เกี่ยวกับ10 เหตุผลที่ทำให้ King And The Clown ดัง !
ลองมาอ่านดูนะคะว่าจริงรึเป่าเหตุผลที่ว่าน่ะ
ผู้เข้าชมรวม
488
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เมื่อหนังเรื่อง King And The Clown (ชื่อเดิม The Royal Jester) ออกฉายเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว น้อยคนนักที่คาดว่าหนังจะฮิตถล่มทลาย ต้นทุนสร้างประมาณ 4.4 พันล้านวอน (4.4 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ) เป็นหนึ่งในสามส่วนของหนังเกาหลี เรื่อง Blue Swallow และหนึ่งในห้าสิบส่วนของหนังเรื่อง The Chronicles Of Narnia ซึ่งเปิดตัวในวันเดียวกัน ห่างไกลจากการเป็นหนังบล็อกบัสเตอร์ เพราะ King And The Clown ไม่มีดาราดังเลยซักคน ตัวหนังยังออกแนวพีเรียดย้อนยุค ซึ่งโดยปกติแล้วไม่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ชมรุ่นเยาว์ และยังเกี่ยวกับเรื่องโฮโมเซ็กชวลอีกด้วย รวมทั้งยังแตกต่างจากหนังฮิตทำลายสถิติเรื่องอื่นๆ เช่น Silmido และ Tae Guk Gi: The Brotherhood Of War เพราะไม่เกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดน เมื่อพิจารณาถึงข้อด้อยเหล่านี้แล้ว ทีมงานสร้างหนังหวังว่าจะทำเงินได้ 3 ล้านถ้าพวกเขา “โชคดี”
สถิติใหม่ของหนังพีเรียดถูกมองว่าได้ทำลายสูตรต่างๆในอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่มีดาราดัง ต้นทุนไม่สูง ไม่มีการโปรโมตยิ่งใหญ่ ไม่มีฉากแอคชั่น โรแมนซ์ แต่กลับมีเบื้องหลังทางวัฒนธรรมที่ดูน่าเบื่อ และเรื่องรักร่วมเพศ แต่หนังกลับได้เขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลี
อะไรที่ทำให้คนเกาหลี 1 ใน 4 คนดูหนังเรื่องนี้? นี่คือ เหตุผลการวิเคราะห์อย่างคร่าวๆ 10 ข้อที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอันเหนือคาด
1. การกลับมาของผู้ชมวัยกลางคน
ในปี 2004 หนังเกาหลี 2 เรื่อง คือ Silmido และ Tae Guk Gi ประสบในการจับกลุ่มผู้ชมวัยกลางคน กลุ่มที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการไปโรงหนัง การฮิตถล่มทลายนี้ถูกมองว่าเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้น อย่างไรก็ตาม มีหนังเกาหลีไม่กี่เรื่องที่ดึงดูดความสนใจผู้ชมกลุ่มใหญ่ได้หลังจากนั้น ชุง จิน วัน หัวหน้าของอีเกิล พิคเจอร์ส บอกว่า หนังเรื่อง King And The Clown พบกับความต้องการใหม่อย่างประสบความสำเร็จ และได้ดึงผู้ชมรุ่นเก่ากลับเข้าโรงหนัง เขาบอกว่า “ในที่สุดพวกเขาก็พบหนังที่คุ้มค่าสำหรับการชม” คนโปรโมตหนังหลายคนบอกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชมอายุมากกว่า 40 ปี
2. การโปรโมตแบบเหนือคาด
