โยนกเชียงแสน - โยนกเชียงแสน นิยาย โยนกเชียงแสน : Dek-D.com - Writer

    โยนกเชียงแสน

    ผู้เข้าชมรวม

    5,925

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    13

    ผู้เข้าชมรวม


    5.92K

    ความคิดเห็น


    8

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ก.พ. 50 / 18:39 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      โยนกเชียงแสน

      ตามตำนานสิงหนวัติกล่าวว่า สิงหนวัติกุมารโอรสของท้าวเทวกาล ซึ่งปกครองบ้านเมืองอยู่ทางยูนนาน ได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ลุ่มน้ำโขงตอนใต้ซึ่งก็คือเชียงราย เชียงแสน ในปัจจุบัน และตั้งชื่อเมืองว่า โยนกนคร หรือ โยนกนาคนคร    คนทั่วไปเรียกเมืองโยนกนี้ว่า โยนก หรือ ยูน หรือ ยวน  ไทยวน หรือ คนยวน ในจังหวัดสระบุรีเป็นไทยวนกลุ่มที่อพยพมาจากเมืองเชียงแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2347 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   ซึ่งพระองค์ท่านโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงเทพหริรักษ์ และพระยายมราช พร้อมด้วยกองทัพลาว ยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน ซึ่งในขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เมื่อทัพไทยสามารถตีเมืองเชียงแสนได้แล้วจึงให้รื้อกำแพงเมืองรื้อบ้านเมือง และได้รวบรวมผู้คนชาวเชียงแสนโดยได้แบ่งเป็น 5 ส่วน ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ที่ลำปาง ส่วนหนึ่งอยู่ที่น่าน ส่วนหนึ่งอยู่ที่เวียงจันทน์ และอีกส่วนให้เดินทางมายังกรุงเทพ โดยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราชบุรี สระบุรี  ปู่เจ้าฟ้า หนึ่งในผู้นำคนยวนในสมัยนั้น ได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเจ้าฟ้า ปัจจุบันมีศาลเจ้าฟ้าตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้ เมื่อถึงวันสงกรานต์ ชาวบ้านจะอันเชิญดวงวิญญาณของปู่เจ้าฟ้า มาเข้าร่างทรงให้ลูกหลานได้สรงน้ำ และปู่เจ้าฟ้าก็จะพยากรณ์เหตุการณ์บ้านเมือง หนานต๊ะซึ่งเป็นน้องชายของปู่เจ้าฟ้าได้นำไพร่พลไปตั้งบ้านเรือน   อยู่ที่บ้านสิบต๊ะ (ปัจจุบันคือบ้านสวนดอกไม้) เล่ากันว่าหนานต๊ะเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมขลังและเก่งในการรบ และเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดต้นตะเคียนที่บ้านสันปะแหนเพื่อส่งมาคัดเลือกให้เป็นเสาหลักเมืองที่กรุงเทพ เมื่อไม่ได้รับการเลือกเสาต้นนี้ล่องทวนน้ำกลับไปยังที่เดิมและก็ส่งเสียงร้องร่ำไห้ อันเป็นที่มาของชื่ออำเภอเสาไห้ ปัจจุบันเสาต้นนี้อยู่ที่วัดสูง อำเภอเสาไห้ จังหวัสระบุรี แต่เดิมนั้นที่ทำการเมืองสระบุรีอยู่ที่บริเวณบึงโง้ง ใกล้วัดจันทรบุรี ในอำเภอเสาไห้ในปัจจุบัน ชาวไทยวนได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่ที่ว่าการอำเภอเสาไห้ขึ้นไปทางตะวันออก ต่อมาจึงได้ขยับขยายทำเลที่ตั้งบ้านเรือนไกลจากแม่น้ำป่าสักออกไป ปัจจุบันคนไทยวนตั้งถิ่นฐานอยู่แทบทุกอำเภอ ที่มีมากที่สุดคือ ที่อำเภอเสาไห้ อำเภอเมือง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอวังม่วง  

      ภาษา                                                                                                               ชาวไทยวนมีภาษาพูดภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตน อักษรของชาวไทยวนมีใช้มาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีก็นำเอาอักษรเหล่านั้นมาใช้ด้วย ใช้เขียนลงในสมุดข่อยหรือจารึกบนใบลานชาวไทยวนเรียกอักษรนี้ว่า หนังสือยวน เรื่องที่บันทึกลงใบข่อยหรือสมุดไทยมักจะเป็นตำราหมอดู ตำราสมุนไพร เวทมนต์คาถาต่างๆ ส่วนเรื่องที่จารึกลงใบลานจะเป็นพระธรรมเทศนาเป็นส่วนใหญ่ ชาวไทยวนมักนิยมถวายคัมภีร์เทศน์ เพราะเชื่อว่าได้บุญมากส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเวสสันดรชาดก ยอดพระไตรปิฎกคัมภีร์ยวนฉบับต่างๆได้รับต้นฉบับมาจากฝ่ายเหนือ เมื่อได้มาก็คัดลอกจารต่อๆ กันมา ชาวไทยวนมีการร้องเพลง เรียกว่า จ๊อย เป็นการร้องด้วยสำนวนโวหาร อาจจะเป็นการจ๊อยคนเดียวหรือจ๊อยโต้ตอบกันก็ได้ การจ๊อยนี้จะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ เนื้อหาในการจ๊อยอาจจะเกี่ยวกับนิทานชาดก คำสอน ประวัติตลอดจนการเกี้ยวพาราสี                                                                                                           

      การแต่งกาย                                                                                            จากภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดจันทรบุรี อำเภอเสาไห้ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และอุโบสถวัดสมุหประดิษฐาราม อำเภอเสาไห้ ซึ่งเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตการแต่งกายของชาวไทยวนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี     

      ที่อยู่อาศัย                          

      เรือนของชาวไทยวนนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า เรือนเชียงแสนหรือเรือนกาแล กล่าวคือจะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาเหนือจั่ว เรือนส่วนบนจะผายออก ที่เรียกว่า เรือน อกโตเอวคอด  เมื่อชาวเชียงแสนได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีในตอนต้นนั้น มีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง ดังที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดจันทรบุรี จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนบ้านเสาไห้ก็พบว่า แต่เดิมนั้นมีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง

      ประเพณีขึ้นท้าวทั้ง ชาวไทยวนเรียกต๊าวตังสี่หมายถึงท้าวจตุโลกบาล ซึ่งเป็นเทวดาประจำทิศทั้งสี่ ก่อนที่จะมีงานใดๆ จะทำการเลือกสถานที่ๆ เหมาะสม เอาไม้ 5 ท่อนมาปักเป็นเสา 4 มุม เสาต้นกลางสูงกว่าเสาสี่มุม บนเสานี้จะวางเครื่องเซ่น เช่น หมาก บุหรี่ ดอกไม้ธูปเทียน กระทงอันกลางเป็นของพระอินทร์ ผู้รู้พิธีจะเป็นคนกล่าวเชิญเทพทั้ง 4 มารับเครื่องเซ่นและมาช่วนปกป้องคุ้มครองงานของตนให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×