ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงงานสุขศึกษา ม. 4

    ลำดับตอนที่ #9 : บทที่ 2 โครงงานเจลฯ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.68K
      1
      2 ก.ค. 55

    บทที่  2
    เอกสารที่เกี่ยวข้อง
     
    Aroma (อโรมา) หมายถึง กลิ่นหอม
    Therapy (เธราพี) หมายถึง การบำบัดรักษา
              Aromatherapy (อโรมา-เธราพี) หมายถึง การบำบัดรักษาสุขภาพด้วยกลิ่นหอม การนำน้ำมันหอม ระเหยที่สกัดมาจากพืชและส่วนต่างๆของ พืช เช่น ดอก, ผล, เมล็ด,ก้าน, ลำต้น, ราก และใบ) มาใช้ประโยชน์สำหรับร่างกาย จิตใจ และ อารมณ์ ตลอดจนความงาม เนื่องจาก กลิ่นหอมสามารถช่วยป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บปวดได้ ในน้ำมันหอมระเหยนี้ มี สรรพคุณช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย สร้างความ กระปรี้กระเปร่า สดชื่น สด ใสได้
    คำว่า อโรมาเธราพี นำมาใช้ครั้งแรก โดย เรเน มอรัชส กัตฟอส (Rene Maurice Gattefosse) นักเคมีชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1928 โดยใช้หลักทางสรีรศาสตร์ที่ว่า มนุษย์ สามารถสัมผัสกลิ่นได้มากกว่าหมื่นชนิด กลิ่นที่มนุษย์ได้รับสัมผัสในแต่ละครั้งจะผ่าน ประสาทสัมผัสรับกลิ่น (Olfactory nerves) ซึ่งอยู่เหนือโพรงจมูก (Nasal cavity) เมื่อ กลิ่นหอมจากละอองเกสรดอกไม้ต่างๆ ผ่าน กระเปาะรับกลิ่น (Olfactory bulbs) ที่ติดต่อ กับลิมบิค ซิสเต็ม (Limbic system) ซึ่งเป็น สมองส่วนควบคุม อารมณ์ ความทรงจำ และการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์ จึงสามารถ ส่งผลกับอารมณ์และจิตใจ ได้โดยตรง
    น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชสมุนไพร หลายชนิด ได้ถูกค้นคว้าวิจัยเพื่อนำมา บำบัดรักษาโรคต่างๆ ซึ่งในตัวพืชสมุนไพรมี คุณสมบัติในการบำบัดรักษาแตกต่างกันออก ไป เช่น น้ำมันหอมระเหยที่สามารถฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย รวมทั้งเชื้อราและยีสต์บางชนิด ให้ใช้น้ำมันหอมระเหยจากอบเชย กานพลู การบูร ลาเวนเดอร์ และยูคาลิปตัส ถ้าจะ คลายความเครียด นอนไม่หลับ ให้ใช้น้ำมัน หอมระเหย          ลาเวนเดอร์ ดอกส้ม หญ้าแฝก หรือโรสแมรี่ โดยใช้ทาหรือผสมกับน้ำอุ่นอาบ ก็ได้ การบำบัดรักษารักษาด้วยกลิ่นหอมนี้ มีอยู่หลายวิธี ได้แก่
    1. การสูดดมโดยตรง ทำได้โดยเปิดฝา ขวดแล้วสูดดมกลิ่นโดยตรง หรือใช้สำลี ผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำมันหอมระเหยแล้วสูดดม วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพดี
    2. การสูดดมจากไอระเหย มี 2 วิธี คือ วิธีแรก หยดน้ำมันหอมระเหย 5-10 หยด ใน ชามอ่างที่มีน้ำร้อน หลังจากนั้นก้มหน้าเหนือ ชามอ่างพร้อมกับใช้ผ้าขนหนูสะอาดๆ คลุม เหนือศีรษะ และสูดหายใจลึกๆ วิธีนี้เหมาะ สำหรับบรรเทาอาการไข้หวัดได้เป็นอย่างดี วิธีที่ 2 คือ ใช้เตาน้ำมันหอมระเหยที่มีน้ำอยู่ 1/3 ส่วน หยดน้ำมันหอมระเหยลงไป พร้อม ทั้งจุดเทียนใต้เตา เมื่อน้ำร้อนไอน้ำจะพา กลิ่นหอมระเหยไปทั่วบริเวณ ในประเทศ ญี่ปุ่น มีการใช้กลิ่นส้มหรือกลิ่นกุหลาบในที่ ทำงานพบว่า พนักงานทำงานได้มีประสิทธิ ภาพดีขึ้น ประเทศไทยจะนำไปใช้ก็น่าจะดี เหมือนกัน
    3. การอาบหรือแช่น้ำ หยดน้ำมันหอม ระเหยประมาณ 20-30 หยด ลงในอ่างน้ำอุ่น จากนั้นแช่ตัวประมาณ 20 นาที วิธีนี้จะได้รับ ความสดชื่นดีที่สุด อีกทั้งทำให้ร่างกายอบอุ่น สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ บรรเทาอาการปวด เมื่อย ผ่อนคลายความตึงเครียดได้ กลิ่นที่ ใช้ได้ดี คือ กลิ่นโรสแมรี่, เบอร์กามอท,
    ลาเวนเดอร์ เป็นต้น
    4. การนวด เป็นวิธีที่มี ประสิทธิภาพมาก น้ำมันหอมระเหยสามารถ ซึมเข้าสู่ผิวหนังผ่านทาง รูขุมขน นอกจากจะมี ผลต่อผิวพรรณแล้ว ยัง สามารถเข้าสู่ทางเดิน โลหิต และไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย เชื่อกัน ว่าการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยเป็นวิธีที่ดี ที่สุดในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย วิธีใช้ : ให้ เจือจางน้ำมันหอมระเหย 10 หยด กับน้ำมัน หลัก 20 มิลลิลิตร แล้วนวดตามต้องการ (น้ำมันหลัก คือ น้ำมันที่สกัดได้จากพืช เช่น น้ำมันจากเมล็ดอัลมอนด์, น้ำมันงา, น้ำมัน โจโจบา หรือน้ำมันเมล็ดองุ่น เป็นต้น
    ในการใช้น้ำมันหอมระเหย มีข้อควรระวัง เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยมีความเข้มข้นสูง ควรมีการเจือจางก่อนเมื่อต้องใช้กับผิวหนัง โดยตรง มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ และควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้หญิงมีครรภ์ เด็ก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ลมบ้าหมู ควรจะทำการศึกษารายละเอียด และคำเตือนในการใช้อย่างถี่ถ้วนก่อน
    การสกัดสารที่มีสีในธรรมชาติ  มีหลักการทั่วไปคือ
    1.  เลือกแหล่งตัวอย่างที่มีสารที่เราสนใจ และจัดกระทำตัวอย่างให้เหมาะสมกับการสกัด
    2.  ต้องทราบก่อนว่าสารที่สนใจนั้นละลายในตัวทำละลายใด โดยทั่วไปแล้วเพื่อความสะดวกเรามักใช้ตัวทำละลายที่เป็นของเหลว ที่นิยมอาจเป็น น้ำ หรือแอลกอฮอล์ แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า สารที่เราต้องการสกัดนั้นต้องไม่ทำปฏิกิริยากับตัวทำละลายที่เลือกเพราะว่าถ้าเป็นอย่างนั้น เราจะแยกสารที่เราสนใจได้ยาก

    3.  การแยกสารที่สนใจออกจากตัวทำละลาย ต้องใช้วิธีที่เหมาะสม ส่วนมากแล้วใช้วิธีการระเหย
    โครมาโทกราฟฟี ซึ่งมีหลายเทคนิคขึ้นอยู่กับว่าธรรมชาติของสารที่เราต้องการเป็นอย่างไร เช่น ระเหยง่ายหรือไม่ สลายตัวที่อุณหภูมิสูงหรือไม่

     

     

     

     

     

     

    ดอกมะลิ (Jasmine)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะลิ

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    วงศ์
    OLEACEAE
    ชื่อสามัญ
    Jasmine
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Curcuma longa Linnaeus
     
     
     
         มะลิเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่รู้จักมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลาย ดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธ์และมีกลิ่นหอม คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไปเพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้คนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระ ที่แตกต่างไปจากดอกไม้ชนิดอื่น เมื่อได้กลิ่นหอมของดอกมะลิแล้วจะรู้สึกชื่นใจมาก จึงมักจะนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำดอกไม้แห้ง ประดับพานพุ่มบูชาพระ ทำพวงหรีด ใช้ดอกมาอบขนมหรือโรยหน้าบนน้ำเชื่อมและน้ำดื่มให้มีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ และปัจจุบันทางราชการได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ประจำวันแม่แห่งชาติ  มะลิ สามารถนำดอกมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย(absolute) น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิจัดเป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีราคาแพงในตลาดของโลก 
    พันธุ์มะลิ
    1. มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
    2. มะลิลาซ้อน ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
    3. มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
    4. มะลิซ้อน ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
    5. มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
    6. มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน
    7. มะลิพวง ลำต้นเป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด ดอกออกเป็นช่อแน่น สีขาวกลีบดอกชั้นเดียว กลีบเล็กยาว ปลายแหลม ขนาดดอก 3-4.5 ซม. มีกลิ่นหอมมาก
    8. มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก
    9. มะลิวัลย์หรือมะลิป่า เป็นไม้เถาเลื้อย พาดต้นไม้อื่นหรือขึ้นร้าน ใบเล็กกว่าและยาวกว่ามะลิอื่น ๆ กลีบดอกเล็กยาว สีขาว กลิ่นหอมเย็นชืด
    10. พุทธิชาติ เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง และข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว
    11. ปันหยี ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม หนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหญ่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม
    12. เครือไส้ไก่ เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อดอกกลางบานก่อน กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบแหลม
    13. อ้อยแสนสวย เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน
    14. มะลิเขี้ยวงู (มะลิก้านยาว) เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด นอกจากนี้ยังมีมะลิอื่น ๆ อีกเช่น มะลิฝรั่ง, มะลิเถื่อน ฯลฯ แต่มะลิที่นิยมปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ มะลิลา มีชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac และที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องของมะลิลา มะลิลาพันธุ์ที่ส่งเสริมและนิยมปลูกมี 3 พันธุ์คือ
    1. พันธุ์แม่กลอง
    2. พันธุ์ราษฎร์บูรณะ

                                                      3. พันธุ์ชุมพร
     
     
     
