.......นอกจากปรากฎการณ์ สูติกาล ของมวลมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในโลกแล้วสรรพสิ่งทั้งหลายที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้นไม่ว่าจะเป็น สิ่งของ บ้านเรือนปราสาทราชวัง บ้านเมือง จักรวรรดิ์ สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกตามวันเวลาในวิชาดาราศาสตร์ย่อมตกอยู่ในวงจร “วัฏจักรของชีวิต” คือ เกิดขึ้น ดำรงอยู่แล้วดับสูญไปย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปทั้งในทางที่ดี หรือร้าย และไม่ดีไม่ร้ายก่อนที่จะดับสูญไปตามกฎวัฏจักร
.......วิชาโหราศาสตร์จึงเป็นศิลปวิทยาการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ อย่างเต็มรูปแบบเหมือนดัง วิชาดาราศาสตร์หรือวิชาวิทยาศาสตร์สาขาอื่น แต่เป็นศิลปวิทยาการที่ผู้รู้แจงแทงตลอดอย่างแท้จริงสามารถพยากรณ์ความเป็นไปในชีวิตของคนเรา บ้านเมือง โลก ได้อย่างน่ามหัศจรรย์ยิ่งนักปรากฏหลักฐานยืนยันว่า “วิชาศิลปศาสตร์ 18 ประการ” ซึ่งบรรดาเจ้าชายทุกราชสำนักในชมพูทวีป บุตรของพราหมณ์ และคหบดี ผู้มั่งคั่งจะต้องเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนกับอาจารย์ ณ มหาวิทยาลัยตักกะศิลา เมืองบุรุษบุรีหรือ เมืองเปสวาร์ ในประเทศปากีสถานสมัยปัจจุบัน เรียกว่า “วิชาโชติยศาสตร์” แปลว่า ความรู้เรื่องระบบแสง
.......ระบบแสงในวิชาโชติยศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นวิชาสำคัญที่สุดวิชาหนึ่งที่กุลบุตรในวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ ต้องศึกษาเรียนรู้ว่า ระบบแสง อันเกิดจากแสงอาทิตย์แสงจันทร์ บันดาลให้เกิดความสว่าง ขจัดความมืดให้หมดสิ้นไป ดวงตาของสัตว์โลกจึงมองเห็นสิ่งทั้งหลาย มนุษย์จึงรู้จักเวลา กลางัน กลางคืนเรียกว่า “กาล” หรือ “กาละ” หมุนเวียนเปลี่ยนไปในรูปวงจรไม่เคยหยุดนิ่งได้เลยเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติในการนับ “อายุขัย” ของทุกสิ่งทุกอย่างโลกว่า เกิดขึ้นและดับสูญไปเมื่อใด
.......วันเวลาจึงอุปมาเหมือนดัง พระกาล หรือ พระยามัจจุราช ที่เคยพรากชีวิตของสัตว์โลกและรูปกายของวัตถุธาตุทั้งหลายให้เป็นไปตามอายุขัยของ “กฎวัฏจักร” พระกาลจึงเปรียบดังเจ้าชีวิต ของทุกรูปทุกนามที่ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกเมื่อถึงเวลาก็จะต้องหมดสิ้นอายุขัยไปตามกาล
.......องค์ความรู้ของวิชาดาราศาสตร์โหราศาสตร์ รวมเรียกว่า โชติยศาสตร์ จึงเป็นบ่อเกิดของความรู้ในเรื่องแสงและเงา ซึ่งโหราจารย์ในอดีตสามารถนำมาใช้ในการคิดคำนวณ วัน เดือน ปี สร้างปฏิทินเพื่อกำหนดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน อดีต ปัจจุบัน อนาคต ตามสถานที่ทุกแห่งอันเป็นกฎเกณฑ์สำคัญของธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่หนึ่งที่เป็นของคู่กับ กาละ ก็คือเทศะ
