ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการตีเมืองเขมร - ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการตีเมืองเขมร นิยาย ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการตีเมืองเขมร : Dek-D.com - Writer

    ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการตีเมืองเขมร

    ของ ม.5 นะ กลอน + คำศัพท์ + แปลความ

    ผู้เข้าชมรวม

    29,844

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    394

    ผู้เข้าชมรวม


    29.84K

    ความคิดเห็น


    12

    คนติดตาม


    9
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 ส.ค. 49 / 15:37 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ตอนที่ ๔

      สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการตีเมืองเขมร

      ๕๗(๑๕๙)            โคลง ๔ ปางนั้นนฤเบศเบื้อง                              บูรพาภพแฮ

                                      เฉลิมพิภพอโยธยา                                              ยิ่งผู้

                                      พระเดชดั่งรามรา-                                               ฆพเข่น เข็ญเฮย

                                      ออกอเรนทร์รั่วรู้                                                  เร่งร้าวราญสมร

      ๕๘(๑๖๐)                             ภูธรสถิตท้อง                                        โรงธาร ท่านฤๅ

                                      เถลิงภิมุขพิมาน                                                   มาศแต้ม

                                      มนตรีชุลีกราน                                                     กราบแน่น เนืองนา

                                      บัดบดีศวรแย้ม                                                      โอษฐ์เอื้อมปราศรัย

      ๕๙(๑๖๑)                              ไต่ถามถึงทุกข์ถ้อย                               ทวยชน

                                      ต่างสนองเสนอกล                                              แก่ท้าว

                                      พระดัดคดีดล                                                        โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา

                                      เย็นอุระฤๅร้าว                                                      ราษฎร์ร้อนห่อนมี

      ๖๐(๑๖๒)                             นฤบดีดำรัสด้วย                                   การยุทธ์

                                      ซึ่งจักยอกัมพุช                                                     แผ่นโพ้น

                                      พลบกยกเอาอุต-                                                  ดมโชค ชัยนา

                                      นับดฤษณีนี้โน้น                                                 แน่นั้นวันเมื่อ

      ๖๑(๑๖๓)                              พลเรือพลรบท้อง                                ทางชลา

                                      เกณฑ์แต่พลพารา                                                ปักษ์ใต้

                                      ไปตีพุทไธธา-                                                      นีมาศเมืองเฮย

                                      ตีป่าสักเสร็จให้                                                    เร่งล้อมขอมหลวง

      ๖๒(๑๖๔)                            พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน                           อัสดง

                                      เกรงกระลับก่อรงค์                                             รั่วหล้า

                                      คือใครจักคุมคง                                                    ควรคู่ เข็ญแฮ

                                      อาจประกันกรุงถ้า                                               ทัพข้อยคืนถึง

      ๖๓(๑๖๕)                             พระพึงพิเคราะห์ผู้                              ภักดี ท่านนา

                                      คือพระยาจักรี                                                       กาจแกล้ว

                                      พระตรัสแด่มนตรี                                               มอบมิ่ง เมืองเฮย

                                      กูจักไกลกรุงแก้ว                                                  เกลือกช้าคลาคืน

      ๖๔(๑๖๖)                             เยียวพื้นภพแผ่นด้าว                           ตกไถง

                                      ริพิบัติพูนภัย                                                         เพิ่มพ้อง

                                      สูกันนครใจ                                                          ครอเคร่า กูเฮย

                                      กูจักพลันคืนป้อง                                                 ปกหล้าแหล่งสยาม

      ๖๕(๑๖๗)                             สงครามพึ่งแผกแพ้                             เสียที

                                      แตกเมื่อต้นปีไป                                                   ห่อนช้า

                                      บร้างกระลับมี                                                      มาขวบ นี้เลย

                                      มีก็ปีหน้า                                                               แน่แท้กูทาย

      ๖๖(๑๖๘)                             ทั้งหลายสดับถ้อยท่าน                        บรรหาร หนเฮย

                                      ยังบ่เยื้อนสนองสาร                                            ใส่เกล้า

                                      บัดทูตนครกาญ-                                                  จนถับ ถึงแฮ

                                      พระยาอมาตย์นำเฝ้า                                            บอกเบื้องเคืองเข็ญ

      ฯลฯ

      ๖๗(๑๗๐)             โคลง๒            พระเปรมปราโมทย์ไซร้                     ซึ่งบดินทร์ดาลได้