     
    ลักษณะที่แตกต่างกันของทั้ง 3 พันธุ์นี้คือ
    ลักษณะ
    พันธุ์แม่กลอง
    พันธุ์ราษฎร์บูรณะ
    พันธุ์ชุมพร
    ทรงต้น
    พุ่มต้นใหญ่ หนาและ ทึบเจริญเติบโตเร็ว
    พุ่มเล็กกว่า ค่อนข้างทึบ
    คล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่ดู โปร่งกว่าเล็กน้อย
    ใบ
    ใหญ่หนา สีเขียวเข้ม จนดูออกดำ รูปใบ ค่อนข้างกลม ปลาย ใบมน
    ใบเล็กบางกว่า สีเขียวเข้มรูปใบเรียวกว่า
    ใบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ แต่เรียวว่า สีอ่อนกว่าและ บางกว่า
    ช่วงข้อใบ
    ห่าง
    ค่อนข้างถี่
    ถี่
    ดอก
    ใหญ่ กลม
    เล็กเรียวแหลม
    คล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
    ช่อดอก
    มักมี 1 ชุด ๆ ละ 3 ดอก
    มักมี 1-2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก
    มักมีมากกว่า 2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก
    ผลผลิต
    ดอกไม่ดก
    ดอกดกทยอยให้ดอก
    ดอกดกมากแต่ทิ้งระยะห่าง เรื่อย ๆ เป็นช่วง ๆ
    สรรพคุณ 
    ผิวพรรณ   :    ช่วยบำรุงผิวพรรณ เหมาะกับผิวบอบบางและแห้งลดรอยเหี่ยวย่นและรอยแผลเป็น
    กล้ามเนื้อ   :     บรรเทาปวดต่าง ๆ
    ระบบทางเดินหายใจ  :  ช่วยลดการอักเสบของหลอดลม แก้ไอ แก้เสียงแหบ
    ระบบสืบพันธุ์  :  แก้ปวดประจำเดือน และช่วยเพิ่มสเปิร์ม กระตุ้นน้ำนม แก้ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพ   ทางเพศ  บรรเทาอาการวัยหมดประจำเดือน แก้อาการก่อนมีประจำเดือน
    ระบบประสาทและจิตใจ  :  ลดความหวาดกลัว ทำให้มีความมั่นใจ ทำให้ฮอร์โมนสมดุล บำรุงหัวใจ ช่วยให้นอนหลับ  ช่วยฟื้นฟูพลังงาน
    ข้อควรระวัง เป็นกลิ่นหอมที่มีฤทธิ์รุนแรงจึงควรใช้ปริมาณต่ำ สตรีมีครรภ์ห้ามใช้จนกว่าจะใกล้คลอดเพราะช่วยให้คลอดง่าย การใช้ที่มีมากเกินไปจำไปขัดขวางการทำงานของของเหลวในร่างกายและทำให้ง่วงซึม

    ขมิ้น (Turmeric)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขมิ้น

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Turmeric
    วงศ์
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Curcuma longa Linnaeus
    ชื่ออื่น
    ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง,ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง,ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง,ใต้)
     
     
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด
    รสและสรรพคุณยาไทย
    เหง้าของขมิ้นมีรสฝาด กลิ่นหอม สามารถเก็บมาใช้เมื่อมีช่วงอายุ 9-10 เดือน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชันมีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง อาจช่วยรักษาโรค
    รูมาตอยด์ได้ ยังไม่ยืนยันแน่ชัด
    วิธี ใช้ประโยชน์
    อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อยทำโดยล้างขมิ้นให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้
    คุณค่าทางอาหาร
    เหง้าขมิ้นพบว่ามี วิตามิน เอ วิตามิน ซี นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆอีกพอสมควร เป็นเครื่องปรุงรส แต่งสีได้ดีมาก
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
    เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย "เอสเซนเซียล" และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้ม ที่ทำให้ขมิ้นได้ชื่อว่า Curcumin จากการทดลองพบว่าขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง
    รู้จักพืชที่ชื่อขมิ้นอันหลากหลาย
                  คนไทยเรียกชื่อพืชขึ้นต้นด้วยคำว่า ขมิ้นมากมายหลายชนิด มีทั้งหัวไม้พุ่มและไม้เถา รวมมากกว่า 15 ชนิด ในที่นี้จะยกมาเฉพาะที่เป็นพืชหัวเพียงสามชนิด เพราะเป็นขมิ้นที่คนไทยคุ้นเคยและใช้ประโยชน์มากที่สุดได้แก่
    ก. ขมิ้นชัน บางทีเรียกขมิ้นแดง หรือว่างนางคำ ภาคใต้เรียก มิ่น หรือขี้มิ่น ภาษาอังกฤษเรียก Cur-Cuma หรือ Turmeric ชื่อทางพฤกษาศาสตร์คือ Curcuma longa Linn. เป็นพืชหัวลง อายุหลายปี ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบขึ้นมาเป็นลำดับเทียม ใบคล้ายพุทธรักษา กลางใบมีสีแดงคล้ำ งอกงามในฤดูฝน ถึงฤดูแล้งใบจะโทรม แห้งเหี่ยว เหลือแต่หัว(ลำต้น)อยู่ใต้ดิน และงอกใหม่ในฤดูฝน หรือหัวเหง้า(ลำต้น) ใต้ดิน มีลักษณะอ้วนสั้นและแตกแขนง เนื้อในสีเหลืองจำปา (ปนแสด) มีกลิ่นฉุน
     
    ข. ขมิ้นอ้อย บางทีเรียกขมิ้นหัวขึ้นหรือว่านเหลือง ภาคเหนือเรียกขมิ้นขึ้น ภาษาอังกฤษเรียก Ze-deory ชื่อทางพฤกษาศาสตร์คือ Curcuma zedoria Roscoe มีลักษณะคล้ายขมิ้นชัน ต่างกันตรงใบของขมิ้นอ้อยมีขนนิ่มที่ด้านล่าง หัวหรือเหง้า (ลำต้น) ใต้ดินของขมิ้นอ้อยมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อในมีสีเหลืองอ่อนกว่าและกลิ่นฉุนน้อยกว่าขมิ้นชัน หัวหรือเหง้ามักโผล่พ้นดินจึงเรียกขมิ้นหัวขึ้น
     
    ค. ขมิ้นป่า บางทีเรียกขมิ้นขาวชื่อทางพฤกษาศาสตร์คือ Curcuma parviflora Wall. ลักษณะคล้ายขมิ้นชัน แต่เนื้อในสีขาวอมเหลืองอ่อนกลิ่นน้อย นิยมใช้เป็นผัก มีสำนวนไทยโบราณสำนวนหนึ่งที่ยังนิยมใช้จนถึงทุกวันนี้นั่นคือ สำนวน ขมิ้นกับปูน ซึ่งหมายความว่าไม่ถูกกัน หรือชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน สำนวนนี้คำไทยสังเกตจากคุณสมบัติของขมิ้นกับปูนนั่นเอง กล่าวคือ ขมิ้นมีฤทธิ์เป็นกรด ส่วนปูนมีฤทธิ์เป็นด่าง เมื่อมาผสมกันเข้าก็เกิดปฏิกิริยาขึ้น เปลี่ยนขมิ้นจากสีเหลืองและปูนสีขาวกลายเป็นสีแดง ซึ่งก็คือ ปูนแดงที่ใช้กินกับหมากนั่นเอง

                 น่าสังเกตว่าพวกแขก (อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา) ซึ่งนิยมกินหมากและคงเป็นผู้เผยแพร่การกินหมากให้คนไทย) เขาใช้ปูนขาวกินกับหมาก แต่คนไทยใช้ปูนแดง (ปูนขาวและขมิ้น) แทน เพราะปูนแดงไม่กัดปากเหมือนปูนขาว (ที่มีฤทธิ์เป็นด่างมาก) ปูนแดงจึงเป็นภูมิปัญญาของไทยที่ใช้ประโยชน์จากปูนขาวและขมิ้นที่แขกก็มี แต่ไม่รู้จักนำมาใช้ประโยชน์เหมือนคนไทย  เมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อยหรือเป็นผดผื่นคัน คนไทยแต่ก่อนนิยมใช้ปูนแดงทารักษาอาการดังกล่าว ปูนแดงจึงเป็นปูนสารพัดประโยชน์ เช่นเดียวกับขมิ้นซึ่งใช้กินก็ได้ทาก็ได้ เหมือนยาโบราณบางชนิดที่เขียนในสมุดข่อยว่า “กินกได ทากได นั่นเอง ขมิ้นให้ประโยชน์ได้มากมายรอบด้าน แต่กลับเป็นพืชที่ปลูกง่ายอย่างยิ่ง เพียงแต่นำเหง้า (หรือหัว) ของขมิ้น มาปลูกลงดินในช่วงต้นฤดูฝน แล้วเก็บหัวขมิ้นมาใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง (หมดฝนแล้ว ประมาณเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป) หรืออาจปลูกในกระถางก็ได้ เพราะขนาดของขมิ้นไม่ใหญ่โตนัก รูปทรงใบก็งดงาม ใช้ประดับบ้านได้ จึงน่าปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับพืชพื้นบ้านอีกหลายชนิด ซึ่งไม่เหลือปากว่าแรงแต่อย่างใดเลย
                  ขมิ้นทั้งสามชนิดนี้ยกมาข้างต้นนั้นล้วนมีบทบาทสำคัญในตำรับอาหารไทยมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันเริ่มจากขมิ้นขาว ซึ่งนิยมนำหัวหรือเหง้ามา เป็นผักโดยเฉพาะจิ้มน้ำพริกหรือปลาร้า ส่วนขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย นั้นไม่นิยมกินเป็นผักโดยตรง แต่นำไปประกอบอาหารโดยเป็นส่วนประกอบของแกงบางชนิด เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา (หรือพุงปลา) แกงคั่ว แกงแขก แกงกอและ ฯลฯ ของภาคใต้ แกงส้มของจังหวัดเชียงราย แกงเผ็ดป่าของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น แกงเหล่านี้ล้วนใช้ขมิ้นชัน เป็นเครื่องปรุงด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้ในข้างแขกและข้าวหมกไก่ ก็ใช้ขมิ้นชัน ส่วนข้าวเหนียวเหนียวหน้ากุ้งและขนมเบื้องญวนใช้ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชันใช้แต่งสีเนย เนยแข็งมัสตาร์ด และอาหารอื่นๆ อีกมากมาย เพราะนอกจากให้สีเหลืองแล้วยังมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคกันบูดได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของผงกะหรี่ Curry Poder ซึ่งนิยมใช้ปรุงอาหารหลายชนิด เช่น แกงกะหรี่ ข้าวผัดกะหรี่ ฯลฯ
                 นอกจากโดดเด่นด้านอาหารแล้ว ขมิ้นยังรู้จักกันดีในฐานะสมุนไพรที่ใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตคนไทย โดยเฉพาะขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย
     ขมิ้นชัน ใช้กินเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง แก้ท้องขึ้น ทำให้ผายลมแก้ท้องมาน รักษาแผลในกระเพาะอาหารและแก้ไข้ ภายนอก ใช้ดมแก้หวัดคัดจมูก ทาตัวแก้โรคผิวหนังผื่นคันหุงในน้ำมันเป็นยาสมานแผล ผสมปูนทาแก้ฟกช้ำดำเขียว  ขมิ้นอ้อย ใช้กิน แก้ท้องร่วงรักษาลำไส้ คุมยาถ่ายไม่ให้ระบายมากเกินไป แก้ปวดท้อง ขับลม แก้อาเจียน แก้ไข้ ช่วยฟอกเลือด ภายนอกใช้น้ำคั้นจากหัว ทาแก้ฟกช้ำบวม หุงในน้ำมันใช้สมานแผล
                 สมัยก่อนชาวไทยนิยมใช้ผงขมิ้นชันทาตัวหลังอาบน้ำ เพื่อให้ถั่วเหลืองและป้องกันรักษาโรคผิวหนังผื่นคัน นิยมทาตัวสตรี เด็ก และทาศีรษะหลังโกนผม เช่น เด็ก ภิกษุ สามเณร เป็นต้น กล่าวกันเป็นตำนานว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) ชอบเอาขมิ้นมาโขลกทาศีรษะจนเป็นสีเหลืองอยู่เสมอ แม้ในปัจจุบันเมื่อนาคโกนหัวเสร็จยังนิยมทาด้วยขมิ้นอยู่เพื่อรักษาแผลที่เกิดจากมีดโกน เนื่องจากขมิ้นชันมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า
    Curcumin อยู่มากกว่าขมิ้นชนิดอื่น จึงนิยมใช้ขมิ้นชันย้อมสีผ้าเพื่อให้มี  สีเหลือง ย้อมได้ทั้งฝ้าย ไหม และแพร หากผสมกับใบหรือผลมะขามป้อมจะให้สีเขียว สันนิษฐานว่าในสมัยก่อนคงใช้ขมิ้นย้อมจีวรพระภิกษุในพุทธศาสนาด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะพระป่าและพระธุดงค์