.......นักอภิปรัชญาโชติยศาสตร์ชาวอารยันต่างเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของความศักดิ์สิทธิ์ความมีอานุภาพยิ่งใหญ่ของกาละ ที่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดในโลก จึงสมมุติว่าเป็นเทพเจ้าผู้บันดาลให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและตายไปบนพื้นพิภพมีสมญานามว่า “พระกาล”
.......ครูช่างชาวอินเดียผู้มีความรอบรู้มีความเข้าใจในความสำคัญยิ่งใหญ่ของ พระกาลผู้เป็นเจ้าของอายุขัยของสพพสิ่งทั้งหลายในโลกอย่างลึกซึ้งได้ประดิษฐ์คิดค้นสัญลักษณ์แห่งความหมายอันล้ำลึกเป็นรูป “หน้ายักษ์” ที่เรียกกันว่า “หน้ากาล” ประดับไว้ตามทางเข้าเทวสถานต่างๆ เพื่อเตือนสติของคนเราให้ระลึกอยู่เสมอว่า อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะว่าธรรมชาติของ พระกาลนั้นจะกัดกร่อนทำลายอายุขัยของทุกสิ่งทุกอย่างให้หมดสิ้นไป โดยไม่มีสิ่งใดจะหยุดยั้งได้ แม้แต่ตัวพระกาลเองเมื่อไม่มีสิ่งใดจะทำลายก็จะกัดกินตัวเอง ใครเล่าจะเอาชนะพระกาลได้
.......ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ว่าด้วยระบบแสงและเงาที่ปรากฎอยู่ใน วิชาโชติยศาสตร์ อันเป็น 1 ในศิลปศาสตร์ 18 ประการซึ่งสั่งสอนเล่าเรียนกัน ณ. มหาวิทยาลัยตักกะสิลา สมัยดึกดำบรรพ์ ไม่มีผู้ใดรู้แน่นอนว่าเริ่มต้นในยุคสมัยใดคงปรากฎหลักฐานอยู่ในคัมภีร์โบราณของชาวอารยันกล่าวว่า “ปีกลียุคศักราชที่ 1” ประกาศตั้งขึ้นใน ปีมะเส็งนักษัตร
.......ครั้น กลียุคศักราช ล่วงมาได้ 2411 ปี พระเจ้าอัญชันกษัตริย์ผู้ครองแคว้นสักกะ ซึ่งเป็นพระอัยกาธิราช (ปู่) ของพระพุทธเจ้าได้ประกาศตั้ง “ปีอัญชันศักราช” ขึ้นใน ปีเถาะนักษัตร
.......ภายหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อ อัญชันศักราช ล่วงมาแล้วได้ 147 ปี พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันบัญญัติ “ปีพุทธศักราช” ขึ้นเพื่อระลึกถึงพระบรมศาสดา ในปีมะเส็งนักษัตร นักโหราศาสตร์จึงสามารถเทียบเคียงได้ว่า ปีพุทธศักราชที่ 1 ตรงกับปีกลียุคศักราชที่ 2558
.......ปัญญาญาณของฤาษีสมยพระเวทซึ่งไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรเลย ยังล่วงรู้ถึงความลี้ลับซับซ้อนของ “ดาราจักรทางช้างเผือก” หรือ “กาเล็คซี่ทางน้ำนม” ว่ายังมีระบบดาราจักรย่อยซ่อนอยู่ภายในอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราจักร่อยดาราจักรหนึ่ง คือ “ดาราจักร 12 นักษัตร” ซึ่งมีความผูกพันกับ ระบบสุริยจักรวาล และโลกของเรา อย่างแน่นแฟ้นจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ นอกจากนั้นยังเรียนรู้ว่าหลายดาราจักรหรือหลายกาเล็คซี่รวมกันเป็น “เอกภพ” หรือ “จักรวาล” หลายเอกภพหรือหลายจักรวาล รวมกันเป็น “มหาเอกภพ” หรือ “มหาจักรวาล” มากกว่า 5,000 ปีแล้ว