                                      สดับเบื้องบอกรงค์

      ๖๘(๑๗๑)                             ธให้หาองค์น้องท้าว                           แถลงยุบลเหตุห้าว

                                      ท่านแจ้งทุกอัน  แลนา



      ตอนที่ ๔

      สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการตีเมืองเขมร

      ๕๗(๑๕๙)            โคลง ๔ ปางนั้นนฤเบศเบื้อง                              บูรพาภพแฮ

                                      เฉลิมพิภพอโยธยา                                              ยิ่งผู้

                                      พระเดชดั่งรามรา-                                               ฆพเข่น เข็ญเฮย

                                      ออกอเรนทร์รั่วรู้                                                  เร่งร้าวราญสมร

      คำศัพท์

                                      นฤเบศ                   น. กษัตริย์

                                      บูรพา                     ว. ตะวันออก; เบื้องหน้า

                                      เฉลิม                      ก. ยกย่อง, เลิศ

                                      พิภพ                      น. ทรัพย์สมบัติ

                                      รามราฆพ              น. พระราม

                                      อเรนทร์                 (แผลงมาจาก อรินทร์) น. ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู

      แปลความ

                                      เมื่อนั้นกษัตริย์แห่งเมืองทิศตะวันออก คือ พระนเรศวร ซึ่งในสมัยนั้น กรุงศรีอยุธยาถูกยกย่องเหมือนเป็นทรัพย์สมบัติ และฤทธิ์เดชของพระนเรศวรเหมือนฤทธิ์เดชของพระราม ข้าศึกรับรู้ได้ทั่วไปในสนามรบ

      ๕๘(๑๖๐)                             ภูธรสถิตท้อง                                       โรงธาร ท่านฤๅ

                                      เถลิงภิมุขพิมาน                                                   มาศแต้ม

                                      มนตรีชุลีกราน                                                     กราบแน่น เนืองนา

                                      บัดบดีศวรแย้ม                                                      โอษฐ์เอื้อมปราศรัย

      คำศัพท์ 

                                      ภูธร                        น. พระราชา

                                      สถิต                        ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่

                                      โรงธาร                  น. ท้องพระโรง, ห้องเป็นที่ออกขุนนางของพระเจ้าแผ่นดิน

                                      เถลิง                       ก. ขึ้น เช่น เถลิงราชย์ เถลิงอำนาจ

                                      ภิมุขพิมาน            น. พระที่นั่ง

                                      มาศ                         น. ทอง

                                      มนตรี                     น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

                                      ชุลี                          น. การประนมมือ, การไหว้

                                      กราน                      ก. ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราบ หมอบกราน

      แปลความ

      พระนเรศวรประทับที่ท้องพระโรง ซึ่งพระที่นั่งในท้องพระโรงนั้นประดับด้วยทองคำ  เหล่าที่ปรึกษาก็ก้มลงกราบ รอรับฟังสิ่งที่พระองค์จะแถลง พระองค์ก็ทรงแย้มพระโอษฐ์และกล่าวคำพูด

      ๕๙(๑๖๑)                              ไต่ถามถึงทุกข์ถ้อย                               ทวยชน

                                      ต่างสนองเสนอกล                                              แก่ท้าว

                                      พระดัดคดีดล                                                        โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา

                                      เย็นอุระฤๅร้าว                                                      ราษฎร์ร้อนห่อนมี

      คำศัพท์

                                      ทวย                        น. หมู่, เหล้า

      ดัด                           ก. ทำให้เที่ยงตรง

      ยุกดิ์                        น. ยุติธรรม

      ห่อน                       ว. ในคำประพันธ์ใช้แทน ไม่

      แปลความ

      พระนเรศวรทรงไต่ถามถึงความเป็นอยู่ของประชาชน อำมาตย์ทั้งหลายก็กราบทูล พระองค์ก็ทรงตัดสินเรื่องราวอย่างเที่ยงธรรม ราษฎรจึงอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีเรื่องทุกข์ใจใดๆ

      ๖๐(๑๖๒)                             นฤบดีดำรัสด้วย                                   การยุทธ์

