ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สัตว์มหัศจรรย์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #7 : special request : Nymphs (นิมป์)- (ยังไม่จบ)

    • อัปเดตล่าสุด 14 พ.ค. 49


    Nymphs

    Nymphs (นิมป์) เป็นเหล่านางอัปสรหรือนางไม้ที่มักจะพบเจอในตำนานกรีก-โรมัน    ซึ่งรูปลักษณ์ของพวกหล่อนจะเป็นหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม  เพราะคำว่า nymph นั้นในภาษากรีกมีความหมายว่า "young woman" ที่แปลว่าสาวแรกรุ่น   ดังนั้นนิมป์พวกนี้ก็มีจะแต่สาวๆ รุ่นๆ ทั้งนั้น (อิอิ  อย่าหวังว่าจะได้เจอนิมป์แก่ๆ 5555)

    นิมป์จะสถิตอยู่ในตามที่ต่างๆ  เช่นในป่า  ต้นไม้  ภูเขา  ลำน้ำ  หรือแม้กระทั่งมหาสมุทร   โดยชื่อของพวกหล่อนจะเป็นตัวกำหนดว่าหล่อนเป็นนิมป์ประเภทอะไรเอง  

    Nymphs ที่อาศัยอยู่บนพื้นดินและในป่า 

    - Alseids
    - Napaea
    - Auloiads
    - Leimakids
    - Oreads
    - Minthe
    - Hesperides
    - Hamadryads
    - Epimeliad

    Nymphs ที่อาศัยอยู่ในน้ำ

    - Helead
    - Oceanids
    - Nereids
    - Naiads

    Nymph จำพวกอื่นๆ

    - Corycian Nymphs  (Classical  Muses)

    ---------------------------------------------------------------------

    Nymphs ที่อาศัยอยู่บนพื้นดินและในป่า

    Alseids (อัลเซียส) เป็น nymph แห่งหุบเขาและป่าละเมาะ  อุปนิสัยชอบแกลังทำให้พวกนักเดินทางตกใจกลัว

    Napaeae (เนพาอี) เป็น nymph แห่งขุนเขาและหุบเขา   เป็นนิปม์ขี้อายแต่ก็มีนิสัยที่ค่อนข้างรักสนุก   พวกหล่อนจะอาศัยอยู่ในป่า   ในเทือกเขาหรือในหุบเขา   ซึ่ง nymph จำพวกนี้จะมีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับเทพีอาร์ทิมิส (Artemis) หรือเทพีแห่งดวงจันทร์   โดยถ้าอาร์เทมิสออกเที่ยวป่าเมื่อใด   เหล่านางไม้เนพาอีก็จะคอยติดตามเพื่อรับใช้เทพีแห่งดวงจันทร์ด้วยความยินยอม

    Auloniads (ออโลเนียส) เป็น nymph แห่งทุ่งหญ้าปศุสัตว์  หรือทุ่งหญ้าโล่งๆ  นิมป์ประเภทนี้จะคอยดูแลรักษาธรรมชาติ  ถิ่นที่อยู่ของพวกนางมักจะอยู่ในบริเวณทุ่งหญ้าในหุบเขา   บนภูเขา   ซึ่งนิมป์ออโลเนียสจะมีความสนิทชิดเชื้อกับเทพแพน (Pan) เป็นอย่างดี  
     
     ส่วนนิมป์ออโลเนียสที่เคยถูกกล่าวไว้ในตำนานกรีก-โรมันก็ได้แก่  ตำนานของ Orpeus (ออร์ฟิอุส) และ Eurydice (ยูรีไดซ์)  ซึ่งตัวของยูรีไดซ์บางตำนานก็กล่าวว่านางเป็นสาวชาวบ้านธรรมดา  แต่บางตำนานก็กล่าวว่าเธอเป็นนิมป์ออโลเนียส   เรื่องราวของความรักอมตะเริ่มขึ้นที่วันหนึ่งยูรีไดซ์ต้องจบชีวิตลงด้วยคมเขี้ยวของอสรพิษร้าย   ออร์ฟิอุสได้พิสูจน์รักแท้ด้วยการตามเธอลงไปถึงยมโลกและได้บรรเลงพิณเพื่อเกลี้ยกล่อมเทพฮาดีส (Hades) ซึ่งเป็นเจ้าแห่งพิภพความตายให้ค้นหญิงอันเป็นที่รักของเขามา    แต่เรื่องก็ไม่ง่ายเช่นนั้น   เมื่อเทพฮาดีสตั้งข้อแม้ว่าระหว่างทางขึ้นไปโลกมนุษย์ห้ามออร์ฟิอุสหันหลังกลับมาเด็ดขาด   แต่แล้วเขาก็ทำพลาดเมื่ออีกแค่อึดใจเดียวขณะที่เขาจะพ้นจากเขตแดนของยมโลก  เขาเผลอหันกลับไปมองข้างหลังเพื่อจะดูว่ายูรีไดซ์ยังตามเขามาอยู่หรือเปล่า   ซึ่งนั่นเป็นการกระทำที่ผิดพลาดอย่างแรง   และทำให้เขาก็ต้องเสียเธอไปตลอดกาล


