท่าการก้าวเดินในการรำไม้รำแต่ละไม้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน แต่สามารถจัดแบ่งแบบการเดินได้ในท่าไม้รำออกได้เป็น 2 แบบ
1. การเดินตรง คือ การก้าวเดินเป็นแนวเส้นตรงซึ่งอาจมีการเดินไปข้างหน้าบ้าง ถอยหลังบ้างก็ได้ ภาพแสดงการเดินตรง
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
2. การเดินสลับฟันปลา คือ การเดินเฉียงไปทางขวาครั้งหนึ่ง แล้วเดินเฉียงไปทางซ้ายครั้งหนึ่งสลับกันไป ภาพแสดงการเดินสลับฟันปลา
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
o เริ่มจากท่าคุมรำ พักดาบซ้ายมาข้างหน้า
o ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา 45 องศา ยกดาบ
ขวาขึ้นทัดหู ดาบซ้ายลดลงพาดต้นขาซ้าย
o ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
o หมุนตัวด้วยเท้าขวา 45 องศา วางเท้าซ้ายลง
เฉียงไปทางซ้าย 45 องศา พักดาบขวา
o ก้าวเท้าขวาเฉียงไปข้างหน้า 1 ก้าว ยกดาบ
ซ้ายทัดหูดาบขวาลดลงมาพาดต้นขาขวา
o ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
• หมุนตัวหันหน้าตรง และลงคุมรำ
ไม้รำที่ ๔ เรียงหมอน เดินสลับฟันปลา
วิธีการเดินของไม้รำ
การเดินในท่าไม้รำ หมายถึง ท่าการก้าวเดินในการรำไม้รำแต่ละไม้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน แต่สามารถจัดแบ่งแบบการเดินได้ในท่าไม้รำออกได้เป็น 2 แบบ
1. การเดินตรง คือ การก้าวเดินเป็นแนวเส้นตรงซึ่งอาจมีการเดินไปข้างหน้าบ้าง ถอยหลังบ้างก็ได้ ภาพแสดงการเดินตรง
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
2. การเดินสลับฟันปลา คือ การเดินเฉียงไปทางขวาครั้งหนึ่ง แล้วเดินเฉียงไปทางซ้ายครั้งหนึ่งสลับกันไป ภาพแสดงการเดินสลับฟันปลา
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
o เริ่มจากท่าคุมรำ พักดาบซ้ายมาด้านหน้า
o ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา 45 องศา 1 ก้าว
ยกดาบขวาขึ้นระดับใบหู ดาบซ้ายยกให้
ขนานกับดาบขวาศอกขวาอยู่บนดาบซ้าย
ปลายดาบชี้มาด้านหน้า เฉียงขึ้น 45 องศา
o หมุนตัวจ้วงดาบทั้งสองลงพร้อมกับวางเท้า
ซ้ายและดาบขวามาด้านหน้า
o ก้าวเท้าเฉียงมาทางขวา 45 องศา 1 ก้าว ยก
ดาบซ้ายและดาบขวาให้ขนานกับดาบซ้ายอยู่
บน
o ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา เท้าขวายกขึ้นดาบทั้ง
สองยังคงขนานกัน
o หมุนตัวหันหน้าตรงและลงคุมรำ
•
ไม้รำที่ ๕ ตัดหัวเทียน เดินสลับฟันปลา
วิธีการเดินของไม้รำ