    เตยหอม (Pandanus Palm)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเตยหอม

     

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Pandanus Palm
    วงศ์
    สกุล
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Pandanus tectorius Parkinson ex Zucc.
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    เตยหอม เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมัน ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้
                  เขียวจากใบเตย สีเขียว มีทั้งหอมน้อย-มากการใช้น้ำใบเตยมีได้หลายวิธี แตกต่างกันออกไป การใช้ใบเตยในอาหาร ให้ได้กลิ่นที่ดีน้ำใบเตยปั่นหรือตำและคั้นน้ำ  จะได้สีเขียวเข้ม  ส่วนใหญ่ จะใช้กับขนมกวน หรือ ประกอบที่ใช้ความร้อนค่อนข้างนาน และควรจะมีส่วนผสมที่เข้มข้น การใช้น้ำใบเตยปั่น ถ้าใช้เวลาสั้นขนมจะเหม็นเขียวมากกว่าหอม แต่ถ้าเอาที่ปั่นแล้วตั้งไฟ เลย ถ้าน้ำใบเตยเดือด จะแยกตัวออกมา เป็น เม็ดๆ ก็จะดูไม่น่ารับประทานขนมบางอย่างอยากได้สีเดิม   แต่อยากได้กลิ่นใบเตย ใช้น้ำใบเตยต้มเหมาะกว่า

    อัญชัน (Butterfly Pea.)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัญชัน

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ             
     Butterfly Pea.
     
     
    วงศ์
     Fabaceae
    สกุล
     แดงชัน,เอื้องชัน
    ชื่อวิทยาศาสตร์
     Clitoria ternatea
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    อัญชันเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยล้มลุกขนาดเล็ก มีเถาขนาดเล็กและอ่อน แต่ก็สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 ฟุต ลักษณะเถาจะค่อนข้างกลม สีเขียวแต่หากเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาลตามลำต้นจะมีขนนุ่มๆปกคลุมโดยทั่วไป ดอกอัญชันจะเป็นดอกเดี่ยว และจะออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดอัญชันจะมีทั้งชนิดดอกรายและดอกซ้อน ดอกมีหลายสี เช่น สีน้ำเงินอมม่วง สีม่วง สีฟ้า สีขาว ลักษณะของดอกมี 2 กลีบ เมื่อกลีบดอกบานอ้าออกเต็มที่ จะมองเห็นลักษณะของดอกคล้ายดอกถั่ว เมื่อกลีบดอกบานอ้าออกเต็มที่จะมองเห็นลักษณะคล้ายกาบหอย หรือปีกผีเสื้อ เมื่อดอกโรยก็จะติดฝัก อัญชันเป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอก  ตลอดปี
    สรรพคุณและวิธีใช้
    ดอก รักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม ใช้ผสมอาหารให้สีม่วง  เช่น ข้าวดอกอัญชัน ขนมดอกอัญชัน เป็นต้น เมล็ด  เป็นยาระบาย  ใบและราก อัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบายชนิดม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ
    น้ำคั้นจากดอก ใช้ทาทำให้ผม หนวด เครา และคิ้วดก คนโบราณใช้ทาคิ้วเด็ก ทำให้คิ้วเด็กดกดำ 
    ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด สีจากกลีบดอกสดมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโท-          ไซอานิน ใช้เป็นสารบ่งชี้ (indicator) แทนลิตมัส (lithmus) เมื่อเติมน้ำมะนาว (กรด) ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง  ใช้แต่งสีขนม  เช่น  เรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู  ใช้แต่งสีอาหาร เช่น หุงข้าวผสมสีจากน้ำคั้น ดอกอัญชันได้สีน้ำเงินม่วงสวย รับประทานเป็นข้าวยำปักษ์ไต้ เป็นต้น  เป็นไม้เลื้อย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
     
     
     
     
     
    สีจากดอกอัญชัน
    ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วที่มีการนำสีที่สกัดได้จาก ดอกอัญชัน มาใช้ในการทำขนมและอาหารชนิดต่างๆ เพราะสีจากดอกอัญชันเป็นสีจากธรรมชาติจึงปลอดภัยไม่มีอันตรายค่ะ ดอกอัญชันมี 2 ชนิด คือ ชนิดดอกสีขาว และชนิดดอกสีน้ำเงิน ดอกอัญชันสามารถละลายน้ำได้ เมื่อนำมาขยำกับน้ำจะให้สีน้ำเงิน ถ้า บีบมะนาวลง ไปจะเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีขนม เช่น ขนมช่อม่วง ขนมชั้น ขนมถั่วแปบ เป็นต้น
     
    ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากดอกอัญชัน
    มีหลายประการดังนี้
    1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีสารแอนโธไซยานินมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
    2. ใช้เป็นสีผสมอาหาร โดยเฉพาะในขนมไทย เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้
    3. สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชัน
    มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
                ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้  จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น เพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้น ในขณะนี้ ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับ ความสามารถของแอนโธไซยานิน ในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น

    ตะไคร้หอม (Citronella grass)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับตะไคร้หอม

     

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อท้องถิ่น
    จะไคมะขูด, ตะไครมะขูด, ตะไคร้แดง
    ชื่อสามัญ
     Citronella grass
     
     
    วงศ์
     Gramineae
    สกุล
     แดงชัน,เอื้องชัน
    ชื่อวิทยาศาสตร์
     Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle,
    Cymbopogon winterianus Jowitt.
     
     
     
    หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
    1.  ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลง
                 น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ ดังนี้
                (1)  ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการ
    ป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน 2 ชม.และที่ความเข้มข้น 10%  จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า 4 ชม.  ตำหรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5% น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลีน 0.5%  จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า 6 ชม.
                (2) เมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำหรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย  เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน     8-10 ชม.
                (3) และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50) และร้อยละ 95 (EC95) มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1% สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19%
                (4)  สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญ  ตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาอยู่ที่ 114-126 นาที นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย
                (5) น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ดีในการไล่ตัวอ่อนของเห็บ โดยให้ผลในการไล่ได้นานถึง 8 ชม.
               (6)  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไล่แมลงที่จะมาทำลายเมล็ดข้าวที่เก็บไว้ได้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของข้าว
               (7) ตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่ผีเสื้อกลางคืน และพวกแมลงบินต่างๆ ได้
    2.  สารสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุง
    น้ำมันตะไคร้หอมมีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor , cineol , eugenol , linalool , citronellal, citral
    3.  การทดลองทางคลินิกใช้ในการไล่ยุง
                       มีการศึกษาผลของครีมที่มีส่วนผสมน้ำมันหอมระเหย 14% ในการทาป้องกันยุงรำคาญกับอาสาสมัคร 40 คน เปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา พบว่าสามารถป้องกันยุงได้ 13 คน ในอาสาสมัครที่ทาครีม 20 คน ขณะที่อาสาสมัครที่ทาครีมที่ไม่มีตัวยา จะไม่สามารถป้องกันยุงได้
    สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม 14% พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 2 ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์ (dimethyl phthatate 20% + diethyl toluamide 5%)  
    4. ฤทธิ์ฆ่าแมลง
                 น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม เมื่อนำมารมเมล็ดถั่ว นาน 72 ชม.  มีผลฆ่าแมลง Callosobruchus maculatus ที่จะมาทำลายเมล็ดถั่วได้ น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยไม่มีผลต่อการงอกของถั่ว (23) แต่มีผลต่อ parasite ของแมลงชนิดนี้มากกว่า   สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา และข่า ในอัตรา 200 มล./น้ำ 20 ลิตร มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาวได้ แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่ว  สารสกัดตะไคร้หอม ความเข้มข้น 100 ppm. จะให้ผลน้อยมากในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำ แต่จะมีผลทำให้ไรแดงกุหลาบตายร้อยละ 95 ภายใน 20.70 ชม.  นอกจากนี้สารสกัด10% เอทานอล (ต้นตะไคร้หอมแห้ง 200 กรัมต่อ    4 ลิตร)  จะให้ผลดีในการลดปริมาณของหมัดกระโดดซึ่งเป็นแมลงศัตรูคะน้า แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักของคะน้าลดลง  แชมพูที่ส่วนผสมของสารสกัดตะไคร้หอม สามารถฆ่าเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยงได้
    5.  การทดสอบความเป็นพิษ
              เมื่อฉีดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) จากต้น ขนาด 1 กรัม/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร ไม่พบความเป็นพิษ  
    การใช้ตะไคร้หอมไล่ยุง
    1.  ใช้ต้นตะไคร้หอม ทุบวางไว้ข้างๆ
    2.  ใช้สารสกัดตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ ชุบสำลีวางไว้ใกล้ๆ ตัว

    แครอท (Carrot)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแครอท

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อท้องถิ่น
    ผักกาดหัวเหลือง ผักชีหัว
    ชื่อวิทยาศาสตร์
     Daucus carota Linn.
    วงศ์
     UMBELLIFERAE
    ชื่อสามัญ
     Carrot,Bees nest Plant,Bird's-nest root
     
     
     
     
     
     
     
    ลักษณะ
    เป็นพืชล้มลุก มีอายุ 1-2 ปี สูง 1-1.50 เมตร รากมีลักษณะยาวเรียว ใช้เป็นที่สะสมอาหารเรียกว่าหัว มีสีส้มทั้งเนื้อและผิว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีลักษณะเป็นฝอย รูปสามเหลี่ยม รูปใบหอกโผล่ขึ้นมาเหนือดินเป็นกระจุก ดอก ออกเป็นช่อรูปร่างคล้ายร่มสีขาว-เหลือง ผล เป็นรูปยาวรี แข็ง มีสันกว้าง 3 มม. ยาว 4 มม. ทั้งต้นจะมีกลิ่นเฉพาะ
     
