เทพอานูบิส Anubis
ตำนานของเทพแห่งชีวิตหลังความตายของชาวอียิปต์ที่ชื่อว่า "อานูบิส"
ผู้เข้าชมรวม
7,288
ผู้เข้าชมเดือนนี้
18
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
Anubis
อานูบิส (Anubis) เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของอียิปต์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของชาวอียิปต์ เพราะอานูบิสเป็นเทพแห่งความตาย และเป็นเทพของการทำมัมมี่ ดังนั้นทั้งในพิธีกรรมการทำศพแบบอียิปต์โบราณและเรื่องราวในโลกหลังความตายของมนุษย์เทพองค์นี้จึงมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก โดยที่มาของการนับถือเทพอานูบิสนี้น่าจะมีที่มาจากเมือง Abydos (อาบิโดส) ในอียิปต์เหนือ แต่ศูนย์กลางของความเชื่อนี้อยู่ที่เมือง Cynopolis (ไซโนโปลิส) ในอียิปต์เหนือ
อานูบิสเป็นเทพที่มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่ส่วนหัวจนถึงคอเป็นลักษณะศีรษะของหมาในสีดำ ในมือถือคทา บางครั้งเทพองค์นี้ก็เรียกกันว่า Anpu (อันปุ) พิธีกรรมการนับถือเทพอานูบิสนี้เชื่อกันว่ามีมานานมากแล้วและบางครั้งก็มีการสร้างรูปปั้นหมาในสีดำ หรือสีทองเป็นตัวแทนของเทพองค์นี้ก็มี และที่ลักษณะของเทพอานูบิสที่มีใบหน้าเป็นหมาในก็สันนิษฐานได้ว่า เป็นเพราะสัตว์ชนิดนี้มักจะออกหากินในตอนกลางคืน และพบมากในบริเวณสุสานของคนตาย จากสิ่งนี้เองจึงทำให้คาแรทเตอร์ของเทพอานูบิสมีใบหน้าเป็นหมาในซึ่งชาวอียิปต์นับถือกันในนามเทพผู้พิทักษ์คนตายและสุสาน
หน้าที่ของเทพองค์นี้ก็คือการนำดวงวิญญาณของคนตายสู่ยมโลกเพื่อทำการตัดสินผลกรรมที่ได้ทำมาก่อนตาย ต่อหน้าองค์เทพโอซิริส (Osiris) โดยเทพอานูบิสจะนำหัวใจของผู้ตายไปวางไว้บนตาชั่งข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งของตาชั่งจะเป็นขนนกที่ได้รับมาจากเทพ (มูอาท) Muat หากหัวใจของผู้ตายเบากว่าขนนกแสดงว่าในขณะที่คนผู้นั้นมีชีวิตอยู่ได้กระทำการอันเป็นกุศล จึงสมควรได้รับพรจากเทพโอชิริสให้มีชีวิตอันเป็นนิรันดร์แล้วจะได้อยู่ในดินแดนที่เรียกว่า "Fields of the Reed" หรือสวรรค์ของชาวอียิปต์นั่นเอง ส่วนคนที่ไม่ผ่านการทดสอบนั่นก็คือหัวใจมีน้ำหนักมากกว่าขนนก สัตว์อสูรที่ชื่อ Ammut (อัมมุท) ที่นอนรออยู่ใต้ตาชั่งก็จะกินหัวใจของดวงวิญญาณดวงนั้นทันที แล้วดวงวิญญาณนั้นก็จะสูญสลายตลอดไป ก็ถือว่าเป็นการตายครั้งที่สองและเป็นการตายสนิท ตายแบบถาวรไปเลย