    Leimakids  (เลมาคิส) เป็นนิมป์แห่งทุ่งหญ้า มักจะอาศัยอยู่ในบริเวณทุ่งหญ้า 


    Oreads  (ออรีส)  เป็น nymph  แห่งขุนเขาและถ้ำ  นิมป์พวกนี้มักจะอาศัยอยู่ในภูเขา  หุบเขา  หรือตามช่องเขา   และมักจะมาติดตามรับใช้เทพีอาทิมิส (Artemis) ในยามที่เทพีองค์นี้ออกล่าสัตว์   โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาที่มีผาสูงชันจะเป็นที่ที่เทพีอาทิมิสโปรดปรานมาก  

    แต่ในกลุ่มของนิมป์ออรีสเองก็ยังการแตกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ออกไปอีกดังนี้

    1. Britomartis  (บริโทมาร์ทิส) มีความหมายว่า   หญิงบริสุทธิ หรือหญิงสาวที่อ่อนหวาน   ชื่อของนิมป์กลุ่มนี้ที่ได้รับการพูดถึงในตำนานกรีกได้แก่  Aphaea (อาเฟีย) และ Diktynna (ดิคทีนนา)   ซึ่งนิมป์ในกลุ่มบริโทมาร์ทิสนี้ยังถูกนับถือให้เป็นเทพธิดาแห่งขุนเขาและการล่าสัตว์ของชาวไมนอน (Minoan)

    2.Cynosura (ซีโนซอร่า) เป็นนิมป์ออรีส ที่อาศัยอยู่บนเขาไอด้า (Ida) และบนเกาะครีต (Crete)   โดยตำนานของกรีกได้กล่าวไว้ว่าพวกนางเป็นพี่เลี้ยงของเทพซุส (Zeus) มหาเทพของสวรรค์ในสมัยที่เทพซุสถูกซ่อนตัวจากเทพโครโนส (Cronos) ผู้เป็นบิดาและยังเป็นมหาเทพในสมัยนั้น   และเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของเหล่าพี่เลี้ยง     เมื่อพวกนางสิ้นชีวิตลงเทพซุสก็ได้บันดาลให้พวกนางกลายเป็นดวงดาวเมื่อสิ้นชีพไป    ซึ่งกลุ่มดาวดวงนี้รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า  Ursa Minor  หรือยูซ่าน้อย  โดยมีดาวดวงที่สว่างที่สุด  คือ Polaris (โพลาริส)

    3. Cyllene  หรือ  Kyllene  (คีย์ลีน)  ซึ่งนิมป์ออรีสชนิดนี้ถูกเรียกตามถิ่นที่อยู่ซึ่งก็คือเขาคีย์ลีน      และยังเชื่อกันว่าเขาลูกนี้ยังเป็นถิ่นกำเนิดของเทพเฮอร์มีส (Hermes) อีกด้วย   นอกจากนี้เขาลูกนี้บางทีก็ยังเรียกว่า Ziria (ซีเรีย)  ก็ได้

    4. Pleiades (เพลอาดีซ) เป็นนิมป์ออรีสอีกกลุ่มหนึ่งที่คอติดตามรับใช้เทพีแห่งดวงจันทร์หรือเทธิดาอาร์ทิมิส   และยังเชื่อกันว่าพวกนางเป็นเทพพี่เลี้ยงให้กับเทพแบ็คคัส (Baccus) เทพแห่งสุราเมรัยอีกด้วย   โดยมีตำนานเล่าว่านิมป์เพลอาดีซมีกัน 7 คนและยังเป็นธิดาที่เกิดจากแอตลาส (Atlas) กับ sea นิมป์ ที่ชื่อว่า เพลโอนี (Plione)    แม้ว่าพวกหล่อนจะเป็นนิมป์ที่ได้ถือกำเนิดมาจากเขาคีล์ลีน (Cyllene)   แต่ก็ถูกเรียกว่าเพลอาดีซตามลักษณะชื่อของมารดา   ซึ่งคำว่าเพลอาดีซนี้มีความจริงๆ ในภาษากรีกว่า  "ล่องเรือ"     นอกจากนี้พวกนักเดินเรือทั้งหลายก็ยังรู้จักพวกเธอกันในนามของกลุ่มดาวที่ขึ้นเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงฤดูร้อน  คือตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนอีกด้วย


    นิมป์เพลอาดีซคนที่ 1 ชื่อ Maia (ไมอา หรือ เมยา) เป็นพี่สาวคนโต   เป็นคู่รักของเทพซุส  และมีบุตรคือ เทพเฮอร์มีส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี่ (Mercury) ซึ่งเป็นเทพแห่งการสื่อสาร

    นิมป์เพลอาดีซคนที่ 2 ชื่อ Electra (อีเล็คตร้า หรือ เอเล็คตร้า) เป็นคู่รักของเทพซุส  และเป็นมารดาของดาร์ดานัส (Dardanus) และ เลชั่น lasion

    นิมป์เพลอาดีซคนที่ 3 ชื่อ Taygete (เทจีที) เป็นคู่รักของเทพซุส และเป็นมารดาของ  ลาซีเดมอน (Lacedaemon)

    นิมป์เพลอาดีซคนที่ 4 ชื่อ Alcyone (อัลซีอาเน่) เป็นคู่รักของเทพโปเซดอน  มีบุตรคือ ไฮเรียส (Hyrieus)