.......ความกว้างใหญ่ไพศาลสุดประมาณปละหาขอบเขตมิได้ของมหาเอกภพ หรือมหาจักรวาล ซึ่งดวงตาและปัญญาญาณของมนุษย์สามารถล่วงรู้ได้ว่าเปรียบดังฟันเฟืองขนาดใหญ่ของธรรมชาติแห่งจักรวาลเป็นตัวการขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดพลังงานรวมตัวกันเข้าเป็นรูปวัตถุธาตุหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดนิ่ง ดังจะเห็นได้จากการโคจรของดวงดาวในท้องฟ้ากดดันบันดาลให้สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกเคลื่อนไหวไปตามแรงบังคับของจักรวาลให้ดำเนินไปตาม กฎวัฏจักร เหล่าฤาษีในยุคพระเวทผู้ค้นพบความจริงแท้ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายในธรรมชาติ จึงให้สมญานามสิ่งที่มีอำนาจที่สุดในจักรวาลมีความกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดจนไม่อาจวัดความกว้าง ยาว หนา ลึกในรูปมิติทางคณิตศาสตร์ได้ เป็นตัวกลางบันดาลให้เกิดสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นมาในจักรวาลแต่เป็นสิ่งที่ปราศจากตัวตน รู้เพียงว่าเดินทางไปร่วมกับ แสงอาทิตย์ แสงจันทร์ และอนุภาคแสงดาวจึงสมมุติสิ่งที่เป็น “อนันตะ” นี้ว่า “พรหมมัน”
.......คำว่าพรหมมันให้ลัทธิพระเวทดั้งเดิม ก่อนที่ศาสนาพราหมณ์ จะเกิดขึ้นในโลก ไปแห่งตนในหัวจคน สมภพสามโลกล้วนต่อเนื่องเชื่อมโยงกันด้วยไฟ ไฟจึงเป็นผู้ให้กำเนิด จักรวาลธรรมชาติ ชีวิต และความรู้สู่ความจริงแท้เปรียบประดุจกงล้อแห่งธรรมเป็นพลังงานธรรมชาติที่ไม่มีตัวตน จากเบื้องบนลงมาสู่โลก เพื่อสร้างโลกและชีวิตและลแยกลับคืนไปสู่ที่มีตลอดกาล
.......ธรรมจักรหรือกงล้อแห่งธรรมจึงเป็นภาพลักษณ์และธรรมปัญญา อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความหมายแห่ง “องค์พรหม” ที่ล้ำลึกแพร่กระจายแทรกซึม เป็นส่วนของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ในจิตวิญญาณของมนุษย์ ก็คือ “อัตมัน”
.......การค้นพบความจริงแท้ของสรรพสิ่งในเอกภพ ของชาวอารยันเมื่อหลายพันปีก่อนตรงกับการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ยุคใหม่อย่างไม่น่าเชื่อว่าเป็นความบังเอิญได้ถึงขนาดนั้น
.......วิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่ในยุคที่วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าไปไกลมากมนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการศึกษ าค้นคว้าความจริงของจักรวาลได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ตัวอย่างเช่น กล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิลตั้งขึ้นเป็นเกียรติแกนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เอ็ดวิน ฮับเบิล ผู้ค้นพบและพิสูจน์ให้ชาวโลกยอมรับได้ว่า นอกจากมี ดาราจักรทางช้างเผือก หรือกาเล็คซี่ทางน้ำนม ของเราแล้วยังมีดาราจักรหรือกาเล็คซี่อื่นอีกมากมายที่อยู่ห่างออกไปและกำลังเคลื่อนที่ห่างจากกัน เรียกว่า เอกภพ หรือจักรวาลเอกภพทั้งหมดกำลังมีขนาดโตขึ้น