ประธานาธิบดี โรห์ มูฮูน เดินทางไปโรงหนังเพื่อดูหนังวันที่ 21 มกราคม และนักการเมืองหลายคนยังพูดถึงหนังพีเรียดย้อนยุคตอนให้ความเห็นต่อสาธารณชน พรรคฝ่ายค้านเปรียบเทียบ โรห์ เป็นราชา ยอนซัน ตัวละครหลักของหนัง ขณะที่พรรครัฐบาลให้ความเห็นว่าประชาชนดูเหมือนจะเอาพระราชาไปปะปนกับผู้นำเกาหลีคนก่อน โดยหมายถึง ปาร์กชุนฮี พ่อของ ปาร์ก เกียน-ฮี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน หลังจากดูหนังเสร็จ ประธานาธิบดี โรห์ ได้พูดซ้ำๆกันว่ามันเป็นเรื่องที่ “จินตนาการขึ้น” นอกเหนือจากประเด็นทางการเมือง ท้ายที่สุดกลายเป็นช่วยโปรโมตตัวหนังไปในตัว
3. แฟนกลุ่มใหม่
เรื่อง King And The Clown ทำให้ได้เห็นว่าแฟนๆย้อนกลับมาดูหนังอีก บรรดาแฟนที่เรียกตัวเองว่า “pyein” ภาษาเกาหลีซึ่งหมายถึง “เสพติด” พูดอย่างภูมิใจว่าพวกเขาดูหนังเป็นจำนวนเลข 2 หลัก บนเว็บไซด์ทางการของบรรดาแฟนๆ (café.daum.net/kingsman) มีข้อความจำนวนมากมายถูกโพสต์โดยบรรดาคนที่ดูหนังมากกว่า 10 รอบ หญิงที่กำลังหางานคนหนึ่งที่ชื่อ คิมพันยา ดูหนังแล้วกว่า 45 รอบ ปาร์กจินเฮ เจ้าหน้าที่เอเจนซี่ครีเอทีฟ ฟิล์ม โปรโมชั่นกล่าวว่า “พวกเขาบอกว่าเมื่อไหร่ที่พวกเขาได้ดูหนัง พวกเขาจะมองด้วยมุมมองของตัวละครที่แตกต่างไป”
4. ผลสำเร็จที่ลงตัว
เป็นที่ทราบกันดี ตัวหนังถูกดัดแปลงจากบทละครเรื่อง Yi บทละครซึ่งเคยได้รับคำชมหลังจากออกแสดงในปี 2000 ได้ถูกนำมาขึ้นเวทีใหม่เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว 3 สัปดาห์ก่อนที่หนังจะเปิดตัว บรรดาแฟนของบทละครได้ตั้งความหวังกับหนังใหม่ และผลก็คือ หนังฮิตถล่มทลาย การแสดงแบบ “นักแสดงตลก” ที่เรียกว่า “namsadangpae” ช่วยดึงผู้ชมจำนวนมากให้มาชม ซึ่งต้องขอบคุณความฮิตของหนัง
5. การเปิดกว้างสำหรับชาวรักร่วมเพศ
หนังฮิตอาจถูกตีตราว่าเป็นหนังรักร่วมเพศ ซึ่งเปิดไปสู่การตีความที่หลากหลาย เพราะตัวหนังเสนอรักสามเส้าที่รายล้อมตัวกษัตริย์ นางสนม และนักแสดงตลก 2 คนของเขา จริงๆแล้ว ชื่อภาษาเกาหลีของตัวหนังแปลได้ว่า “ผู้ชายของราชา” ซึ่งแฝงความหมายเชิงรักร่วมเพศ ถ้าเรื่องราวที่น่าสนใจเปลี่ยนไป อาจจะเป็นเพราะฉากรักร่วมเพศ แต่สังคมที่เหมือนจะเปิดไปสู่คนกลุ่มน้อยมากขึ้นยังแสดงความรังเกียจเล็กน้อยในเรื่องที่เล่า
สมาคมนักหนังสือพิมพ์ล่าสุดได้รายงานว่าสังคมเกาหลีแสดงให้เห็นถึง “สัญญาณของการเปิดกว้าง” กับวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย กลุ่มผู้ชายเกย์ของเกาหลีที่เรียกว่า “Chingusai” ระหว่างการประชุมได้กล่าวว่าตัวหนังสนับสนุนการเพิ่มค่าความเป็นมนุษย์
6. คู่แข่งน้อย ( จริงหรือ )
