ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สถานีต่อไป...คณะแพทยศาสตร์ (บทความแนะน้องสอบกสพท.จ้า)

    ลำดับตอนที่ #8 : เตรียมสอบวิชาสามัญ --> ชีวะ by พี่พีร์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.4K
      5
      26 พ.ย. 54

    มาต่อกันด้วยชีวะดีกว่า.. (หลังจากหายไปนานมาก ๆ ขอโทษนะค้าา T__T)
    อ้อ ไทยสังคมพี่จะไม่เขียนเองนะ T T" เพราะมันคงเป็นไกด์ที่ไม่ดีมาก ๆ...
    (อ้างอิงจากตอนตารางอ่านหนังสือ.. พี่อ่านสังคมสัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบจ่ะ =_= ส่วนภาษาไทยก็ไม่ได้อ่านอะไรเลย นั่งทำแต่ข้อสอบย้อนหลัง..)


    LET'S TALK
    โอเควิชาชีวะ..ทุกคนคงเข้าใจตรงกันเนอะ ว่ามันก็เป็นวิชาที่อาศัยท่องจำอย่างนึง !
    แต่ !! สำหรับพี่ มันก็ต้องอาศัยความเข้าใจด้วยนะ !! เพราะจำไปอย่างเดียว อาจจะสับสนมึนงงก็ได้ถ้าหากไม่เข้าใจจริง !!
    ในกสพท.ปีพี่ (54) รวมถึงปีก่อน (53) ถือว่าชีวะนี่..ออกไม่ลึกมาก
    ฟีลว่าแบบ ถ้าน้องเข้าใจ จำมาได้.. ก็ตอบได้เลย ! ไม่มีหลอกอะไรทั้งสิ้น !
    แต่..ต้องละเอียดนะจ๊ะ ! ขาดไปบางจุดอาจพลาดคะแนนได้ !
    อย่าลืมว่า..ทุกคะแนนมีค่าสำหรับการสอบนี่มากก มันไม่ได้ตัดที่ 1 คะแนน แต่ตัดกันเป็นทศนิยม 4 ตำแหน่งนะค้า =w=b


    PREPARATION
    สำหรับพี่ วิชานี้พี่ก็อ่านแต่เนิ่น ๆ แบบอ่านเก็บมาเรื่อย ๆ โดยพี่แบ่งเป็น

    > แสกนเนื้อหาทั้งหมด
    อ่านแบบชิวมากก ของพี่ตอนนั้นอ่านสสวท.6 เล่มแบบ อ่านทุกจุด เก็บให้หมด ตั้งแต่กรอบเล็ก ๆ ข้าง ๆ ที่แบบน่ารู้อะไรแบบนี้ หรือว่าพวกคำถามการทดลองต่าง ๆ อ่านเรียกว่า ทุกคำทุกบรรทัด =w=b แต่เป็นการอ่านแสกนนะ คืออ่านไปอย่างรวดเร็ว ! (SCAN not SKIP นะ !)
    โดยที่ระหว่างอ่าน พี่จะชอบขีดดินสอเล่นไปด้วย แบบเช่นอ่านแล้วเจอประโยคที่สำคัญ ก็จะตีเส้นไว้ด้วยดินสอก่อน แม้อ่านแบบนี้จะเยิ่นเย้อไปหน่อย แต่มันก็ทำให้เราเห็นเนื้อหาทั้งหมดนะ.. และบางทีอาจจะได้รู้บางสิ่งบางอย่างที่เรามองข้ามไปก็ได้ : ))

    > เก็บรายละเอียด (จริงจังมวากกก) และสรุปเนื้อหา
    อันนี้เป็นช่วงที่เริ่มต้องอาศัยความเข้าใจละ ว่าเนื้อหาตรงไหนสำคัญที่ต้องเน้นย้ำ จากนั้น..เราก็ทำสรุปของเราเอง : ))
    (ถึงน้องจะไม่มีเวลา แต่ส่วนตัวพี่ก็อยากให้ทำนะ อย่างน้อยก็แบบขีด ๆ เขียน ๆ ในหนังสือ หรือไม่ก็..มีคำ

    พูดของเราเองที่แปลจากคำยาก ๆ มาให้เข้าใจได้ง่าย และจำได้ก็ดีอ่าค่ะ ... เพราะเนื้อหาชีวะเยอะเหมือนกัน..แถมเรายังมีอีกหลายวิชาที่ต้องอ่านสอบอีกด้วย จริงมะ !! *ย้ำนะ ! การสอบเนี่ย ห้ามทิ้งแม้แต่วิชาเดียวนะ !! 0.0001 คะแนนก็ตัดโอกาสน้องได้เหมือนกันนะ !*)

