ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สถานีต่อไป...คณะแพทยศาสตร์ (บทความแนะน้องสอบกสพท.จ้า)

    ลำดับตอนที่ #7 : เตรียมสอบวิชาสามัญ --> เคมี by พี่ท๊อป

    • อัปเดตล่าสุด 25 มี.ค. 54


    โว้วว บทความสุโค่ยแห่งปี >_<

    ละเอียดมาก ๆ กับแนะแนวเคมีนะจ๊ะ : )) โดยพี่ท๊อป

    พี่ท๊อปเป็นคนที่เก่งมากกก มากถึงมากที่สุด >O< !! (พี่มีโอกาสได้อยู่กะพี่คนนี้ตอนม.5 ได้ไงก็ไม่รู้ 5555)

    พี่ท๊อปก็เป็นเพื่อนพี่อีกคนที่ม.6 ได้อยู่ห้องคิงโรงเรียน และดูเหมือนจะลุ้นโล่ เคม กะ ชีวะ อีกด้วย >_< ! (แต่ก็(น่าจะ)ได้โล่สาธาไปเรียบร้อย)

    ส่วนตอนนี้..พี่ท๊อปก็เป็นนิสิตแพทย์จุฬาแล้วค่า : D !

    สำหรับบทความนี้... ถือว่าเป็นโชคดีของน้องที่อ่อนเคมีมาก ๆ เลย ที่ได้การแนะแนวที่ละเอียดแบบนี้ >_<

    (พี่ละอ่านบทความพี่ทีอปเสร็จอยากกลับไปแก้อันที่ตัวเองเคยอัพ TT^TT แต่ไม่มีค.สามารรถถถ)

    เอาเป็นว่า เกริ่นนำซะเยอะแล้วว ลองไปตามอ่านละกันค่ะ : ))

    PROFILE พี่ท๊อปจะตามมาทีหลังน้า >.<

    ----------------------------------------------------------------------------------------------

    แนะแนวเตรียมสอบตรงแพทย์ วิชาเคมี

     

    ð   เกริ่นนำ

     

    ธรรมชาติของเคมี

                    ก่อนที่จะพูดถึงข้อสอบเคมี ขอพูดกว้างๆเกี่ยวกับวิชาเคมีก่อนละกันนะ เพราะว่า ถ้ามีทัศนคติที่ไม่ดีหรือมีวิธีที่เรียนรู้ที่ผิดๆ วิชานี้่ก็อาจจะเป็นวิชาที่ยากไปเลยก็ได้ แต่จริงๆแล้ววิชานี้ไม่ยากเลย เพราะไม่ได้อาศัยความเข้าใจลึกซึ้งยากเย็นอะไรแบบฟิสิกส์หรือเลข และก็ไม่ได้ใช้ความจำอันมหาศาลแบบชีววิทยา หรือสังคมศึกษา ที่พี่ต้องการจะบอกก็คือ วิชานี้เน้นใช้ความคุ้นเคยเนื่องจากเคยทำเคยเห็นมาก่อน แล้วมาเจอข้อสอบก็จะมีความคุ้นเคยกับมันแล้วรู้ว่าต้องทำอย่างไรเพื่อจะแก้ปัญหาของโจทย์ แต่ละข้อก็วิธีการทำหลากหลายกว่าวิชาอื่น แล้วแต่ว่าใครถนัดวิธีไหน เพราะฉะนั้นน้องๆควรเก็บคะแนนวิชานี้ให้ได้เป็นทุนไว้ก่อนนะ

     

    ความสำคัญของเคมี

                    เนื่องจากการเรียนแพทย์ (ถ้าน้องสอบติดไปแล้ว ) ยังคงต้องใช้วิชานี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนต่อไป น้องจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในวิชานี้พอสมควรเพราะเป็นหนึ่งในสองวิชาหลักที่ใช้ในการเรียนแพทย์ คือ เคมีและชีววิทยานั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าน้องจะทิ้งวิชานี้แล้วสอบเข้าได้ด้วยวิชาอื่น น้องก็จะไม่มีพื้นฐานในการจะเรียนแพทย์ต่อไปนะ

