โลกาภิวัตน์กับสังคมเศรษฐกิจไทย - โลกาภิวัตน์กับสังคมเศรษฐกิจไทย นิยาย โลกาภิวัตน์กับสังคมเศรษฐกิจไทย : Dek-D.com - Writer

    โลกาภิวัตน์กับสังคมเศรษฐกิจไทย

    วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

    ผู้เข้าชมรวม

    6,564

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    6.56K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    หมวด :  อื่นๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ส.ค. 54 / 02:10 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
               จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านบทความของนักวิชาการหลายๆท่านข้างต้น ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization ว่าโลกาภิวัตน์มาจากคำสองคำ คือ Global = ทั่วโลก + lization = การทำให้แพร่หลาย ซึ่งอาจหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงที่กระทบถึงกันทั่วโลก ส่วนคำว่า

    โลกานุวัตร ก็ไม่ได้มีความหมายที่ต่างไปจาก โลกาภิวัตน์แต่อย่างใด หมายถึง ประพฤติตามโลก

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านบทความของนักวิชาการหลายๆท่านข้างต้น ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization ว่าโลกาภิวัตน์มาจากคำสองคำ คือ Global = ทั่วโลก + lization = การทำให้แพร่หลาย ซึ่งอาจหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงที่กระทบถึงกันทั่วโลก ส่วนคำว่า

      โลกานุวัตร ก็ไม่ได้มีความหมายที่ต่างไปจาก โลกาภิวัตน์แต่อย่างใด หมายถึง ประพฤติตามโลก

      กระบวนการโลกาภิวัตน์ ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ด้านลบด้านเดียว หากเรามองในอีกแง่หนึ่ง

      โลกาภิวัตรก็ส่งผลในด้านบวกเช่นกัน ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้มีแค่ด้านเดียว การมองเหรียญที่ดีไม่ควรมองแค่หัว หรือ ก้อย เพราะว่าเหรียญยังคงมีสันเหรียญตรงกลางระหว่างหัวกับก้อย โลกาภิวัตน์ไม่ใช่แค่ส่งผลกระทบต่อประเทศในทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่โลกาภิวัตน์ยังส่งผลกระทบต่อสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ หรือ แม้กระทั่งความคิดของมนุษย์ โลกาภิวัตรก็ยังสามารถครอบงำได้

      โลกาภิวัตน์เข้ามาพร้อมกับกระแสทุนนิยม ซึ่งมันก็ไม่ได้เข้ามากะทันหันอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ เพราะว่ากระแสทุนนิยมเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่อดีตที่เราเป็นศูนย์กลางการค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก ที่เน้นการผลิตแบบอุตสาหกรรม ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ลู่แข่งทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ ระบบทุนนิยมเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในสังคมไทย  เกิดการแสวหากำไรของนายทุนให้ได้มากที่สุดโดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อเริ่มมจากจุดนี้ปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคมก็ชัดขึ้นชนชั้นนายทุนมั่งคั่งส่วนชนชั้นล่างก็ยากจนลงเรื่อยๆๆนายทุนกดขี่ค่าแรง ปัญหาแรงงานข้ามชาติ การแข่งขันทางด้านแรงงานไร้ฝีมือกดขี่ค่าแรงคนในท้องถิ่น ปัญหาโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยควันพิษ ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่แค่เมืองไทย ทุกประเทศสนใจแต่ทุนนิยมจนลืมใส่ใจสิ่งแวดล้อม เกิดเป็นปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ก็เนื่องมาจากเราทำลายสิ่งแวดล้อม ปัญหาทางด้านสังคมผู้หญิงถูกมองว่าเป็นสินค้า ถูกกำหนดให้ทำงานไร้ค่า เป็นแม่บ้าน ส่งเสริมอำนาจนิยมแก่เพศชาย ผู้หญิงถูกกำหนดโดยเพศชายจะต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นสินค้าที่เพศตรงข้ามนิยมและต้องการ สำหรับผู้หญิงยากที่จะตอบคำถามว่าแต่งตัวสวย ศัลยกรรมต่างๆไปทำไม เพื่อให้ผู้ชายมองผู้ชายสนใจจริงหรือ ? ในอีกด้านของโลกาภิวัตน์ ก็ไม่ใช่จะเลวร้ายเสมอไป ยังคงมีแง่ดีอยู่ โลกาภิวัตน์ช่วยย่อโลกให้ใกล้กันมากขึ้น ระบบข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วทันสมัย เงินสามารถโอนข้ามประเทศในไม่กี่วินาที  และด้านประชาสังคมก็ขยายกว้างขึ้นจากโลกาภิวัตน์ ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับทุกๆเรื่องทั้งการเมือง สังคม และ เศรษฐกิจ เรียกร้องสิทธิที่พึงได้รับ คอยให้ความช่วยเหลือทุกประเทศ ทุกประเทศสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กรประชาสังคมได้ โลกาภิวัตน์มีทั้งผลดีและผลเสียอยู่ที่ว่าเราจะเลือกหนทางไหนในการดำรงอยู่ท่ามกลางทุนนิยมอย่างยั่งยืน

      ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมนำเสนอบทความเกี่ยวกับโลกกาภิวัตน์ โดยนักวิชาการแนวหน้าของเมืองไทย ต่างคนก็ต่างความคิด นำเสนอความคิดในแง่มุมที่แตกต่างกัน ซึ่งข้าพเจ้าจะนำบทความต่างๆมาแยกแยะ แบ่งกลุ่มความคิดที่มีต่อกระบวนการโลกาภิวัตน์ในแง่ลบ และ แง่บวก ออกจากกัน แล้ววิเคราะห์ความคิดของวิชาการกลุ่มต่างๆว่า ทำไมเขาถึงคิดแบบนั้น? ปัจจัย และ หลักฐานอะไรที่ทำให้นักวิชาการเหล่านี้คิดต่างกัน ทั้งๆที่อยู่ในกระบวนการโลกาภิวัตน์เดียวกัน ประเทศเดียวกัน สังคมเดียว ข้าพเจ้าคิดว่าความคิดของนักวิชาการที่สะท้อนออกมาต่างกัน อาจเป็นเพราะเขาได้รับผลกระทบที่ต่างกัน นักวิชาการที่คิดต่อกระบวนการโลกาภิวัตน์ในแง่ลบ เพราะเขาได้รับ  และ เห็นผลกระทบจริงๆในแง่ร้าย สัมผัสความเป็นจริงของสังคมที่ประชาชนคนยากจนกว่าครึ่งประเทศได้รับ สะท้อนความคิดออกมาตามความเป็นจริง เพราะระบบทุนนิยมเข้ามาประเทศชาติก็ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว ยิ่งโลกาภิวัตน์เป็นผลรวมของทุนนิยมเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นไปอีก ประเทศของเราที่มีรากฐานเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตที่ไม่มีความมั่นคงอยู่แล้ว ย่อมได้รับผลกระทบอย่างแสนสาหัส ความคิดของเขาจึงสะท้อนออกมาในแง่ลบ ส่วนนักวิชาการที่มองกระบวนการโลกาภิวัตน์ในแง่บวก ข้าพเจ้าคิดว่าอาจเป็นเพราะพวกเขาไม่เคยสัมผัส และ มองโลกในความเป็นจริง พวกเขาเป็นคนชั้นสูง จึงไม่มีวันเข้าใจว่าความยากจนเป็นอย่างไร จึงสะท้อนความคิดออกในแง่เฟ้อฝัน จินตนาการ ไม่เข้าใจความจริงที่แสนสาหัสของคนยากจน หรือ อาจเป็นเพราะเขาได้รับผลประโยชน์เขาจึงมองโลกาภิวัตน์ในแง่ดีก็เป็นได้

      จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงความคิดเห็นข้าพเจ้าเท่านั้น ต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอ ความคิดเห็นของนักวิชาแต่ละท่านที่นำเสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่สะท้อนมุมมองด้านลบ

      โลกานุวัตรกับสังคมเศรษฐกิจไทย

      รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

      โลกานุวัตรเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆของโลกเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อดีตเชื่อมโยงโลกอาศัยกระบวนการทางการเมือง การล่าอาณานิคม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การเชื่อมโยงโลกโดยอาศัยการล่าอาณานิคมลดความสำคัญลง การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกลายเป็นแบบแผนหลัก การเติบโตของบรรษัทข้ามชาติ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิตที่มีการแยกชิ้นส่วนในการผลิต กระบวนการโลกานุวัตรจึงถูกเร่งให้เร็วขึ้น ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ไม่เพียงแต่ถูกผนวกเข้ากับระบบทุนนิยมโลก และ ปรับเปลี่ยนตามกระแสโลกเท่านั้น สังคมเศรษฐกิจไทยยังกระโดดสู่ลู่วิ่งทางเศรษฐกิจเพื่อไล่กวาดหรือวิ่งหนีนานาประเทศ องค์กรเหนือรัฐเข้ามามีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทยมากขึ้นทุนที่หลั่งไหลจากที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปสู่ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เกิดเป็นลักษณะ ชีพจรลงเท้า’  กระบวนการโลกานุวัตรเกื้อกูลให้แรงงานต่างชาติ ลอดรัฐเข้ามาเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ก้าวไปสู่ทุนวัฒนธรรม วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้าที่ซื้อขายได้ ประเทศชาติมั่งคั่งประชาชนยากจน  อัสดงคตานุวัตรด้านการศึกษากำลังครอบงำด้านการศึกษา มีการลงทุนระหว่างประเทศ มีมหาวิทยาลัยนานาชาติเข้ามาลงทุนจำนวนมาก ภาษาสากลเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การขยายตัวของลัทธิบริโภคนิยมแดกด่วน ยัดเร็วทุนวัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อวัยรุ่นไทยอย่างมาก ทำลายจริยธรรมการทำงาน แสวงหารายได้จากการเก็งกำไร สรรพสิ่งกลายเป็นสินค้า ความสัมพันธ์เชิงสัญญา ความล่มสลายของวัฒนธรรมชุมชน และความขัดแย้งภายในสังคมจะเกิดขึ้นมาก แย่งชิงทรัพยากร และ ขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์

      ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าบทความนี้สะท้อนการเกิดโลกาภิวัตน์ต่อสังคมไทย ในแง่ลบอย่างมาก ทั้งผลกระทบต่อประเทศชาติ วิถีชีวิตของคน วัฒนธรรม และ ความขัดแย้งต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการมองในแง่ลบ ซึ่งแง่ลบในที่นี้คือความเป็นจริงที่สุดที่ประเทศของเราต้องเผชิญหน้าในความเป็นจริงสิ่งที่เกิดขึ้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่เลวร้ายต่อประชาชนที่ยากจน นักวิชาการที่สามารถบอกถึงความเลวร้ายของโลกาภิวัตน์ แสดงว่าเขามองโลกาภิวัตน์จากความเป็นจริง และเข้าใจถึงผลกระทบจริงๆ