    การขยายพันธุ์
    โดยการเพาะเมล็ด : ชอบดินร่วนและอากาศเย็นจึงปลูกได้ดีในภาคเหนือของ
    ประเทศไทย
     
    ส่วนที่นำมาเป็นยา
    หัว เมล็ด
     
    สารเคมีและสารอาหารสำคัญ
    สารแคโรทีนอยด์ ชื่อ เบต้าแคโรทีน (เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ)
    คาร์โบไฮเดรท วิตามินซี ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
     
    สรรพคุณทางยา
    และวิธีใช้
    บำรุงสายตา และป้องกันการเกิดมะเร็งปอด : ใช้หัวรับประทานเป็นอาหารหรือคั้นเอาน้ำดื่ม 
    แต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่ม :  ใช้น้ำมันเมล็ดแครอท ไปแต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งชนิดที่มีแฮลกอฮอล์และชนิดที่ไม่มีแอลกอฮอล์
    บำรุงผิว
    :  นำหัวแครอทมาคั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำมะนาว ทาผิวเพื่อป้องกันแสงแดด
             
     
    ไพล (Zingiber)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไพล

     

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อท้องถิ่น
    Z.purpureum  Roscoe
    ชื่อวิทยาศาสตร์
     Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.
    วงศ์
     Zingiberaceae
    ชื่ออื่น
     ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม
    ส่วนที่ใช้
      เหง้าแก่จัด เก็บหลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว
    สรรพคุณ
    เหง้า 
    1) เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    2) แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน

    3) เป็นยารักษาหืด
    4) เป็นยากันเล็บถอด
    5) ใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด
    น้ำคั้นจากเหง้า  รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย
    หัว  ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน
    ดอก ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย
    ต้น   แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ
    ใบ    แก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย
    วิธีและปริมาณที่ใช้
    แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม
    ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่ม
    รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
    ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอก  ใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต
    จ.ฉะเชิงเทรา)
    แก้บิด ท้องเสีย
    ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน
    เป็นยารักษาหืด
    ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น
    เป็นยาแก้เล็บถอด
    ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง
    ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย
    ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย
    สารเคมี - Alflabene : 3,4 - dimethoxy benzaldehyde, curcumin, beta-sitosterol, Volatile Oils
     
    แคนตาลูป (Cantalouper)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแคนตาลูป

     

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Cantaloupe
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Cucumis melo var.cantalupensis
    ชื่ออื่น
    แตงคุณหนู (อรัญประเทศ)
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    แคนตาลูปเป็นผลไม้ที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายผลแตงไทย แต่จะแตกต่างกันตรงที่เปลือกนอกของแคนตาลูปจะค่อนข้างแข็ง และมีเนื้อในขาวนวลกว่า รวมทั้งรสชาติจะหวานกรอบ ไม่นิ่มเหมือนแตงไทย นิยมรับประทานสด ทำเป็นสลัด น้ำผลไม้ และของหวานบางชนิด
    แคนตาลูป เป็นพืชตระกูลแตง เป็นผลไม้โบราณชนิดหนึ่ง มีที่มาจากการนำแตงพันธุ์นี้เข้าไปปลูกในประเทศอิตาลีที่เมืองแคนตาลูโป (Cantalupu) ใกล้กับกรุงโรม ต่อมาพระเจ้าชาร์ลที่ 8 นำไปปลูกในฝรั่งเศส และเรียกผลไม้ลูกกลม ๆ รี ๆ สีเหลืองนี้ว่า "แคนตาลูป" อังกฤษนำไปปลูกบ้าง เลยเรียกชื่อตามภาษาฝรั่งเศส ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo var.cantalupensis แตงแคนตาลูปมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย คนอินเดียและแอฟริการู้จักกินแคนตาลูปมานานกว่า 4,000 ปีแล้วมีการนำแคนตาลูปเข้ามาปลูกในเมืองไทยตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ, 2478 เมื่อก่อนเรียกว่า "แตงเทศ" หรือแตงฝรั่ง" ด้วยรูปร่างลักษณะคล้ายกับแตงไทย จึงทำให้บางคนเรียกแตงแคนตาลูปว่า "แตงไทยฝรั่ง" แต่ปลูกแล้วเป็นโรคจึงตายเป็นจำนวนมาก จากนั้นได้มีการพัฒนาการปลุกมาจนกระทั่งสามารถปลูกแตงแคนตาลูปได้ผลผลิตดีในปัจจุบันนี้
    แหล่งปลูกแคนตาลูปอยู่ที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เกษตรกรในอรัญประเทศเรียกแคนตาลูปของเขาว่า "แตงคุณหนู" เพราะจะต้องคอยประคบประหงมดูแลกันตลอด 60 วัน ฤดูที่มีผลผลิตออกตลาดอยูในช่วงเดือนเมษายน แคนตาลูปเป็นพืชล้มลุก อยู่ในตระกูลเดียวกับแตงไทย ต้นมีลักษณะเป็นไม้เถา ตามเถาและก้านใบมีขนนิ่ม ใบเหลี่ยมมน ดอกสีเหลืองเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละดอก ผลกลมรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 10-16 ซม. เปลือกนอกแข้ง เนื้อชุ่มน้ำ ผลดิบเนื้อกรอบ เมื่อสุกเนื้อนิ่ม หอมหวาน สีของเนื้อแคนตาลูปแตกต่างกันตามสายพันธุ์ สามารถแบ่งออกตามสีเนื้อได้ดังนี้
    เนื้อสีเขียวหรือเขียวขาว ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศมีทั้งผิวเรียบและผิวลายตาข่าย ผลสุกเปลือกสีเขียวครีมเหลือง และเหลืองทอง เนื้อมีทั้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่มรสหวานและมีกลิ่นหอม เช่น พันธุ์เจดคิว ฮันนี่ดิว ฮันนี่เวิลด์ และวีนัสไฮบริด เป็นต้น
    เนื้อสีส้ม ผลมีทั้งผิวเรียบและผิวลายเป็นตาข่าย ผลสุกเปลือกสีครีมและสีเหลือง เนื้อมีที้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่ม รสหวานและมีกลิ่นหอมค่อนข้างแรง ได้แก่ พันธุ์ซันเลดี้ ท๊อบมาร์ค นิวเอ็มเมลลอน และนิวเซนต์จูรี เป็นต้น
    ผลแคนตาลูปยิ่งสุกกลิ่นยิ่งหอม รสชาติยิ่งหวานนำมากินเป็นผลไม้สด และทำเป็นน้ำผลไม้ การคัดเลือกแคนตาลูปที่สุกแล้วให้กินอร่อย ให้ชั่งน้ำหนักด้วยมือลูกหนึ่งควรจะมีน้ำหนักประมาณหนึ่งกิโลกรัมเศษ ๆ จึงเรียกกว่ากำลังดี ลองเขย่าดูถ้ามีเสียงน้ำอยู่ข้างใน แสดงว่าส้มและสุกเกินไปกินไม่อร่อย แคนตาลูปที่แก่ได้ที่ต้องผิวสวย ตึง ไม่เหี่ยวเป็นร่องเป็นหยัก สีเหลืองเหมือนสีเปลือกไข่ไก่ถึอว่ากำลังดี
    คุณค่าอาหารและสรรพคุณ
    แคนตาลูป ประกอบด้วยน้ำตาล มีวิตามีนซีเล็กน้อย และวิตามินเอสูงมาก มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน เนื้อผลสุก เป็นยาขับปัสสาวะ ขับน้ำนม ขับเหงื่อ ดับพิษร้อน บำรุงธาตุและสมอง ช่วยบรรเทาอาการอักเสนของทางเดินปัสสาวะ แก้กระหาย สมัยก่อนฝรั่งเชื่อกันว่ากินแตงแคนตาลูปแล้วทำให้สายตาดี และมีสติ จะคิดจะทำสิ่งใดก็ได้ตามความมุ่งหมาย น้ำแคนตาลุป ช่วยลดไข้ เพราะเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น ส่วนน้ำตาลและเอนไซม์ที่มีอยู่ในแคนตาลูปช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของลำไส้ และอาการปั่นป่วนในกระเพาะอาหารเนื่องจากินอาหารผิดสำแดง
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    ขิง (Zingiber)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขิง

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Ginger  
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Zingiber officinale  Roscoe
    วงศ์
    Zingiberaceae
    ชื่ออื่น
    อื่น : ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ (แม่ฮ่องสอน)[1], ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง), เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ขิง เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ จะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับเรียงเวียนสลับสีเขียวอ่อน ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผล เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. เป็น 3 พู เมล็ดหลายเมล็ด
    ส่วนที่ใช้   เหง้าแก่สด  ต้น  ใบ  ดอก  ผล
    สรรพคุณ
    เหง้าแก่สด 
    1)  ยาแก้อาเจียน
    2)  ยาขมเจริญอาหาร

    3)  ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    4)  แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
    5)  สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี
    6)  มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร
    7)  แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
    8)  ลดความดันโลหิต
    ต้น   ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
    ใบ   แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา  ขับลมในลำไส้
    ดอก  ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ  แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด
    ผล   แก้ไข้
    วิธีและปริมาณที่ใช้
    ยาแก้อาเจียน
    ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่มนำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม
    ยาขมเจริญอาหาร
    ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัมผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ
    แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง
    1)  น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
    2)  ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย
    3)  ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอา
    แต่น้ำ
    มาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
                
    4)  ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม
    แก้ไอและขับเสมหะ ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
    ลดความดันโลหิต   ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน
    สารเคมี
              เหง้า พบ  Gingerol Zingiberene, Zingiberone Zingiberonol, Shogoal, Fenchone, Camphene Cineol Citronellol
              ใน น้ำมันหอมระเหย พบสาร Bisabolene, Zingiberone Zingiberol, Zingiberene, Limonene, Citronellol Gingerol, Camphene, Borneol, Cineol
              ทั้งต้น
    พบ 5 - (1) - 6 - Gingerol
              ใบ  พบ Shikimic acid
     
    สตอเบอรี่ (Strawberry)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสตอเบอรี่

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Strawberry  
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Fragaria ananassa
    วงศ์
    ROSACEAE
    ชื่อพื้นเมือง
    ยาเย็น (เชียงใหม่),จั่วผู่ท้อ,จั่วม่วย
    (แต้จิ๋ว-จีน)
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    สตรอเบอร์รี่เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับกุหลาบ บ๊วย และแอปเปิ้ล พันธุ์ปลูกปัจจุบันเป็นลูกผสมระหว่างชนิดที่ผ่านการปรับปรุงและคัดเลือกในระยะหลังราว 250 ปีมานี้เอง สตรอเบอร์รี่มีปลูกทั่วไปในเขตอบอุ่นและกึ่งร้อนทั่วโลก ในเขตร้อนเช่นในประเทศไทยมีปลูกบนภูเขาสูง ผลผลิตในตลาดโลก 50% มาจากยุโรป และ 25% มาจากสหรัฐ นอกจากกินเป็นผลไม้สดแล้ว ยังมีการแปรรูปผลสตรอเบอร์รี่โดยการแช่ในซัลไฟต์ (sulphite) หรือแช่แข็ง เพื่อนำไปทำแยมและเยลลี่ เป็นส่วนผสมในขนมอบ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอื่น เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ต และคัสตาร์ดต่อไป
     