    นิมป์เพลอาดีซคนที่  5 ชื่อ Celaeno (ซีลาโน) เป็นคู่รักของเทพโปเซดอน  มีบุตรคือ ลีคัส Zlycus) และ ยูรีพีลัส (Eurypylus)

    นิมป์เพลอาดีซคนที่  6 ชื่อ Sterope (สเตโรพี) ที่มีอีกชื่อว่า Asterope (อัสเตโรพี) เป็นคู่รักของเทพเอรีส (Ares) หรือเทพมาร์ (Mar) ซึ่งเป็นเทพแห่งสงคราม

    นิมป์เพลอาดีซคนที่ 7 ชื่อ Merope (เมโรพี) ซึ่งเป็นคู่รักของเทพโอไรออน (Orion) แต่ในตำนานกรีกกล่าวว่าเธอเป็นภรรยาของ Sisyphus (ซิสซีฟัส) และมีบุตรด้วยกันหลายคน


    นอกจากนี้แล้วก็ยังมีนิมป์ในกลุ่มตระกูลออรีสอีก 2 นางที่ค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักกันในตำนานกรีกเป็นอย่างดีอีก 2 นางคือ  Echo (เอ็คโค่) กับนาง Oenone (โอโนอี)

    (ซึ่ง la plume จะขอเล่าในส่วนของตำนานของ Echo (เอ็คโค่) ก่อนเลย    แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าเรื่องตำนานนั้นก็มีเรื่องเล่าอยู่หลายแบบ  อย่าแปลกใจว่าเอ๊ะ  ฉันเคยอ่านมาไม่ใช่แบบนี้นี่  ก็บอกแล้วว่ามันเป็นตำ-นาน  หุหุ)

    เชื่อว่าถ้าพูดถึงคำว่า Echo  นี่หลายคนคงจะเริ่มสงสัยแล้วล่ะสิว่าจะใช่แบบเดียวกับ เอ็คโค่ของเสียงสะท้อนหรือเปล่า   ลองอ่านตำนานนี้ดูแล้วก็จะรู้เอง…..

    Echo เป็นนิมป์ในกลุ่มออรีส    แล้วบังเอิญว่ากลุ่มออรีสของนางดันเป็นที่ถูกตาต้องใจของเทพซุส (Zeus) จอมเจ้าชู้  แล้วก็ชอบแอบมากุ๊กกิ๊กกับเหล่านิมป์พวกนี้จนเทวีเฮรา (Hera) ผู้เป็นมเหสีเอกต้องตามหึงตามหวงเป็นประจำ   แล้วเหตุก็มีอยู่ว่าวันหนึ่งในขณะที่เทพซุสกับลังเพลิดเพลินกับบรรดานิมป์สาวๆ   เทวีเฮราก็ต้องตามมาอาละวาดเช่นเคย   เอ็คโค่ก็เลยต้องการช่วยเหลือเพื่อนๆ ของคน   เจ้าหล่อนจึงแกล้งถ่วงเวลาโดยการชวนเฮราพูดเรื่องนู้นเรื่องนี้ไปเรื่อยเปื่อยแบบไม่มีทีท่าว่าจะหุบปากเพื่อจะดึงความสนใจของเฮราจากการตามหาเทพซุส    จนกระทั่งเทพซุสและเหล่านิมป์นางอื่นๆ ไม่อยู่ในที่เกิดเหตุแล้ว   เทวีเฮราจึงรู้ว่าตนถูกหลอกก็โกรธมาก  จึงทำโทษเธอโดยการสาปเอ็คโค่ให้ไม่สามารถพูดได้ตนเอง  จะพูดได้ก็แต่คำลงท้ายที่คนอื่นเขาพูดเท่านั้น!

    เป็นที่น่าเสียดายว่าปกติเอ็คโค่เป็นนิมป์ที่มีน้ำเสียงไพเราะอยู่แล้ว  แต่กลับต้องมาพูดซ้ำคำของคนอื่น  แต่เรื่องราวความอาภัพของเธอก็ไม่จบลงเพียงเท่านี้  เพราะเอ็คโค่ดันเกิดไปตกหลุมรักชายหนุ่มคนหนึ่งที่ชื่อว่านาร์ซิสซัส (Narcissus)  ซึ่งเป็นชายหนุ่มรูปงามและสาวๆ  ต่างก็พากันคลั่งไคล้กันมาก   วันหนึ่งเอ็คโค่ก็บังเอิญได้พบนาร์ซิสซัสเข้าอย่างจัง   และหล่อนก็เพียงแค่อยากจะพูดคุยกับนาร์ซิสซัสบ้าง  แต่หล่อนก็ไม่สามารถพูดได้  จึงได้แต่ลอบติดตามชายหนุ่มไป  ประมาณว่าอย่างน้อยได้มองเฉยๆ  ก็ยังดี   แต่ในเวลานั้น  นาร์ซิสซัสกลับหลงทาง  ก็เลยร้องถามเพื่อขอความช่วยเหลือ

    นาร์ซิสซัส : 'Is anyone here?'  (มีใครอยู่มั้ย?)
    เอ็คโค่       : 'Here  here  here   (มั้ย  มั้ย  มั้ย)

