ลำดับตอนที่ #10
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : บทที่ 3 โครงงานเจลฯ
บทที่ 3
อุปกรณ์และวีธีการดำเนินการทดลอง
ตอนที่ 1 การสกัดด้วยตัวทำละลาย
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
รายการ
|
ปริมาณ
|
1. ขมิ้น ตะไคร้หอม ใบเตย ดอกอัญชัน ดอกมะลิ แครอท ไพล แคนตาลูป ขิง สตอเบอรี่ แตงโม มะละกอ มะเขือเทศ ลีลาวดี ยูคาลิปตัส ขึ้นฉ่าย ฟักทอง กุหลาบ กระชาย เฟื่องฟ้า ที่จะใช้ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
|
10-20 g
|
2. เอทานอล
|
5 cm3
|
3. นํ้ากลั่น
|
10 cm3
|
4. ขวดรูปกรวยขนาด 100 cm3 พร้อมจุกปิดปากขวดหรือหลอดทดลองขนาดใหญ่พร้อมจุกปิด)
|
2 ชุด
|
5. บีกเกอร์ ขนาด 250 cm3
|
2 ใบ
|
6. กรวยแก้วหรือกรวยพลาสติก
|
1 ชุด
|
7. ถ้วยระเหย
|
2 ใบ
|
8. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม และตะแกรงลวด
|
1 ชุด
|
9. กระดาษกรอง
|
1 แผ่น
|
10. กระบอกตวงขนาด 10 cm3
|
1 ใบ
|
11. เครื่องชั่ง
|
1 เครื่อง
|
วิธีทดลอง
1. เขียนชื่อสมุนไพรและตัวทำละลายติดข้างขวดทุกใบ นำน้ำร้อนใส่ในขวด 2 ใบ เท่าๆกัน ใส่ลงไป เขย่าขวดเป็นระยะ ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง กรองเศษผักออก สังเกตน้ำที่สกัดได้ในแต่ละขวด
2. เขียนชื่อสมุนไพรและตัวทำละลายติดข้างขวดทุกใบ นำน้ำเย็นใส่ในขวด 2 ใบ เท่าๆกัน ใส่ตะไคร้หอม ลงไป เขย่าขวดเป็นระยะ ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง กรองเศษผักออกสังเกตน้ำที่สกัดได้ในแต่ละขวด
ตอนที่ 2 การทำเจลล้างมือสมุนไพร
วัสดุ
|
1. กลิ่น/สีดอกมะลิ 2. กลิ่นตะไคร้หอม 3. กลิ่น/สีใบเตย 4. กลิ่น/สีขมิ้น 5. สีดอกอัญชัน 6. กลิ่น/สีแครอท
7. กลิ่น/สีไพล 8. กลิ่น/สีแคนตาลูป 9. กลิ่น/สีขิง
10. กลิ่น/สีสตอเบอรี่ 11. กลิ่น/สีแตงโม 12. กลิ่น/สีมะละกอ 13. กลิ่น/สีมะเขือเทศ 14. กลิ่น/สีดอกลีลาวดี 15. กลิ่น/สียูคาลิปตัส 16. กลิ่น/สีขึ้นฉ่าย 17. กลิ่น/สีฟักทอง 18. กลิ่น/สีดอกกุหลาบ
19. กลิ่น/สีกระชาย 20. กลิ่น/สีดอกเฟื่องฟ้า
|
|
อุปกรณ์
|
1. เครื่องชั่ง Cento gram
2. บีกเกอร์ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. บีกเกอร์ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
4. นาฬิกาจับเวลา
5. ถาด
6. กรรไกร
7. กระบอกตวง
8. ภาชนะใส่เจลล้างมือ
|
|
สารที่ใช้
|
1. สาร CARBOPOL คือ ตัวสร้างเจล
2. ALCOHOL และ TRICLOSAN คือ ตัวฆ่าเชื้อ
3. TRLETHANOLAMIN คือ ตัวที่ทำให้เจลมีความเหนียว
4. CLYCERINE คือ ตัวลดความเป็นกรด-เบส ปรับค่า pH
|
|
วิธีการดำเนินการทดลอง
1. ผสมสาร CARBOPOL , ALCOHOL , TRICLOSAN , TRLETHANOLAMIN CLYCERINE , เข้าด้วยกัน
2. นำกลิ่นและสีของสมุนไพรที่สกัดไว้มาผสมคนจนเป็นเนื้อเดียวกัน ในปริมาณ 10 , 20 มิลลิลิตรตามลำดับ
3. แยกใส่ภาชนะบรรจุ ติดฉลาก
ตอนที่ 3 วิธีการทดสอบหาประสิทธิภาพของเจล
วัสดุ-อุปกรณ์
|
1. มันฝรั่งมาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดประมาณ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน 200 กรัม
2. บีกเกอร์ขนาด 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. น้ำกลั่น 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