ในด้านตำนานเกี่ยวความเป็นมาของเทพอานูบิสนี้ เชื่อกันว่าอานูบิส เป็นโอรสของเทพีเนฟทิส (Nephtys) กับเทพเซต (Set) จึงนับเป็นหลานของเทพโอซิริส (Osiris) และ เทพีไอซิส (Isis) ด้วย ทั้งนี้มีบางตำราได้กล่าวไว้ว่าเทพอานูบิสให้ความเคารพเทพีไอซิสเสมือนมารดาแท้ๆ คนหนึ่งของตนเลยทีเดียว และที่มาของการทำมัมมี่ก็มีที่มาโดยอ้างอิงจากตำนานของเทพโอซิริส ในครั้งที่เทพโอซิริสและเทพีไอซิสถูกเทพเซ็ตตามล่า เทพโอซริสถูกสังหาร อานูบิสเป็นผู้รับอาสารักษาพระศพของเทพโอซิริส โดยใช้ขี้ผึงสูตรเฉพาะของตนเองแล้วก็ผ้าลินินสีขาวซึ่งทอจากฝีมือของเทพีทั้งสองคือ ไอซิส และเนฟทีสมาห่อหุ้มร่างนั้นไว้ จากนั้นอานูบิสจึงได้ออกปากสัญญากับพระมารดาทั้งสองว่าตนเองจะเป็นผู้พิทักษ์ร่างของโอซิริสเอง จากตำนานนี้เองจึงทำให้เทพอานูบิสนับถือว่าเป็นเทพผู้พิทักษ์คนตายและนำทางให้ผู้ตายสู่โลกวิญญาณ ทั้งนี้ในสมัยโบราณจะมีนักบวชผู้กระทำพิธีสวมหน้ากากที่มีลักษณะเป็นหมาในซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทพอานูบิสอีกด้วย
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ 7 ขั้นตอนหลังความตาย
1. ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าหลังจากที่ดวงวิญญาณคนตายออกจากร่าง เขาจะต้องผ่านลำน้ำสวรรค์เพื่อไปยังยมโลกซึ่งน้ำโดย Nemty
2. จากนั้นจะตอบปัญหาเพื่อผ่านประตูและเขาวงกต
3. หลังจากนั้นเทพเอเคอร์ (Aker) ก็จะนำไปที่ท้องพระโรงของยมโลก
4. คณะเทพตัดสินทั้ง 14 องค์จะพิจารณาความดีที่เคยทำมาในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่
5. เทพอานูบิสจะทำการชั่งหัวใจของคนตายกับขนนกเพื่อเป็นการตัดสินความดีความชั่ว
6. เมื่อผ่านการทดสอบเทพฮอรัส (Horus) ก็จะนำดวงวิญญาณคนตายเพื่อเข้าพบเทพโอซิริส
7. แล้วในที่สุดคนที่ผ่านการตัดสินก็จะได้รับชีวิตอันเป็นนิรันดร์แล้วได้อยู่ในแดนสุขาวดีที่เรียกว่า "Fields of the Reed"
.
Ammut (อามุท) เป็นสัตว์อสูรเพศเมีย มีหัวเป็นจระเข้ ลำตัวเป็นสิงโต ช่วงขาหน้าคล้ายเสือดาว ช่วงบั้นท้ายจนถึงขาหลังเป็นฮิปโป คอยกินดวงใจของคนบาปที่ไม่ผ่านการทดสอบเพื่อรับชีวิตอันเป็นนิรันดร์
..
ข้อมูลอ้างอิง
www.nemo.nu/ibisportal/Oegyptintro/1egypt/index.htm
www.pantheo.org/articles/a/anubis/html
www.touregypt.net/ANUBIS.htm
.............................................................................................................
เรื่องราวความรู้ของเทพอานูบิสนี้เป็นบทความที่ la plume เขียนขึ้นตามคำ request ของน้องตาต้า (ที่อุตส่าห์กั๊กไว้ว่าจะลงหลังจากสิ้นเดือน แต่สวรรค์คงลงโทษเลยทำให้ข้อมูลเจ้หายเรียบเลยล่ะน้องเอ๋ย 55555)
ทั้งนี้สามารถดูรูปของเทพอานูบิสและอามุทได้ที่แกลเลอรี่ใน my id ของ la plumeค่ะ
ผลงานอื่นๆ ของ la plume ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ la plume
ความคิดเห็น