ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องคุกๆ

    ลำดับตอนที่ #32 : สุนัขราชทัณฑ์

    • อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 50


    สุนัขราชทัณฑ์

    ปกติแล้ว เรือนจำทุกแห่งจะไม่อนุญาตให้นำสัตว์มีชีวิตเข้าไปเลี้ยงในเรือนจำ ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการฝึกวิชาชีพ สุนัขจรจัดจำนวน 50 ตัว ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติฝึกไว้ช่วยงานราชการ แต่ทุกวันนี้ กรมราชทัณฑ์ อนุโลมให้เลี้ยงสุนัขไว้ในเรือนจำได้เพราะเห็นว่าอาจช่วยงานได้หลายอย่าง เช่น .....

    :: ตรวจจับยาเสพติด ::

    จมูกของสุนัขมีปลายประสาทดมกลิ่นมากกว่ามนุษย์ 100 เท่า เรือนจำในหลายประเทศ (รวมทั้งประเทศไทยด้วย) ได้ฝึกสุนัขไว้ใช้ในการจู่โจมตรวจจับยาเสพติดในเรือนจำ ซึ่งสายตาไหวพริบและประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่บวกกับประสาทดมกลิ่นของสุนัข จะมีประโยชน์มาก

     

    :: ระงับเหตุร้ายในเรือนจำ ::

    นอกจากจมูกแล้ว คมเขี้ยวและเสียงเห่าคำรามของสุนัขปราบจราจล (ที่ตัวใหญ่พอสมควร) จะช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ ในการเข้าระงับเหตุร้ายในเรือนจำได้ดีกว่าการใช้อาวุธซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ง่ายกว่า

     

    :: ติดตามผู้ต้องขังที่หลบหนี ::

    สุนัขที่รับการฝึกมาอย่างดี สามารถติดตามตัวผู้ต้องขังที่หลบหนีได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมราชทัณฑ์ ของรัฐ North Carolina ได้รายงานว่า สุนัขพันธุ์ Belgian Malinois ที่ทางเรือนจำรับเข้ามาเป็น " เจ้าหน้าที่ " ใหม่ อาศัยซองบุหรี่ที่นักโทษทิ้งไว้ ขณะหลบหนี แล้วดมกลิ่นตามจนพบตัวนักโทษได้ภายในเวลาเพียง 2 นาทีเท่านั้น

     

    :: ตรวจจับวัตถุระเบิด ::

    จมูกสุนัขไวต่อกลิ่นของสารเคมีที่ประกอบขึ้นเป็นวัตถุระเบิดมากถ้าได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี สุนัขเหล่านี้จะมีราคา (ในอเมริกา) สูงถึงตัวละ 4500 เหรียญ เคยมีการทดลองแข่งขันตรวจยาเสพติดระหว่างสุนัขกับเครื่องตรวจระเบิด ที่ Philadelphia อเมริกา ผลปรากฏว่า Bomb Detector ตรวจพบวัตถุระเบิดเพียง 2 ใน 5 ขณะที่สุนัขตรวจพบได้หมด

     

    :: งานรักษาการณ์ ::

    งานรักษาการณ์ เป็นงานที่ตรากตรำและต้องใช้เจ้าหน้าที่มาก กรมราชทัณฑ์ถึงกับต้องลงทุนติดตั้งรั้วไฟฟ้าที่มีทั้งระบบตรวจจับการสั่นสะเทือนและระบบไฟฟ้าแรงสูงไว้ที่เรือนจำขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น ที่เรือนจำกลางคลองเปรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ที่อยู่เวรยามลง แต่รั้วไฟฟ้าระบบดังกล่าวก็สิ้นเปลืองงบประมาณสูงมาก การใช้สุนัขเฝ้ายามนั้นน่าจะเป็นทางออกที่ดี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×