    แล้วก็เป็นอย่างนี้อยู่นานจนนาร์ซิสซัสชักรำคาญเพราะพูดคุยกันไม่รู้เรื่องสักที   แล้วก็ปฏิเสธรักเธออย่างไม่ใยดี   เอ็คโค่เสียใจมาก  เธอจึงอ้อนวอนขอให้เทวีอโฟรไดที (Aphrodite) หรือเทพีวีนัส (Venus) เทพธิดาแห่งความรักทำให้เธอตายไปซะเพื่อพ้นจากความทุกข์ทรมานครั้งนี้   ซึ่งเทพก็รับฟังคำวิงวอนของเธอให้เธอได้จบชีวิตลงทันที   แต่เนื่องจากเทวีอโฟรไดที รู้สึกชื่อนชอบเสียงของเอ็คโค่  จึงบันดาลให้ยังมีเสียงสะท้อนของเอ็คโค่ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่นาง


    แต่นาร์ซิสซัสเองก็ได้รับผลกรรมที่หักอกสาวๆ ไว้เยอะเช่นกัน  ตอนหลังเขาก็ได้ถูกนิมป์ตนหนึ่งขอให้เทพีเนเมซิส (Nemesis) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความพยาบาทลงโทษในความขี้โอ่หลงตัวเองของนาร์ซิสซัสโดยทำให้เขาตกหลุมรักเงาของตนเองในยามที่เขาก้มหน้าลงไปในบึงเพื่อที่จะดื่มน้ำ   นาร์ซิสซัสก็คอยแต่เฝ้ามองเงาของตัวเองอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งร่างของเขากลายเป็นต้นนาร์ซิสซัส   แต่บางตำนานก็กล่าวว่าเป็นเพราะเทวีอโพรไดทีหมั่นไส้นาร์ซิสซัสก็เลยพลักเขาตกน้ำตายไปตอนที่เขาชะโงกหน้าชมความงามของตัวเองอยู่ริมบึง……..(ย่อหน้านี้อ้างอิงมาจากบทความของคุณมาลัย  ผู้เขียน ตำนานกรีก-โรมัน)

    นอกจากนี้ก็ยังมีนิมป์ในตระกูลออรีสอีกนางที่เป็นที่รู้จักกันดีในตำนานกรีกและโรมัน   นั่นก็คือโอโนเน่ (Oenone)  ซึ่งชื่อของเธอมีความหมายว่า wine woman  หรือนารีแห่งเหล้าองุ่น     ชื่อของเธอปรากฏอยู่ในตำนานกรีก-โรมันเนื่องจากว่าเธอมีฐานะเป็นภรรยาคนแรกของปารีส (Paris)  ผู้ที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดตำนานสงครามระหว่างชาวโรมันและชาวกรีกอันลื่อชื่อ

    Oenone ได้แต่งงานกับปารีสตั้งแต่สมัยที่เจ้าชายตกยากพระองค์นี้ยังเป็นแค่เด็กเลี้ยงแกะธรรมดาอยู่บนเขาไอด้า (Ida)  แห่งแคว้นฟรีเจีย (Phrygia) ซึ่งเขาลูกนี้แต่เดิมก็เป็นบ้านของเธออยู่แล้ว     ส่วนบิดาของนิมป์สาวผู้นี้ก็คือเทพแห่งสายน้ำ  ซีเบรียน (Cebren)

    หลังจากแต่งงานกันแล้วทั้งคู่ก็มีบุตรชายด้วยกันชื่อคอรีทัส (Corythus)    แต่ถึงอย่างนั้นปารีสก็ไม่พอใจในชีวิตที่เรียบง่าย    ภายหลังปารีสได้ทอดทิ้งนิมป์สาวและลูกเพื่อไปลักพาตัวเฮเลน (Helen)  ซึ่งว่ากันว่าเป็นหญิงที่งามที่สุดในแผ่นดินโดยไม่สนใจว่าเธอจะเป็นราชินีของเมืองสปาร์ต้า (Sparta) หรือพูดง่ายๆ  ก็คือเธอมีพระสวามีเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว   และเป็นเหตุให้เกิดเรื่องวุ่นวายจนกลายเป็นมหากาพย์อันลือชื่อสงครามกรีก-ทรอย (Trojan War) ในเวลาต่อมา     ความเลวร้ายไม่จบเพียงแค่นั้นเมื่อภายหลังได้ลงมือสังหารบุตรของตนเองที่เกิดกับนางโอโนเน่ด้วยมือของตนเอง     ทำให้นางเสียใจมาก   แต่ผมกรรมก็ตามทันในวันหนึ่งเข้าจนได้  เมื่อปารีสถูกธนูของฟิลล็อคเททีส (Philoctetes)  ซึ่งปลายธนูนี้ได้อาบพิษของงูไฮดร้าในสมัยที่เฮอร์คิวลีสวีรบุรุษจอมพลังเดินทางไปปฏิบัติภารกิจเพื่อไถ่บาปของตนเอง      และพิษงูไฮดร้าถือเป็นพิษที่ร้ายแรงและไม่มีทางรักษาให้หายได้   ปารีสจึงนึกถึงภรรยาเก่าขึ้นมาได้  เขาจึงเดินทางกลับไปหาเธอที่เขาไอด้าและอ้อนวอนให้เธอช่วยชีวิตของเขาไว้    แต่หล่อนก็ปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย  ปล่อยให้ชายคนที่หล่อนทั้งรักทั้งเกลียดสิ้นใจตายอย่างทรมานลงต่อหน้าเธอ   จากนั้นเธอก็จบชีวิตตัวเองด้วยการกระโจนเข้ากองเพลิงที่ใช้ทำพิธีศพของปารีสไป   นับเป็นการจบตำนานรักอันแสนรันทดสาวแห่งเขาไอด้าด้วยความตาย