     

    เคมีกับสอบตรงแพทย์

                    เนื่องจากสอบตรงแพทย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ วิชาเฉพาะแพทย์และวิชาสามัญ ซึ่งมีน้ำหนักแตกต่างกันออกไปดังนี้

                                                                    30 คะแนน วิชาเฉพาะแพทย์ ประมาณปลาย ตุลาคม

                    100 คะแนนทั้งหมด

                                                                    70 คะแนน วิชาสามัญ ประมาณกลาง มกราคม แบ่งเป็น

                                                                        14 คะแนน วิชาคณิตศาสตร์

                                                                        14 คะแนน วิชาภาษาอังกฤษ

    28 คะแนน วิชาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เท่าๆกัน ไม่มีธรณีและดาราศาสตร์นะ 2ปีที่ผ่านมา)

    7 คะแนน วิชาภาษาไทย

                                                                            และ    7 คะแนน วิชาสังคมศึกษา

                    สรุปได้ว่า วิชาเคมีของเรา จะมีคะแนนประมาณ 28 หาร 3 คือ 9 คะแนนกว่าๆ จาก 100 คะแนน!!! (ทำไมมันน้อยงี้!?!) แต่น้องอย่าลืมว่าทุกคะแนนมีความหมาย น้องอาจจะพลาดไม่ติดเพราะขาดไป ครึ่งคะแนนก็ได้ เพื่อพี่บางคนขาดไป 0.08 คะแนนก็มี เพราะฉะนั้น 9 คะแนนก็ไม่น้อยนะน้อง

                    เรื่องที่ออกข้อสอบในปีพี่ มันก็มีอัตราส่วนแปลกๆนะ รู้สึกว่าเขาออกเรื่องสมดุลเยอะมากทีเดียว จาก 20 ข้อแต่ละฉบับ ออกสมดุลถึง 4-5 ข้อ!! แล้วไม่ยากด้วย บางข้อให้สมการเคมีและความเข็มข้นของสารทุกตัวมา แล้วถาม ค่าคงที่สมดุล!?! บางคนดูแล้วดูอีกว่าหลอกตรงไหนหรือเปล่า จริงๆก็ไม่ได้หลอกอะไรทั้งสิ้น ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็ปกตินะ ไฟฟ้าเคมี กรดเบส พันธะเคมีโดยเฉพาะเรื่องมุมพันธะ มีทั้งสองฉบับเลย อุตสาหกรรมก็ตามมาเช่นเคย ออกแก้วโบโรซิลิเกต กับสารฟอกขาวทดสอบโดยกระดาษลิตมัส ปริมาณสารสัมพันธ์ก็รู้สึกจะออกง่ายๆไม่ซับซ้อนเท่าข้อสอบเอ็นทรานซ์เก่าๆอะนะ อัตราก็ออกเยอะเหมือนกันแต่ไม่เท่าสมดุล แล้วสารชีวโมเลกุลสุดโหดคือ เป็นสูตรโครงสร้างไตรเปปไทด์ แล้วถามว่ามีกรดอะมิโนอะไรบ้าง แบบไม่บอกสูตรกรดอะมิโนมา น้องจึงต้องใช้ความคุ้นเคยในกรดอะมิโนต่างๆ(มันไม่จำเป็นต้องจำได้ทั้งหมด จริงๆนะ) เช่น น้องจะคุ้นว่าไกลซีนเป็นตัวเล็กสุด ในไตรเปปไทด์ไม่มีตัวเล็กสุด ก็จะตัดตัวเลือกที่มีไกลซีนออกไปได้ เป็นต้น อินทรีย์รู้สึกจะเงียบๆ ออกไม่เยอะมากเท่าที่ควรจะออกอะนะ อืมมม แต่ก็ไม่ได้แปลว่าในปีของน้องมันจะเป็นไปตามนี้หรอกนะ!! เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับทุกเรื่อง(ถ้าเป็นไปได้)

                   