                      ถ้าเรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง โลกาภิวัตน์จะไม่สามารถมาทำอะไรประเทศเราได้ถ้าประเทศของเราไม่ลงสู่ลู่วิ่งไล่กวดทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่นประเทศภูฏาน แม้จะถูกประเทศอื่นมองว่าล้าสมัย แต่ประเทศของเขาก็ดูอย่างสงบ ประชาชนอยู่ดี กินดี อยู่แบบพอเพียง ประเทศต่างๆวัดรายได้ประชาชาติเป็นหลักว่าประเทศไหนรวยกว่ากัน แต่สำหรับประเทศภูฏานแล้วเขาวัดความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเทศที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งสำหรับข้าพเจ้า การที่ไม่วิ่งแข่งกับกระแสทุนนิยมก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องปิดประเทศไปเลย เหมือนประเทศพม่า แค่รัฐบาลใส่ใจประชาชนมากกว่านี้ เมื่อประชาชนเข้มแข็งประเทศชาติของเราก็คงไม่ต้องประสบกับปัญหาโลกาภิวัตน์มากขนาดนี้ ในเมื่อประเทศไทยเรารับทุนนิยมเข้ามาแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่เราจะย้อนเวลากลับไปในอดีตเพื่อแก้ไข ไม่ให้มันเป็นแบบนั้น เป็นแบบนี้ หน้าที่ของคนในปัจจุบันคือมองโลกจากความเป็นจริง ยอมรับ และแก้ปัญหาปัจจุบันให้ดีขึ้นและยั่งยืนส่งผลดีต่อไปในอนาคต

      เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกานุวัตร

      วรวิทย์ เจริญเลิศ                                        

      ในระบบทุนนิยมไม่ได้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ แต่เป็นความสัมพันธ์ทาง

      เศรษฐกิจ ค่าจ้างจะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของนายทุนเพื่อรักษา ส่วนเหลื่อมของกำไรการสะสมของกำไรอย่างไม่หยุดยั้ง กำไรที่พอกพูนขึ้นในมือของนายทุน ในอีกด้านหนึ่งเกิด กองทัพสำรองของคนว่างงาน  คำกล่าวที่ว่า ประชาธิปไตยสิ้นสุดลงที่หน้าประตูโรงงานดูจะเป็นสัจธรรมอยู่ในระบบทุนนิยมทุกวันนี้  ส่งผลกระทบต่อสังคมหลายๆด้าน การขยายตัวและข้ามชาติของทุนส่งผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมของโลกในขอบเขตที่กว้างขวาง  ทำลายป่าไม้ แม่น้ำ สารเคมีตกค้างต่างๆ  และ ทุนนิยมกับปัญหาผู้หญิง ชายเป็นใหญ่ ส่งเสริมระบอบอำนาจนิยม ผู้หญิงทำงานที่ไม่มีการให้คุณค่าเช่น งานแม่บ้าน ผู้หญิงถูกมองเป็นสินค้า โลกาภิวัตน์ทำให้เกิด

       การขยายตัวอย่างรวดเร็วของการค้าระหว่างประเทศ - การพัฒนาเทคโนโลยีของระบบแรงงานสัมพันธ์ สร้างคนที่มีความสามารถหลายๆด้าน มากกว่าใช้สายพาน

      โลกาภิวัตน์ทางด้านการเงิน เงินสามารถโอนไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วผ่านการกดคอมพิวเตอร์

      ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ประเทศไทยใช้กลยุทธการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และนโยบายการปรับโครงสร้างไปสู่การแข่งขันเสรี ทำให้เศรษฐกิจไทยถูกผนวกเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างแนบแน่นโดยผ่านการส่งออก การลงทุนต่างชาติและการท่องเที่ยว เกิดรายได้จำนวนมาก เกิดความไม่เท่าเทียมต่อประชาชนกลุ่มต่างๆ ต้องมีการสร้างประชาธิปไตยในโรงงาน ที่เปิดกว้างต่อประชาชนส่วนใหญ่ รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจต้องสอดคล้องกัน ประชาธิปไตยจึงมีลักษณะทั่วไปได้

                      บทความนี้สะท้อนให้เห็นถึงโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ก่อให้เกิดปัญหา ต่อแรงงานไทย กดขี่ค่าแรง ความเลื่อมล้ำทางรายได้ ย่อมส่งผลต่อความเลื่อมล้ำทางสังคมด้วย ในความเป็นจริงคนรวยจะได้รับการบริการที่ดี แตกต่างจากคนจนอย่างมาก ตัวอย่างเช่นที่ว่าการอำเภอ คนจนต้องนั่งรอตั้งแต่เช้าเมื่อใกล้เที่ยงก็ไล่ให้ไปกินข้าวกลับมาใหม่ตอนบ่าย แต่ถ้าคนที่รออยู่นั้นบอกว่าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจ๋านครับ รอกำเดียวเน้อครับ ก็จะรีบดำเนินการให้ไม่ต้องรอเหมือนคนจน แม้กระทั่งตำรวจจราจร ย่อมมีการเล่นพรรคเล่นพวก มีเส้นมีสาย เป็นความจริงในสังคมไทยมาช้านาน เป็นระบบอุปถัมภ์ที่ยากจะแก้ไข ข้าพเจ้าคิดว่าความเลื่อมล้ำทางสังคม

      น่ากลัวมากกว่า ความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเสียอีก  ผู้เขียนบทความนี้ต้องการจะสร้าง