.......กล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิลติดตั้งบนยานอวกาศเหมือนกล้องดูดาวที่อยู่บนโลก แต่สูงจากพื้นดินถึง 610 กิโลเมตร จึงไม่มีเมฆหมอกหรือมลภาวะรบกวน ทั้งยังโคจรไปรอบโลก 90 นาที ต่อ 1 รอบควบคุมกล้อง และรับข้อมูลจากกล้องโดยสัญญาณวิทยุ สามารถถ่ายภาพดาวพระเคราะห์ที่อยู่ใกล้ไปจนถึงดาราจักร ที่ไกลแสนไกลได้อย่างไม่เคยมีมาก่อนช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถอธิบาย โครงสร้างของเอกภพ หรือ จักรวาลให้เห็นภาพและเข้าใจอย่างชัดเจนว่า
.......เอกภพหรือจักรวาล แต่ละแห่ง ประกอบขึ้นด้วย ดาราจักร หรือ กาเล็คซี่ ที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน มีมวลตั้งแต่ 10 ล้านเท่า ไปจนถึงขนาด 1 ล้านล้านเท่าของดวงอาทิตย์ของเรา
.......แต่ละดาราจักร หรือ กาเล็คซี่ ส่วนใหญ่มีขนาดกลาง คือใหญ่ขนาดเท่ากับดาราจักรทางช้างเผือก หรือ กาเล็คซี่ทางน้ำนม คือ มีขนาดประมาณ 5 ล้านปีแสงประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์เป็นจำนวนมาก รวมกันอยู่ภายในรูปกังหันแบบจาน ประมาณ 1 แสนล้านดวง
.......ดาราจักรหรือ กาเล็คซี่ ของเรามีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับความกว้างใหญ่ไพศาลของเอกภพหรือ จักวาล จึงเกือบไม่มีความสำคัญอะไรเลยเพราะประกอบขึ้นด้วยจำนวนสมาชิกดาราจักรอื่นอีกราว 20 กาเล็คซี่ มีอาณาเขตในพื้นที่อวกาศกว้างไกลเพียงแค่ 3 ล้านปีแสง จึงเรียกกระจุกดาราจักรของเราว่า “กลุ่มดาราจักรท้องถิ่น” หรือ “กลุ่มกาเล็คซี่ท้องถิ่น” อันเป็นขอบเขต “เอกภพ” หรือ “จักรวาล” ของเรา
.......ถัดจากกลุ่มดาราจักรท้องถิ่นของเราไกลออกไปราว 10-50 ล้านปีแสง ก็ยังมีกระจุกดาราจักรอีกกระจุกหนึ่ง ถัดออกไปอีกกว่า 50 ล้านปีแสง มีกระจุกดาราจักรสำคัญขนาดใหญ่ประกอบด้วยกระจุกดาราจักรใหญ่น้อยเป็นสมาชิกรวมอยู่กว่า 1,000 กระจุก ต่อจากนั้นไปอีกราว 500 ปีแสง มีกระจุกดาราจักรขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกระจุกดาราจักรสมาชิกอย่างน้อย 10,000 กระจุก
.......นักดาราศาสตร์ตรวจพบว่าระยะทางไกลแสนไกลของเอกภพขนาดนั้น ยังมีคลื่นสัญญาณวิทยุอย่างอ่อน ได้ยินมาจากทุกทิศทางในห้วงอวกาศ เชื่อกันว่าคลื่นพลังรังสีที่แผ่ขยายมาจากดินแดนอันไกลแสนไกลนั้นมีจุดกำเนิดมาในอดีตตั้งแต่เมื่อครั้ง แสงออกเดินทางภายหลังจากมหากัมปนาทของลูกไฟมหึมาระเบิดขึ้นเรียกกันว่า “บิ๊กแบ๊ง” ก่อให้เกิดคลื่นรังสีวิทยุแผ่ขยายตัวต่อเนื่องกันจนถึงทุกวันนี้
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น