                                      ซึ่งจักยอกัมพุช                                                     แผ่นโพ้น

                                      พลบกยกเอาอุต-                                                  ดมโชค ชัยนา

                                      นับดฤษณีนี้โน้น                                                 แน่นั้นวันเมื่อ

      คำศัพท์

                                      นฤบดี                    น. พระราชา

      กัมพุช                    น. แคว้นเขมร

      อุตดม                     ว. สูงสุด, ยิ่ง, เลิศ, มากมาย, บริบูรณ์

      ดฤษถี                     น. วันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นค่ำหนึ่ง แรม ๒ ค่ำ (ดิถี)

      แปลความ

                                      พระนเรศวรก็ปรึกษาหารือเรื่องการรบ ว่าจะยกทัพไปตีกัมพูชา นำกองทัพบกไป โดยให้ดูฤกษ์ที่ดีที่สุด นับฤกษ์ยามให้ดี เมื่อแน่ใจวันไหน จะยกทัพไปวันนั้น

      ๖๑(๑๖๓)                              พลเรือพลรบท้อง                                ทางชลา

                                      เกณฑ์แต่พลพารา                                                ปักษ์ใต้

                                      ไปตีพุทไธธา-                                                      นีมาศเมืองเฮย

                                      ตีป่าสักเสร็จให้                                                    เร่งล้อมขอมหลวง

      คำศัพท์

                                      เกณฑ์                     ก. บังคับหรือขอร้องแกมบังคับ

                                      พารา                      น. เมือง, เขียนเป็น ภารา ก็มี

      พุทไธธานีมาศ     น. เมืองพุทธไธมาศในประเทศเขมร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บันทายมาศ

      ป่าสัก                     น. เมืองบาสัก ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำบาสัก เป็นเมืองชายทะเล ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองฮาเตียนของเวียดนาม

      แปลความ

                                      แล้วจะยกกองทัพเรือไปรบด้วย ซึ่งจะเอากองทัพเรือที่ยกมาจากหัวเมืองทางภาคใต้ไปรบ จะต้องไปตีเมืองพุทไธมาศ และตีเมืองบาสัก เมื่อตีได้ให้ไปล้อมกัมพูชา

                                     

      ๖๒(๑๖๔)                            พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน                           อัสดง

                                      เกรงกระลับก่อรงค์                                             รั่วหล้า

                                      คือใครจักคุมคง                                                    ควรคู่ เข็ญแฮ

                                      อาจประกันกรุงถ้า                                               ทัพข้อยคืนถึง

      คำศัพท์

                                      อัสดง                     ก. ตกไป (ใช้แก่พระอาทิตย์) เช่น อาทิตย์อัสดง

                                      กระลับ                   ก. แผลงมาจาก กลับ เช่น กระลับกระลอกแทง

                                      รงค์                         น. สนามรบ, ลาน

                                      รั่วหล้า                   ก. ล่วงล้ำเข้ามาในแผ่นดิน

      ถ้า                           ก. มาจากคำว่า ท่า หมายถึง ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่งๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านอน; น่านั่ง

      แปลความ

                                      แต่ในขณะที่คิดจะไปรบกับกัมพูชา ก็ยังทรงห่วงศึกกับพม่าอยู่ เกรงว่า พม่าจะล่วงล้ำเข้ามาก่อศึกสงครามในแผ่นดิน แล้วจะให้ใครดูแลบ้านเมืองรับกับศึกครั้งนี้ได้ แล้วจะให้ใครคอยรักษาเมือง คอยว่า กองทัพของข้า (พระนเรศวร) จะกลับมาถึงเมือง

                                     

      ๖๓(๑๖๕)                             พระพึงพิเคราะห์ผู้                              ภักดี ท่านนา

                                      คือพระยาจักรี                                                       กาจแกล้ว

                                      พระตรัสแด่มนตรี                                               มอบมิ่ง เมืองเฮย

                                      กูจักไกลกรุงแก้ว                                                  เกลือกช้าคลาคืน

      คำศัพท์

                                      มนตรี                     น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

                                      กรุงแก้ว                 น. กรุงศรีอยุธยา

                                      เกลือก                    สัน. หากว่า, แม้ว่า, ถ้า, บางที

                                      คลา                         ก. เคลื่อน, เดิน, คล้อย, คลาด

      แปลความ

                                      พระนเรศวรทรงพินิจ พิจารณาผู้ที่มีความจงรักภักดี นั่นก็คือพระยาจักรีให้ช่วยดูแล ปกป้องเมือง ในระหว่างที่พระองค์เสด็จออกจากกรุงศรีอยุธยา