      ประชาธิปไตยในโรงงานให้ได้ในอนาคต ซึ่งจำเป็นจะต้องพัฒนารูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกัน ระบบโรงงานไม่ควรกดขี่ค่าแรง ฝึกทักษะให้แรงงานมีความสามารถในหลายๆหน้าที่ ใช้สมองในการคิดมากกว่าผลิตในระบบสายพาน ให้แรงงานมีส่วนร่วมมากขึ้น จึงจะพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน ข้าพเจ้าไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นไปได้ยากมากกว่า จะยกเลิกการกดขี่แรงงาน ให้แรงงานมีส่วนร่วมมากขึ้น ทั้งๆที่ฐานความรู้ของคนงานไม่มีเลย และ แม้กระทั่งความยุติธรรมในระบบราชการยังไม่มี จะสร้างความยุติธรรมในระบบโรงงานได้อย่างไร ข้าพเจ้าคิดว่าเราควรจะแก้ไขทั้งระบบของประเทศ ตั้งแต่การศึกษา ความเป็นอยู่ สวัสดิการจากรัฐบาล ค่าครองชีพ ถ้าประเทศมีรากฐานทางสังคมที่ดี ย่อมส่งผลต่อความมั่นคงที่ยั่งยืน

      การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยกระบวนการอุตสาหกรรมกับการแลกมาของความเสื่อมโทรมของในทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

      สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช                                                                                                                                                   

      กระแสโลกาภิวัตน์มีอิทธิพลต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลกในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบัน รัฐบาลผลักดันให้ภาคเอกชนทำการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ                                                                                                                บทความนี้ผู้เขียนสะท้อนปัญหาโลกาภิวัตน์จากประสบการณ์ สภาพแวดล้อม วิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ จาการกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศในด้านต่างๆของสภาพัฒน์ฯไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนเป็นหลัก แต่กลับปรับเปลี่ยนตามกระแสความผันผวนของเศรษฐกิจโลกมีการเร่งพัฒนาศูนย์กลางทุนนิยมของประเทศไทย แต่ความบกพร่องในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเมือง ผลกำไรจากกรุงเทพปริมณฑลไม่ได้ตกแก่คนในท้องถิ่น ผู้ประกอบการและรัฐบาลกลางกลับเป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันกรุงเทพและปริมณฑลกำลังเข้าสู่ความสับสนที่ไม่อาจควบคุมได้ กลไกของรัฐตั้งแต่ระดับรัฐบาลกลางจนถึงรัฐบาลท้องถิ่น ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมของเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพจึงกลายเป็นศูนย์กลางทุนนิยมที่ผู้คนมุ่งเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์มากที่สุด เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม อาชญากรรมต่างๆ จึงกลายเป็นเมืองที่ไม่น่าอยู่อีกต่อไป

      ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการนำเสนอบทความของนักวิชาการที่มองโลกาภิวัตน์ในด้านลบต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะนำเสนอบทความของนักวิชาที่มองกระบวนการโลกาภิวัตน์ในอีกแง่มุมหนึ่งที่ต่างออกไปจากความเป็นจริง

      ยุทธศาสตร์ทางปัญญาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของสังคมทั้งหมดร่วมกัน

      ประเวศ วะสี                                                                                                                                                                       ยุทธศาสตร์ทางปัญญาไม่ใช่เรื่องของครู หรือ กระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น แต่เป็นยุทธศาสตร์ของชาติและสังคมทั้งหมดร่วมกัน เป็นการแก้ปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และ การเมืองพร้อมกันไป ประเทศไทยเป็นสังคมคร่อมสามสมัย ความเป็นโบราณ จิตลักษณ์ ความเป็นสมัยใหม่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และ ความเป็นหลังสมัยใหม่ เกิดขึ้นพร้อมๆกัน เราจึงเห็นภาพผสมระหว่างความทันสมัยของวัตถุ แต่ความล้าหลังหรือความเสื่อมสลายของสถาบันต่างๆ ทางสังคมและของศีลธรรมอย่างรุนแรง บทความนี้นำเสนอเพื่อต้องการให้ความดี แก้ไขปัญหาต่างๆอย่างยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์ทางปัญญา 8 ประการ

      1.       ยุทธศาสตร์ญาณวิทยา จะทำอะไรให้สำเร็จต้องรู้และใช้ความจริง ความรู้ที่ไม่ได้อยู่บนฐานของความจริงจะเรียกว่าความรู้ได้หรือไม่ ต้องทำให้เกิดความรู้ + เกิดปัญญา + เกิดจิตสำนึก = จริยธรรมที่แท้จริง ไม่ได้เกิดจากการท่องวิชาจริยธรรม

      2.       ยุทธศาสตร์ครอบครัว ต้องคำนึงถึง 3 เรื่องคือ เศรษฐกิจ อาชีพของครอบครัวต้องส่งเสริมให้อยู่ด้วยกันได้ ถ้าครอบครัวแตกก็ไม่สามารถรักษาศีลธรรมในสังคมได้

      สิ่งแวดล้อม ต้องมีที่อยู่อาศัยที่สมศักดิ์ศรีและมีพื้นที่นันทนาการ

       และ การศึกษา ทุกครอบครัวต้องมีความรู้ ครอบครัวจึงกลายเป็นหน่วยวัดการพัฒนา

      3.       ยุทธศาสตร์เครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน

      4.       ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ในสถาบันการศึกษา การเรียนของเราเน้นการเรียนรู้ในตำรา ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาความคิด การศึกษาที่ดีควรสร้างคนที่ฉลาด เป็นคนดี และ มีความสุข

      5.       ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ในองค์กรและบทบาทของกองทัพ องค์กรต่างๆของรัฐและกองทัพ ควรปรับให้เป็นสถาบันพัฒนาคนด้วย ทหารที่เกณฑ์เข้าไปล้วนเป็นคนจน ขาดการศึกษา เป็นผู้เสียเปรียบทางสังคม ซึ่งรัฐควรให้การศึกษาที่ดีที่สุดแก่เขา

      6.        ยุทธศาสตร์สื่อสารมวลชน ควรมีความเป็นกลาง และสามารถระดมผู้มีสติปัญญาเข้ามาทำงานได้