    เทคนิคอ่านทบทวนเคมีให้ดี

                    การเตรียมตัวอ่านหนังสือทบทวนนอกห้องสอบก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มกำลังใจให้เรารู้สึกมีความพร้อมและได้เปรียบคนอื่นก่อนที่จะเข้าห้องสอบแล้วออกมาด้วยความรู้สึกเดิม.. หรืออาจเปลี่ยนไป -_-! ก็แล้วแต่ ทุกคนก็จะเน้นการเตรียมตัวนี้มากอยู่แล้ว โดยอาจมีเทคนิคแตกต่างกันออกไป แต่ในที่นี้พี่จะขอเสนอวิธีทบทวนเคมีที่พี่ใช้แล้วกัน

                    1. การอ่านวิชานี้ให้เริ่มอ่านจับประเด็นสำคัญ ที่เรียกว่าเป็นคอนเซ็ปท์ของเรื่องให้ได้ แล้วยึดไว้ให้ดี ถ้ามีอย่างอื่นมาขัดกับคอนเซ็ปท์นี้ ก็ให้รู้เลยว่าเรากำลังมาผิดทาง เช่น การดุลสมการ  รีดอกซ์ คอนเซ็ปท์ก็คือ ให้มีการรับจ่ายอิเล็กตรอนเท่ากัน เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีวิธีที่ทำไปแล้ว ดันมีการรับจ่ายอิเล็กตรอนไม่เท่ากัน ก็แสดงว่าเรากำลังทำผิดอยู่ เป็นต้น และถ้ากลัวลืม        คอนเซ็ปท์ก็ให้หาที่จดเอาไว้ให้ชัดๆเลย จดรวมคอนเซ็ปท์ทุกเรื่องไว้ในที่เดียวกันก็ได้ ขอย้ำว่าคอนเซ็ปท์นี้ สำคัญมาก ถ้าไม่มีความชัดเจนในประเด็นหลักนี้แล้ว ก็ยากที่จะไปทำข้อสอบได้อย่างมั่นใจ หรือเรียนรู้เรื่องอื่นกี่มีความต่อเนื่องเกี่ยวข้องกัน

                    2. เมื่อรู้สึกว่าตัวเองมีความแม่นยำในหลักการในเรื่องแต่ละเรื่องแล้วก็ให้เริ่มเก็บตก พวกรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ข้อยกเว้นต่างๆที่จะทำให้เราเสียคะแนนได้ การจัดสอบบางครั้งก็เน้นเอาพวกข้อยกเว้นนี่มาออกข้อสอบซะด้วย เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาเหลือพอ ก็ให้เก็บๆรายละเอียดเหล่านี้ไปได้ด้วยก็จะดี ตัวอย่างเช่น IE ในคาบเดียวกันหมู่ IIA, VA จะมากกว่ากว่าหมู่ IIIA, VIA ตามลำดับ, เกลือที่ไม่ละลายน้ำจะไม่ทำให้เกิดสารละลายอิเล็กโทรไลต์, Li เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีที่สุดในตารางธาตุ ไม่ใช่ Fr เป็นต้น

                    3. เมื่อเก็บรายละเอียดจนคิดว่าตัวเองมีความมั่นใจสูงสุดแล้ว!! ได้เวลาฝึกปรือฝีมือเพื่อเพิ่มประสบการณ์สักที หาโจทย์แบบทดสอบมาลองนั่งทำสักตั้ง แล้วสำคัญมาก!! เวลาทำ ให้กำหนดเวลาล่วงหน้าไว้ด้วย ข้อละประมาณ 3 นาทีกำลังดี แต่ถ้าเป็นพวกคำนวณโหดๆปริมาณสารสัมพันธ์ ไฟฟ้าเคมี กรดเบส หรือว่าเขียนไอโซเมอร์พวกนี้อาจให้สัก 4-5 นาที แต่ถ้าเป็นข้อสอบรวมก็ให้เป็น 3 นาทีทุกข้อ เพราะยังไงจะมีข้อที่อ่านแล้วตอบได้เลยอยู่บ้าง ให้ถัวเฉลี่ยกันไป ที่ต้องทำเพราะว่าเวลาสอบจริง การบริหารเวลาสำคัญมาก แต่ละข้อไม่ควรจะเกิน 4 นาที เพื่อไม่ให้ไปเบียดเบียนฟิสิกส์และชีวะด้วย