การเดินในท่าไม้รำ หมายถึง ท่าการก้าวเดินในการรำไม้รำแต่ละไม้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน แต่สามารถจัดแบ่งแบบการเดินได้ในท่าไม้รำออกได้เป็น 2 แบบ
1. การเดินตรง คือ การก้าวเดินเป็นแนวเส้นตรงซึ่งอาจมีการเดินไปข้างหน้าบ้าง ถอยหลังบ้างก็ได้ ภาพแสดงการเดินตรง
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
2. การเดินสลับฟันปลา คือ การเดินเฉียงไปทางขวาครั้งหนึ่ง แล้วเดินเฉียงไปทางซ้ายครั้งหนึ่งสลับกันไป ภาพแสดงการเดินสลับฟันปลา
จุดเริ่มต้น
ทิศทางที่เดินไป
o เริ่มจากท่าคุมรำ พักดาบซ้ายมาด้านหน้า
o ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปข้างหน้า 45 องศา 1 ก้าว
ยกดาบ ขวานำปลายดาบขวามาแตะปลายดาบซ้ายที่พักดาบ ให้เป็นมุมฉาก
o โล้ตัวมาข้างหน้า ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยก
เท้าซ้ายขึ้น
o หมุนตัวมาทางซ้าย 45 องศา วางเท้าซ้ายลง
พักดาบขวามาด้านหน้า
o ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางซ้าย 45 องศา 1 ก้าว
ยกปลายดาบซ้ายแตะกับปลายดาบขวาที่พัก
ดาบด้านหน้า
o โล้ตัวมาด้านหน้าลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยก
เท้าขวาขึ้น
.หมุนตัวหันหน้า
หลักการดังเดิมของดาบสองมือ
1.ใช้ต้อนศัตรูเพื่อจับเป็น(ต้อนให้จนมุม)
2.ใช้ต่อสู้กับศัตรูที่มีจำนวนมากกว่าและเราตกในล้อม
3.คนเรามีสองมือควรฝึกใช้ดาบให้ได้อย่างคล่องแคล้วทั้งสองมือ
*ในวิชาดาบเดียวก็มีท่าที่ใช้ดาบด้วยมือซ้ายข้างเดียวเช่นท่าโจดังข้างซ้ายเพื่อฝึกกำลังมือซ้าย
ดาบสองมือโดยทั่วไปที่ผมเคยเห็นมานะ มีวิธีจับดาบอยู่2แบบคือ ใช้ดาบหลักไว้มือขวา และใช้ดาบล่อ (หรือดาบกันไว้มือซ้าย) กับถือที่ดาบแบบที่บอกมาสลับกัน
ดาบล่อก็มีไว้สำหรับป้องกันหรือล่อลวง แล้วจึงใช้ดาบหลักตีช่องโหว่ ของฝรั่งก็มีนะ มันเป็น rapier กับ gauche(หรือ dagger)
แล้วขอค้านคุณ Ihinครับ ปู่ผมสอนดาบคู่ไทยให้ผม มันไม่จำเป็นเสมอไปที่ดาบไทยเน้นทิ้งน้ำหนักตัวอย่างที่คุณว่า แต่ลักษณะดาบไทยเป็นเหมือนกับมีดพร้า ย่อมมีน้ำหนักตีมากกว่า ปู่ผมสอนเน้นการรุกด้วยทั้งสองมือด้วยแรงเท่าเทียมกัน โดยเน้นให้ดาบซ้ายจงใจตีเข้าหาดาบอีกฝ่าย แล้วจึงหาช่องว่างเข้าไปแทงครับผมมันจึงเกิดวิถีดาบ อาทมาต ขึ้นมา
เขาฟันเราไม่รับ เขารับเราไม่ฟัน
เราจะฟันต่อเมื่อเขาไม่รับ
เราจะรับต่อเมื่อหลบหลีกไม่ทัน
ท่ารับคือท่ารุก ท่ารุกคือท่ารับ
รุกและรับในท่าเดียวกัน
แตกออกเป็นท่าลูกไม้เป็นร้อย ๆ พัน ๆ ท่า ประกอบกันเป็นเพลงดายที่พลิกแพลง ซับซ้อน รวดเร็ว และอันตรายอย่างยิ่ง