    สรรพคุณ
    ช่วยลดไขมัน เป็นยาระบาย อ่อนๆ และขับปัสสาวะ สามารถบำรุงร่างกายหลังฟื้นไข้ อีกทั้งช่วยทำให้ระบบการดูดซึมอาหารของร่างกายดียิ่งขึ้น
    ผลิตผลและผลิตภัณฑ์
    กินสดเป็นผลไม้ ทำน้ำสตรอเบอร์รี่ (ดูน้ำผลไม้) ไวน์ ผลไม้กระป๋อง แยมและเยลลี่ ผสมขนมอบ ไอศกรีม โยเกิร์ต คัสตาร์ด ฯลฯ
     
    แตงโม (water melon)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแตงโม

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    water melon   
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Citrullus lanatus Mats & Nakai
    วงศ์
    CUCURBITACEAE 
    ชื่ออื่น
    แตงอุลิด, หมากโม
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ต้น  เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยชนิดหนึ่ง ที่ลำต้นจะเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำเถานั้นจะโตราว ๆ นิ้วก้อยหรืออาจจะเล็กกว่านี้ก็ได้ เถามีสีเขียว
    ใบ  ออกใบเดี่ยวตามข้อเถา ซึ่งใบนี้จะมีสีเขียว จะยาวประมาณ 1 คืบ หรืออาจจะยาวและสั้นกว่านี้ก็มี ตามใบจะมีลายสีขาวประทั่ว โคนใบกว้าง ปลายใบแหลมเล็ก ขอบใบจะเว้าลึก ใบของแตงโมนี้ความกว้างจะน้อยกว่าความยาว
    ดอก   ออกตรงส่วนยอดของเถา มีสีเหลือง ขนาดเท่ากับหัวแม่มือ
    ผล   มีทั้งชนิดกลมและชนิดยาว อย่างกลมก็โตราว ๆ ลูกมะพร้าวอย่างยาวก็ขนาดเท่าลูกฝัก แต่อย่างกลมนั้นเนื้อในจะแดงมีรสหวานกว่า เมื่อยังอ่อนเนื้อในเป็นสีขาวซึ่งเป็นผักใส่แกงได้ ผลยาวจะเป็นสีแดงอ่อนหรือสีเหลืองก็มี เมล็ดในของผลทั้งสองอย่างนี้เหมือนกัน คือจะเป็นเม็ดแบน ๆ เมื่ออ่อนสีขาว พอแก่กลายเป็นสีน้ำตาลอมดำ ซึ่งเรานำมารับประทานได้เช่นกัน ส่วนมากจะรู้จักกันดีมีชื่อว่า “เมล็ดแตงโม” และเราจะแกะกินเฉพาะเนื้อในเมล็ดเท่านั้น หวานมันอร่อย
    การขยายพันธุ์   เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
    ส่วนที่ใช้  ราก ผล
    สรรพคุณ  แตงโมเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น จะช่วยลดอาการไข้ คอแห้ง บรรเทาแผลในปาก เปลือกแตงโมนำไปต้มเดือด แล้วเติมน้ำตาลทราย ดื่มเพื่อป้องกันเจ็บคอ  สิ่งที่ได้จากการบำรุงผิวหน้าด้วยแตงโม คือ ความเย็นของแตงโมช่วยผ่อนคลายผิวด้านนอกให้สดชื่น สารสีแดงจากแตงโม ที่เรียกว่า ไลโคปีน ช่วยในการบำรุงหัวใจ รวมถึงมะเร็งแล้ว ยังสามารถดูดซับความมันบนใบหน้าได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ที่จะช่วยควบคุมระบบการไหลเวียนของโลหิตในบริเวณผิวหน้าให้เป็นปกติ ช่วยให้รูขุมขนมีความยืดหยุ่น ชุ่มชื่น อีกทั้งในน้ำแตงโม มีโมเลกุลของน้ำตาลอยู่พอประมาณ รวมทั้งกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย ช่วยในการบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี
     
    มะละกอ (Papaya)
     

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะละกอ

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Papaya   
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Carica papyya L.
    วงศ์
    CARICACEAE  
    ชื่อท้องถิ่น
    มะก๊วยเต็ด  ก๊วยเท็ด  ลอกอ  แตงตต้น  หมักหุ่ง
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    มะละกอเป็นไม้ล้มลุกอายุสั้น  ระบบรากดีทั้งระบบรากแก้ว  และรากแขนง  อวบน้ำ  ลำต้นกลวง และไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขาเหมือนไม้ชนิดอื่น  ดอกเจริญออกมาตามซอกใบเหนือก้าน  ผลมีรูปร่างแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์
    ประโยชน์
         1)  รากนำมาต้มแก้ธาตุพิการ  อาหารไม่ย่อย  ช่วยขับปัสสาวะ
         2)  ใบสด  ย่างไฟแล้วบด  นำไปประกบบริเวณที่ปวด  และแก้ปวดไขข้อ
         3)  เมล็ด  ช่วยดับกระหาย  และมีฤทธิ์ช่วยขับพยาธิ
         4)  น้ำดอกมะละกอ  ต้มช่วยขับประจำเดือนสตรี
         5)  ยาง  ช่วยย่อยสลายโปรตีน  ช่วยลดอาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ
         6)  ผลทั้งดิบและสุก  เป็นอาหาร ช่วยระบาย  ผลดิบมีน้ำย่อยช่วยให้เนื้อสัตว์เปื่อยยุ่ย
     
     
     
     
     
     
    มะเขือเทศ (Solanum lycopersicum)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเขือเทศ

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Tomato, Solanum lycopersicum   
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Solanum lycopersicum L.
    วงศ์
    ชื่ออื่น
    มะเขือ (ทั่วไป) มะเขือส้ม (ภาคเหนือ) ตรอบ (สุรินทร์) น้ำเนอ (เชียงใหม่)
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    เป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม มีขนอ่อน ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ ออกสลับกัน ใบย่อยมีขนาดไม่เท่ากัน บางใบเล็กรียาว บางใบกลมใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักลึกคล้ายฟันเลื่อยมีขนอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อหรือดอกเดี่ยว บริเวณซอกใบ ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวประมาณ 5-6 กลีบ ผลเป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 3 เซนติเมตร จนถึงใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างมีทั้งกลม กลมแบน หรือกลมรี ผิวนอกลีบเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว หรือเขียวอมเทา เมื่อสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดง เนื้อภายในฉ่ำด้วยน้ำมีรสเปรี้ยว เมล็ดมีเป็นจำนวนมาก มะเขือเทศมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์สีดา พันธุ์โรมาเรดเพียร์ เป็นต้น
    ประโยชน์
    มะเขือเทศมีสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา จึงใช้เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปากที่เกิดจากเชื้อราได้ มีสารไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง ที่มีคุณสมบัติสามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ หากทานมะเขือเทศ 10 ครั้ง/สัปดาห์ จะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายได้ถึง 45% นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีเบต้าแคโรทีน และฟอสฟอรัสมาก ที่มะเขือเทศมีรสชาติอร่อยนั้น เพราะมีกรดอะมิโนที่ชื่อกลูตามิคสูง (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร ทั้งยังเป็นกรดอะมิโนตัวเดียวกับที่อยู่ในผงชูรสด้วย   รักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะนำมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม   มีวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินเค โดยเฉพาะวิตามินเอ และวิตามินซี มีในปริมาณสูง  นอกจากนี้ยังมีวิตามินพี (citrin) ซึ่งจะช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มะเขือเทศยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจึงสามารถแก้อาการความดันโลหิตสูง มะเขือเทศมีวิตามินเอจึงสามารถรักษาโรคตาได้ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือมีวิตามินซีมากทำให้สามารถป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด  
     
     
     
     
     
     
     
     
    ดอกลีลาวดี (Frangipani, Plumeria, Templetree)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดอกลีลาวดี

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Frangipani,Pagoda,Temple     
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Plumeria spp.
    วงศ์
    Apocynaceae
    ชื่ออื่น
    ดอกลั่นทม
    ถิ่นกำเนิด
    เม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     
                 เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria มีหลายชนิดด้วยกัน เมื่อก่อนบางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาวและจำปาขอม เป็นต้น
                 ลีลาวดี เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า "ต้นขอม" "ดอกอม"  เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม" "ลั่น" แปลว่ ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง "ธม" หมายถึง "นครธม" ภายหลัง "ลั่นธม" เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"
                ลีลาวดี เป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี  ลีลาวดี เป็นไม้ประดับที่มีผู้สนใจปลูกกันอย่างมากในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากติดใจในความงามของทรงต้น ใบ และดอกที่มีหลากสีสัน โดยเมื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์แล้วจะได้สีที่แปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดอกยังมีกลิ่นหอม อีกประการหนึ่งคือลีลาวดีเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก อีกทั้งมีคุณสมบัติใช้เป็นสมุนไพร
                ในอดีตไม้ชนิดนี้จะไม่นิยมปลูกในบ้านเรือนเลย เพราะเนื่องจากความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความหมายของชื่อเดิมคือ “ลั่นทม” ทำให้ลั่นทมมีปลูกไว้เฉพาะในวัด และตามโบราณสถานต่าง ๆ ในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาหลังจากเป็นที่รู้จักและคุ้นหูในนามของ “ลีลาวดี” เพียงเท่านี้ต้นลีลาวดีก็เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะในการจัดภูมิทัศน์และจัดสวนทั้งสวนในบ้าน  บริเวณตึก อาคาร รีสอร์ท สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่ต่าง ๆ  นอกจากนี้ปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้ความต้องการลีลาวดีขยายตัวคือ การขยายตัวของธุรกิจสปา ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่าในสถานประกอบการ สปานั้นนิยมนำดอกลีลาวดีมาเป็นไม้ประดับ เนื่องจากความสวยงามของรูปทรง สีสันและกลิ่นหอมเย็นด้วยราคาที่สูงอย่างต่อเนื่องของลีลาวดี ทำให้มีเกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกลีลาวดีเพื่อการค้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เนื่องจากลีลาวดีต้นใหญ่นั้นหาได้ยากขึ้น ซึ่งเกษตรกรที่มีต้นลีลาวดีทั้งต้นใหญ่ กิ่งชำ และเมล็ด ก็จะมีลูกค้าไปติดต่อขอซื้อกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่เกษตรกร ในสมัยก่อน มีต้นลั่นทมเพียง 2 สายพันธุ์คือ
    1. ลั่นทมขาว   อย่างที่เห็นกันตามวัดวาอาราม  ลั่นทมขาวจะชอบแดด มีความสูงตั้งแต่ 3 - 7 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านดูอวบ มีสีน้ำตาลปนเทาเป็นใบเดี่ยวรูปคล้ายหอก ยาว 20 - 30 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวรูปกรวย มีกลีบดอก 5 กลีบ จะมีกลิ่นหอมมากมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก
    2. ลั่นทมแดง ทุกอย่างจะเหมือนลั่นทมขาว ยกเว้นใบ ที่บางครั้ง จะออกสีเขียวเข้ม ดอกมีสีแดงทั้งดอก ก้านออกเป็นสีม่วงแดง ดอกมีกลิ่นหอมทั้งสองชนิดมีอายุยืน ตั้งแต่ 50 ถึง 100 กว่าปีดอกลีลาวดี ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติ ของประเทศลาว โดยส่วนมากจะขึ้นอยู่ตอนเหนือของประเทศ ไทยทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง
    ความเชื่อ
                  คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่าเศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใดมีความเข้าใจผิดกันว่า ลีลาวดี นั้นเป็นชื่อพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ เป็นเพียงความเข้าใจผิดเพราะเป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
                  ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อนที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศกจึงไม่เป็นที่โปรดปรานปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย แต่แท้ที่จริงแล้วมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า  ลั่นทมลั่นทม ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทมแท้ที่จริงนั้นเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทมโดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก
                 ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนชื่อมาเป็นลีลาวดีเนื่องจากความเข้าใจในภาษาคลาดเคลื่อน แต่ชื่อใหม่นั้นก็ความไพเราะสมกับท่วงท่าของลำต้นมีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลีลาวดีในลักษณะต่างๆกันอย่างไรก็ตามพันธ์ไม้นี้ตามหลักสากล ได้ถูกเรียกชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani)และเรียกกันทั่วๆไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria)
                  ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่ง ก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีงก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวอ่อนนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะ
    ปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจากปลายยอดเหนือใบแต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบหรือออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก บางต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ดอกโดยทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกของ ลีลาวดีมีสีสันหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมีขนาด 2 - 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 - 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปี
    ฤดูกาลออกดอก  ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน บางพันธุ์ออกดอกตลอดปี เช่น ขาวพวง
     
