ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปเนื้อหา วิชาอารยธรรมตะวันตก และประวัติศาสตร์ ม.5

    ลำดับตอนที่ #17 : การปฏิวัติอุตสาหกรรม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.91K
      9
      4 มี.ค. 55

    การปฏิวัติอุตสาหกรรม
    Industrial Revolution (C.18)



    หลังจากที่มีการปฏิวัติการเกษตรไปแล้วนั้น(อาหาร) มนุษย์ก็ต้องการปัจจัย 4 ขั้นต่อไปนั่นคือเครื่องนุ่งห่ม จึงเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นมา



    1. เป็นการเปลี่ยนแปลง วิธีระบบการผลิตในครัวเรือน เพื่อการยังชีพ (การใช้แรงงานคน) ไปเป็นการผลิตโดยใช้เครื่องจักร เพื่อการค้าขาย

    2. สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

    - การเพิ่มขึ้นของประชากร   
    - การขยายตัวทางการค้า เนื่องจากลัทธิพาณิชยนิยม
    - ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
    - ระบบธนาคารที่มั่นคง และการค้าที่เพิ่มมากขึ้น



    3. จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม (เริ่มต้นขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษ เกิดในอุตสาหกรรมการทอผ้าก่อนเป็นอันดับแรก)



    - มีเสถียรภาพทางการเมือง เนื่องจากอังกฤษปฏิวัติก่อนเพื่อนบ้าน มีความมั่นคง

    อังกฤษมีรัฐสภา และคณะรัฐบาลแล้ว ในขณะที่ประเทศอื่นยังโค่นล้มกษัตริย์อยู่

    - มีทรัพยากรที่สำคัญคือ เหล็ก กับถ่านหิน

    - มีดินแดนอาณานิคมมีจำนวนมาก จำนวนตลาดทางการค้าจึงมากตาม



    - รัฐบาลส่งเสริมการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ จึงทำให้พวกนักวิทยาศาสตร์มีทุนในการศึกษา และค้นคว้าสิ่งใหม่ๆออกมา



    4. สมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

    - ระยะที่ 1 ยุคเหล็ก และพลังงานไอน้ำ ต้มน้ำให้เดือด การใช้เหล็ก



    - ระยะที่ 2 ยุคเหล็กกล้า (ไม่เป็นสนิม) และพลังงานใหม่ (น้ำมันปิโตเลียม และก๊าซธรรมชาติ)


                      เซอร์ เฮนรี เบสเซเมอร์

    เซอร์ เฮนรี เบสเซเมอร์ (Sir Henry Bessemer, ค.ศ. 1813 -1893,วิศวกรชาวอังกฤษ) พบวิธีทำเหล็กถลุงให้มีคุณ-สมบัติดีขึ้นเรียกว่า เหล็กกล้า (steel) ซึ่งสามารถชุบเพิ่มความแข็งได้  และมีคุณสมบัติอื่นๆ ดีมากการค้นพบของเซอร์ เฮนรี เบสเซเมอร์ ทำให้สามารถผลิตเหล็กกล้าได้อย่างรวดเร็ว ครั้งละมากๆและประหยัด ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก

    - ระยะที่ 3 อิเล็กทรอนิกส์ โลกาภิวัฒน์ นาโน เทคโนโลยีใหม่




    5. ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

    - ด้านสังคม

    - ประชากรเพิ่มขึ้น

    - การขยายตัวของสังคมเมือง (สลัมของผู้ใช้แรงงานนั้นมีจำนวนมาก ทางรัฐบาลจึงสร้างเฟลชให้พวกสลัมอยู่ เพื่อที่จะจัดระเบียบทางสังคมให้ดูเป็นระเบียบยิ่งขึ้น)

    - วิถีชีวิตของมนุษย์สะดวกสบายขึ้น เพราะมีเครื่องจักรมาทุ่นแรง

    - เกิดชนชั้นนายทุน (รวย) และกรรมชีพ (จน) 



    - ด้านเศรษฐกิจ

    - เกิดการผลิตในระบบโรงงาน



    - การผลิตสินค้ารวดเร็ว และมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

    - เกิดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

    - เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ

    สินค้าเกษตร กำหนดผลผลิตไม่ได้ ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมกำหนดได้



    - ด้านการเมือง

    - คนชั้นกลาง(ประชาชน)เริ่มมีเงินมากขึ้น และส่งผลให้พวกนี้มีบทบาททางการเมือง

    - การต่อสู้ของชนชั้นกรรมชีพ เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมในสังคม

    - การขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยม


    ยิ่งผลิตมากยิ่งต้องการทั้งแรงงาน ทรัพยากรมากขึ้น เพื่อใช้ในการผลิต จึงมีการล่าอาณานิคมเกิดขึ้น เพื่อขยายอาณาเขต แรงงาน และทรัพยากรให้มากขึ้น



    - ด้านภูมิปัญญา


                                      อดัม สมิธ

    - ลัทธิเสรีนิยม ของ อดัม สมิธ


                                  คาร์ล มาร์กซ์

    - ลัทธิสังคมนิยม ของ คาร์ล มาร์กซ์




                               "น่ารักอ่ะ"


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×