      ๖๔(๑๖๖)                             เยียวพื้นภพแผ่นด้าว                           ตกไถง

                                      ริพิบัติพูนภัย                                                         เพิ่มพ้อง

                                      สูกันนครใจ                                                          ครอเคร่า กูเฮย

                                      กูจักพลันคืนป้อง                                                 ปกหล้าแหล่งสยาม

      คำศัพท์

                                      เยียว                        สัน. ผิว่า, แม้ว่า, หากว่า, ถ้า

                                      ด้าว                         น. ประเทศ, แดน เช่น คนต่างด้าว

                                      ตกไถง                   น. ทิศตะวันตก

                                      ริ                              ก. เริ่ม

                                      สู                             ส. ท่าน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ (หมายถึง พระยาจักรี)

      กัน                          ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, ป้องกัน

      กู                             ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่า ไม่สุภาพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑

      แปลความ

                                      หากว่า พม่ายกกองทัพมารุกรานท่าน (พระยาจักรี) จะต้องปกป้องเมืองในดี รอข้า (พระนเรศวร) แล้วข้าจะกลับมาโดยเร็ว

      ๖๕(๑๖๗)                             สงครามพึ่งแผกแพ้                             เสียที

                                      แตกเมื่อต้นปีไป                                                   ห่อนช้า

                                      บร้างกระลับมี                                                      มาขวบ นี้เลย

                                      มีก็ปีหน้า                                                               แน่แท้กูทาย

      คำศัพท์

                                      กระลับ                   ก. แผลงมาจาก กลับ เช่น กระลับกระลอกแทง

      แปลความ

                                      สงครามที่พม่าแพ้เพิ่งผ่านมาไม่นานเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จึงไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นในปีนี้จะต้องเป็นปีหน้าแน่

      ๖๖(๑๖๘)                             ทั้งหลายสดับถ้อยท่าน                        บรรหาร หนเฮย

                                      ยังบ่เยื้อนสนองสาร                                            ใส่เกล้า

                                      บัดทูตนครกาญ-                                                  จนถับ ถึงแฮ

                                      พระยาอมาตย์นำเฝ้า                                            บอกเบื้องเคืองเข็ญ

      คำศัพท์

      บรรหาร                 (แผลงมาจาก บริหาร) ก. เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง

      ถับ                          ว. ทันใดนั้น, เร็ว, พลัน

      เบื้อง                       น. ที่อยู่สูงขึ้นไป, โดยปริยายหมายถึงผู้หรือสิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่า

      แปลความ

                                      บรรดาเสนาทั้งหลายได้ฟังคำของพระนเรศวรแต่ยังไม่ทันได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ก็มีทูตมาจากเมืองกาญจนบุรีมาเข้าเฝ้า

      ฯลฯ

      ๖๗(๑๗๐)             โคลง๒            พระเปรมปราโมทย์ไซร้                     ซึ่งบดินทร์ดาลได้

                                      สดับเบื้องบอกรงค์

      คำศัพท์

                                      พระ                        น.ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง (พระนเรศวร)

                                      เปรม                       ก. สบาย, รื่นเริง, อิ่มใจ, อย่างยิ่ง

                                      ปราโมทย์              น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ความดีอกดีใจ

                                      บดินทร์                  น. พระเจ้าแผ่นดิน, กษัตริย์

      สดับ                       ก. ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่ (วิวาห์พระสมุทร)

      รงค์                         น. สนามรบ, ลาน

      แปลความ

      เมื่อพระนเรศวรได้รับฟังข่าวการรบ พระองค์นั้นก็มีความรู้สึกดีอกดีใจมาก

                                     

      ๖๘(๑๗๑)                             ธให้หาองค์น้องท้าว                           แถลงยุบลเหตุห้าว

                                      ท่านแจ้งทุกอัน  แลนา

      คำศัพท์

                                   ส. ท่าน, เธอ เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ (พระนเรศวร)

      แถลง                      ก. บอก เล่า หรือแจ้งให้ทราบเป็นทางการ เช่น แถลงข่าว, กล่าวอธิบาย เช่น จะแถลงให้ทราบ

      ยุบล                        น. ข้อความ, เรื่องราว

      แจ้ง                         ก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้ เช่น แจ้งความประสงค์

      แปลความ

                                      พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถได้ชี้แจงถึงเรื่องราวต่างๆ แก่พระเอกาทศรถจนหมดสิ้น

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×