คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #27 : โซ่ตรวนและกุญแจมือ
โซ่ตรวนและกุญแจมือ
เครื่องพันธนาการที่ใช้กับผู้ต้องขังมี 4 ชนิด คือ
ตรวน ที่ถูกต้องตามระเบียบฯ มี 3 ขนาดคือ เส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นตรวน 10 ,12 และ 17 มิลลิเมตร
กุญแจเท้า กรมราชทัณฑ์เริ่มนำมาใช้ เมื่อปี พ.ศ. 2541 ใส่และถอดได้สะดวกกว่าตรวนมาก มีน้ำหนักเบา เนื่องจากโซ่ที่ใช้มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกโซ่เพียง 4.75 มิลลิเมตร
กุญแจมือ ต้องเป็นแบบและขนาดที่กรมราชทัณฑ์กำหนดไว้
โซ่ล่าม มีความยาว 50 - 70 เซนติเมตร
โซ่ที่ใช้กับตรวนมี 3 ขนาดคือ มีลูกโซ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 17 ม.ม. 10 ม.ม. และ 4.75 ม.ม. กฏกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2521) กำหนดให้ใช้โซ่ตรวนขนาด 10 ม.ม. หรือกุญแจเท้าในการพันธนาการ ผู้ต้องขัง ส่วนผู้ต้องขังคดีอุกฉกรรจ์หรือมีโทษเกิน 3 ปี อาจใช้โซ่ตรวนขนาด 17 ม.ม. ได้
ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในหารตีตรวน
ข้อบ่งชี้ในการตีตรวนผู้ต้องขังมีเพียง
2 ข้อเท่านั้น
1.
ป้องกันการหลบหนี ที่ใช้กันมากที่สุดก็คือตอนที่พาผู้ต้องขังไปศาล ซึ่งจำเป็นต้องใส่ตรวนชั่วคราว เพราะกำลังเจ้าหน้าที่ควบคุม มีน้อยกว่าจำนวนผู้ต้องขังหลายเท่าตัว การนำเอาเทคนิคทางด้าน VIDEO-CONFERENCE มาใช้ จะช่วยลดจำนวนผู้ต้องขังที่จะถูกตีตรวนลงได้บ้าง นอกจากนี้ เรือนจำหลายแห่งที่มีความมั่นคงต่ำ แต่จำเป็นต้องคุมขังผู้ต้องขังโทษสูง หรือคดีอุกฉกรรจ์ ก็มีความจำเป็นต้องใส่ตรวนผู้ต้องขังไว้ชั่วคราว จนกว่าจะสามารถย้ายตัวไปยังเรือนจำที่มีความมั่นคงสูงกว่า
2.
ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในเรือนจำ บางครั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ต้องขังด้วยกันในเรือนจำ อาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทหรืออาจถึงขั้นฆ่ากันตาย ดังนั้น การใส่เครื่องพันธนาการและแยกผู้ต้องขังที่เป็นคู่กรณีออกจากกันจึงเป็นมาตรการที่จำเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเรือนจำ นอกจากนี้ ในผู้ต้องขังที่วิกลจริต ก้าวร้าว และมีแนวโน้มที่จะทำอันตรายคนที่อยู่รอบข้าง ก็จำเป็นต้องควบคุมด้วยเครื่องพันธนาการไว้ จนกว่าจะได้รับการบำบัดรักษาจนอาการทุเลา ส่วนข้อห้ามในการใช้เครื่องพันธนาการนั้น ทางเรือนจำจะยกเว้นการใส่ตรวนไปศาลกับผู้ต้องขังบางคน เช่น ผู้ต้องขังหญิง ผู้ต้องขังที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงและผู้สูงอายุ
พันธนาการในรูปแบบอื่น
เสื้อเกราะเป็นเครื่องพันธนาการที่มีน้ำหนักเบา ทำจากวัสดุประเภทผ้าและหนัง มีใช้กันอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช และเรือนจำหลายแห่งในยุโรปและอเมริกา เสื้อเกราะจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยวิกลจริตหรือผู้ต้องขังที่กำลังคลุ้มคลั่งทำอันตรายผู้อื่นหรือทำอันตรายตัวเอง
ปัจจุบันนี้ เสื้อเกราะมีที่ใช้น้อยลงเนื่องจากมีวิธีการอื่นที่ดีกว่าในการควบคุมผู้ต้องขังที่ก้าวร้าวและเป็นอันตราย เครื่องพันธนาการที่ยังคงใช้ได้ดีกับผู้ต้องขังจิตเวชที่จำเป็นต้องให้ สารละลายและยาทางเส้นเลือด
พันธนาการด้วยสารเคมี
การพันธนาการด้วยสารเคมี ( Chemical Restraint ) หมายถึงการควบคุมผู้ต้องขัง
ที่กำลังคลุ้มคลั่งอาละวาดให้หยุดนิ่งโดยการใช้สารเคมี ซึ่งได้แก่ยาประเภทที่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แทนการใช้เครื่องพันธนาการประเภทโซ่ตรวนหรือเสื้อเกราะ