    อย่างของกรณีพี่..พี่จะสรุปเป็น mindmap ค่ะ เพราะว่ามันอ่านง่ายย : )
    (แต่ก็ยกเว้นบางเรื่องนะ..ถ้าบางเรื่องที่พยายามทำ mindmap แล้วไม่รุ่ง พี่ก็จะสรุปเนื้อหาเป็นหัวข้อ ๆ หรือทำเป็นตาราง หรือวาดรูป.. อันนี้ก็ต้องดูค.ถนัดของน้อง ๆ และเนื้อหานั้น ๆ ด้วยนะ)

    โดยที่การอ่านครั้งนี้..จะทำให้เราจำเนื้อหาได้มากขึ้น และจะจับประเด็นได้มากขึ้นด้วยย

    นอกจากนี้..เพราะเนื้อหาที่เป็นการจำ เราก็อาจจะทำเทคนิคการจำส่วนตัวของเรา เช่นตั้งชื่อแปลก ๆ
    (ยกตัวอย่างจากของหนังสือพี่เต้นท์นะค้า >_<)
    วิธีการจำ multiple fruit
    (มะ)เดื่อ (ขะ)หนุน (ลูก)ยอ สัป(ปะรด) โป (สา)เก ม่อน(หม่อน)
    อะไรแนว ๆ นี้จ้า : ))

    และเมื่อเก็บครบทุกอย่างแล้ว..เราก็ลองเริ่มทำโจทย์สักเล็กน้อย...

    > ลุยโจทย์ --> ดิสคัส --> ทบทวน

    แฮ่ !! แต่ปัญหาของวิชาชีวะนี่สิ ปัญหาใหญ่ !!
    น้องเคยเจอมั้ย เปิดเฉลยของแต่ละสำนัก...แล้วอาจแอบสบถในใจ 'ต้องเชื่อเฉลยสำนักไหนละวะเนี่ย ?!!'
    ฮ่า ๆ พี่เจอมาแล้วละ =__=
    และพอเจอแบบนี้..ถ้าเราไปอ่านเฉลย เราก็อาจจะมีอาการเขว ... 'เอ๊ะ แต่เหมือนจำได้ว่ามันต้องแบบนี้ไม่ใช่หรอ ทำไมเฉลย เฉลยแบบนี้?!'

    แล้ว..ทำยังไงต่อ..

    ของพี่.. พี่จะกลับไปทบทวนเนื้อหาส่วนนั้น 'ใหม่' ใหม่เลยจริง ๆ เพราะการที่เราอ่านเฉลยแล้วเขวแปลว่า เรายังไม่แม่นเนื้อหาส่วนนั้น..
    แต่ถ้าพออ่านเนื้อหาแล้ว..สงสัยว่าคำตอบที่ถูกต้องคืออะไร ก็จะติ้กเอาไว้ ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อน แล้วก็ให้อาจารย์อธิบายอีกทีจ๊ะ : )

    และการที่เราลุยโจทย์แบบเนี้ย ทำให้เรารู้ด้วยว่าเราพลาด/ไม่แม่นส่วนไหน..
    เอาจริง ๆ นะ.. ทำข้อสอบชีวะ ถ้าเราแม่นจริง พออ่านคำถามจบ .. ยังไม่ต้องมองช้อย เราจะเริ่มประมวลผลคิดตามละ ว่ามันต้องตอบอะไร.. จากนั้นดูช้อย แล้วก็หาคำตอบที่ถูกต้องแนว ๆ นี้จ๊ะ ; )

    ยกตัวอย่างเช่น..

    1. ดอกไม้ชนิดใดเป็นช่อดอกที่มีดอกย่อยรอบนอกเป็นดอกตัวเมียหรือเป็นหมัน และดอกย่อยด้านในสมบูรณ์เพศ ?

    - อ่านโจทย์แล้ว ประมวลเลยย โจทย์เค้าถามอะไรเราหว่า ?
    มันคือนิยามของอะไร.. ดอกไม้แบบ composite inflorescences ใช่มั้ย ?
    แล้วดอกไม้พวกนี้มีอะไรบ้าง...ทาน(ตะวัน) ดาว(เรือง) ดาว(กระจาย) บาน(ชื่น) บาน(ไม่รู้โรย) ใช่มั้ย
    (อ้อ ในวงเล็บคือพี่ไม่ได้ท่องนะ..พี่ท่องแต่ตัวหน้าตามวิธีพี่กรละ..ช่าย เลยจะบอกว่าพวกคำท่องแบบนี้อาศัยเพื่อนได้เหมือนกันนะ ! อยากบอกว่าตอนม.4-5 พี่จำอะไรได้หลายอย่างเพราะพี่กรชอบมีวิธีจำแปลก ๆด้วย = =)

    อ๊ะต่อ..เมื่อเรารู้แล้วว่ามันมีอะไรบอก ก็เหลือบดูช้อย.. แล้วก็หาช้อยที่ถูกต้อง จบบบ : ))
    อันนั้นก็เป็นแนวจำ only.. ลองมาดูที่ต้องอาศัยค.เข้าใจนิดนึงมั้งดีกว่าเนอะ ?