4. ผ้าขาวบางหรือกระดาษกรอง
5. ชั่งเด็กโตรส 20 กรัม
|
|
6. NAOH หรือ HCL เจือจาง
7. กระดาษลิตมัส
8. วุ้น 12 กรัม
9. ผ้าขาวบางหรือกระดาษกรอง
10. หลอดขนาด 15 X 150 mm หลอดละ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
จำนวน 2 หลอด
11. หม้อนึ่งอัดไอ
12. เทอร์โมมิเตอร์
13. จานเพาะเชื้อ
14. ตะเกียงแอลกอฮอล์
15. ปิเปต
|
วิธีการทดสอบหาประสิทธิภาพของเจล
1. เตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เป็นอาหารวุ้น โดยนำมันฝรั่งมาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดประมาณ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน 200 กรัม ใส่ลงในบีกเกอร์ที่มีน้ำกลั่น 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร นำไปต้มให้เดือดประมาณ 10-15 นาที กรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระดาษกรองเอาแต่น้ำใสไว้
2. ชั่งเด็กโตรส 20 กรัม ใส่ลงในบีกเกอร์ที่มีน้ำกลั่น 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร เติมวุ้น 12 กรัม คนให้ละลาย
3. ผสมสารในข้อ 1 และ ข้อ 2 ให้เข้ากัน ปรับค่า pH ให้มีค่า 5-6 ด้วย NAOH หรือ HCL เจือจาง เทใส่ในหลอดทดลอง ดังนี้
หลอดขนาด 24 X 150 mm หลอดละ 25 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน 2 หลอด
หลอดขนาด 15 X 150 mm หลอดละ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน 2 หลอด
4. นำไปทำให้ปราศจากเชื้อ โดยการนำอาหารวุ้นที่บรรจุไว้ในหลอดทดลองมานึ่งในหม้อนึ่งอัดไอที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 15-20 นาที นำจานเพาะเชื้อแต่ละคู่ที่ห่อด้วยกระดาษอย่างมิดชิด บรรจุในหม้อนึ่ง นำหลอดที่บรรจุอาหารวุ้นขนาด 15 X 150 mm มาวางเอียงทำมุมประมาณ 60 องศา เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวหน้าอาหารจำนวน 2 หลอด ส่วนอีก 2 หลอดวางในลักษณะตั้งตรง
การเทอาหารลงจานเพาะเชื้อด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
- เปิดจุกสำลีหลอดอาหารวุ้นแข็งที่หลอมจนวุ้นละลาย และอาหารอุ่นพอที่มือจะจับได้
- ลนไฟบริเวณรอบปากหลอดอาหาร
- เผยอฝาจานเพาะเชื้อเล็กน้อยรีบเทอาหารลงไป โดยปกติจะเทอาหารลงไปประมาณ 1/3 ของความสูงจากก้นจานเพาะเชื้อ หมุนปากหลอดเล็กน้อยเพื่อกันอาหารหยดที่หลอดแล้วรีบปิดฝาจานเพาะเชื้อ
- ในกรณีที่ใส่เชื้อหรือตัวอย่างที่มีเชื้อจุลินทรีย์ลงไปในหลอดอาหาร เมื่อเทลงในจานเพาะเชื้อแล้ว ให้หมุนจานเพาะเชื้อตามเข็มนาฬิกา ทวนเข็มนาฬิกาและเลื่อนไปมาหน้าหลังอย่างละ 10 ครั้ง เพื่อให้เชื้อผสมและกระจายในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ดี แล้วตั้งทิ้งไว้จนอาหารวุ้นแข็ง
การเขี่ยเชื้อและถ่ายเชื้อในอาหารวุ้น
- เผาห่วงเขี่ยเชื้อให้ส่วนที่เป็นลวดร้อนแดงตลอดทั้งเส้น เพื่อกำจัดจุลินทรีย์ที่ติดอยู่ให้หมดไป แล้วปล่อยให้เย็นสักครู่ประมาณ 15 – 20 วินาที
- เปิดจุกสำลีของหลอดหัวเชื้อยีสต์ หมุนปากหลอดผ่านเปลวไฟให้บริเวณปากหลอดร้อน แล้วใช้ห่วงเขี่ยเชื้อแตะลงบนเชื้อในหลอดหัวเชื้อ ลนไฟปากหลอดหัวเชื้ออีกครั้งหนึ่ง
- เขี่ยเชื้อและถ่ายเชื้อลงในอาหารวุ้นที่มีผิวหน้าเอียงอีกหลอดหนึ่ง ปฏิบัติเช่นเดียวกันข้อ 2 แต่ลากห่วงเขี่ยเชื้อที่มีเชื้อลงบนผิวหน้าอาหารแบบซิกแซก
