บทบรรยายและแนะนำการแสดง - บทบรรยายและแนะนำการแสดง นิยาย บทบรรยายและแนะนำการแสดง : Dek-D.com - Writer

    บทบรรยายและแนะนำการแสดง

    ของ ม.5 นะ

    ผู้เข้าชมรวม

    4,408

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    4.4K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 ส.ค. 49 / 15:49 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                      บทบรรยายการแสดงละครใน เรื่อง อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕โรงเรียน... ณ หอประชุม... โรงเรียน... เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

                      สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆ ชาว...ทุกคนค่ะ ดิฉันในนามตัวแทนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ชาว...ได้ให้เกียรติมาร่วมชมในการแสดงละครในครั้งนี้

                      การแสดงละครใน เรื่อง อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง นี้จัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียน ได้เห็นได้ชม ซึ่งจะก่อให้เกิดรสนิยมและซาบซึ้งในบทพระราชนิพนธ์ นอกจากท่านผู้ดูผู้ชมจะได้รับความบันเทิงแล้วยังเป็นการช่วยนักเรียนที่กำลังศึกษาเรื่องอิเหนา ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งด้วยและยังส่งเสริมให้นักเรียนหันมาสนใจวรรณคดีไทยมากยิ่งขึ้น

      บทละครใน เรื่องอิเหนา   เป็นบทละครที่ได้รับยกย่องว่า เป็นยอดแห่งกลอนบทละคร คือดีทั้งความ ดีทั้งกระบวนกลอน ดีทั้งกระบวนสำหรับเล่นละคร ในตอนนี้ มีเนื้อเรื่องอยู่ว่า ตั้งแต่วิหยาสะกำได้ชมรูปภาพของนางบุษบาก็หลงรักนาง ท้าวกะหมังกุหนิงก็ตามใจลูก ส่งทูตไปขอนางบุษบากับท้าวดาหา ฝ่ายท้าวดาหาก็ปฏิเสธไม่ยอมยกนางบุษบาให้ แล้วก็มีหนังสือไปขอความช่วยเหลือท้าวกุเรปัน พระเชษฐา  ฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงก็จัดทัพไปตีเมืองดาหา ให้วิหยาสะกำเป็นกองหน้า ท้าวกะหมังกุหนิงเป็นจอมทัพ ท้าวดาหาก็ให้ตั้งค่ายรอบกรุงดาหาไว้ ทัพเมืองกะหมังกุ หนิงก็ได้ยกทัพมาประชิดเมืองดาหา ท้าวดาหาเมื่อเห็นศึกมาประชิดก็รู้สึกน้อยใจอิเหนาว่า ศึกครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะอิเหนาเป็นต้นเหตุ อิเหนาเมื่อได้รับหนังสือจากท้าวกุเรปันให้ยกทัพไปช่วยท้าวดาหา ถ้าไม่ไปช่วยก็ขาดจากความเป็นพ่อลูก อิเหนาจึงมาลาจินตะหราทั้งที่ใจไม่อยากไป ฝ่ายท้าวกะ-  หมังกุหนิงแม้รู้ข่าวว่าอิเหนายกทัพมาช่วยท้าวดาหาแต่ก็ไม่เปลี่ยนใจได้ทำศึกเต็มที่ เมื่อทัพกะ-   หมังกุหนิงประจันทัพกับทัพของอิเหนา สุดท้ายอิเหนาก็ฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงได้สำเร็จ

      ผู้แสดงละครครั้งนี้ ล้วนเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียน... อำเภอ... จังหวัด...ทั้งสิ้น ซึ่งนักแสดงทุกคนในเรื่องนี้ล้วนแล้วแต่ศึกษา ฝึกซ้อมและเตรียมการการแสดงเรื่องนี้มาเป็นอย่างดี และเนื่องจากโรงเรียนไม่มีครูฝึกที่ชำนาญโดยเฉพาะ ดังนั้น หากมีข้อบกพร่องประการใด หวังว่าผู้ชมคงจะให้อภัย

                     หวังว่าการแสดงละครในเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง ซึ่งโรงเรียน...ได้นำออกแสดง ณ หอประชุม... โรงเรียน... อำเภอ... จังหวัด... จะได้รับการต้อนรับด้วยดีจากนักเรียนโดยทั่วไป และขอเชิญแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน รับชมการแสดงได้ ณ บัดนี้

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×