ปัจจุบันนี้ กรมราชทัณฑ์ ได้คุมขัง ผู้ต้องขังที่ป่วยด้วยอาการทางจิตเป็นจำนวนมาก ผู้ต้องขังเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับยาเพื่อควบคุมให้สงบลงและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำร่วมกับผู้ต้องขังอื่นๆได้
การควบคุมผู้ต้องขังด้วยสารเคมีนี้ ทำได้เฉพาะในเรือนจำที่มีแพทย์ประจำอยู่เท่านั้น เนื่องจากการฉีดยาดังกล่าวจำเป็นต้องทำโดยแพทย์ ส่วนการจ่ายยา ให้กับผู้ต้องขังจิตเวชตามคำสั่งแพทย์นั้น สามารถทำได้ในเรือนจำทุกแห่งที่มีพยาบาลปฏิบัติงานอยู่
พันธนาการด้วยไฟฟ้า
เครื่องช็อคสมองด้วยไฟฟ้า ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์มากในการควบคุมผู้ต้องขังหรือผู้ป่วยจิตเวชที่กำลังคลุ้มคลั่งอาละวาดให้
สงบลงได้เป็นเวลานาน จิตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยว่าผู้ต้องขัง ประเภทไหนสมควรจะได้รับการบำบัดอาการโดยวิธีนี้ซึ่งมักจะเป็นผู้ต้องขังที่มีอาการก้าวร้าวรุนแรงหรือมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย และรักษาโดยวิธีอื่นๆแล้ว ไม่ได้ผล
โซ่ตรวนและสิทธิมนุษยชน
การใช้โซ่ตรวนกับผู้ต้องขังโดยไม่มีเหตุผลที่ดีพอ ทำให้กรมราชทัณฑ์ถูกวิพากวิจารณ์จากบุคคลภายนอกอยู่เสมอและเป็น จุดอ่อนในคุก ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข
องค์การสหประชาชาติ
: ข้อกำหนดว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขังข้อ 33 เครื่องพันธนาการจะต้องไม่ใช้เพื่อการลงโทษ
ข้อ 34 การใช้เครื่องพันธนาการ จะต้องไม่ใช้นานเกินความจำเป็น องค์การนิรโทษกรรมสากล
" .....โซ่ตรวน กุญแจมือ กุญแจเท้า และเครื่องพันธนาการต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อกับผู้ต้องขังในเรือนจำต่างๆทั่วโลก ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่แสดงถึงความโหดร้ายทารุณ ไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง สมควรได้รับการพิจารณาแก้ไขอย่างรีบด่วน ....." รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 26 การให้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 31 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ
.ศ.2479มาตรา 14 ห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง เว้นแต่
(1) เป็นบุคคลที่น่าจะทำอันตรายต่อชีวิต หรือร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น
(2) เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตไม่สมประกอบ อันอาจเป็นภยันตรายต่อผู้อื่น
(3)
เป็นบุคคลที่น่าจะพยายามหลบหนีการควบคุม(4) เมื่อถูกคุมตัวไปนอกเรือนจำ เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องใช้เครื่องพันธนาการ
(5) เมื่อรัฐมนตรีสั่งว่าเป็นการจำเป็นต้องใช้เครื่องพันธนาการเนื่องแต่สภาพของเรือนจำ หรือสภาพการณ์ของท้องถิ่น ภายใต้บังคับอนุมาตรา (4) และ (5) แห่งมาตรานี้ ให้พัศดีเป็นเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะสั่งให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขังและที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้น ความเห็นของแพทย์
".....โซ่ตรวนและเครื่องพันธนาการส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของผู้ที่ถูกพันธนาการ....." ความเห็นของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
".....การตีตรวน บางทีก็จำเป็น เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังอื่นๆ นอกจากนี้ การควบคุมผู้ต้องขังไม่ให้หลบหนีก็เป็นภาระกิจหลักของเรา ถ้ากรมราชทัณฑ์มี
เจ้าหน้าที่มากกว่านี้.... มีเรือนจำที่มั่นคงแข็งแรงกว่านี้....โซ่ตรวนจะเป็นอุปกรณ์สุดท้าย
ที่เราจะนำออกมาใช้......"
ความคิดเห็น