ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปเนื้อหา วิชาอารยธรรมตะวันตก และประวัติศาสตร์ ม.5

    ลำดับตอนที่ #18 : การปฏิวัติทางภูมิปัญญา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.65K
      3
      3 มี.ค. 55

    การปฏิวัติทางภูมิปัญญา (สมัยแห่งการรู้แจ้ง)
    The Age of Enlightenment



    นักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย

    1. โทมัส ฮอบส์ (อังกฤษ C.17)


                                          โทมัส ฮอบส์

    - อำนาจการปกครองต้องรวมอยู่ที่ บุคคลเพียงคนเดียว (กษัตริย์)

    กำจัด และลดอำนาจของลอร์ด

    ชนชั้นกลางแต่ก่อนล้มลอร์ด ช่วยเหลือกษัตริย์

    ภายหลังชนชั้นกลางมาล้มอำนาจของกษัตริย์อีกที


    - อำนาจของกษัตริย์มาจากความยินยอมของประชาชน ไม่ใช่ลัทธิเทวสิทธิ์

    - เสนอว่ามนุษย์ควรเชื่อด้วยเหตุผลและวิธีทางวิทยาศาสตร์ เขายอมรับพระเจ้าแต่ปฏิเสธพิธีกรรมและผู้นำทางศาสนา



                                                     Leviathan

    - งานเขียนเรื่อง Leviathan

    "การที่กษัตริย์ต้องใช้อำนาจนั้น ต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนก่อน จึงเรียกกษัตริย์แบบนี้ว่า กษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรม"

    2. จอห์น ล็อค (อังกฤษ C.17)

    ไฟล์:John Locke.jpg
                        จอห์น ล็อค

    - เน้นเรื่องสิทธิธรรมชาติของประชาชน

    "ประชาชนทุกคนมีอิสระที่จะแสวงหาความสุขให้แก่ตนเอง มีสิทธิในการใช้ชีวิต การปกครองนั้นรัฐบาลต้องมาจากประชาชน"

    - ไม่เห็นด้วยกับโทมัส ฮอบส์ที่ว่าให้รวมอำนาจปกครองไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้น

    - มนุษย์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลถ้ารัฐบาลทำผิดสัญญาประชาคม ประชาชนมีสิทธิ์ล้มรัฐบาลได้

    - เห็นว่ารัฐเป็นเพียงกลไกที่มนุษย์พร้อมใจกันสร้างขึ้นเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนอำนาจอธิปไตยยังเป็นของประชาชนส่วนใหญ่อำนาจทางการเมืองที่แท้จริงมาจากประชาชน ทุกคนมีความเสมอภาคทางงกฎหมายรัฐมีหน้าที่หลักคือรักษาสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์

    - เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดแบ่งแยกอำนาจของกษัตริย์

    - แนวคิดของเขาเป็นทั้งทฤษฎีประชาธิปไตยและทฤษฎีการปฏิวัติและมีอิทธิพลอย่างมากต่อนักปฏิวัติชาวอเมริกันและชาวฝรั่งเศส


                                 Two Treatises of Government

    - งานเขียนเรื่อง Two Treatises of Government

    3. ชาร์ลส์ หลุยส์ มองเตสกิเออร์ (ฝรั่งเศส C.18)


                                          ชาร์ลส์ หลุยส์ มองเตสกิเออร์

    - เสนอแนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ และการคานอำนาจ

    แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ส่วนคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยแต่ละส่วนมีการถ่วงดุลย์อำนาจกันอยู่

    - ระบบการปกครองต้องสอดคล้องกับภูมิประเทศ และประวัติศาสตร์

    - การปกครองที่ดีที่สุดคือให้กษัตริย์ยู่ใต้รัฐธรรมนูญ


                                           The Spirits of the Laws

    - งานเขียนเรื่อง The Spirits of the Laws

    4. วอลแตร์


                       วอลแตร์(ซ้าย)   พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช(ขวา)

    - เน้นเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและนับถือศาสนาแนวคิดของเขามีอิทธิพลต่อความคิดของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชในการพัฒนาและปฏิรูป ปรัสเซีย ให้เข้าสู่ยุคภูมิธรรม

    - ”แม้ข้าพเจ้าจะไม่เห็นด้วยกับที่ท่านพูดมาแม้แต่น้อย แต้ข้าพเจ้าจะปกป้องสิทธิ์ในการพูดของท่านอย่างสุดชีวิต”

    5. ฌอง จาร์ค รุสโซ (ฝรั่งเศส C.18)


                         ฌอง จาร์ค รุสโซ

    - เจ้าทฤษฎี”อำนาจอธิปไตยของประชาชน” 
    -  เน้นเรื่อง”เจตจำนงร่วมของประชาชน” (General Will) คืออำนาจสูงสุดในการปกครอง
    - เสนอว่ามนุษย์มาอยู่รวมกันเป็น”องค์อธิปัตย์”คือองกรที่มีอำนาจสูงสุดดังนั้นรัฐบาลต้องยอมรับเจตจำนงทั่วไปของประขาขนรัฐบาลต้องสร้างความเสมอภาคให้การศึกษาจัดระบบกิจการคลังที่ดี มีระบบการเก็บภาษีมรดกและสิ่งฟุ่มเฟือย
    - มนุษย์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาสลถ้ารัฐบาลทำผิดสัญญาประชาคมประชาชนมีสิทธิ์ล้มรัฐบาลได้
    - มีผลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส”เสรีภาพ เสมอภาพ ภารดรภาพ”
    - “มนุษย์เกิดมาอิสระแต่ทุกหนทุกแห่งเขาตกอยู่ในพันธนาการ”



                                   Social Contract

    ผลงาน
    Social Contract (สัญญาประชาคม)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×