      7.       ยุทธศาสตร์การวิจัย  วิทยาศาสตร์พื้นฐานของเราอ่อนแอมาก ซึ่งเป็นตัวถ่วงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และจะทำให้สังคมไทยไม่สามารถหลุดจากความพึ่งพาและเสียเปรียบประเทศที่เข้มแข็งทางสติปัญญามากกว่า เราจำเป็นต้องพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์

      8.       ยุทธศาสตร์การจัดการเพื่อความเข้มแข็งทางปัญญา ถ้ามีการปฏิวัติ การปัฏวัติทางปัญญาน่าจะเป็นการปฏิวัติที่ปลอดภัยที่สุดและดีที่สุด

      ยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาเป็นการปรับเปลี่ยนอำนาจจากการใช้พละกำลังกับการใช้เงินเป็นอำนาจ  ไปสู่การใช้ปัญญาเป็นอำนาจ

                      ข้าพเจ้าคิดว่าบทความนี้เป็นบทความที่ดี ถ้าทุกคนร่วมกันปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ได้จริงประเทศไทยจะเดินทางไปสู่ความเจริญก้าวหน้า แต่ปัจจุบันนี้เป็นไปได้ยาก ดูจะเป็นยุทธศาสตร์แห่งความเพ้อฝัน เป็นจริงไม่ได้ในสังคมไทย ผู้เขียนมองโลกในแง่ดีเกินไป มองในมุมความเป็นอยู่ของตนเอง สภาพแวดล้อมที่ดี เพียบพร้อมในทุกด้าน ซึ่งในความเป็นจริงมีคนอีกมากมายที่เลือกเกิดไม่ได้ พวกเขาไม่ได้เกิดมาในสภาพแวดล้อมที่ดีเลย ต้องเผชิญกับความยากลำบาก เป็นแรงงานที่ถูกกดขี่เพราะไม่มีความรู้ และกระแสทุนนิยม การขาดจริยธรรมของนายทุนมีมากขึ้น ทุกคนเห็นแก่ตัวต้องการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนให้ได้มากที่สุด แม้กระทั่งรัฐบาลเองยังคอรัปชั่นแล้วนับประสาอะไรกับคนทั่วไป เอกชน นิติบุคคลต่างๆ ก็คงต้องดำเนินกิจการไปบนความทุจริตเช่นกัน  แต่ถ้าคนไทยได้อ่านบทความนี้ สามารถเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และเป็นคนหนึ่งที่รักสังคมไทย เราต้องร่วมมือกันนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญ แม้มันจะไม่สำเร็จในเร็วครันแต่ถ้าทุกคนเริ่มจากตัวเราเองก่อน รวมกันเป็นหลายๆคน และในที่สุดคือทุกๆคนปฏิบัติตาม สักวันหนึ่งประเทศไทยของเราต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน ต้องพัฒนาประเทศชาติจากรากฐานของสังคมที่ไม่มั่นคงให้ดีขึ้น ถ้าฐานมั่นคงแล้ว ต่อจากนั้นทุกๆส่วนของสังคมก็จะดีขึ้นตามไปเอง

      สังคมประชาและโลกาภิวัตน์

      ผาสุก พงษ์ไพจิตร                                                                                                                                                                     มองสังคมประชาว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองที่แยกจากภาครัฐบาล สังคมประชาประกอบตั้งแต่ครัวเรือน สหภาพแรงงาน สมาคมอาสาสมัคร ฯลฯ ขบวนการโลกาภิวัตน์ ช่วยกระจายวิธีศึกษา อุดมการณ์ และ ค่านิยม ที่มีลักษณะเป็นมาตรฐานสากลไปทั่วโลก ได้แก่ การแพร่กระจายของหลักการสิทธิมนุษยชน ความชอบธรรมของสิทธิ และ การมีส่วนร่วมทางการเมือง หลักการยอมรับความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ และยังมีการเกิดเครือข่ายในระหว่างประเทศ กระบวนการเหล่านี้มากับโลกาภิวัตน์ เป็นผลดีต่อการก่อตัวของประชาสังคม ช่วยเปิดให้ผู้ด้อยสิทธิมีโอกาสได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องได้มากขึ้น

                      บทความนี้ต้องการให้เรามองเห็นข้อดีของกระบวนการโลกาภิวัตน์ ที่ส่งผลต่อการก่อตัวของประชาสังคม ช่วยสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาสังคมของประเทศต่างๆ ที่อ้างถึงเรื่องทั้ง สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม การกดขี่ค่าแรง แรงงานข้ามชาติ ทำให้สหประชาชาติ หรือ UN ขยายได้กว้างขวางมากขึ้น ช่วยเหลือได้ทั่วโลก  เปิดโอกาสให้นานาประเทศเข้ามามีส่วนร่วม โลกา-ภิวัตน์ทำให้ข้อมูลข่าวสารส่งถึงกันมากขึ้น เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียกร้องความเป็นธรรมต่างๆ ได้มากขึ้น ข้าพเจ้าคิดว่าผู้เขียนบทความนี้ไม่เคยเรียนรู้และประสบกับปัญหาจากโลกาภิวัตน์ไม่เคยสัมผัสความยากจน และ องค์กรของตนเองได้รับผลประโยชน์ถึงมอง โลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ดี ช่วยองค์กรของตนเองในการกระจายข่าวสารเป็นที่รู้จัก มีชื่อเสียง ได้งบประมาณมากขึ้น ทั้งๆที่คนในองค์กรไม่เคยถูกกดขี่ค่าแรง ไม่เคยเป็นแรงงาน แล้วจะช่วยเหลือปัญหาของแรงงานอย่างแท้จริงได้อย่างไร เป็นเพียงการช่วยเหลือเฉพาะหน้าให้เงินแล้ว ก็จบกันไป ปัญหาเหล่านี้จึงไม่มีวันหมดไปจากสังคมเสียที มององค์กรตัวเองช่วยเหลือผู้อื่นเป็นคนดี ทั้งๆที่จริงแล้วไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะแก้ ปัญหา เหล่านั้นให้หมดไปได้อย่างไร