    Minthe (มินท์)เป็นชื่อของนิมป์ที่มีหน้าที่ดูแลฝูงแกะ    เธอเป็นบุตรีของเทพแห่งสายน้ำคอซีทัส (Cocythus)  ซึ่งเธอเคยหวุดหวิดจะได้เป็นนางสนมของเทพฮาดีส (Hades) แบบไม่เต็มใจ   เพราะเทพเจ้าแห่งยมโลกองค์นี้ได้ใช้รถม้าสีทองอร่ามล่อลวงนิมป์สาวแต่ไม่สำเร็จ    เพราะสาวเจ้าดันกลายเป็นต้น mint หรือต้นสาระแหน่ไปเสียนี่!!!!

    Minthe (มินท์)เป็นชื่อของนิมป์ที่มีหน้าที่ดูแลฝูงแกะ    เธอเป็นบุตรีของเทพแห่งสายน้ำคอซีทัส (Cocythus)  ซึ่งเธอเคยหวุดหวิดจะได้เป็นนางสนมของเทพฮาดีส (Hades) แบบไม่เต็มใจ   เพราะเทพเจ้าแห่งยมโลกองค์นี้ได้ใช้รถม้าสีทองอร่ามล่อลวงนิมป์สาวแต่ไม่สำเร็จ    เพราะสาวเจ้าดันกลายเป็นต้น mint หรือต้นสาระแหน่ไปเสียนี่!!!!


    Hesperides  เฮสเปอริดีสเป็นนิมป์ที่เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในสวนแสนงามสักแห่งในมุมหนึ่งของโลกทางทิศตะวันตก  และมักจะมีเรื่องเล่าของพวกเธอเกี่ยวข้องกับเทือกเขาอาร์คาเดียน (Arcadian) ในประเทศกรีกอีกด้วย   ใกล้กับเทือกเขาแอตลาส (Atlas) ในลิบย่า (Libya)   แต่บางทีก็มีการกล่าวกันว่าถิ่นของนิมป์เฮสเปอริดีสนี้อยู่ที่แคว้นทาร์เทสโซ่ (Tartessos) ที่เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลทางตอนใต้ของแคว้นไอเบอเรีย (Iberia) ในประเทศสเปน (ทาร์เทสโซ่เป็นนครที่สาปสูญแต่มีนักประพันธ์ชาวกรีกโบราณที่ชื่อว่า Hesiod ได้เคยกล่าวถึงนิมป์ Erytheia ซึ่งเป็นหนึ่งในนิมป์เฮสเปอริดีส)    

     นอกจากนี้นิมป์เฮสเปอริดีสเองก็ยังมีอีกหลายชื่อ  เช่น เทพธิดาผู้นำโชคของชาวเกาะ (Fortunate Isles)  จากพวกที่อาศัยอยู่ในเกาะที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นทิศ  ได้แก่ หมู่เกาะคานารี่ (Canary Islands)  หมู่เกาะมาไดร่า (Madeira Islands) และเกาะเคป เวิร์ด (Cape Verde)   บางครั้งก็เรียกกันว่าเทพธิดาแห่งทิศตะวันตก (Western Maidens)  เทพธิดาแห่งตะวันตก (Sunset Goddesses) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ธิดาแห่งสายัณ  ซึ่งชื่อที่ล้วนขนานนามพวกเธอนั้นเป็นการสื่อความหมายถึงที่อยู่ของพวกเธอนั่นเอง….

    นิมป์ที่ได้รับการจัดกลุ่มให้เป็นเฮศเปอริดีส  ได้แก่ 
    - Aegle (อีเกิ้ล)  หรือเทพธิดาแห่งแสงสว่าง    
    - Arethusa (อารีธูซ่า)  
    - Erytheia หรือ Erytheis (เออริเธีย หรือ เออริธิส) 
    - Hesperia or Hespereia (เฮสเปอเรีย หรือ เฮสเปอรีอา) 
    - Hestia (เฮสเตีย)
    - Hesperusa (เฮสเปอรูซ่า)