    สภาพการปลูก
                ลีลาวดี เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำมาก ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่าย จะทำให้รากเน่า โคนเน่าได้ ลีลาวดีจะเจริญเติบโตในที่ที่มีแสงแดดส่องถึงหากไม่ได้รับแสงแดดเต็มที ก็จะไม่ออกดอก แต่บางพันธุ์ก็ไม่ต้องการแสงแดดจัดในช่วงบ่าย
    การขยายพันธุ์
                ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด,การปักชำกิ่งการขยายพันธุ์แบบนี้จะไม่มีรากแก้ว,การเสียบยอดพันธุ์ดีสามารถทำให้ในหนึ่งต้น เสียบยอดให้ได้ดอกหลายสีได้ ,และการขยายพันธุ์โดยการติดตา
    สรรพคุณของดอกลีลาวดี หรือดอกลั่นทม  
    การใช้ประโยชน์จากลีลาวดี
    1.ใช้ในการจัดสวน ตกแต่งภูมิทัศน์ พันธุ์ที่ครองความนิยมอยู่คือ “พันธุ์ขาวพวง” ที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ส่งกลิ่นหอมเฉพาะตัวทั้งยังสามารถออกดอกตลอดปี  
    2.ลีลาวดียังมีสรรพคุณเป็น “ยาสมุนไพร” ด้วย
    ต้น    =   ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
    ใบ    =  ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหอบหืด ใบสดลนไฟประคบร้อนแก้ปวดบวม
    เปลือกราก  =  เป็นยารักษาโรคหนองใน ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลม
    เปลือกต้น   =  ต้มเป็นยาถ่าย ขับระดู แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย หรือผสมกับน้ำมันมะพร้าว-
    ข้าว-มันเนยเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ขับปัสสาวะ
     
    ดอก           = ใช้ทำธูป ใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย
    เนื้อไม้        = เป็นยาแก้ไอ ยาถ่าย ขับพยาธิ 
     

    ขึ้นฉ่าย (Celery)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขึ้นฉ่าย

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Celery
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Aqium graveolens L. vat. Dulce Pers.
    วงศ์
    UMBELLIFERAE
    ชื่ออื่น
    ผักปิ๋ม ผักข้าวปืน ผักปืน(เหนือ) ฮั่งชื่ง ขึ่งฉ่าย(แต้จิ๋ว) ฮั่นฉิน ฉันฉ้าย (จีนกลาง)
     
     
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    เป็นไม้ล้มลุกจะมีอายุได้นานประมาณ 1-2 ปี และมีกลิ่นหอมทั้งต้น ส่วนลำต้นนั้นจะกลวง สูงประมาณ 30-50 ซม. ใบรวม ประกอบด้วยใบย่อย 2-3 คู่ ขอบใบจะหยัก เป็นแฉกลึก แต่ละแฉกนั้น เป็นรูปสามเหลี่ยม หรือห้าเหลี่ยม ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ตรงยอดดอกนั้นแผ่ เป็นรัศมี ดอกมีขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์ เพศ  มีผลลักษณะกลมรี ขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน มี กลิ่นหอม จะให้ผลเพียงครั้งเดียว
    ขึ้นฉ่ายมี 2 พันธุ์ พันธุ์หนึ่งเป็นขึ้นฉ่ายจีน (Chinese celery) มีขนาดลำตันเล็กสูง 30 ซม.ใบค่อนข้างแก่ อีกพันธุ์เป็นขึ้นฉ่ายฝรั่ง ต้นอวบใหญ่มาก ลำต้นสูงถึง 40 - 60 ซม. สีลำต้นค่อนข้างขาวเหลือง ใบสีเหลืองอมเขียว
    การใช้ประโยชน์
    ใช้เป็นอาหาร ทั้งต้น รับประทานเป็นผักสด นำมาปรุงอาหาร เช่น ใส่ยำ ต้มจืด ผัด และทำน้ำสมุนไพร
    คุณค่าทาง โภชนาการ   
    ใบขึ้นฉ่าย มีวิตามินซี มีสารเบต้า- แคโรทีน ใยมีน้ำมันหอมระเหย คือ สารโลโมนินซีลินิน และสารฟธาไลเดส   ใช้เป็นยาได้ทั้งต้น ลดความดันโลหิต รักษานิ่ว มีปัสสาวะเป็นเลือด และฝีฝักบัว เมล็ด ใช้ขับลมและเป็นยาระงับอาการปวด รากใช้รักษาอาการปวดตามข้อ เก๊าท์ ใช้เป็นยาบำรุงและขับปัสสาวะ ขึ้นฉ่าย มีวิตามินเอ บีและซี และยังมีนำมันหอมระเหยใช้แต่งกลิ่นอาหาร ช่วยให้เจริญอาหารดับกลิ่นคาวทางคลีนิค ใช้ลดความดันโลหิต ลดอาการบวมน้ำและทำให้นอนหลับดี แพทย์ไทยจัด เป็นผักฤทธิ์หวานเย็นเผ็ดเล็กน้อย ไม่มีพิษใช้เป็นยาดับร้อนและบำรุงสมองน้ำมันสกัดจากขึ้นฉ่ายใช้ ผสมในเรื่องสำอางทาผิวแต่งกลิ่นอาหาร ถ้ารับประทานในปริมาณมากติดต่อก้นเป็นเวลานานจะลด จำนวน sperm ลงมาก
     
    กระชาย (Kra-chai)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกระชาย

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Kra-chai
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Boesenbergia pandurata (Roxb.) Holtt.
    วงศ์
    ZINGIBERACEAE
    ชื่ออื่น
    ภาคกลาง  : กะชาย (Ka-chai)
    ภาคเหนือ : ละแอน (La-an)  กะแอน (Ka-an)
    กะเหรี่ยง กำแพงเพชร : โป้ตาวอ (Po-ta-wo)
    เงี้ยว        :  ชี้พู้ (Chi-phu)
    ถิ่นกำเนิด
    อินเดีย  มาเลเซีย
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     
              ไม้ล้มลุก  ใบสีเขียวคล้ายใบพุทธรักษา  กลางใบมีเส้นสีแดง  เป็นไม้ลงตัวใต้ดิน  มีรากใหญ่ออกจากหัว  เกิดตามที่ลุ่มต่ำ แฉะ ดอกสีม่วง แดง
    สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา        
              เหง้าอ่อนและแก่ – ใช้ทานเป็นยาขับลม  แก้ท้องขึ้น -ท้องเฟ้อ  ทาภายนอก แก้โรคกลากเกลื้อน
     
     
    ฟักทอง (Pumpkin)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟักทอง

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Pumpkin
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Cucurbita moschata Decne.
    วงศ์
    Cucurbitaceae
    ชื่ออื่น
    น้ำเต้า (ภาคใต้) มะพร้าว (ภาคเหนือ)
    มะน้ำแก้ว (เลย) หมักอื้อ (เลย - ปราจีนบุรี)
     
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ลักษณะของพืช พืชล้มลุกที่มีเถายาวเลื้อยไปตามพื้นดิน มีหนวดยาวที่ข้อ ใบสีเขียวใบไม้
    มีหยัก 5 หยักด้วยกัน ผิวใบถ้าจับดูจะรู้สึกว่าสาก ดอกสีเหลืองเป็นรูปกระดิ่ง ผลมีขนาดใหญ่
    ลักษณะกลมแบน ผิวขรุขระเนื้อในเป็นสีเหลืองถึงเหลืองมอมส้มและเหลืองอมเขียว
    การปลูก ใช้เมล็ดปลูก ต้องพรวนดินให้ร่วนแล้วหยอดเมล็ดลงไปในหลุมที่ขุดลึกประมาณ 1 คืบ รดน้ำทุกวันจนกว่าจะงอกฟักทองชอบดินร่วนเบา
    ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดฟักทองแก่
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เมล็ดฟักทองมีสารเคมีประกอบอยู่ด้วยหลายชนิดมีไขมันประมาณร้อยละ 40 มีแป้งอีกด้วย โปรตีนก็มีอยู่อีกจากรายงานพบว่าสามารถฆ่าพยาธิได้ทันที
    วิธีใช้ ใช้เมล็ดฟักทองถ่ายพยาธิลำไส้ เหมาะกับการถ่ายพยาธิตัวตืดโดยใช้เมล็ดฟักทองประมาณ 60 กรัม
    ทุบให้แตกผสมน้ำตาลกับน้ำนม หรือเอาน้ำสะอาดเติมลงไปจนได้ปริมาณ 500 มิลลิลิตรแบ่งรับประทานรวม 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมงหลังจากที่ให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ให้รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตามเพื่อให้ถ่ายพยาธิออกมาได้
    รสและสรรพคุณยาไทย รสมัน แต่ไม่มีระบุในสรรพคุณยาไทย
    คุณค่าทางอาหาร ฟักทองโดยทั่วไปปลูกเป็นพืชสวนครัว เพราะยอด เนื้อใน ผลผลอ่อนเมล็ดฟักทอง
    เอามารับประทานอาหารได้ดีทำได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวานมีสารอาหารครบครันที่สำคัญได้แก่
    วิตามิน เอ ฟอสฟอรัสคาร์โบไฮเดรท เนื้อในของผลมีสารอาหารมากกว่ายอดอ่อน ส่วนเมล็ดของฟักทองก็มีแป้งและน้ำมัน รสมัน
     