      วัฒนธรรมหมู่บ้านไทยกับโลกานุวัตร

      ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

      พรพิไล เลิศวิชา                                                                                                                                                          

      วัฒนธรรมชุมชนเป็นระบบคิด ระบบคุณค่า และอุดมการณ์ที่ชุมชนได้ตั้งไว้กลั่นกรองและสืบทอดต่อเนื่องกันมา เงื่อนไขด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีการผลิต และ เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน ให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนของสังคมส่วนรวม สิ่งที่เชื่อมระบบทุนนิยมเข้ากับหมู่บ้านก็คือ การค้า  หมู่บ้านไทยกับผูกติดกับความสัมพันธ์ทางสายเลือด พวกหรือ เกลอ ความเชื่อของศาสนาพุทธ พิธีกรรมต่างๆ เมื่อกระแสโลกานุวัตรเข้ามาในหมู่บ้านไทย

      เกิดดิจิทอลเทคโนโลยี มนุษย์มีความขัดแย้งในการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ได้ทำลายพรมแดนและมีแต่การไหลบ่าจากโลกตะวันตก หากแต่ย่อมมีการไหลย้อนได้เช่นกัน โลกที่ไร้พรมแดน มนุษย์ยิ่งมีความตระหนักถึงเอกลักษณ์ และศักยภาพภายในพรมแดนการพัฒนาเศรษฐกิจเคารพและให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ในท้องถิ่น ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เน้นแต่การลงทุนแบบผูกขาด ในท่ามกลางกระแสการค้นหาเอกลักษณ์และศักยภาพแห่งชาติ เฉพาะวัฒนธรรมหลวงและวัฒนธรรมเมือง ไม่พอเพียงที่จะทำให้ค้นพบตนเอง ไม่พอเพียงที่จะทำให้ประชาชนทุกท้องถิ่นรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างแท้จริง และ ไม่พอเพียงที่จะทำให้ประเทศไทยยืนอยู่ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์

      ประชาชนคนไทยทุกคนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมกันสร้างเอกลักษณ์ของประเทศ โดยเริ่มจากชุมชนของตนเองก่อน ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ถ้าทุกคนรู้สึกว่าเป็นประเทศของเราแล้ว ความรับผิดชอบต่อสังคมจะเกิดขึ้น เมื่อประเทศไทยเข้มแข็ง เราก็จะสามารถดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน แต่ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์เชื่อมโลกเข้าใกล้กันมากขึ้น คำว่าเอกลักษณ์ของชุมชนจึงหายไป เป็นเพียงการขายวัฒนธรรมเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น - แม้วดอยปุย ขายวัฒนธรรมของตนเอง ทำวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้า ขายเสื้อแม้ว  ซึ่งจริงๆแล้วแม้วดอยปุยไม่ได้ทำเสื้อผ้าเหล่านั้นเองเพื่อขาย แต่กลับไปรับเอาจากโรงงานแล้วเอากลับขึ้นมาขายบนดอยในราคาที่สูงกว่าทั่วไป เพราะที่นี่คือแหล่งวัฒนธรรม

      - ประเพณีปล่อยโคมลอยแบบล้านนา ซึ่งปัจจุบันโคมลอยเหล่านี้หาซื้อได้ทั่วไปเกือบจะมีทุกจังหวัด ปล่อยโคมได้ตลอด ไม่จำเป็นต้องรอเฉพาะงานประเพณี วันเกิด ปีใหม่ อยากปล่อยก็ปล่อยได้ ข้าพเจ้าคิดว่าสินค้า OTOP เป็นการทำลายวัฒนธรรมหมู่บ้าน เป็นการวางแผนการตลาดที่ผิด มองผลกำไรเพียงระยะสั้น ผู้คนสามารถหาซื้อสินค้าของดีแต่ละจังหวัดได้ง่าย สะดวกขึ้น ราคาไม่ต่างกันเลย ทำให้จังหวัดเหล่านั้นไม่มีนักท่องเที่ยวมาหาซื้อของฝากอีกต่อไป เพราะสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ของที่หามาได้ง่ายๆ มันจึงกลายเป็นของที่ไม่มีค่าอีกต่อไป     แล้ววัฒนธรรมหมู่บ้านที่แท้จริงคืออะไรในโลกานุวัตร มันยังคงมีอยู่จริงๆหรือ ในเมื่อโลกมันเชื่อมเข้าใกล้กันมากถึงเพียงนี้

                      ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะนำเสนอบทความของนักวิชาการที่มองกระแสโลกาภิวัตน์ในมุมมองของผลกระทบแต่ละหน่วย กลุ่มเล็กๆ ที่เจาะลึกลงไปในปัญหามากกว่าการพูดถึงปัญหาเพียงแค่ภาพรวมๆ

      สิทธิในทรัพยากรกับการกระทำระบบอนุรักษ์ในพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย : บทบาทชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์

      สุธาวัลย์  เสถียรไทย                                                                                                                                                                       ส่วนที่เป็นที่ดินทางการเกษตร การให้ที่ดินส่วนบุคคลแก่เกษตรกรเป็นปัจจัยที่จำเป็น แต่ไม่เพียงพอที่จะให้เขาทำระบบการเกษตรเชิงอนุรักษ์ที่สมบูรณ์ได้ ต้องมีเงินช่วยสนับสนุนด้วย ส่วนที่ดินส่วนรวมไม่ควรมีแต่รัฐบาล แต่ชุมชนควรมีบทบาทด้วย ชาวบ้านมีแนวโน้มที่จะใช้เรื่องการอนุรักษ์ในการเรียกร้องสิทธิต่อทรัพยากรที่เขาพึงจะได้ แม้ว่ากระแสโลกาภิวัตน์จะมีส่วนสร้างปัญหาอยู่ไม่น้อย แต่ระบบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ดีขึ้น ก็อาจมีส่วนทำให้องค์การชุมชนสามารถรวมตัวกันได้ดีขึ้นเช่นกัน