- เขี่ยเชื้อและถ่ายเชื้อลงในหลอดอาหารวุ้นที่มีผิวหน้าตัดตรง ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 2 แต่แทงห่วงเขี่ยเชื้อที่มีเชื้อลึกลงไปในอาหารวุ้น สำหรับหลอดอาหารวุ้นหลอดสุดท้ายไม่ใส่เชื้อใช้เป็นหลอดควบคุม
- ตั้งหลอดอาหารทั้ง 4 หลอดไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 - 48 ชั่วโมง แล้วสังเกตและบันทึกผล (ถ้าทำการทดลองในฤดูที่อุณหภูมิต่ำ ควรวางการทดลองไว้นานกว่านี้ )
การเลี้ยงเชื้อในจานเพาะเชื้อ
- นำหลอดอาหารวุ้นที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 2 หลอด มาหลอมให้เหลวโดยใส่ในบีกเกอร์ที่มีน้ำเดือด ต้มต่อไปจนอาหารวุ้นหลอม ทิ้งให้เย็นลงจนมีอุณหภูมิประมาณ 45 - 50 °C ซึ่งทดสอบได้โดยแนบหลอดอาหารกับหลังมือซึ่งหลังมือจะสามารถทนได้
- ลนไฟที่ปากหลอดอาหารให้ร้อนเทอาหารในหลอดทดลองลงในจานเพาะเชื้อ 2 จาน ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ ดังที่ได้ฝึกปฏิบัติมาแล้ว ปิดฝาจานเพาะเชื้อ
- ใช้ปิเปตที่ฆ่าเชื้อแล้วดูดหัวเชื้อยีสต์1 cm³ เปิดฝาจานเพาะเชื้อเล็กน้อยแล้วเทใส่ลงในอาหารในจานเพาะเชื้อ 1 ใบ หมุนจานเพาะเชื้อไปทางซ้ายขวา และเลื่อนไปหน้าหลังอย่างละ 10 ครั้ง แล้วทิ้งไว้จนอาหารวุ้นแข็งตัว วางจานเพาะเชื้อไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยวางในลักษณะกลับฝาบนล่างส่วนอาหารในจานเพาะเชื้ออีกจานหนึ่งไม่ใส่เชื้อ
การวัดการเจริญเติบโดของจุลินทรีย์
วิธีการนับโคโลนีจุลินทรีย์
วิธีนับทำโดยคว่ำจานเพาะเชื้อนับ ไม่เปิดฝาจาน หากไม่มีเครื่องนับโคโลนีสามารถนับด้วยตาเปล่าได้ ควรแบ่งพื้นที่ในจานอาหารเป็น 4 ส่วน แล้วนับคร่าวๆว่าในหนึ่งส่วนมีจำนวนไม่เกิน 50 จึงจะนับจำนวนทั้งหมดต่อไป ควรใช้ดินสอหรือปากกาเขียนแก้วแตะเป็นจุดที่จานเพาะเชื้อตรงบริเวณโคโลนีเพื่อแสดงว่าได้นับโคโลนีนั้นไปแล้ว
ในกรณีที่มีจำนวนโคโลนีมาก และคาดว่าจะเกิน 300 โคโลนี หรือนับทั้งจานได้ลำบากมาก อาจนับจากช่องเล็กขนาด 1 cm² โดยนับกระจายทั่วทั้งจานประมาณ 5 – 10 cm² แล้วเฉลี่ยเป็นค่าจำนวนโคโลนี/ 1 cm² แล้วคูณด้วยพื้นที่ผิวของจานเพาะเชื้อจะได้ค่าโดยประมาณ ซึ่งใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ในกรณีที่มีเครื่องนับโคโลนีจุลินทรีย์ก็จะทำได้ในทำนองเดียวกัน
ตอนที่ 4 การทำแบบสำรวจผู้ใช้เจลล้างมือจำนวน 200 คน
1. ทำแบบสำรวจสำหรับผู้ที่ใช้เจลล้างมือขึ้น
2. สุ่มเลือกผู้ใช้จาก จำนวนนักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น ชาย 50 คน และเป็นหญิง 50 คน
3. สุ่มเลือกผู้ใช้จากครู ผู้ปกครอง ชุมชนเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนอำนาจเจริญ
จำนวน 100 คน
4. ทำการสำรวจ โดยให้ผู้ทดลองใช้เจลล้างมือกลิ่นและสีจากสมุนไพร ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่
เจลล้างมือกลิ่น/สีธรรมชาติจากดอกมะลิ เจลล้างมือกลิ่นตะไคร้หอม/สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน
เจลล้างมือกลิ่น/สีธรรมชาติจากใบเตย เจลล้างมือกลิ่น/สีธรรมชาติจากขมิ้น
5. นำผลการสำรวจ มาจัดทำเป็นรูปแบบการนำเสนอในรูปแบบของแผนภูมิ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น