    ตำนานเล่าว่าสวนที่พวกเธออยู่นั้นก็คือสวนแอ็ปเปิ้ลทองของมหาเทวีเฮร่า (Hera) ที่พระนางได้รับกิ่งพันธุ์มาจากอดีตราชินีแห่งสวรรค์นั่นก็คือมหาเทวีไกอา (Gaia) เพื่อเป็นของขวัญวันแต่งงานของเธอกับมหาเทพซุสนั่นเอง  ดังนั้นพวกเหล่าเทพธิดาเฮสเปอริดีสจึงมีหน้าที่คอยดูแลรักษาต้นแอ็ปเปิ้ลทองต้นนี้ด้วย  แต่เพื่อความไม่ประมาท  เทวีเฮร่าก็ยังได้ส่งบอร์ดี้การ์ดชั้นเลิศมาอีกหนึ่งคน เอ๊ย! อีกหนึ่งตัว  นั่นก็คือมังกรร้อยหัวที่ไม่มีวันหลับ ที่มีชื่อว่าเลดอน (Ladon) มาค่อยช่วยเหล่าเทพธิดาพวกนี้เฝ้าสวนกันอีกแรง   แต่สุดท้ายคนที่บุกไปขโมยแอ็ปเปิ้ลทองจนสำเร็จเพียงหนึ่งเดียวในประวัติศาสตร์ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน  นั่นก็คือเฮอร์คิวลีส วีรบุรุษจอมพลังนั่นเอง   แล้วตัวเฮอร์คิวลีสเองก็ไม่ใช่ใครที่ไหน  เป็นลูกของเทพซุสกับกิ๊กคนอื่น   ซึ่งตัวเฮอร์คิวลีสกับเฮร่าก็ไม่ได้ถูกกันอยู่แล้ว  แต่ที่ต้องบุกสวนของแม่เลี้ยงก็เพราะว่าได้รับมอบหมายภารกิจ 10 ประการเพื่อเป็นการไถ่บาปที่พลั้งมือฆ่าลูกเมียของตนเอง (ก็ฝีมือเฮร่านะแหละที่ทำให้เฮอร์คิวลีสสติฟั่นเฟือนจนทำร้ายลูกเมียตัวเอง)   แต่สุดท้ายแอ็ปเปิ้ลทองก็ถูกขโมยจนได้   แถมมังกรเลดอนก็มาถูกฆ่าตายไปซะอีก   เทวีเฮร่าก็คงจะเจ็บใจน่าดูชมที่หวังจะทำร้ายลูกเลี้ยงแต่กลับถูกตลบหลังซะได้!!!  

    **Hamadryads (ฮามาไดรแอดส์) เป็นนิมป์ที่เป็นนางไม้  เป็นเสมือนจิตวิญญาณของต้นไม้นั้นๆ  หรือจะเรียกว่าภูติประจำต้นไม้ก็ได้   ที่สำคัญเธอจะมีต้นไม้ที่สถิตย์ประจำเป็นของตนเอง   หากต้นไม้ของเธอตายก็เท่ากับเธอก็ต้องตายไปพร้อมกับต้นไม้ต้นนั้นด้วย     กลุ่มของฮามาไดรแอดส์ที่เป็นที่รู้จักกันในตำนานกรีกก็ได้แก่
    - Dryads (ไดรแอดส์) เป็นนิมป์ประจำต้นโอ๊ค  ทั้งนี้คำว่า drys ใช้หมายถึง ต้นโอ๊ค (oak)   ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาอินโด-ยูโรเปี้ยน คือ derew  มีความหมายว่า ต้นไม้ หรือป่าไม้    โดยปกติแล้ว dryads มักจะใช้กล่าวถึงต้นโอ๊ค   แต่ก็มีบางครั้งใช้เรียกแทนบรรดานิมป์ที่เป็นภูติประจำต้นไม้ทั้งหมดด้วย 

    - Meliae (มีเลีย) หรือ meliai เป็นชื่อของนิมป์ในตระกูลต้นแอช (Ash Tree)   ต้นแอชนี้เป็นต้นไม้ที่มีสารความหวาน  และคำว่า  meliai นี้ในภาษากรีกโบราณยังมีความหมายว่า honey  หรือน้ำหวานนั่นเอง   ตามตำนานกรีกเล่าว่าพวกนิมป์มีเลียได้เคยถวายน้ำหวานของพวกนางให้กับเทพซุสขณะที่ยังทรงเป็นเพียงแค่เด็กทารก

    - Leuce (ลูซ) หรือ Leuke (ลูค) เป็นนิมป์ประจำต้น white poplar  (ไวท์ พ็อพลาร์)  ในตำนานของนิมป์นี้เล่ากันว่า  เทพฮาดีส (Haides) ได้ลักพาตัวนิมป์ที่ชื่อ Leuke ซึ่งเป็นนิมป์ในกลุ่ม okeanis    และเมื่อมาถึงริมฝั่งแม่น้ำอาคีรอน (Akheron) ในแคว้นธีสโปรเทีย (Thesprotia) นางก็ได้กลายร่างเป็นต้น white poplar ไป  และชื่อของ Leuke บางทีก็เรียกกันอีกอย่างว่า Leukippe 

    the Epimeliads (เอพิมีเลียดส์)  เป็นนิมป์ที่กลุ่มเทพธิดาที่คอยคุ้มครองฝูงแกะ

    .....................................................................................................................................