      ทางเลือกของเกษตรกรไทยในกระแสโลกาภิวัตน์

      จตุรงค์  บุณยรัตนสุนทร                                                                                                                                                                                  ปัญหาทางการเกษตรของไทยก็ยังคงเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นปัญหาที่ปลายเหตุ นโยบายของรัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวและไม่แตกต่างไปจากนโยบายทางการเกษตรของรัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมา น่าจะไม่สายจนเกินไปที่จะมีการปรับเปลี่ยนแผนปรับโครงสร้างและระบบการผลิต ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น โดยตั้งอยู่บนฐานของประสบการณ์เกษตรกร ที่ได้สรุปบทเรียนของตนเองว่า เกษตรกรรมทางเลือก หมายถึงเกษตรกรรมผสมผสานวนเกษตร เกษตรธรรมชาติ คือทางเลือกที่ทำให้เกษตรกรอยู่รอดได้ในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ครอบงำโลกของเราในปัจจุบันนี้

                      ทางเลือกที่มีเหตุผลสำหรับการพัฒนานโยบายป่าไม้ในประเทศไทย

      เท็ด   โรบัค

      กิตติ   ลิ่มสกุล

      นับตั้งแต่ป่าไม้ของไทยเริ่มเสื่อมโทรมลงจนถึงระดับเพียงประมาณ 25 % ของพื้นที่ในประเทศ การลดลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งได้มีการปิดป่าในปี พ.2531 เพราะรัฐบาลต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ถึง 40% และ 3ใน8 เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หลังจากนั้นก็ยังคงมีการแอบลักลอบตัดไม่ทำลายอยู่จำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากน้ำท่วมกว่าครึ่งประเทศไทย สาเหตุหลักกมาจากการตัดไม้ทำลายป่า

      ประเทศไทยมีความต้องการแนวคิดที่ใช้ในทางปฏิบัติ เพื่อพัฒนานโยบายป่าไม้ที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน ประเด็นทางเลือกของนโยบาย ซึ่งคณะกรรมการนโยบายป่าไม้ควรจะมีส่วนในการนำเสนอ

      โลกาภิวัตน์กับแรงงาน

      สังศิต พิริยะรังสรรค์                                                                                                                                                              ระบบเศรษฐกิจตลาดของไทยมีแนวโน้มการขยายตัวสูงและอย่างต่อเนื่องกำลังก้าวเข้าสู่ทางสองแพ่งที่จะต้องเลือกครั้งสำคัญคือ ประการแรกการปรับระเบียบขององค์กรการผลิตใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ให้เกิดความยืดหยุ่นในการผลิตและการใช้แรงงาน รัฐวิสาหกิจและเอกชนเน้นการแข่งขันจนเลยเถิด โดยการกำหนดมาตรฐานของลูกจ้างเอาไว้ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากล เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อเอาชนะคู่แข่งของตน นายจ้างหันมาใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานมากขึ้น ปะการที่สอง คือ เกิดการขาดแคลนแรงงาน แรงงานรุ่นใหม่มีการศึกษามากขึ้น มีทัศนคติต่องานแตกต่างจากแรงงานรุ่นก่อน สหภาพแรงงานมีการต่อรองมากขึ้น จึงควรมีสหภาพแรงงานเพื่อสังคมร่วมมือกับนายจ้างในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ให้หลักประกันเรื่องความสงบทางสังคม เพื่อให้นายจ้างรักษาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และช่วยปรับให้ธุรกิจของนายจ้างเจริญรุ่งเรือง และนายจ้างก็ควรปรับรายได้ สวัสดิการ ให้มาตรฐานการทำงานของลูกจ้างได้รับการยกระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                      นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่รวบรวมบทความของนักวิชาเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์แล้ว ยังมีหนังสือเล่มอื่นๆอีกหลายเล่มที่นำเสนอเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ เช่น * โลกาภิวัตน์ กับ ชุมชนที่ยั่งยืน เขียนโดย เฮเลนา นอร์เบอร์ก-ฮอดจ์ ที่เสนอว่า ยุคนี้เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงทางความคิดอย่างถอนรากถอนโคน ยุคที่เดินตามความทันสมัยและโลกาภิวัตน์อย่างไม่ลืมหูลืมตา เราจึงจำเป็นต้องใช้วิจารณญาณกันอย่างรอบคอบ เพื่อหาคลองธรรม ที่ละเลยกันมานาน

      * โลกาภิวัตน์และปรากฏการณ์ธุรกิจเมียสั่งทางอินเตอร์เน็ต โดย ร่มเย็น โกไศยกานนท์ โลกาภิวัตน์ทำให้โลกเชื่อมโยงกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้เกิดธุรกิจการขายบริการจำนวนมาก เป็นภาพสะท้อนความไม่เท่าเทียมในความสัมพันธ์หญิงชาย หญิงถูกมองในแง่ที่ต้องทำงานไร้ค่า แม่บ้าน เลี้ยงลูก ส่งผลผู้ชายมีอำนาจมากกว่า และใช้ความรุนแรงกับเพศหญิง