     
     
     
     
     
     
     
    กุหลาบ (Rose)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดอกกุหลาบ

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Rose
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Rosa hybrida  
    วงศ์
    ROSACEAE
    ถิ่นกำเนิด
    ทวีปเอเชีย
     
     
     
    ประวัติและข้อมูลทั่วไป          
                   กุหลาบนับว่าเป็นไม้ดอกที่มีความงามยากที่ไม้ดอกอื่นจะเทียบเท่า จนได้รับชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งดอกไม้" (Queen of flower)  กุหลาบมีมานานประมาณ 30 ล้านปีมาแล้ว มีทั้งหมดประมาณ 200
    สปีชีส์  พันธุ์ดั้งเดิม (wild species) มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ส่วนกุหลาบที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันเป็นกุหลาบที่ผ่านการวิวัฒนาการมานานนับร้อยๆ ปี และทั้งหมดเป็นกุหลาบลูกผสมซึ่งได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างกุหลาบ 1-8 สปีชี่ส์ และส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                   กุหลาบจัดเป็นไม้ดอกประเภทพุ่ม-พลัดใบ  มีลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อย  แข็งแรงมีใบย่อย 3-5 ใบ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันและมีรอยย่นเล็กน้อย  ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มี 2 เพศในดอกเดียวกัน  มีเกสรตัวผู้และตัวเมียเป็นจำนวนมาก  มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน  การจำแนกตามลักษณะสีของดอกแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
    1.      Single color มีสีของกลีบดอกสีเดียว ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังของดอก และทุก ๆ กลีบมีสีเหมือนกัน เช่น พันธุ์Christian Dior
    2.      Multi-color มีสีของกลีบดอกเปลี่ยนไปตามอายุการบานดอก ในช่วงหนึ่งจะมีหลายสีเพราะบานดอกไม่พร้อมกัน ส่วนมากจะเป็นกุหลาบพวง เช่น พันธุ์ Sambra
    หรือ
    Charleston
    3.      Bi-color มีสีของกลีบดอก 2 สี คือ กลีบด้านในสีหนึ่ง ด้านนอกอีกสีหนึ่ง เช่น พันธุ์ Forty Niner
    4.      Blend-color มีสีของกลีบดอกด้านในมากกว่า 2 สีขึ้นไป เช่น พันธุ์ Monte Carlo
    5.      Srtiped color กลีบดอกในแต่ละกลีบมีสีมากกว่า 2 สีขึ้นไป ส่วนใหญ่มักเกิดเป็นสีสลับกันเป็นเส้นตามความยาวของกลีบดอก เช่น พันธุ์ Candy Stripe
    สรรพคุณ กลีบดอกกลิ่นหอมเย็น บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย ช่วยระบาย  ทำเครื่องหอมได้
    เมนูอาหาร ยำกุหลาบ  แกงส้มกลีบกุหลาบ  กุหลาบชุบแป้งทอด
     
     
     
     
     
    เฟื่องฟ้า (Paper flower)

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดอกเฟื่องฟ้า

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    ชื่อสามัญ
    Bougainvillea, Paper flower
    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Bougainvillea hybrida
    วงศ์
    NYCTAGINACEAE
    ชื่ออื่น
    Paper Flower, Kertas
     
     
     
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเท่าหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ0.51เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปใข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบ
    เรียบสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสันแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์
    พันธุ์เฟื่องฟ้าที่ปลูกเป็นไม้มงคล
    1. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ แดงจินดา แดงรัตนา แดงบานเย็น  ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา
    2. พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี
    3. พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช
    4. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี
    5. พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ สุมาลีสีทอง
    6. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ เหลืองอรทัย
    การเป็นมงคลคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ประจำบ้าน สามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เพราะเฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ ที่ได้รับสมญาว่าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับเนื่องจากสามารถนำเฟื่องฟ้าไปใช้ประโยชน์ในด้านสุนทรียภาพเพื่อประดับสวนอาคารบ้านเรือนและสถานที่สำคัญต่างๆนอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่าเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลทำสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีนจึงทำให้บางคนเรียกต้นเฟื่องว่าว่าต้นตรุษจีนดังนั้นบางคนเชื่อว่า เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานแสดงถึง ความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรือง ที่ก้าวไกลแห่งชีวิต
    ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเฟื่องฟ้า ไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางด้าน ให้ปลูกในวันพุธ และถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นสตรี เพราะเฟื่องฟ้าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับ ดังนั้นชื่อจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับสุภาพสตรี
    สรรพคุณ  ดอกเฟื่องฟ้า ใช้เข้าเครื่องหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิตและระบบขับถ่ายนิยมนำดอกมาชุบแป้งทอดกินกับซอสหรือกินเล่น
     
    การสกัดสีจากผัก ผลไม้
                  ในผักผลไม้และดอกไม้ที่มีสีสันต่างกัน เพราะมีสารสีผสมอยู่  ซึ่งแต่ละสีก็มีประโยชน์ต่อร่างกายเราต่างกันไป เราสามารถสกัดสีเหล่านี้ออกมาได้โดยใช้ตัวทำละลายที่หาได้ง่ายในบ้านเราอย่างน้ำและน้ำมันพืช
    สารสีในผัก ผลไม้
    สารสีแดง มีสารไซโคปิน (Cycopene) เป็นตัวให้สีแดงในแตงโม มะเขือเทศ สารเบต้าไซซิน (Betacycin) ให้สีแดงในลูกทับทิม บีทรูท และแคนเบอร์รี่ สารทั้งสองอย่างนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งหลายชนิด
    สารสีส้ม ผักและผลไม้สีส้ม เช่น มะละกอ แครอท มีสารเบต้าแคโรทีน(Betacarotene) ซึ่งมีศักยภาพต้านอนุมูลอิสระอันเป็นตัวก่อมะเม็ง คนผิวขาวซีดที่กินมะละกอหรือแครอทมาก ผิวจะออกสีเหลืองสวย ทางกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาประกาศว่า การกินแครอทวันละ 2-3 หัว จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือด คนไทยที่ทดลองกินมะละกอห่ามมากๆ นานถึง 2 ปี จะช่วยเปลี่ยนสีผิวหน้าที่เป็นฝ้าให้หายได้โดยไม่ต้องพึ่งครีมแก้ฝ้าเลย
    สารสีเหลือง  สารลูทีน (Lutein) คือสารสีเหลืองที่ให้สีสันแก่ข้าวโพด ช่วยป้องกันกันความเสื่อมของจุดสี หรือแสงสีของเรตินาดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนแก่มองไม่เห็น
    สารสีเขียว คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll ) เป็นสารที่ให้สีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวเข้มมากก็ยิ่งมีคลอโรฟีลล์มาก เช่น ตำลึง คะน้า บร็อกโคลี่ ชะพลู บัวบก เป็นต้น และสารคลอโรฟีลล์ ก็มีคุณค่ามากเหลือเกิน นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเมื่อคลอโรฟีลล์ถูกย่อยแล้ว จะมีพลังแรงมากในการป้องกันมะเร็ง ทั้งยังช่วยขจัดกลิ่นเหม็นต่างๆ ในตัวคนด้วย
    สารสีม่วง พืชสีม่วงมีสารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) เป็นต้นให้สีม่วงที่คุณเห็นในดอกอัญชัน กะหล่ำม่วงผิวชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบล็กเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสารตัวนี้ช่วยลบล้างสารที่ก่อมะเร็งและขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และอัมพาตด้วย
     
    การตรวจสอบประสิทธิภาพของเจลล้างมือสมุนไพร
    การนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม ในการวิจัย การควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ การควบคุมคุณภาพน้ำและอาหาร  สิ่งหนึ่งที่นักจุลชีววิทยาจะต้องศึกษาคือ การนับจำนวนจุลินทรีย์  การตรวจสอบจำนวนจุลินทรีย์ตั้งแต่จำนวนเซลล์เริ่มต้น  จำนวนเซลล์ระหว่างการเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อ  เซลล์ที่มีชีวิตและเซลล์ที่เจริญได้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี  คือ
    การนับโดยตรง (direct count)    เป็นการนับจำนวนโดยตรงจากกล้องจุลทรรศน์ มีหลายวิธี คือ
    การนับเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านการตรึงและย้อมสี (stained film) วิธีนี้เป็นการนับเชื้อแบคทีเรีย ปริมาตร 0.01 มล. ที่ถูกตรึงและย้อมสีอยู่บนสไลด์ภายในพื้นที่ 1 ตร.ซม.    วิธีนี้มีข้อดีตรงที่ทำง่าย รวดเร็ว   ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ไม่แพง แต่มีข้อเสียตรงที่เป็นการนับจำนวนแบคทีเรียทั้งหมด (total count) ทั้งเซลล์ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต    นอกจากนี้ตัวอย่างที่จะตรวจนับต้องมีจำนวนเชื้อแบคทีเรียมาก
    1 cm
     1 cm
     
     
     

    การนับเชื้อบนสไลด์ที่มี counting chamber      สไลด์ที่มี counting chamber ได้แก่
    - Petroff – Hausser counting chamber นิยมใช้นับจำนวนแบคทีเรีย
    - Haemacytometer ใช้นับ eucaryotic microbe ที่มีขนาดใหญ่
                       สไลด์พวกนี้จะมีแอ่ง (chamber) ซึ่งรู้ความลึกของ chamber   และที่พื้นของ chamber จะมีตารางสี่เหลี่ยมซึ่งทราบความกว้างความยาวของตารางสี่เหลี่ยม   ดังนั้นเมื่อหยดเชื้อจุลินทรีย์ลงไปใน chamber ที่มี cover glass ปิดอยู่   ตรวจนับเชื้อจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 400X ในสี่เหลี่ยมลูกบาศก์เล็ก   ก็จะทำให้สามารถคำนวณหาจำนวนเซลล์ต่อมล.ของตัวอย่างได้   สำหรับข้อดีข้อเสียของ counting chamber จะเหมือนกับนับด้วยวิธี stained film
       
     
     
     
     
    รูปที่ 1 Petroff – Hausser counting chamber
    การนับเชื้อจุลินทรีย์ใช้กำลังขยาย objective lens 40X    ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียให้นับช่องที่มีความยาวด้านละ 0.05 มม.   และควรเจือจางให้มีแบคทีเรีย 1-10 เซลในแต่ละช่องเล็ก  และนับไม่ต่ำกว่า 10 ช่อง  
    ถ้าเป็นยีสต์หรือจุลินทรีย์ขนาดใหญ่ให้ใช้ช่องใหญ่ที่มีความยาวด้านละ 0.2 มม. การนับให้นับเฉพาะเซลที่แตะหรือทับด้านบนหรือด้านขวาของสี่เหลี่ยมจตุรัส   แต่จะไม่นับเซลใดก็ตามที่แตะหรือทับด้านล่างและทางซ้ายมือของสี่เหลี่ยมจตุรัส
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    (a)
    (b)
    1 มม.