    Nymphs ที่อาศัยอยู่ในทะเลและแหล่งน้ำ

    Helead (ฮีเลียด)  เป็นกลุ่มนิมป์ที่คอยเฝ้าหนองน้ำ

    Oceanids (โอเชี่ยนนิส)  เป็นกลุ่มนิมป์ที่เป็นบุตรีของเทพไตตันที่มีชื่อว่า Okeanos (โอเคียนอส) หรือเรียกกันอีกชื่อว่า Oceanus (โอเชียนนัส) กับ พระนาง Tethys (ทีธีส) หรือ Thetis (ธีทิส) ซึ่งเป็นเทพไตตันเช่นกัน    ซึ่งชื่อของนิมป์เหล่านี้ถูกเรียกตามชื่อของบิดาว่า "โอเชี่ยนนัส"   โดยพวกเธอจะอาศัยอยู่ในทะเลและมหาสมุทร   ตามตำนานกล่าวว่าพวกเธอมีจำนวนถึง 3,000 นางด้วยกัน    จากบทประพันธ์ของ Hesiod   ได้บรรยายถึงชื่อบางส่วนของนิมป์โอเชี่ยนเอาไว้ได้แก่

    They are Peitho, Admete, Ianthe, and Electra,
    Doris, Prymno, and godlike Ourania,
    Hippo, Klymene, Rhodeia, and Kallirhoe,
    Zeuxo, Klytia, Idyia, and Peisithoe,
    Plexaura, Galaxaura, and lovely Dione,
    Melobosis, Thoe, and beautiful Polydora,
    shapely Kerkeis and cow-eyed Plouto,
    Perseis, Ianeira, Akaste, and Xanthe,
    lovely Petraia, Menestho, and Europe,
    Metis, Eurynome, and saffron-robed Telesto,
    Chryseis, Asia, and enchanting Kalypso,
    Eudora, Tyche, Amphiro, and Okyrhoe,
    and Styx, who holds the highest rank.
    These are the eldest daughters born to Tethys
    and Okeanos."

    1. Admete  (แอ็ดมีตี้)
    2. Akaste (อคาสตี้)
    3. Amphiro (แอมไฟโร)
    4. Asia (เอเชีย)
    5. Chryseis (ไคลเซียส)
    6. Dione (ไดโอเน่)
    7. Doris (โดริส)
    8. Electra (เอเล็คตร้า)
    9. Eudora (ยูโดร่า)
    10. Europe (ยุโรป)
    11. Eurynome (ยูรีโนเม่)
    12. Galaxaura  (กาแล็คซอร่า)
    13. Hippo (ฮิปโป)
    14. Ianeira (ไอเนียร่า)
    15. Ianthe (ลานธี)
    16. Idyia (ไอดียา)
    17. Kallirhoe (คาลลิโร)
    18. Kalypso  (คาลิปโซ่)
    19. Kerkeis   (เคอร์เคียส)
    20. Klymene (ไคลเมเน่)
    21. Klytia  (ไคลเธีย)
    22. Melobosis (เมโลโบซิส)
    23. Menestho  (เมเนสโต้)
    24. Metis  (เมทิส)
    25.  Okyrhoe  (โอคีโร)
    26. Ourania  (โอราเนีย)
    27. Peisithoe (ไพสิโธ)
    28. Peitho  (ไพโต้)
    29. Perseis (เพอร์เซียส)
    30. Petraia  (พีทราย่า)
    31. Plexaura (แพล็กโซร่า)
    32. Plouto (พลอโต)
    33. Polydora (โพลีโดร่า)
    34. Prymno (พรีมโน่)
    35. Rhodeia (โรดีย่า)
    36. Styx (สติ๊กซ์)
    37. Telesto (เทเลสโต้)
    38.  Thoe (โทอี้)
    39. Tyche (ไทคี)
    40. Xanthe (ซานเธีย)
    41. Zeuxo (ซูโซ)

    ข้อมูลอ้างอิง  http://www.loggia.com/myth/oceanids.html

    นอกจากนี้ก็ยังมีแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่กล่าวว่าโอเชี่ยนนัสมีทั้งบุตรและบุตรีของเทพเจ้าโอเชียนนัสและพระนางทีธีส ไว้ดังนี้

    1. Achelous   (อาคีลัส) เป็นบุตรของ Oceanus (โอเชียนนัส) กับ พระนาง Tethys (ทีธีส)  โดยอาคีลัสถูกนับถือว่าเป็นเจ้าแห่งสายน้ำที่ใหญ่ที่สุด   ซึ่งแม่น้ำที่เทพองค์นี้ดูแลก็คือแม่น้ำอาคีลูส (Acheloss)  ซึ่งเป็นแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดของกรีก  และความหมายของชื่อ Achelous หมายถึง  "ผู้ชำระล้างความห่วงหา"

    2. Acheron (อาคีรอน) เป็นเทพประจำสายน้ำ อาคีรอนซึ่งอยู่ในแคว้นเอพิรัส (Epirus) ที่อยู่ทางตอนเหนือของกรีก  ซึ่งแปลความหมายของชื่อนี้ได้ว่า  "แม่น้ำแห่งความทุกข์"  เชื่อว่าเป็นแม่สาขาของแม่น้ำที่ไหลออกมาจากโลกแห่งความตายที่อยู่ในด่านแรกที่วิญญาณทุกดวงจะต้องให้คนพายเรือที่ชื่อ ชารอน เป็นผู้นำวิญญาณข้ามไปเพื่อทำการพิพากษาชีวิตหลังความตายต่อหน้าเทพฮาดีสหรือเจ้าแห่งยมโลกนั่นเอง