ดาบอามาตเป็นวิชาที่รวดเร็ว รุนแรง และอันตรายมาก คนที่จะหัดได้ต้องมีจรรยาบรรณ ห้ามไปทะเลาะเบาะแว้งกับใคร เพราะอาจตีเขาตาย
โดยเฉพาะวิชาตัดข้อตัดเอ็น ซึ่งเป็นวิชาสูงสุดของอาทมาฏ คือไม่มีการฟันดาบ แต่มุ่งฟันข้อต่อของร่างกาย
มันก็คงไม่จำเป็นเสมอไปที่ดาบไทยเน้นทิ้งน้ำหนักตัว อย่างทีคุณ เยเย พูดนั้นแหละ
ดาบซามูไรของแท้มีทำขายนะครับ เคยอ่านเจออยู่ สั่งตีได้ที่ญี่ปุ่น (ต้องถ่ายเอกสารรูปมือของเราไปด้วย) แล้วเขาจะตีให้เราพร้อมทั้งใบอนุญาติ ใบยืนยัน เซ็นรับรองมาจากญี่ปุ่นเลย ราคา ประมาณ 200,000 บาท + ครับ
อันนี้ก็ไว้นานละ ลองอ่านกันดูน่อ
"วิถีของซามูไร ไม่ว่าจะต่อสู้ด้วยดาบหรือมือเปล่า จะเน้นการตั้งรับไม่จู่โจมทันที เพราะเชื่อว่าความนิ่งคือความได้เปรียบ เข้าทำนองว่า ใช้ความสงบนิ่ง สงบความเคลื่อนไหว"
สิ่งที่นึกถึงในอันดับต้นๆ เกี่ยวกับการต่อสู้แบบซามูไร คือ การห้ำหั่นศัตรูด้วยดาบ ต้องจับด้ามไว้ในระดับหน้าอก ตั้งปลายดาบชี้ฟ้า แล้ววิ่งเข้าหาฝ่ายตรงข้าม เพื่อฟาดฟันกันให้ดับดิ้นไปในชั่วพริบตา แต่คำแนะนำแรกของการฝึกดาบซามูไร ก็คือ ให้ลืมภาพพวกนั้นเสีย
ในยุคที่ศาสตร์การต่อสู้โบราณจำนวนมาก ถูกนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ใหม่ บ้างใช้ป้องกันตัวเอง บ้างใช้เป็นท่ายืดเส้นยืดสายเปลี่ยนจากอิริยาบถเดิมๆ แต่ก็ไม่อาจเหมารวมการฝึกดาบซามูไรเข้าไปด้วย เพราะคำแนะนำถัดมา ระบุชัดเจนว่า ถ้าอยากฝึกอาวุธหรือออกกำลังกายลักษณะนั้น ก็ให้ไปหัดยิงปืนหรือทำอย่างอื่นดีกว่า
ผู้ฝึกดาบซามูไรส่วนใหญ่ไม่ปฏิเสธว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้สนใจและต้องการจะเรียนรู้การใช้ดาบซามูไร เพราะหวังจะได้รู้จักดาบซามูไรในฐานะนักสะสมที่อยากวัดศักยภาพของดาบแต่ละเล่มด้วยตัวเอง และหวังจะได้รู้จักการใช้อาวุธอีกชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ที่สุดแล้วสิ่งเหล่านั้น ก็กลายเป็นเพียงผลพลอยได้
ในอดีตการต่อสู้ของซามูไรญี่ปุ่น เป็นศาสตร์เร้นลับอายุกว่าร้อยปี ส่วนใหญ่จะเก็บเป็นความลับและถ่ายทอดเฉพาะในหมู่ซามูไรเท่านั้น เพราะเป็นการต่อสู้ที่มีพลานุภาพสูง หากอันธพาลนำไปใช้ ก็จะทำให้เกิดผลเสียหายร้ายแรง จึงจำกัดใช้เฉพาะกลุ่ม ซึ่งมีหลักการดำเนินชีวิตที่เรียกว่า 'บูชิโด' แนวคิดหลอมรวมมาจากหลักพุทธศาสนา ขงจื๊อ และเซน เน้นให้รักความยุติธรรม ซื่อสัตย์ เสียสละ และมีมารยาท นำไปใช้ในทิศทางที่ถูกที่ควร