      * สยาม ปะทะ โลกาภิวัตน์ ; เรืองยศ จันทรคีรี เรียบเรียง ไม่มีกลุ่มทุนใดที่จะสามารถคิดสร้างเทคโนโลยีให้เป็นของคนไทย  นอกจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เท่านั้น มีแต่พระราชอำนาจเท่านั้นที่จะนำพาประเทศชาติไทยไปพ้นวิบากกรรมได้

      * โลกาถิวัตน์ ปะทะ ท้องถิ่น ; โดย ท้องถิ่นสนทนา การทำความเข้าใจโลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะละเลยแง่มุมทางการเมือง มือที่มองไม่เห็นเข้ามามีอำนาจขับเคลื่อนโลกให้ไปในทิศทางเดียวกัน ขอบเขตของรัฐเลือนรางลงไป

                      จากที่ข้าพเจ้าได้สรุปหนังสือโลกาภิวัตน์กับสังคมเศรษฐกิจไทย และหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มอื่นๆ ทำให้ข้าพเจ้าพอจะเข้าใจเกี่ยวกับกระแสโลกาภิวัตน์ในสังคมไทย ซึ่งข้าพเจ้าอยากจะนำเสนอทางออกของปัญหาผ่านบทความ

      ยุทธศาสตร์การดำรงอยู่ของไทยท่ามกลางโลกานุวัตร

      จิราพร บ่างศรีวงษ์ 

                      โลกานุวัตรเป็นเพียงแค่ผลของระบบทุนนิยมเท่านั้น ซึ่งทุนนิยมได้เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่อดีตแล้ว แต่ปัญหาต่างๆ มันสะสมทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ เราจึงมักจะกล่าวโทษกระแสโลกาภิ-วัตน์ ทั้งๆที่โลกาภิวัตรไม่มีตัวตน ปัญหาต่างๆ เกิดจากการกระทำของคนไทยเราเองทั้งนั้น ชนชั้นนายทุนที่เอาเปรียบแรงงาน นักการเมืองที่ใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน การที่ประเทศไทยรับระบบทุนนิยมเข้ามาแต่กลับดำเนินไปผิดเส้นทาง เราเลือกที่จะลงแข่งวิ่งไล่กวาดทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ พยายามพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อส่งออก ทั้งๆที่พื้นฐานของประเทศเราไม่พร้อม ประชาชนไม่มีความรู้ ไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รัฐบาลไม่ได้ให้สวัสดิการควบคุมดูแลประชาชน ค่าครองชีพต่ำ กว่าครึ่งประเทศเป็นประชาชนที่ยากจน  แผนพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละฉบับไม่ได้ให้ความสนใจประชาชน สนใจแต่เพียงจะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจไทยเทียบเท่าคู่แข่งให้ได้ ช่องว่างทางสังคมจึงเกิดมากขึ้น เกิดความแตกต่างระหว่างคนจนและคนรวย นอกจากนี้โลกานุวัตรยังเชื่อมโลกเข้าหากันได้สะดวกขึ้น ประเทศไทยจึงตกเป็นฐานการผลิตให้แก่ประเทศที่ร่ำรวยกว่า การผลิตของเราจึงต้องพึ่งพาต่างประเทศไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง หนทางแก้ปัญหาคือคนไทยทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เริ่มจากนักวิชาการไทยก่อนในฐานะเป็นแนวหน้าและมีความรู้ ทำไมนักวิชาการไทยไม่ร่วมมือกันลงมือแก้ไขปัญหา แต่นักวิชาการไทยกลับนั่งเขียนบทความแสดงความคิดเห็น ด่าคนโน้น คนนี้ และ ด่านักวิชาการด้วยกันที่มีความคิดเห็นแตกต่าง ทำไม ? นายกไม่ทำแบบนั้น ทำไม? กระทรวงศึกษาธิการถึงคิดแบบนี้ คนที่มีความรู้ทำได้เพียงแค่นี้เองหรือ? รอคอยเวลาบ้านเมืองมีปัญหาแล้วออกมาแสดงความคิดเห็นตามช่องโทรทัศน์ต่างๆ

      ลองมองกลับกันนักวิชาการเหล่านั้นทำไมไม่ไปเป็นเอง ถ้าเป็นเองแล้วสามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้จริงๆ ก็ยิ่งเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล น่าชื่นชม คนมีความรู้ของเมืองไทยมาร่วมกันพัฒนาประเทศชาติ  ดีกว่าอยู่นิ่งเฉย  ทำไมเราต้องศึกษาอดีตว่าทำไมเขาถึงคิดแบบนั้น ทำไมเหตุการณ์แบบนี้ถึงเกิดขึ้นได้ ในเมื่อมันเป็นอดีตไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก ถ้าเรามานั่งแก้ปัญหาเหตุการณ์ในอดีต ถ้าประเทศของเราไม่ลงวิ่งไล่กวาดทางเศรษฐกิจ ไม่รับระบบทุนนิยมเข้ามา ประเทศของเราก็จะไม่ต้องเผชิญกับปัญหาในปัจจุบันนี้ ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้มันเกิดขึ้นแล้ว ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาคือยอมรับ และร่วมมือกันหาทางออก นักวิชาการ รัฐบาล ประชาชน ร่วมมือกัน

       รัฐบาลอาจมาจากนักวิชาการแนวหน้าของเมืองไทยที่มุ่งหวังพัฒนาประเทศอย่างแท้จริงไม่ต้องการเข้ามาแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ รัฐบาลดำเนินนโยบายพัฒนาวิถีชีวิตประชาชนเป็นหลัก ให้สวัสดิการอย่างทั่วถึง ทั้งการศึกษา การปฐมพยาบาล คมนาคม ฯลฯ เมื่อประชาชนมีพื้นฐานที่มั่นคงแล้ว เราก็จะสามารถพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

         

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×