    3. Alpheus  (อัลฟีอุส)  เป็นเทพเจ้าแห่งสายน้ำอัลฟีอุส หรือ บางครั้งก็เรียกว่าอัลเฟออส (Alfeios)  ตามตำนานกรีกเล่าว่าอัลฟีอุสได้ตกหลุมรักนิมป์ที่ชื่อว่าอารีธูซ่า (Arethusa) ทันทีที่เห็นเธอกำลังอาบน้ำ   ซึ่งอารีธูซ่าคนนี้เป็นนิมป์สาวกของพระนางอาร์ทีมิสหรือเทพีแห่งดวงจันทร์   และความเหมือนกันของนายและบ่าวที่ตั้งมั่นจะรักษาพรหมจารีย์ไว้นั้นทำให้อารีธูซ่านั้นปฏิเสธความรักของอัลฟีอุสและได้วิ่งหนีเทพแห่งสายน้ำองค์นี้จนกระทั่งมาถึงที่เกาะออร์ทีเกีย (Ortygia)   เธอจึงได้ร้องขอความช่วยเหลือจากพระนางอาร์ทีมิส   ซึ่งพระนางเองเมื่อรู้ว่าสาวกของตนกำลังตกที่นั่งลำบากก็ช่วยเสกให้อารีธูซ่าให้กลายเป็นสายน้ำ   ส่วนด้านอัลฟีอุสเองก็กลายเป็นสายน้ำที่ไหลผ่านกรีกจนลงทะเลไปแล้วก็โผล่ขึ้นมาอีกครั้งกับสายน้ำของอารีธูซ่าแล้วสายน้ำทั้งสองก็รวมกันเป็นหนึ่ง

    4. Bolbe (โบลเบ่) เป็นนิมป์แสนสวยที่เป็นธิดาแห่งทะเลสาปของเมืองเบรุท (Beirut)   บริวารของเธอได้แก่นิมป์ในกลุ่มลิมนาร์ดีส (Limnades) และนิมป์ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ

    5. Cebren (ซีเบร็น) เป็นเทพเจ้าแห่งสายน้ำที่อยู่ติดกับเมืองทรอย

    *****************************

    แก้ไขครั้งที่ 6 วันที่ 14/5/49

    ขอโทษผู้อ่านจริงๆ ค่ะที่ช่วงนี้หายไปเลย   >/|\< พอดีช่วงนี้มีเรื่องวุ่นๆ นิดหน่อย  แต่ประเด็นหลักๆ คือถูกแย่งคอม ToT  น้องสาวของลาปลูมเรียนจบกลับมาอยู่ด้วยกันแล้วก็เลยเกิดศึกชิงคอมกัน... เอาเป็นว่าทนไปอีกสักพัก  ตอนนี้ลาปลูมกำลังเก็บเงินซื้อเครื่องใหม่ค่ะ (ซื้อใหม่ไปเลย เฮอะๆ  คอมฯจะได้เป็นของเราคนเดียว)

    ปล.นิมป์ในตระกูลโอเชี่ยนนิสยังไม่จบนะคะ  มันเยอะมากๆ 


    แก้ไขครั้งที่ 5 วันที่ 17/4/49
    ในที่สุด land nymph ก็จบกันไปซะที   ทีนี้ก็เข้าเรื่องพวก water nymph กันบ้างนะคะ  ชุ่มช่ำแน่ๆ

    แก้ไขครั้งที่ 4 วันที่ 2/4/49
    วันนี้มาเพิ่มให้อีกหนึ่งประเภท  ใจเย็นๆ กันหน่อยนะคะ  เดี๋ยวช่วงหยุดปลายสุดสัปดาห์น่าจะมีเวลาลงเพิ่มอีก

    แก้ไขครั้งที่ 3 วันที่ 21/3/49 

    แก้ไขครั้งที่ 2 วันที่ 14/3/49
    มีใครนับบ้างเอ่ยว่ามีนิมป์กี่ประเภทแล้ว อิอิ


    แก้ไขครั้งที่ 1 วันที่ 7/3/49

    วันนี้แค่นี้ก่อนนะ  แล้วจะทยอยลงความหมายของนิปม์แต่ละตัวให้จ้า  (อย่างที่เห็นว่ามันเยอะมาก......อิอิ)


    แก้ไขครั้งที่ 5 วันที่ 17/4/49
    ในที่สุด land nymph ก็จบกันไปซะที   ทีนี้ก็เข้าเรื่องพวก water nymph กันบ้างนะคะ  ชุ่มช่ำแน่ๆ

    แก้ไขครั้งที่ 4 วันที่ 2/4/49
    วันนี้มาเพิ่มให้อีกหนึ่งประเภท  ใจเย็นๆ กันหน่อยนะคะ  เดี๋ยวช่วงหยุดปลายสุดสัปดาห์น่าจะมีเวลาลงเพิ่มอีก

    แก้ไขครั้งที่ 3 วันที่ 21/3/49 

    แก้ไขครั้งที่ 2 วันที่ 14/3/49
    มีใครนับบ้างเอ่ยว่ามีนิมป์กี่ประเภทแล้ว อิอิ


    แก้ไขครั้งที่ 1 วันที่ 7/3/49

    วันนี้แค่นี้ก่อนนะ  แล้วจะทยอยลงความหมายของนิปม์แต่ละตัวให้จ้า  (อย่างที่เห็นว่ามันเยอะมาก......อิอิ)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×