     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    รูปที่
     
    รูปที่ 2   (a) ภาพที่มองจากด้านบนของ chamber  มีตารางอยู่กลางสไลด์   (b) ภาพขยายของตารางที่
    กำลังขยาย 10X  ประกอบด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่แต่ละด้านยาว 1 มม. ภายในมีสี่เหลี่ยม
    จัตุรัสเล็กบรรจุอยู่ 25 ช่อง  แต่ละช่องมีเส้น 3 เส้นล้อมรอบ โดยแต่ละด้านยาว 0.2 มม. ภายใน
    มีสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็กบรรจุอยู่อีก 16 ช่อง
     
    การนำอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมวุ้น (agar media) มาใช้ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1800 ทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการนับจำนวนจุลินทรีย์โดยการนับจำนวนโคโลนี  วิธีการดังกล่าวมีพื้นฐานจากข้อสมมติ 3 อย่างคือ    (1) เซลล์จุลินทรีย์หนึ่งเซลล์เจริญและแบ่งตัวเพื่อสร้างโคโลนีเดี่ยว   (2) เชื้อ   จุลินทรีย์เริ่มต้น (original inoculum) มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous) และ  (3) ไม่มีเซลล์ใดๆที่อยู่รวมกัน (no aggregate)   วิธีนี้ทำง่าย  นับจำนวนได้ดีแม้ว่าจะมีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ต่ำ (sensitive)    และนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งจากตัวอย่างอาหาร น้ำ และดิน  ในการนับเซลล์จุลินทรีย์ด้วยวิธีนี้จำนวนโคโลนีที่เจริญบนจานอาหารมีความสำคัญ คือ ต้องมีจำนวนไม่มากหรือน้อยเกินไป    โดยทั่วไปจะนับเฉพาะจานอาหารที่มีจำนวนเซลล์ระหว่าง 25-250 เซลล์เท่านั้น     ดังนั้นเพื่อให้จำนวนโคโลนีที่เจริญบนจานอาหารอยู่ในช่วงดังกล่าว  ควรทำการเจือจางเชื้อเริ่มต้นหลายๆครั้ง  โดยทั่วไปทำเป็นลำดับๆละ 10 เท่า (serial dilution) (รูปที่ 3 )  แล้วทำการเพาะเชื้อ   จุลินทรีย์ที่แต่ละระดับการเจือจางลงบนจานอาหาร  เมื่อเชื้อจุลินทรีย์เจริญบนจานอาหารแล้ว  นับจำนวน   ทำการคำนวณหาจุลินทรีย์ต่อกรัมหรือมล.ของตัวอย่างได้   การรายงานผลมักรายงานเป็น colony forming unit (CFU) มากกว่าจำนวนจุลินทรีย์   เนื่องจากไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอน ชัดเจนว่า 1 โคโลนีมาจาก 1 เซลล์     การนับจำนวนด้วยวิธี plate count จึงเป็นการนับจำนวนเซลล์ที่มีชีวิต (viable count) ซึ่งมีหลายวิธี คือ
    การนับจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่เพาะบนจานอาหาร (plate count)การนำอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมวุ้น (agar media) มาใช้ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1800 ทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการนับจำนวนจุลินทรีย์โดยการนับจำนวนโคโลนี  วิธีการดังกล่าวมีพื้นฐานจากข้อสมมติ 3 อย่างคือ    (1) เซลล์จุลินทรีย์หนึ่งเซลล์เจริญและแบ่งตัวเพื่อสร้างโคโลนีเดี่ยว   (2) เชื้อ   จุลินทรีย์เริ่มต้น (original inoculum) มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous) และ  (3) ไม่มีเซลล์ใดๆที่อยู่รวมกัน (no aggregate)   วิธีนี้ทำง่าย  นับจำนวนได้ดีแม้ว่าจะมีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ต่ำ (sensitive)    และนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งจากตัวอย่างอาหาร น้ำ และดิน  ในการนับเซลล์จุลินทรีย์ด้วยวิธีนี้จำนวนโคโลนีที่เจริญบนจานอาหารมีความสำคัญ คือ ต้องมีจำนวนไม่มากหรือน้อยเกินไป    โดยทั่วไปจะนับเฉพาะจานอาหารที่มีจำนวนเซลล์ระหว่าง 25-250 เซลล์เท่านั้น     ดังนั้นเพื่อให้จำนวนโคโลนีที่เจริญบนจานอาหารอยู่ในช่วงดังกล่าว  ควรทำการเจือจางเชื้อเริ่มต้นหลายๆครั้ง  โดยทั่วไปทำเป็นลำดับๆละ 10 เท่า (serial dilution) (รูปที่ 3 )  แล้วทำการเพาะเชื้อ   จุลินทรีย์ที่แต่ละระดับการเจือจางลงบนจานอาหาร  เมื่อเชื้อจุลินทรีย์เจริญบนจานอาหารแล้ว  นับจำนวน   ทำการคำนวณหาจุลินทรีย์ต่อกรัมหรือมล.ของตัวอย่างได้   การรายงานผลมักรายงานเป็น colony forming unit (CFU) มากกว่าจำนวนจุลินทรีย์   เนื่องจากไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอน ชัดเจนว่า 1 โคโลนีมาจาก

    เซลล์ การนับจำนวนด้วยวิธี plate count จึงเป็นการนับจำนวนเซลล์ที่มีชีวิต (viable count) ซึ่งมีหลายวิธี คือ รูปที่ 3  การทำเจือจางเป็นลำดับและวิธี pour plate
    2.1 Pour plate
              เมื่อตัวอย่างถูกเจือจางลงระดับละ 10 เท่า   ทำการเพาะเชื้อจุลินทรีย์จากตัวอย่างที่มีระดับการเจือจางเหมาะสม  โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ 1 มล.หรือ 0.1 มล.หยดไปบนจานอาหารแล้วเทอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีอุณหภูมิ 44 – 46 ซ ลงไป   ผสมเชื้อจุลินทรีย์กับให้เข้าอาหารโดยแกว่งจานอาหารไป-มาเบาๆ (รูปที่ 4)  ทิ้งให้อาหารแข็งตัวแล้วนำไปบ่ม  ภายหลังบ่มแล้ว  โคโลนีของจุลินทรีย์จะเจริญทั้งในและบนอาหารเลี้ยงเชื้อ  นับจำนวนจุลินทรีย์ในจานอาหารที่มีจำนวนเซลล์ 25-250 เซลล์   ก็จะทำให้สามารถคำนวณหาเชื้อจุลินทรีย์ต่อมล.หรือต่อกรัมตัวอย่างได้  วิธีนี้หากใช้วุ้นที่ร้อนไปอาจทำให้ sensitive cell ตายหรือบาดเจ็บไม่สามารถสร้างโคโลนีได้
    2.2 Spread plate
              เป็นวิธีการนับจำนวนโคโลนีของจุลินทรีย์ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ  โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ 0.1 มลหยดลงบนจานอาหารที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อซึ่งแข็งตัวแล้ว (solidified agar medium)  เชื้อจุลินทรีย์จะถูกแผ่กระจายทั่วผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยแท่งแก้วพิเศษที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว (spreader) (รูปที่ 5)  วิธีนี้ผู้วิเคราะห์จะสามารถสังเกตลักษณะโคโลนีของจุลินทรีย์ได้ง่าย  ในบางครั้งวิธี spread plate อาจนับปริมาณเซลล์ได้มากกว่าวิธี pour plate  เนื่องจากจุลินทรีย์ไม่ได้เจอกับความร้อนจากอาหารเลี้ยงเชื้อหลอมเหลวเหมือนวิธี pour plate    ในกรณีที่ตัวอย่างมีเซลล์  จุลินทรีย์อยู่น้อย  การใช้วิธีนี้อาจขาดความถูกต้องแม่นยำเนื่องจากใช้ปริมาณตัวอย่างค่อนข้างน้อย (0.1 มล.) ในการ plating
     
     
     
     
     

    รูปที่ 5   วิธีการ spread plate
     
    2.3 Drop plate
              วิธีนี้มีหลักการเหมือนกันกับ spread plate  โดยจะหยดตัวอย่างที่ระดับการเจือจางที่เหมาะสมลงบนจานอาหารหนึ่งจานต่อ 5 จุด  โดยแต่ละจุดใช้ปริมาณ 0.02 มล. ตัวอย่างจะถูกปล่อยให้แห้งอยู่บนอาหารเลี้ยงเชื้อในจานอาหาร (รูปที่ 6)   ซึ่งโดยปกติจะมีความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1.5 ถึง 3 ซม. การนับและคำนวณจำนวนโคโลนีขึ้นอยู่กับจำนวนหยดต่อจานอาหาร  จำนวนหยดต่อมล. และค่าการเจือจาง (dilution factor)  โดยทั่วไปเมื่อบ่มจนเชื้อเจริญแล้ว  ให้เลือกจานอาหารที่มีระดับการเจือจางเหมาะสมคือ มีเชื้อจุลินทรีย์บนจานอาหารแต่ละจุดไม่เกิน 10 โคโลนี      เมื่อนับจำนวนโคโลนีทั้ง 5 จุดรวมกันในแต่ละระดับการเจือจาง   ก็จะสามารถคำนวณหาจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ต่อมล.หรือต่อกรัมตัวอย่าง
    2.4  Membrane filtration method
              วิธีนี้เหมาะสำหรับตัวอย่างมีจำนวนจุลินทรีย์อยู่น้อยและจำเป็นต้องใช้ปริมาตรของตัวอย่างมากเพื่อความแม่นยำในการตรวจหาจุลินทรีย์แบบปริมาณวิเคราะห์ (quantitative analyses)   ตัวอย่าง 100 มล.หรือมากกว่าจะถูกกรองผ่าน membrane filter   ซึ่งมีรูขนาด 0.45 ไมครอน (แบคทีเรียไม่สามารถผ่านได้)   ดังนั้นจุลินทรีย์จะถูกกักอยู่บนกระดาษกรอง  จากนั้นนำกระดาษกรองวางในจานอาหารที่มีกระดาษซึ่งชุ่มด้วยอาหารเหลว (liquid nutrient medium) อยู่แล้ว  โคโลนีของจุลินทรีย์จะเจริญบนกระดาษกรอง (รูปที่ 7)   วิธีนี้มักใช้กับการตรวจวิเคราะห์ coliform bacteria ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ (indicator) การปนเปื้อนจากอุจจาระในอาหาร หรือน้ำ
     
     
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×