ต่อมาศาสตร์การต่อสู้ดังกล่าว ได้ขยายวงกว้างออกไปสู่ชนชั้นสูงในญี่ปุ่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบการบริหารประเทศ ในยุคนั้นมักจะส่งลูกหลานไปศึกษาประเพณีวัฒนธรรม เช่น การชงชา หรือการต่อสู้แบบโบราณ ส่วนผู้คนที่สนใจและนิยมส่งลูกหลานไปฝึกดาบซามูไร ไม่ได้ต้องการฝึกทักษะการต่อสู้ให้มีประสิทธิภาพสูงส่ง แต่กระบวนการฝึก สามารถนำมาใช้บริหารผู้คนและงาน
ส่วนความนิยมของการฝึกดาบซามูไร ยังต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทวีศักดิ์ อินทราวิชกุล ประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์คอนติเนนตัล ทรานสปอร์ต จำกัด แต่เดิมตั้งใจเข้าไปฝึกดาบซามูไร เพียงเพื่อต้องการรู้จักการใช้ดาบ เพราะชอบเรื่องดาบ เรื่องอาวุธ "เหมือนคนที่ชอบรถยนต์ ถ้าขับเป็น ก็บอกได้ว่า รุ่นนี้ดีกว่ารุ่นนั้นอย่างไร"
หลังจากฝึกดาบแล้ว กลับพบว่า ที่สุดของการฝึกดาบ เพื่อไม่ใช้ดาบ เขาพบว่า ตัวเองมีสมาธิ นิ่ง และใจเย็นมากขึ้น
"ความใจเย็นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การฟันดาบมีประสิทธิภาพ ถ้าทำถูกต้อง พอฟันดาบออกไปจะได้ยินเสียงดาบแหวกอากาศออกมา และวิถีของดาบก็ต้องเที่ยง ไม่ปัดป่าย" ทวีศักดิ์ ผู้ฝึกดาบซามูไรอย่างต่อเนื่อง 2 ปี กล่าวถึงสิ่งที่พยายามฝึกฝน นอกจากต้องจดจ่อว่า ฝ่ายตรงข้ามจะเข้ามาโจมตีทางไหนแล้ว ต้องควบคุมจิตใจตัวเองให้นิ่งเพื่อประสิทธิภาพในการฟันดาบ
ทักษะการฟันดาบที่มีประสิทธิภาพ เขาต้องเพียรพยายามฝึกซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้ไม่เคยมีโอกาสได้นำไปใช้ แต่สิ่งที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ก็คือ การควบคุมจิตใจตัวเอง
"ในขณะที่กำลังเผชิญกับภาวะคับขันหรือปัญหาต่างๆ ที่จู่โจมเข้ามา ถ้าเราสามารถควบคุมจิตใจตัวเองให้นิ่งได้ ก็จะสามารถตั้งต้นแก้ปัญหาได้เลย ถ้าเทียบกับคนที่ไม่เคยฝึก เราจะได้เปรียบและมีเวลามากกว่า ต้องสงบจิตสงบใจละจากความตื่นกลัวและลนลาน" ทวีศักดิ์เล่าถึงกระบวนการฝึกดาบ ทำให้เขาใจเย็นลง
เขาฝึกที่จะชักดาบออกจากฝัก แล้วฟันออกไปอย่างเป็นขั้นตอนเดียวกัน รวดเร็วไปในทิศทางที่จินตนาการว่าฝ่ายตรงข้ามจะเข้ามาจู่โจม หลังจากฟันดาบแล้วก็ทำความสะอาดดาบด้วยการสลัดเลือดออกจากคมดาบ ก่อนที่จะเก็บเข้าฝักโดยไม่ละสายตาไปจากคู่ต่อสู้ พร้อมๆ กับการสงบจิตสงบใจ สลัดความวุ่นวายในการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
เรียวอิจิ ฟู*ฮานาก้า*ชิมะ ครูฝึกสอนดาบซามูไรชาวญี่ปุ่น ผู้มีเป้าหมายอยากเผยแพร่ให้ผู้คนเข้าถึงแก่นแท้ของดาบซามูไร ไม่ใช่แค่การรำดาบ หลังจากได้ร่ำเรียนมานาน 10 ปี เขาอธิบายกระบวนการฝึกดาบว่า สามารถพัฒนาจิตใจผู้ฝึกได้