    2. เมื่อเรามองไประยะไกล ๆ จะเกิดอะไรกับ ciliary muscle และ suspensory ligament ตามลำดับ

    - อ่านโจทย์แล้วประมวลผลต่อ.. ลองกลับไปนึกสิ เวลามองใกล้ มองไกล 2 อวัยวะนี่ และ lens ทำหน้านี่ต่างกันอย่างไร..
    อย่างอันนี้ น้องบางคนบอกพี่มันก็จำได้นี่.. แต่ของพี่..พี่จำอันนี้ไม่ได้อะ สับสนสุด ๆ T_T" จำไปจำมาชักมึนตีกันมั่ว.. พี่ก็เลยอาศัยตรรกะใหม่..
    อ้อ มองไกล ๆ lens ต้องผอม ๆ ฉะนั้น ไอ้ที่ดึงเลนส์ต้องตึงใช่มั้ย เลนส์จะผอมได้ ก็เลยจะสรุปว่า suspensory ligament เนี่ยต้งหดตัว แล้วทำไม suspensory ligament ถึงหดตัว ?
    ก็เพราะว่าไอ้ที่อยู่รอบ ๆ มันขยายตัวออก.. คือ ciliary muscle คลายตัว : )
    เมื่อทบทวนได้แล้ว เล็งหาช้อย แล้วก็ตอบเลย เย่ ! ได้แล้วอีกคะแนน : )

    ส่วนที่พี่บอกไม่ให้มองช้อย.. เพราะบางทีมันจะมีช้อยหลอก มาทำให้เราสับสน/เขวได้ ฉะนั้น..อ่านโจทย์นึกคำตอบที่ถูกต้องในใจก่อน แล้วค่อยหาคำตอบพี่ว่าดีที่สุดจ๊ะ : ))


    > จำ เข้าใจ เอาให้เมพพพ
    นั่นแหละ 3 คำสั้น ๆ =w=
    แล้วที่สำคัญ..วิชานี้เพราะมีเนื้อหาหลักคือจำ.. ก็ต้องทบทวนสม่ำเสมอบ่อย ๆ นะจ๊ะ !!
    ไม่แน่..น้องอาจจะแบบอ่านจนจำแม่นเป๊ะ ๆ เลยทะนงตัวไม่กลับมาอ่านทวน...
    มาอ่านอีกรอบ อาจจะไม่เป๊ะแบบตอนนั้นแล้วพลาดก็ได้นะค้าาาาา


    RECOMMENDED BOOKS
    - BIOLOGY FOR HIGH SCHOOL STUDENTS - จิรัสย์ เจนพาณิชย์ 
    หรือที่รู้จักกันในนามว่า ชีวะพี่เต้นท์ นั่นเอง !!
    สำหรับพี่..เล่มนี้เล่มเดียวโคตรจบอะ 55555 ไม่มีเล่มอื่นที่ดีเท่าเล่มนี้แล้วละพี่ว่า > <b
    แล้วก็..ท้ายเล่มพี่เต้นท์จะมีแบบฝึกหัดด้วย ตั้งใจทำละ !!
    นอกจากนี้ก็มีเฉลยละเอียดในบลอคของพี่เค้าด้วย ซึ่งก็มีบอกไว้ในหนังสือแล้ว
    ถึงจะทำถูก..พี่ก็แนะนำให้อ่านเฉลยละเอียดอีกทีนะคะ มีประโยชน์มาก ๆ เลย ^ ^

    - หนังสือชีววิทยา (แบบเรียนกระทรวง) 6 เล่ม
    แม้อ่านแล้วมันอาจจะไม่มีอะไร แต่มันก็ดันมีอะไรนะ = =
    แม้เนื้อหามันจะไม่ละเอียดมาก..แต่พี่ว่าอ่านไว้ให้เข้าใจเนื้อหาโดยรวมสักรอบนึงก่อนอ่านแบบละเอียดด้วยหนังสือพี่เต้นท์/ตามกวดวิชาต่าง ๆ/สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ก็ไม่เสียหายจ๊ะ