บางคนเชื่อว่าตัวหนังโชคดีเพราะมีหนังที่เป็นคู่แข่งน้อยในช่วงที่เปิดตัว แต่เมื่อมองรายชื่อคู่แข่งแล้ว หนังเรื่อง King And The Clown กลายเป็นคนแคระไปเลยเมื่อเทียบกับหนังทุนสูงหลายเรื่อง เช่น King Kong, Narnia, The Polar Express, Memoirs Of A Geisha และ Munich จากอเมริกา รวมถึงหนังเกาหลีและหนังจีนเรื่องอื่นๆอีก พูดได้ว่าโกเลียตส์โชคไม่ดีที่ต้องต่อสู้กับเดวิด มากกว่าจะพูดว่าหนังพีเรียดโชคดี แต่ตัวหนังยังคงฉายต่อไปเรื่อยๆจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงอุตสาหกรรมบันเทิงไม่ค่อยคึกคัก โดยมีหนังบล็อกบัสเตอร์ไม่กี่เรื่องที่เปิดตัวออกฉาย
7. การโปรโมตแบบส่งต่อ
ด้วยทุนสร้างราวๆ 2.3 ล้านวอน (2.3 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ) เรื่อง King And The Clown ไม่ใช่หนังทุนต่ำเมื่อคิดถึงขนาดตลาดหนังของเกาหลีแล้ว แต่ความสำเร็จอย่างเหนือคาดของหนังไม่ใช่การโปรโมตของทีมงานสร้างหนัง แต่กลับเป็นการโปรโมตของแฟนหนัง การเจาะเข้าทางอินเตอร์เน็ตช่วยทำให้ชื่อเสียงของหนังแพร่กระจายเหมือนไฟป่า หลังจากออกฉาย คนใช้อินเตอร์เน็ตเขียนความเห็นมากกว่า 2 หมื่นความเห็นเกี่ยวกับหนังบนเว็บไซด์ของ Naver (www.naver.com) โดยทำลายสถิติ 8 พันความเห็นของหนังฮิตเรื่อง Welcome To Dongmakgol มันถูกมองว่าเป็นชัยชนะของการสื่อสารด้วยคำพูดจากปาก (ในสังคมไฮสปีด) ที่อยู่เหนือการโปรโมตที่วางแผนเอาไว้
8. Lee Jun-gi เอฟเฟกต์
คนวงในอุตสาหกรรมบันเทิงบอกว่าต้องใช้ดาราดังเพื่อให้หนังฮิต แต่หนังเรื่อง King And The Clown กลับไม่มีดาราดัง แต่กลับเป็นการแจ้งเกิด Lee Joon-ki โดยเขารับบทนักแสดงตลกที่ชื่อ Gong-gilซึ่งกลายเป็นปรากฎการณ์ในหมู่วัยรุ่นและคนในช่วงอายุที่ขึ้นต้นด้วยเลข 2 และเป็นตัวช่วยให้หนังทำรายได้ในบ็อกซ์ซ์ออฟฟิศ เขาได้รับคำวิจารณ์จากทักษะการแสดงและยกย่องสำหรับการพบกับนักแสดงหน้าใหม่ที่มีพรสวรรค์
9. ภาพอันน่าชม
ทั้งๆที่ทุนสร้างจำกัด แต่ตัวหนังกลับได้รับคำชมสำหรับภาพเอฟเฟกต์อันน่าชม ตัวหนังแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของเสื้อผ้าและสิ่งของแบบเก่า
10. เนื้อเรื่องที่น่าดึงดูดใจ
แฟนๆของเรื่อง King And The Clown ชอบการเล่าเรื่องแบบมีหลายมุมมอง ยังไฟน์ บริษัทโปรโมตหนังบอกว่า วัยรุ่นรู้สึกสนใจความผูกพันแบบแน่นกระชับระหว่างนักแสดงตลก 2 คน คือ กองกิ และ จางซัง ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านพล็อตที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เรื่องรักสามเศร้าระหว่างนักแสดงตลกและพระราชา คนในช่วงวัย 30 พูดถึงตัวละครพระราชา ยอนซัน ว่าเป็นคนที่คิดถึงแม่ซึ่งถูกฆ่าในโลกการเมือง
ขณะเดียวกัน กลุ่มคนวัย 40 เข้าใจว่าพล็อตเรื่องเป็นการต่อสู้กับอำนาจในพระราชวัง “ผู้ชมแต่ละคนได้เห็นหนังจากมุมมองของตัวเองและเห็นอกเห็นใจตัวละครต่างๆ” ผู้กำกับ ลีจุนอิก กล่าว
นำมาจากป๊อปคอนค่าดอดคอมเจ้าค่า
ผลงานอื่นๆ ของ Leejunko ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Leejunko
ความคิดเห็น