     

    ** แต่ละขั้นตอน ให้ทำแบบเรียงกัน อย่าได้ข้ามขั้นตอนเป็นอันขาด เพื่อประสิทธิภาพในการจัดระเบียบความรู้

    ** การอ่านทบทวนวิชาอะไรก็ตามเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ให้อ่านแล้วคิด เพื่อทำความเข้าใจไปด้วย อย่าอ่านแบบขอให้จบๆไป หรืออย่าอ่านแบบท่องจำไปซะทั้งหมด เพราะมันไม่มีทางจะจำได้ทั้งหมด และถ้าใช้ความเข้าใจประกอบเพื่อช่วยจำ จะทำให้จำได้ยาวนานขึ้น

    ** บริหารเวลาให้ดี สำคัญมากอีกอย่าง ถ้าเป็นไปได้ให้จัดตารางเวลาอ่านหนังสือ-พักผ่อน แล้วพยายามทำตามให้ได้มากที่สุด แม้มันจะทำได้ยากก็ตาม =,,,= อ่าหะ อย่าลืมให้มีเวลาพักผ่อนบ้าง อ่านหนังสือตลอดเวลาไม่ใช่วิธีอ่านที่ถูกต้อง เช่น อ่าน 1 ชม. พัก 5 นาที ก็พอได้อยู่นะ แต่การพักนี้ แนะนำให้พักสั้นๆ อย่าเปิดคอมเปิดเน็ตเป็นอันขาดถ้าคิดว่าควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่งั้นอาจจะกลายเป็นอ่าน 1 ชม. พัก 2 ชม.ได้

    ** เวลาง่วง โดยธรรมชาติของคนส่วนใหญ่ อ่านหนังสือทีไรง่วงทุกที น้องอาจจะถามว่า ทำไงดีเมื่อง่วง ง่วงมันก็มีอยู่หลายแบบ ง่วงนิดๆก็อาจจะเอาขนม ลูกอม หรือหมากฝรั่งมาเคี้ยวแก้ง่วงหรือออกไปเดินเล่นรอบบ้านสักพัก แล้วค่อยกลับมาอ่านต่อ แต่ถ้าง่วงมากจนอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ทางแก้ที่ดีที่สุดก็คงต้องไปงีบหลับสัก 5-10 นาที ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ หลับสั้นๆแค่นี้ไม่น่าเชื่อว่าตื่นมามันจะสดชื่นกว่าเดิมมากทีเดียว ขอยืนยันเพราะเคยทำมาแล้ว 555 ซื่อสัตย์ต่อตัวเองนะ ง่วงกับขี้เกียจ ไม่เหมือนกัน ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ง่วงจะนอนท่าเดียว เวลาขี้เกียจให้นึกถึงเวลากำลังจะคลิกเข้าไปดูประกาศรายชื่อคนสอบติดละกัน จะได้มีกำลังใจมากขึ้น

     

    หนังสือแนะนำ

     

    ตะลุยโจทย์ entrance เคมี ม.4-5-6, สำราญ พฤกษ์สุนทร,.. พัฒนา

     

     

    ð   วิเคราะห์แยกบท

     

    บทเรียน

    หลักการ ความเข้าใจ

    ความจำ

    ความถี่ในการอยู่ในข้อสอบที่ผ่านมา

    (ข้อสอบทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะกสพท.)

    โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ

    ★★

    ★★

    วิเคราะห์: บทแรกบทนี้เป็นพื้นฐานสำหรับทุกบท มักเห็นในข้อสอบบ้างแต่ไม่มาก แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจเพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีของบทต่อๆไป

    พันธะเคมี

    ★★

    ★★

    ★★★

    วิเคราะห์: บทที่เป็นพื้นฐานสำคัญอีกบทหนึ่ง ออกข้อสอบบ่อยทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องเปรียบเทียบมุมพันธะ หรือพวกคำนวณพลังงานพันธะ

    ของแข็ง ของเหลว แก๊ส

    ★★

    ★★

    วิเคราะห์: บทนี้เล็กๆ และไม่ยากเท่าไรนัก แต่ก็มีให้เห็นในข้อสอบไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเปิดแก๊สสองถังรวมกัน กฎรวมแก๊ส ความดันไอบ้าง ของแข็งจะเป็นจำๆพวกกำมะถัน ฟอสฟอรัส อาจจะออกมาข้อนึง

    ปริมาณสารสัมพันธ์

    ★★★

    ★★★

    วิเคราะห์: บทสุดหินของใครหลายๆคน อาศัยการคำนวณที่ซับซ้อน และการคิดเลขที่รวดเร็วจึงจะผ่านข้อสอบบทนี้ไปได้ นอกจากนี้ยังใช้ความเข้าใจและความคิดเชื่อมโยงค่อนข้างมากด้วย แนะนำให้ฝึกทำโจทย์ให้มากๆเพื่อความชำนาญ

    อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

    ★★

    ★★★

    วิเคราะห์: บทนี้อยากให้เก็บคะแนนไว้ให้ได้เพราะออกข้อสอบบ่อย แต่ไม่ยาก!! ถ้าเข้าใจแล้วก็น่าจะทำได้เป็นส่วนใหญ่อย่างแน่นอน

    สมดุลเคมี

    ★★

    วิเคราะห์: อีกบทหนึ่งที่เป็นบทที่ง่ายโดยธรรมชาติ ถ้าข้อสอบไม่ได้ออกความรู้เชิงลึกจนเกินไป น้องๆก็น่าจะเก็บคะแนนได้อย่างสบายๆ ขอให้เคยทำโจทย์มาก่อน แนวโจทย์ก็จะออกซ้ำๆเดิมอยู่แล้ว

    กรด-เบส

    ★★★

    ★★★

    วิเคราะห์: บทนี้ค่อนข้างใหญ่และยาก แต่ถ้าเข้าใจแบบถึงแก่นหน่อยแล้ว ก็จะทำได้ไปเลย ไม่ต้องกลับมาทวนอีก เพราะบทนี้ไม่มีอะไรต้องจำมาก อาศัยความคุ้นเคยมากกว่า

    เคมีอินทรีย์

    ★★★

    ★★

    ★★

    วิเคราะห์: บทนี้เป็นบทที่ทำความเข้าใจได้ยากเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานจากการเรียนที่ดีนิดนึง เพื่อจะเข้าใจบทนี้อย่างถ่องแท้ แต่เข้าใจอย่างเดียวไม่พอ ยังต้องอาศัยความจำบ้าง เพราะบทนี้ สารแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราจำเป็นจะต้องจำได้เพราะข้อสอบอาจถามได้

    สารชีวโมเลกุล

    ★★

    วิเคราะห์: บทนี้อิงกับชีวะมากทีเดียว แทบจะเป็นบทเดียวกันแต่วิธีการเรียนเป็นคนละแบบเท่านั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นจำๆอะนะ พวกทดสอบสารอาหารอะไรก็น่าจะได้เรียนกันตั้งแต่ม.ต้นแล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร อาจจะมียากบ้างตรงการศึกษาปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสหรืออื่นๆ แต่ก็ไม่ยากมาก

    ปิโตรเลียมและพอลิเมอร์

    ★★★

    ★★★

    ★★

    วิเคราะห์: อีกบทนึงที่จำเยอะ แต่ก็ต้องอาศัยความเข้าใจในปฏิกิริยาต่างๆด้วย ซึ่งตรงปฏิกิริยานี่แหละ ค่อนข้างซับซ้อน แต่บางทีข้อสอบก็ไม่ออก เพราะฉะนั้นก็ชั่งใจดีๆ 555

    ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี

    ★★★

    ★★

    ★★

    วิเคราะห์: เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เหมือนจะยาก แต่ถ้าลองได้ฝึกทำบ่อยๆจนเข้าใจ (อีกแล้ว!!) ก็จะสามารถทำได้ และรู้สึกว่าบทนี้ง่ายไปเลย ส่วนที่ต้องใช้ความจำของบทนี้ก็คือพวกเซลล์ไฟฟ้าทั้งหลายทั้งปฐมภูมิทุติยภูมิ แต่ข้อสอบก็จะไม่เน้นตรงนี้มาก ก็จะออกพวกเซลล์หลักๆที่นิยมๆก็พวก แบตเตอรี่ตะกั่ว ถ่านไฟฉาย และก็ออกพวกคำนวณดุลรีดอกซ์ซะมากกว่า

    ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม

    ★★★★

    ★★

    วิเคราะห์: ตามที่พี่ใส่ดาวไว้น่ะแหละน้อง บทนี้มันจำอย่างเดียวชัดๆ ใช้ความเข้าใจน้อยมาก แต่ข้อสอบก็ยังคงออกบทนี้มาค่อนข้างบ่อยทีเดียว แต่ถึงจะออกบ่อย พี่ก็ไม่แนะนำให้ทุ่มเทกับบทนี้ เพราะมันเยอะมากๆแล้วไม่รู้ว่าเขาจะงัดเอาตรงไหนมาออก ดูผ่านๆไปจะดีกว่า เพราะส่วนใหญ่จะอ่านไปแล้วไม่ตรง =,,= เก็บบทอื่นให้ได้หมดดีกว่า 555

     

     

    ð   ก่อนเข้าห้องสอบและในห้องสอบ

     

    ที่ต้องการจะบอกก็คือ วันสุดท้ายก่อนสอบ หรือช่วง 2-3 วันก่อนสอบ ไม่ต้องเน้นอ่านแบบตะบี้ตะบันอ่านแล้ว ให้เน้นดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี มีไรโด๊ปได้ก็โด๊ปซะ ปรับเวลานอนให้เป็นปกติ ไม่ใช่ถึงวันสอบแล้วตื่นไม่ขึ้น จะอ่านอะไรก็อ่านแบบทวนๆเก็บตกมากกว่า หรือนัดกับเพื่อนมาผลัดกันถามตอบอะไรประมาณนี้ ไม่ต้องซีเรียสมาก พยายามอย่าเครียดในช่วงนี้ แม้เพื่อนน้องจะมาพูดอะไร ไซโค หรือดราม่า ให้น้องฟังก็ตาม อย่าไปสนใจ ทำตัวให้ผ่อนคลาย สบายๆ ติดไม่ติดช่างมัน 5555 เตรียมพวกอุปกรณ์ที่จะใช้ในห้องสอบให้พร้อม เตรียมบัตรสอบ ถ้ายังไม่ได้ก็รีบติดต่อทางกสพท.เขาละ ไม่ใช่มัวแต่อ่านหนังสือไม่สนใจอะไรเลย

    วันสอบ ไปถึงสนามสอบให้เร็วเข้าไว้จะเป็นการดี ทั้งลดการตื่นสนาม ลืมอุปกรณ์อะไรก็จะได้หาซื้อได้ทัน เข้าห้องน้ำจัดการธุระให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องสอบ

    ----------------------------------------------------------------------------------------------



    ก็สำหรับเคมี ตัวพี่เองเห็นกะพี่ท๊อปมากนะเรื่องค.เข้าใจเนี่ย 555

    และก็.. เรื่องที่ต้องติดต่อกสพท... ต้องตามข่าวดี ๆ นะคะ ! อย่าให้เกิดกรณีแบบปีพี่ที่มีเด็กไม่ได้ตรวจสอบสถานะการส่งเอกสารของตัวเอง แล้วไปฟ้องศาล แล้วก็... แน่นอนค่ะ โดนตัดสิทธิ์ เพราะระเบียบการบอกไว้เรียบร้อย =w=

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×