    - สรุปชีววิทยา ม.ปลาย - นิพนธ์ ศรีนฤมล , the books
    เล่มนี้ก็เป็นอีกเล่มยอดฮิตก่อนเล่มพี่เต้นท์จะออก : )
    โอเคเลยเหมือนกันนะ สำหรับเวลาทวนเนื้อหาทั้งหมดเวลาออกนอกบ้าน..ดีกว่าแบกหนังสือออกไปเป็นลัง 555

    - ข้อสอบย้อนหลังหลายพ.ศ. ของสำนักพิมพ์ไหนก็ได้จ๊ะ..เพราะยังไงเฉลยก็..นะ 5555
    แต่สำหรับพี่..พี่ใช้เล่มนี้ละ
    เฉลยข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฉบับรวมหลาย พ.ศ. วิชา ชีววิทยา - สมาน แก้วไวยุทธ , Hi-ed

    ..
    คือหนังสือชีวะพี่อ่านไม่มาก..เพราะพี่อาศัยพี่เต้นท์เล่มเดียวจบจริง ๆ อะ 5555 : P
    (คืออ่านพี่เต้นท์เป็นหลักนั่นแหละ)

    แต่ก็มีอ่านของกวดวิชาด้วยเหมือนกัน.. ฉะนั้นน้อง ๆ ที่เรียนกวดวิชาวิชานี้..ก็ตั้งใจเรียนในห้องให้เต็มที่ซะ !

    กลับมาอ่านทบทวน จนโน้ตนิดหน่อย อ่านบ่อย ๆ ก็จำ/เข้าใจได้แม่นจ๊ะ : ))

    แต่สำหรับน้องที่ไม่ได้เรียนกวดวิชาชีวะ..
    ให้ลองหาหนังสือของ biobeam / หนังสือจด eureka จากรุ่นพี่นะคะ

    เพราะเนื้อหาหลายอย่าง แค่เพียง สสวท.มันไม่พอ
    และบางทีน้องอาจจะไม่สบายใจถ้าอ่านหนังสือพี่เต้นท์เล่มเดียวก็ได้ = =
    (ฟีลว่า..เห้ยย เพื่อนมันอ่านกันเยอะแยะ ฉันอ่านแค่เล่มนี้ T_T)
    (แต่พี่ยังยืนยันว่าพี่เต้นท์เล่มเดียวก็จบนะ > <)



    ส่วนนอกจากนี้..ก็มีแนะนำแบบสรุปย่อ ๆ จากเพื่อนพีที่ฝากมาจ๊ะ : )
    (พี่พีร์.. อยู่ห้องเดียวกะพี่ตอนม.4-5 แน่นอนว่าม.6 ด้วยค.เมพของพี่เค้าก็ไปอยู่ห้องคิงโรงเรียนโดยปริยาย..
    ตอนนี้เป็นนิสิตแพทย์จุฬาแล้วจ้า x) )

    " วิชาชีวะ
    ก็เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความเข้าใจนะแล้วก็ต้องใช้ความจำด้วย

    การเตรียมตัวคือ เราควรทำความเข้าใจกับเนื้อหาไปเลยตั้งแต่ม4 ม5  เน้นดูรูปและเข้าใจถึงกระบวนการต่างๆ
    อาจหาแบบฝึกหัดมาทำบ้างนิดหน่อย 
    พอขึ้นม6 ก็ทบทวนเนื่อหาบางบทที่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่เล็กน้อย

    ส่วนคนที่ยังไม่ได้เริ่มตั้งแต่ม4 ม5ก็ไม่เป็นไร ปิดเทอมนี้ก็ลองอ่านทบทวนเนื้อหาและทำความเข้าใจก่อนพอช่วงใกล้สอบควรเลือกหนังสือที่สรุปความสำคัญ เช่น หนังสือชีวะของพี่เต้นท์ ^^ 
    เน้นการอ่านทบทวนหลายๆครั้ง อย่าท้อใจถ้ายังจำไม่ได้นะ เพราะชีวะต้องอาศัยการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ แล้วเวลาสอบความรู้ที่เราอ่านจะอยู่ในหัวเราทันที

    นอกจากอ่านเนื้อหาแล้ว อาจหาหนังสือแบบฝึกหัดมาทำเพื่อเป็นการเช็คความเข้าใจว่า เรายังพลาดตรงไหน บางที่เฉลยอาจจะผิดบ้างแต่ จะช่วยให้เราลองกลับไปทวนเนื้อหาใหม่อีกจนแม่นยำนะ
    ถ้ามีเวลาก็ควรทำ15 พศ  แล้วลองประเมินตัวเอง  ชีวะต้องอาศัยความจำสูง ดังนั้นก่อนอ่านก็ตั้งใจแล้วมีสมาธินะ จะจำได้ไปเอง "

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×