เทคนิคสำคัญของการฝึกดาบซามูไร คือ บัตโต-จัตสุ (Batto-Jutsu) มี 4 ส่วนด้วยกัน คือ 'นูกิซูเกะ' การชักดาบออกมา เพื่อพบกับการโจมตีกะทันหัน 'คิริโอโรชิ' การฟัน 'ชิบูริ' การสลัดคราบเลือดออกจากคมดาบ และ 'โนโต' การใส่ดาบกลับเข้าฝัก
การฝึกดาบซามูไรด้วยเทคนิคดังกล่าว ส่งผลทั้งกายและจิตพร้อมๆ กัน เรียวอิจิบอกว่า เทคนิคนี้ช่วยให้ผู้ฝึกได้จัดระเบียบร่างกายของตัวเอง ต้องควบคุมการทำมุม การทำเวลา เมื่อฟันดาบออกไป ต้องทำไปพร้อมๆ กับก้าวเท้าหน้าเพื่อถ่ายน้ำหนักไปสู่จุดที่ฟัน ฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ตรงหน้าเป็นสิ่งที่ผู้ฝึกต้องจินตนาการขึ้นมาและรู้สึกจริงจัง หากไม่มีจิตวิญญาณในการต่อสู้ ไม่เข้าใจวิถีดาบซามูไร ก็เป็นได้แค่การรำดาบ
วิถีของซามูไร จำต้องฝึกจิตให้รู้สึกถึง 'ความไม่มีตัวตน' ในขณะเดียวกันต้องจับทิศทางการเข้ามาของฝ่ายตรงข้าม รู้ถึง 'ความมีตัวตน' ที่อยู่ตรงหน้า ชักดาบแล้วฟันประดุจสายฟ้าแลบ จากนั้นสงบนิ่งรู้สึกถึง 'ความไม่มีตัวตน' อีกครั้ง เมื่อสลัดคราบเลือดออกจากดาบและเก็บเข้าฝัก กระบวนการลักษณะนี้ เป็นการทำสมาธิแบบเคลื่อนไหว
การฝึกดาบซามูไร อาจต่างจากวิถีดาบลักษณะอื่นๆ แก่นแท้ของการฟันดาบลักษณะนี้ ต้องฝึกสมาธิให้นิ่งก่อนฟันดาบ พวกซามูไรจะไม่คิดว่า 'ลงมือก่อนย่อมได้เปรียบ' แต่วิถีของซามูไร ไม่ว่าจะต่อสู้ด้วยดาบหรือมือเปล่า จะเน้นการตั้งรับไม่จู่โจมทันที เพราะเชื่อว่าความนิ่งคือความได้เปรียบ เข้าทำนองว่า ใช้ความสงบนิ่ง สงบความเคลื่อนไหว
ด้วยวิธีการตั้งรับลักษณะนี้ ทำให้ดาบซามูไรแตกต่างจากทักษะการต่อสู้แบบอื่นๆ อย่างเคนโดจะใช้ดาบไม้ไผ่ต่อสู้กัน แต่ละฝ่ายต้องสวมสิ่งป้องกันร่างกาย 4 จุด คือ หน้า หน้าอก ใต้ท้อง และข้อมือ แม้จะมีการจำกัดจุดโจมตีไว้เพียง 4 จุดเท่านั้น แต่สิ่งที่แต่ละฝ่ายต้องทำ ก็คือ แย่งกันโจมตี ซึ่งทำให้กลายเป็นการแข่งขัน เพียงแค่รู้ผลแพ้ชนะเท่านั้น
ในขณะที่การฝึกดาบซามูไร เน้นการเรียนรู้ด้วยการควบคุมจิตใจ ฝึกฝนมากย่อมได้เปรียบ สามารถนำมาใช้ปกครองผู้คนได้อย่างมีสติ "ดาบซามูไรไม่ใช่บทเรียนที่จะมีการสอบผ่านหรือไม่ผ่าน ไม่มีการวัดระดับ ไม่มีการเปรียบเทียบ หรือการแข่งขัน" เรียวอิจิ บอกเป้าหมายของการฝึกดาบซามูไร ที่ไม่มีขอบเขตของความสำเร็จ แต่สามารถใช้ดำเนินชีวิตไปจนตาย ต้องรู้จักสะกดดาบและหัวใจให้นิ่งเป็นหนึ่งเดียว ชัยชนะก็เกิดขึ้นได้ทุกลมหายใจ
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น