ฮาโลวีน (Halloween) พลิกประวัติความสยอง ที่มาและความหมาย - ฮาโลวีน (Halloween) พลิกประวัติความสยอง ที่มาและความหมาย นิยาย ฮาโลวีน (Halloween) พลิกประวัติความสยอง ที่มาและความหมาย : Dek-D.com - Writer

    ฮาโลวีน (Halloween) พลิกประวัติความสยอง ที่มาและความหมาย

    ผู้เข้าชมรวม

    550

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    550

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 พ.ค. 65 / 13:09 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    เทศกาลฮาโลวีน (Halloween) หรือ “วันปล่อยผี” นั้น ตรงกับวันที่ 31 ต.ค. ของทุกปี เรื่องเล่าขานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ถูกบอกเล่าส่งต่อสืบธรรมเนียมกันมาทุก ๆปี ลองมาทบทวนกันอีกสักครั้งก่อนไปร่วมฉลองในคืนนี้ว่า เรารู้จักเทศกาล “ฮาโลวีน” กันดีแล้วหรือยัง   วันฮาโลวีน ของทุกปี จะตรงกับ วันที่ 31 ตุลาคม เชื่อว่ามีที่มาจากวันฉลองปีใหม่ของชาวเซลท์ (Celt) ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่เรียกว่า Samhain ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งความตาย ทั้งนี้ ในวันที่ 31 ตุลาคม ชาวเซลท์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่าเป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ วันฮาโลวีน ของทุกปี จะตรงกับ วันที่ 31 ตุลาคม เชื่อว่ามีที่มาจากวันฉลองปีใหม่ของชาวเซลท์ (Celt) ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่เรียกว่า Samhain ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งความตาย ทั้งนี้ ในวันที่ 31 ตุลาคม ชาวเซลท์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่าเป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ 

    ประวัติความเป็นมาของ “ฮาโลวีน”

    ชาวเซลท์เชื่อกันว่า วันที่ 31 ตุลาคมซึ่งเป็นวันสิ้นสุดฤดูร้อน เป็นวันที่มิติคนตายและคนเป็น หรือโลกแห่งวิญญาณและโลกแห่งมนุษย์ จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมา จะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อเข้าสิง เพื่อที่วิญญาณนั้นจะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ คนเป็น ๆ จึงต้องพยายามทำทุกวิถีทางที่จะป้องกันไม่ให้วิญญาณมาเข้าสิงร่างของตน ชาวเซลท์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน เพื่อให้อากาศหนาวเย็นและไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ ยังพยายามแต่งกายปลอมตัวเป็นผีร้าย เพื่อให้ผีหรือดวงวิญญาณที่กำลังล่องลอยอยู่ในโลกมนุษย์ เข้าใจผิดว่าเป็นผีเหมือนกัน ก็จะได้ไม่เข้าสิง  

    นอกจากนี้คืนดังกล่าวยังเป็นคืนเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว ชาวเซลท์โบราณ ยังมีการนำสัตว์หรือพืชผลมาบูชายัญให้กับเหล่าภูติผีและดวงวิญญาณด้วย หลังจากคืนนั้นไฟทุกดวงจะถูกดับ และจุดขึ้นใหม่ด้วยไฟศักดิ์สิทธิ์

    กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีสิงร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนจึงกลายเป็นเพียงพิธีการแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาด ตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป  เดิมทีนั้น เทศกาลฮาโลวีนจัดขึ้นในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และประเทศข้างเคียงเท่านั้น แต่เมื่อชาวไอริชและชาวสกอต อพยพไปตั้งหลักแหล่งในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1840 ก็ได้นำเอาประเพณีนี้ไปปฏิบัติด้วย ซึ่งปรากฏว่าถูกใจชาวอเมริกันทุกเชื้อชาติ จึงปฏิบัติตามกันอย่างจริงจังตลอดมา และตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้กลายเป็นเทศกาลประจำชาติมาจนทุกวันนี้

    ในยุคอดีตมีการนำหัวเทอร์นิป (turnip) หรือ หัวผักกาด มาคว้านไส้ด้านในเพื่อใส่ดวงไฟไว้เป็นโคมให้แสงสว่างในเทศกาลฮาโลวีน แต่ในสหรัฐอเมริกา ฟักทองเป็นพืชท้องถิ่นที่หาได้ง่ายกว่าและปลูกกันแพร่หลาย จึงมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ฟักทองเป็นโคมฮาโลวีนแทน 

    เขาทำอะไรกันบ้างในวันฮาโลวีน

    การฉลองวันฮาโลวีนนิยมจัดกันในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร แคนาดา และยังมีในออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ด้วย รวมถึงประเทศอื่นในทวีปยุโรปก็นิยมจัดงานวันฮาโลวีนเพื่อความสนุกสนาน ในประเทศทางตะวันตก เด็ก ๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง เรียกว่า การเล่น Trick or Treat (หลอกหรือเลี้ยง) คือการเดินเคาะประตูขอขนมตามบ้าน

    ทำไมต้องเป็นโคมฟักทอง

    อีกองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับเทศกาลฮาโลวีน คือ การประดับประดาแสงไฟ และการแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ เจาะทำตา จมูก และปากที่แสยะยิ้ม เรียกว่า แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์น (jack-o'-lantern)

    ตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองฮาโลวีนนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช กล่าวถึง นายแจ๊กจอมตืด เป็นขี้เมาประจำหมู่บ้าน วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ "ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก" แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ๊กตาย เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ เพราะเขามีความคิดไปในทางของความชั่วร้าย ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธที่จะลงนรก เพราะเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจเอาไว้ ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อให้เขาใช้นำทางไปในทางที่มืดมิด และหนาวเย็น และแจ๊กได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอร์นิปที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น

    ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาด และใส่ไฟไว้ด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง "การหยุดยั้งความชั่ว" และเพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกันพบว่าฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน

    อย่างไรก็ตาม ตำนานและเรื่องเล่าเกี่ยวกับฮาโลวีนนั้น อาจจะมีแตกต่างหรือผิดแผกในรายละเอียดกันออกไปบ้าง แต่โดยเนื้อหาแล้วนี่คือเทศกาลแห่งการหยุดยั้งความชั่วร้าย รำลึกถึงผู้ล่วงลับ และเพิ่มบุญต้อนรับปีใหม่และฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะมาถึง

     

     

     

     



     

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×